ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ระดับของสมาธิ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 11 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 น้ำแข็งใส

น้ำแข็งใส
  • Members
  • 47 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 03:01 PM

รบกวนสอบถามค่ะ คือทำสมาธิจนเกิดความสงบนิ่ง (วางใจที่ศูนย์กลางกาย และบริกรรม" สัมมา อะระหัง" ไปเรื่อยๆ ) จนจิตสงบและนิ่งมากจนรู้สึกว่าไม่มีตัวตน ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก (แรกๆก็ตกใจ แต่ฝึกนานไปก็หายไม่ตกใจแล้วค่ะ) มันนิ่งมากมความสุขมาก อยากทราบว่าสมาธิที่เกิดขึ้นนี้อยู่ที่ระดับอะไรค่ะ

#2 ขนมปุยฝ้ายใสเย็นกลางใจ

ขนมปุยฝ้ายใสเย็นกลางใจ
  • Members
  • 74 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:หมู่บ้านภัสสร 3, คลองสาม
  • Interests:ปริญญาโท ม.เกษตรศาสตร์ สนใจ Internet, ชอบสอนคอมพิวเตอร์ ได้ทั้ง Windows, MS Office ทั้ง Basic และ Advance อยากสอน ๆ ๆ

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 04:37 PM

wink.gif อืม...ดีจัง...

คงเป็นระดับ สบาย ๆ ง่าย ๆ แล้ว ก็ได้เอง ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อ มักจะให้กำลังใจเสมอว่า "...ดีแล้ว ทำต่อไปเรื่อย ๆ..."

ใช่แล้วครับ ทำแบบนี้ รักษาไว้ให้ได้แบบนี้ แล้ว...จะ หยุด นิ่ง กลาง ใจ...ใส...จน เข้าถึง ปฐมมรรค แล้วคุณจะรู้ได้เอง

ขอให้กำลังใจ และขออนุโมทนาบุญด้วยกับรายงานผลการปฏิบัติธรรม สา...ธุ

แล้วอย่าลืมไปชวนผู้ชาย man man มาบวชด้วยนะ ส่วนผม...อธิฐานจิตให้สำเร็จด้วยแหละ

#3 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 04:54 PM

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณนักเรียนอนุบาลน้ำแข็งใสด้วยนะครับ
สาธุ
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 07:00 PM

หากตอบตามภาษาในตำรับตำรา ระดับ สมาธิ จะแบ่งเป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข

วิตก คือ จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
วิจาร คือ จิตมีสติอยู่ในอารมณ์นั้นต่อเนื่อง ไม่ใช่นิ่ง แล้วฟุ้ง แล้วนิ่งใหม่
ปีติ และ สุข ก็จะเกิดอารมณ์ปีติ และสุข เกิดขึ้นมา

แต่ยังไม่ถึงขั้น เอกตัคคัตตา จิตหยุดนิ่งในอารมณ์เดียวได้อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือ จิตรวมเป็นหนึ่งก็ได้ ซึ่ง ภาษาผู้ปฏิบัติเรียกว่า หยุดในหยุดนั้นเอง ในใจที่เรียกว่า นิ่งแล้ว ยังมีนิ่งยิ่งกว่านั้นขึ้นอีกไป ต้องหยุดได้เท่านั้นจึงจะเข้าใจน่ะครับ พอทำได้ระดับนี้ เดี๋ยวนิมิตจะเริ่มเกิด
(กรณีนี้ สำหรับผู้ฝึกสมาธิแบบไม่นึกนิมิตนะครับ คือ ฝึกแบบทำใจเฉยๆ หรือ ฝึกแบบภาวนาอย่างเดียว จนใจหยุดนิ่ง)

แต่ถ้าผู้ฝึกแบบนึกนิมิต ก็จะผ่านวิตก วิจาร ปีติ สุข เช่นเดียวกัน แต่จะเห็นนิมิตชัดขึ้นไปด้วย ตามระดับที่ว่าไว้ในตำรา
เช่น อุคคหนิมิต คือ จิตหยุดนิ่งจนเห็นนิมิตได้ต่อเนื่อง ต่อมาก็จะถึงขั้น ปฏิภาคนิมิต คือ นึกย่อขยายนิมิตนั้นได้ดังใจปรารถนา แต่ก็ยังไม่ใช่ของจริงครับ ให้หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจะได้พบดวงปฐมมรรค ซึ่งเป็นหนทางเบื้องต้น (วงเล็บว่า เบื้องต้นนะครับ) ที่จะไปสู่ความสุขที่เที่ยงแท้
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 07:53 PM

