ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จาตุฯ ถึง ดุสิต เทวดามากน้อยต่างกันอย่างไรครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 TSY

TSY
  • Members
  • 4 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 22 March 2009 - 08:10 AM

จากน้อยไปมากน่าจะเป็น
1. ดุสิต
2. ยามา
3. ดางดึงส์
4. จาตุมหาราชิกา
หรือเปล่าครับ หรืออาจจะแล้วแต่ช่วงเวลาของกัปด้วย

พิจารณาจากหัวข้อ ทำบุญอะไรไปสวรรค์ชั้นไหน

#2 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 22 March 2009 - 04:33 PM

คุณถามว่า ทำบุญอะไรไปสวรรค์ชั้นไหน

ขอถามว่า ที่คุณจะไปสวรรค์น่ะ คุณจะไปทำอะไรที่นั่น

ความตั้งใจของจิตคุณ จะเป็นตัวบ่งบอกถึงที่ๆคุณจะไปถึงค่ะ

ยกตัวอย่างๆ โลกๆ ถ้าจิตคุณมีความยินดีในการเป็นโจร จิตคุณก็จะพาคุณไปในกลุ่มโจร และคุณก็จะได้อยู่กับพวกโจร และเป็นโจรในที่สุด

ถ้าจิตคุณยินดีในการเป็นนักธุรกิจ มีรายได้เป็นล้าน จิตคุณก็จะพาคุณไปคบหาสมาคมกับพวกนักธุรกิจ และเป็นอย่างพวกนั้น

ถ้าจิตคุณยินดีในความสงบ ปราศจากทุกข์ จิตคุณก็จะพาคุณไปใน อริยมรรค คือ ทางของพระอริยทั้งหลายผู้มีทุกข์เบาบาง จนถึงผู้ที่ปราศจากทุกข์.

ทุกอย่างอยู่ที่จิตของคุณ พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นผู้นำ

สวรรค์แต่ละชั้น เป็นที่อยู๋ของจิต แต่ละชั้นของจิต ซึ่งแตกต่างกัน เหมือนโลกเรา ที่มีสังคมต่างๆกัน.

อย่าเข้าใจผิดว่า โลกกับสวรรค์ นั้นต่างกัน เพียงแต่เขาพรรณาให้ฟังดูว่าเลิศกว่าก็เท่านั้นเอง.
แต่ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็ยังติดตามไปได้แม้ในสวรรค์.
สัจจธรรมแห่งไตรลักษณ์ ครอบคลุม ภพทั้งสาม เป็นธรรมดาอยู่แล้ว. พ้นภพสามก็พ้นไตรลักษณ์

คุณพบเห็นอะไรในโลก คุณก็พบเห็นอย่างนั้นในสวรรค์ คือ คุณก็จะยังคงเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บนสวรรค์.
เหมือนคนนั่งในรถราคาแสน อยากเปลี่ยนไปนั่งรถราคาล้าน แต่ รถก็เสื่อม ผุพัง เข้ากองขยะเหมือนกัน.

การเข้าไปสู่ความเสื่อม พัง ทลาย สนุกสำหรับคุณหรือ ถ้าสนุกก็เชิญตามอัธยาสัย.
แต่ถ้าคุณเห็นแล้ว รู้แล้ว ว่า การเปลี่ยนรถยนตร์ ไร้สาระ
การเป็นอิสระจาก รถยนตร์ นั่นเป็นสาระ
ก็ขอให้ใช้รถที่มีอยู่ ไม่ว่ารถนั้นจะราคาเท่าใดก็ตาม ใช้มันเป็นยาน(ปัญญา) ขับออกจาก ความเกิด ความเสื่อม ความผุพังทลาย ขับรถนั้น ออกจากสังสารวัฎอันน่ากลัว ดุจดังกองเพลิง ดุจดังเชือกรัดคอ ดุจดังนายที่คอยจิกหัวใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน ดุจดังเจ้าหนี้ที่คอยมาตามหนี้.

ความยินดีในสวรรค์ วิมาน ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นความเสื่อม.
ผู้รู้แล้ว เห็นแล้ว เข้าสู่สวรรค์ วิมาน ด้วยสติ ด้วยปัญญา เหมือนคนมีสติออกจากรถคันหนึ่ง เข้าสู่รถอีกคันหนึ่ง ขับญาณนั้นด้วยจิตที่บริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยเมตตา เมื่อถึงเวลาอันสมควร จึงเปลี่ยน รถใหม่เพื่อมาสู่โลก เพื่อความสว่างของโลก เพื่อโลกได้เห็น ความไม่เที่ยง ความเสื่อม ของธรรมทั้งหลาย และ คลายความยึดมั่นใน นรก โลก สวรรค์ เพื่อความหลุดพ้นแห่งทุกข์ เข้าถึงสุขสงบที่แท้จริง มิใช่เพื่อเหตุอื่นใดเลย.

