ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เรื่องกัปป์วินาศ ครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Defilement Destroyer

Defilement Destroyer
  • Members
  • 274 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 30 June 2009 - 09:46 PM

ที่ว่าถูกทำลายด้วยลม น้ำ ไฟ แบบใน DOU อ่ะครับ อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มไหน พระสูตรอะไรครับ พอดีจะทำ เรื่องรายงานครับ หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอซักที
ภูเขาศิลาล้วนย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวเพราะแรงลมฉันใด
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)

#2 @sunset

@sunset
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 July 2009 - 12:22 AM



#3 @sunset

@sunset
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 July 2009 - 12:31 AM

อยู่ใน อัคคัญญสูตร จ๊ะ

#4 yebo

yebo
  • Members
  • 64 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 July 2009 - 07:04 PM

เห็นมีหลักฐานอยู่ในพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับกัปป์ อยู่ในส่วนอรรถกถา ดังนี้

QUOTE
กัปปสูตร


ว่าด้วยอสงไขย ๔ แห่งกัป


[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขย (คือระยะกาลที่นานนับไม่ได้)
แห่งกัป ๔ นี้ อสงไขย ๔ เป็นไฉน คือ

๑. สังวัฏกัป คือระยะกาลเมื่อกัปเสื่อม ยากที่จะนับว่าเท่านั้นปี
เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

๒. สังกัฏฏัฏฐายีกัป คือระยะกาลเมื่อกัปอยู่ในระหว่างพินาศ ก็ยาก
ที่จะนับว่าเท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

๓. วิวัฏกัป คือระยะกาลเมื่อกัปกลับเจริญ ก็ยากที่จะนับว่าเท่านั้น ปี
เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

๔. วิวัฏฏัฏฐายีกัป คือระยะกาลเมื่อกัปอยู่ในระหว่างเจริญ ก็ยากที่
จะนับว่าเท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อสงไขย ๔ แห่งกัป.
จบกัปปสูตรที่ ๖


QUOTE
อรรถกถากัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัปปสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สํวฏฺโฏ นี้ ความเสื่อม ๓ คือ ความเสื่อมด้วยน้ำ ๑
ความเสื่อมด้วยไฟ ๑ ความเสื่อมด้วยลม ๑. เขตความเสื่อมมี ๓ คือ
อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม. ในคราวที่กัปเสื่อม
ด้วยไฟ ไฟย่อมไหม้ภายใต้แต่อาภัสสรพรหม. ในคราวที่เสื่อมด้วยน้ำ น้ำย่อม
ละลายแต่ภายใต้สุภกิณหพรหม. ในคราวทรามเสื่อมด้วยลม ลมย่อมทำลายภายใต้
แต่เวหัปผลพรหม. แต่เมื่อกล่าวโดยพิสดาร พุทธเขตแห่งหนึ่งย่อมพินาศ
ได้ทุกเมื่อ. นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. ส่วนเรื่องพิสดาร ผู้ศึกษาพึงทราบได้
โดยนัยอันกล่าวไว้แล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

จบอรรถกถากัปปสูตรที่ ๖


QUOTE
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์เข้าด้วยสี่อสงไขยกัป ด้วยสามารถแห่งสัง-
วัฏฏกัปเป็นต้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สี่อสงไขยกัปเหล่า
นี้ สี่อสงไขยกัปเป็นไฉน. คือ สังวัฏฏกัป
สังวัฎฏัฏฐายีกัป วิวัฏฏกัป วิวัฎฏัฏฐายีกัป.
ในกัปเหล่านั้น
สังวัฏฏกัปมี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป ๑ อาโปสังวัฏฏกัป ๑ วาโยสังวัฏฏกัป ๑.
แดนสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ อาภัสสรา ๑ สุภกิณหา ๑ เวหัปผลา ๑.
ก็ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยไฟ ในกาลนั้น กัปเบื้องล่างจากอาภัสสราย่อมถูก
ไฟไหม้.
ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยน้ำ ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากสุภกิณหาย่อมถูกน้ำละลาย.

ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยลม ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากเวหัปผลาย่อมถูกลมกำจัด.
แต่โดยกว้างออกไปจักรวาฬแสนโกฏิ ย่อมพินาศ. ท่านกล่าวว่าเป็นอาณาเขตของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในสังวัฏฏกัป ๓ เหล่านั้น การทำลายเปลวไฟ น้ำ
หรือลม ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศตามลำดับ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง .ชื่อว่า
สังวัฏฏกัป.
มหาเมฆตั้งขึ้นเต็มจักรวาฬแสนโกฏิตั้งแต่การทำลายเปลวไฟอัน
ยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยที่สองชื่อว่า สังวัฏฏฐายีกัป.



หมายเหตุ เตโช แปลว่า ไฟ อาโป แปลว่า ลม วาโย แปลว่า น้ำ

#5 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 July 2009 - 12:21 AM

สาธุ ครับ
ขอร่วมอนุโมทนากับธรรมทานของเพื่อนสมาชิกด้วยนะครับ

#6 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 July 2009 - 05:26 PM


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org...a_item/...ญสูตร

อัคคัญญสูตร

http://84000.org/tip....php?b=21&i=151

ครับ

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html