ระดับของสมาธิ
1.ขณิกสมาธิ คือ อาการที่ใจสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ชั่วขณะหนึ่ง เช่น 5-10 วินาที แล้วใจจะค่อย ๆ คิดฟุ้งซ่านออกไป อาการเหมือนช้างปรบหู ถ้าได้มีสติก็ดึงใจกลับมาใหม่ค่อยๆ ประคองอย่าใช้กำลัง ทำอย่างต่อเนื่องก็จะได้ขั้นต่อไป
2.อุปจารสมาธิ ใจสงบหยุดนิ่งได้นานกว่าขั้นแรก คือ อาจเป็นกำหนดเวลา 5-10 นาทีหรือนานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ถึงขั้นฌานยังไม่ดิ่งลงไปแท้ เป็นแต่สมาธิที่เกือบจะแน่วแน่
3.อัปปนาสมาธิ ใจสงบหยุดนิ่งนานตามที่เราต้องการเป็นขั้นที่แน่วแน่ถึงฌาน ดิ่งลงไป สุขุมกว่าอุปจารสมาธิ และมีระดับขั้นที่ยิ่งขึ้นไปเป็นลำดับๆ

http://main.dou.us/v...?s_id=34&page=4
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 16 January 2010 - 09:45 PM

ระดับปากทางเข้าแล้วจ้า นิ่งต่อไป เข้ากลางไปก็จะสว่างขึ้นเรื่อยๆ หรือเห็นจุดแสง ที่สำคัญ ต้อง "อย่าอยาก อย่าวิจารณ์ อย่าสงสัย" ... ผมขออนุโมทนาบุญด้วยนะ ...ดีจัง
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#7 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 January 2010 - 12:24 PM

แนบไฟล์  R376_5.jpg   36.58K   65 ดาวน์โหลด

อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#8 Ozeria

Ozeria
  • Members
  • 879 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 January 2010 - 10:28 AM

ไปโหลด หนังสือ สมาธิ อ่านดูได้จาก www.dou.us ได้นะคะ
มีหลายเล่มเลย อ่านแล้วจะได้เข้าใจการทำสมาธิของเรามากขึ้นนะคะ

สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ

ลูกพระธัมฯ หลานหลวงปู่ หลานคุณยาย

#9 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 January 2010 - 08:26 PM

อนุโมทนา การสนทนาธรรมของทุกท่านด้วยครับแนบไฟล์  SaDhu.gif   22.04K   50 ดาวน์โหลด

เรื่องการวัดผล ประเมินผล ความก้าวหน้าของการฝึกสมาธิ สมถะกรรมฐาน
ตั้งแต่ ใจสงบ หยุด นิ่ง มีประสบการณ์ภายในเบื้องต้น ถึงบรรลุปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน
ที่เคยทราบและศึกษามา มีทั้ง

วัดผลด้วยการเทียบเคียงกับธรรมวินัย ในพระไตรปิฎก เชิงปริยัติธรรม

วัดผลด้วยการ เข้าไปไตร่ถามให้ครูบาอาจารย์ตรวจสอบ หรือ อาจเรียกว่า สอบอารมณ์กรรมฐาน

วัดผล จากการเห็น และเข้าถึงสภาวะธรรมในระดับนั้น ๆ กระทั่งเป็นอันหนึ่งเดียวกับธรรมภายในนั้น ๆ

ผมคิดว่า
การวัดผลแบบแรกนั้น มีโอกาสถูกต้องสูง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
เพราะถ้าตนเองยังไม่รู้แจ้ง เห็นแจ้งในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง
โอกาสเข้าใจ ตีความ ประเมินผล ย่อมมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ครับ
เพราะ แค่สัมผัสรู้สภาวะธรรมนั้น ๆ แต่ยังไม่เห็นสภาวะธรรมนั้น ๆ

สำหรับการวัดผลด้วยวิธีที่ ๒ นั้น
ผมคิดว่า มีโอกาสถูกต้อง มากกว่าวิธีแรก
เพราะครูบาอาจารย์ ส่วนใหญ่ ย่อมเคยผ่านสภาวะธรรมนั้ ๆ มาแล้ว
จะด้วย การ(สัมผัส)รู้(สภาวะธรรม) หรือ การเห็น ก็ตาม
แต่กระนั้นก็ยังมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้

