ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

"มีคุณสมบัติอื่นๆของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม" คือ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr30159

usr30159
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 July 2009 - 07:06 PM

อยากทราบว่ามีคุณสมบัติอื่นๆของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคมนี้ มีอะไรบ้างครับ ใครทราบช่วยขยายความด้วยครับ

ขอขอบคุณ


#2 yebo

yebo
  • Members
  • 64 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 July 2009 - 11:20 PM

ดูในรายละเอียดตาม Link นี้นะครับ

http://www.songbr.or...n/god/law17.htm



คุณสมบัติผู้บวช อยู่ในข้อ 13 ตรงหน้าที่พระอุปัชฌาย์ ที่จะบวชให้กุลบุตร

ข้อ ๑๓ พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตรให้ได้คุณลักษณะก่อนจึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้ คุณลักษณะของกุลบุตรนั้น ดังนี้

(๑) เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลหรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน มี อาชีพชอบธรรม หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่คนจรจัด
(๒) เป็นสุภาพชน มีความประพฤติดีประพฤติชอบไม่มีความประพฤติเสียหายเช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
(๓) มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
(๔) ไม่เป็นผู้มีทิฎฐิวิบัติ
(๕) เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ไม่เป็นคนชรา ไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
(๖) มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
(๗) เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเองและถูกต้องไม่วิบัติ

ข้อ ๑๔ พระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามเหล่านี้

(๑) คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน
(๒) คนหลบหนีราชการ
(๓) คนต้องหาในคดีอาญา
(๔) คนเคยถูกตัดสินจำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
(๕) คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
(๖) คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย
(๗) คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

#3 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 15 July 2009 - 08:03 AM

QUOTE
(๔) ไม่เป็นผู้มีทิฎฐิวิบัติ



ทิฏฐิ - ความเห็น, ทฤษฎี, ความเชื่อ ; ในภาษาไทย มักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)

ทิฏฐิ ๒ - ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;

ทิฏฐิ ๓ - อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น

ทิฏฐิมานะ - ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข, มานะ ความถือตัว, รวม ๒ คำเป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว

ทิฏฐิวิบัติ - วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมหรือผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)



สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