การถามว่า ทำบุญอะไรไปสวรค์ชั้นไหน เป้นคำถามที่ไม่ถูก
ควรถามใหม่ว่า ทำจิตอย่างใดได้ไปสวรรค์ชั้นไหน
เพราะ สวรรค์แต่ละชั้นแบ่งตามจิต ตามปัญญา ตามความสะอาด ความสว่าง และความสงบของจิต.

จิตคุณเป็นอย่างไร คุณก็ไปเข้าพวกกับที่มีจิตอย่างนั้น ไม่ผิดพวก
เหมือน พวกนักดนตรีก็จะรวมกลุ่มกัน พวกนักกีฬาก็จะรวมกลุ่มกัน พวกรักเรียนก็จะรวมกลุ่มกัน พวกหนีเรียนก็จะรวมกลุ่มกัน เป็นต้น

คุณอยากไปอยู่กับพวกที่มีราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต มาก คุณก็ทำจิตให้มีองค์ประกอบอย่างนั้นมาก เดี๋ยวคุณก็เจอกลุ่มนั้นเอง

ถ้าคุณเบื่อหน่ายต่อ จิตทีทีราคะ โทสะ โมหะ คุณก็ทำจิตให้ มีราคะน้อยๆ มีโทสะน้อยๆ มีโมหะน้อยๆ เดี๋ยวคุณก็ได้รวมกลุ่มกับพวกที่มีทุกข์น้อยๆ.

อย่าเชื่อ อย่าคิด แต่ใช้ปัญญาพิจารณาดูด้วยเหตุและผล.
ปัญญา ใช้บ่อยๆกำลังมากขึ้น
ความคิดใช้บ่อยๆ ก็จมลงเรื่อยๆ สู่โลกของความนึกคิด.






โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#3 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 March 2009 - 08:20 PM

สาธุขออนุโมทนาใบุญนธรรมทานนี้ด้วยนะครับสาธุ

#4 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 March 2009 - 09:08 PM

เทวาในแต่ละชั้นมีจำนวนมากนับไม่ถ้วน ขนาดที่แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมแล้วบรรลุธรรมกันเป็น โกฎิๆๆ
ก็ยังไม่หมด

ชั้นจาตุมถือว่า มากที่สุดครับ แต่ถึงมากขนาดไหน แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับสัตว์ในอบายภูมิ
เทียบกันแล้วเหมือน ฝุ่นในเล็บมือ กับฝุ่นในจักรวาล

แต่ผู้ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นี่สิ ถือว่ามีน้อยมากๆๆ ก็แปลกทำไมกายมนุษย์ถึงได้ยากนัก มีความสำคัญขนาดไหน

แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ยังต้องตรัสรู้ด้วยกายมนุษย์ กายมนุษย์นี่สร้างบุญได้มาก
มายมหาศาลขนาดนั้นเลยหรือ

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#5 สุรชัย (กัปตัน)

สุรชัย (กัปตัน)
  • Members
  • 407 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 March 2009 - 12:54 AM

สาธุกับข้อมูลที่ดี ๆ ครับ

#6 TSY

TSY
  • Members
  • 4 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 March 2009 - 08:36 AM

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ที่ผมใช้ ข้อความว่า พิจารณาจากหัวข้อ ทำบุญอะไรไปสวรรค์ชั้นไหน หมายถึง พิจารณาจากข้อมูลใน Page นี้ครับ
http://www.dmc.tv/pa...ide/page09.html
จึงน่าจะเรียงลำดับได้ดังที่ผมกล่าวมา เพราะชั้นดุสิต ต้องทำบุญมากกว่าชั้นอื่น ถึงมีสิทธิไปอยู่ได้
ส่วนเรื่อง กฎไตรลักษณ์นั้นถูกอย่างที่ว่าไว้ครับ ใช้ได้กับทั้ง 31 ภูมิ

ที่ตั้งคำถามนี้ขึ้นมา เพราะคิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์อะไรสักอย่างตามมา เช่น พระเจ้าพิมพิสารท่านสั่งสมบุญไว้มาก แต่ท่านก็พอใจที่จะไปเกิดเป็น ยักษ์ใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ขอบคุณครับ


#7 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 23 March 2009 - 09:23 PM

แต่ละประเทศ ทำไมมีจำนวนคนไม่เท่ากัน
มีเหตุปัจจัยรึเปล่าา
นั่นละครับ
คำตอบบบบบบ...*^^
-----------------
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