เพราะ
ศิษย์อธิบายได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์
เหมือน คนไข้บอกอาการป่วยให้แพทย์ได้ไม่ชัดเจน
แพทย์ก็อาจสันนิษฐานโรคผิด ใช้วิธีรักษาผิด จ่ายยา ไม่ถูกกับโรค

หรือเพราะ
ครูก็ยังไม่มีประสบการณ์นั้น ๆ คือ ทั้งไม่รู้ ทั้งไม่เห็น
จึงใช้วิธีแรก คือ นำหลักการ หรือ ความรู้จำ มาตอบคำถามศิษย์
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป

หรือเพราะ
ครูต้องการให้กำลังใจศิษย์ในการปฏิบัติ จึง ประเมินผลสูงกว่า ความเป็นจริง

หรือเพราะ ฯล

การวัดผลวิธีนี้ จะดีที่สุด หากว่า
ครู ทั้งเห็น ทั้งรู้ เพราะเข้าถึงสภาวะธรรมนั้น ๆด้วย
และสามารถ ตามตรวจในสิ่งที่ศิษย์ รู้ เห็น ด้วย

คือไม่ใช่เพียงฟังศิษย์อธิบาย แล้วมาประเมินผล
แต่ครู ตามเข้าไปเห็น ด้วย
เช่น ศิษย์ เข้าถึงดวงธรรม ใด ๆ กายในกายใน ใด ๆ มีอาการ อารมณ์ใด ๆ
ครูก็สามารถ ตามตรวจในสิ่งที่ศิษย์ เห็น รู้ สัมผัสอารมณ์นั้นได้ด้วย

ส่วนการวัดผลวิธีที่ ๓ จากการเห็น และเข้าถึงสภาวะธรรมในระดับนั้น ๆ กระทั่งเป็นอันหนึ่งเดียวกับธรรมภายในนั้น ๆ
ผมว่า โอกาสถูกต้อง สมบูรณ์กว่า ๒ วิธีแรกครับ

ยิ่งถ้า ตนเอง ทั้งเห็น ทั้งรู้ สถาวะธรรมนั้น ๆ เอง
ก็ยิ่งดีเลิศประเสริฐศรี ครับ

ดังนั้น
การ
QUOTE
ทำสมาธิจนเกิดความสงบนิ่ง (วางใจที่ศูนย์กลางกาย และบริกรรม" สัมมา อะระหัง" ไปเรื่อยๆ )
จนจิตสงบและนิ่งมากจนรู้สึกว่าไม่มีตัวตน ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก

ที่เจ้าของกระทู้ อธิบายมานั้น

พอวัดผลได้ว่า ดี แล้วครับ biggrin.gif
ดี ในระดับ รู้สภาวะธรรมของ ขนิกสมาธิ , อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ
ดังที่พี่ WISH ตอบไว้ดีแล้ว น่ะครับ

อนุโมทนา เจ้าของกระทู้ ในภาวนามัย ด้วยครับแนบไฟล์  SaDhu.gif   22.04K   50 ดาวน์โหลด

กระทู้ที่น่าสนใจ เรื่องการวัดผลของ สมาธิ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=15915

QUOTE
หลวงพ่อวัดปากน้ำฯท่านบอกไว้ ...

เมื่อจะวัดผลว่าสมาธิก้าวหน้าไปได้เพียงไหน
เขาวัดด้วยอะไร

เขาวัดด้วยอารมณ์
การวัดอารมณ์ก็มีคำว่า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีสุข เหล่านี้เป็นต้น

ซึ่งถ้าใช้วิธีตีความตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
โอกาสที่จะตีความเข้าข้างตัวเองมันก็สูง แล้วทำให้เลอะเลือนได้

หลวงพ่อวัดปากน้ำฯท่านทำอย่างไร
ท่านก็เอาเนื้อหาในพระไตรปิฎกไว้เพื่อการศึกษาทางปริยัติ

ส่วนการวัดผลสมาธิทางภาคปฏิบัติ
ท่านวัดผลด้วยการเห็น

แล้วพอถึงเวลานั่งสมาธิ ท่านก็อธิบายให้สอนวัดตัวเองได้
ท่านเรียงมาเลย ตั้งแต่
ปฐมฌาน คือ ปฐมมรรค
ถ้าปฐมฌานแก่ๆ เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด
ทุติยฌาน ก็คือ กายทิพย์
ตติยฌาน ก็คือ กายพรหม
จตุตถฌาน ก็คือ อรูปพรหม
....
หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ท่านวัดด้วยการเห็น
และผู้ปฏิบัติก็วัดด้วยตัวเองได้


โอกาสจะตีความเข้าข้างตัวเองก็น้อยลงไป
เพราะหลวงพ่อสอนให้แต่ละคนที่มาปฏิบัติกับท่าน
วัดความคืบหน้าของการนั่งสมาธิด้วยการเห็น

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#10 น้ำแข็งใส

น้ำแข็งใส
  • Members
  • 47 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 January 2010 - 09:32 AM

ขอบคุณสำหรับคำตอบคำแนะนำจากทุกๆท่าน
น้ำเองก็ไม่ได้ไปฝึกที่วัดหรอกค่ะ อาศัยแค่อ่านหนังสือแล้วลองปฏิบัติดูเท่านั้น แต่ว่ามีหลายอาการนะค่ะ เช่น เห็นนิมิตต่างๆ เกิดอาการตัวโยกเยก ส่ายไปส่ายมา เกิดปิติจนน้ำหูน้ำตาไหล เป็นต้น กว่าจะมาถึงอาการลมหายใจหาย ร่างกายหายก็เพิ่งเคยเกิดขึ้นนี้เอง
เลยอยากทราบว่ามาถูกทางรึเปล่า
แล้วเราควรทำอย่างไรต่อ เพราะเมื่อลมหายใจหายไป ก็เคยตามลมหายใจโดยการหายใจเข้าลึกๆ จนจับลมหายใจเจอ
แต่ปรากฏว่า... รู้สึกเหมือนจิตมันถอนขึ้นมา ต้องมาตั้งต้นใหม่อีกครั้งกว่าจิตจะกลับมาเหมือนเดิม ลักษณะจิตมันว่างๆ เป็นโพลงๆสว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางรางกายเลย แล้วทำไงต่อค่ะ

#11 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 19 January 2010 - 07:30 PM

ความจริงลมหายใจไม่ได้หยุดครับ เป็นแต่เพียงร่างกายเราเมื่อนิ่งสงบลงเรื่อยๆ อัตราการเผาผลาญอาหารเพื่อมาเป็นพลังงานในร่างกายก็จะน้อยลง เพราะร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานใดๆ

เมื่ออัตราการเผาผลาญอาหารมาเป็นพลังงานน้อยลง ปริมาณอากาศที่ร่างกายต้องการหายใจเข้าไปเผาผลาญอาหารก็จะน้อยลง เมื่อปริมาณอากาศ ร่างกายต้องการน้อยลง ร่างกายก็เลยหายใจน้อยลงๆ

จะถึงจุดที่ลมหยุด ซึ่งความจริงลมไม่ได้หยุด แต่เคลื่อนผ่านร่างกายช้าๆ คล้ายไม่หายใจ ถึงตอนนี้ ครูไม่ใหญ่บอกว่า สำคัญนักทีเดียวครับ ส่วนใหญ่ผู้ฝึกใหม่ไม่ทราบ ก็จะพยายามไปจับลมหายใจใหม่ให้ได้ ทำให้เคร็งขึ้นมานิดๆ ถึงมาก โดยไม่รู้ตัว

พอถึงตอนนั้น ร่างกายก็ต้องการพลังงานขึ้นมา อัตราการเผาผลาญก็เกิดขึ้น กิจกรรมการหายใจแรงก็เกิดขึ้นมาอีก ถ้าภาษานักปฏิบัติก็คือ จิตถอนจากสภาวะละเอียดกลับมาสู่หยาบ นั่นคือ เริ่มต้นใหม่

แล้วจะต้องทำอย่างไร ตอบคือ หยุด นิ่ง เฉย ครูบอกไว้ ให้ทำตัวเหมือนผู้ดูละครที่ดี คือ ไม่ได้เป็นมีอารมณ์ร่วมกับละคร มีอะไรให้ดูก็ดูไป ควรศึกษาจากประสบการณ์ผลปฏิบัติธรรม ของผู้มีประสบการณ์ใน DMC ที่ครูไม่ใหญ่เคยนำมาเล่า มากมาย เดี๋ยวผมจะ Link มาให้ดู สัก 2-3 ตัวอย่าง
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#12 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 19 January 2010 - 07:36 PM

http://www.dmc.tv/ar...meditation.html

ลอง Link ไปศึกษา ผลการปฏิบัติธรรมเหล่านี้สิครับ จะเห็นว่า พวกเขาล้วนหยุดนิ่งเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวจะพบความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร