ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

วิชา 3 วิชา 8 จรณะสิบห้า วิโมกข์แปด ปฏิสัมภิทาญาณสี่


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 11 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr23182

usr23182
  • Members
  • 114 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 09:24 AM

ขอรบกวนท่านสมาชิกทุกท่านที่มีความรู้ ค่ะ

ขอเป็นธรรมทานค่ะ เวลามีท่านใดมาถามจะได้บอกต่อได้ค่ะ ขอบคุณทุกท่านน่ะค่ะ

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

อย่างน้อยก็ เป็นกำลังใจให้ก้าวเดินปฏิบัติตามที่หลวงพ่อท่านบอกในวันบวชอุบาสิกาแก้วว่า

ขอให้ลูกทุกคนได้สำเร็จวิชา 3 กันทุกคน


ท่านใดปฏิบัติดีแล้ว ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ




#2 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 09:55 AM

อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ
หนังสือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
บทขยายความพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)


แนบไฟล์  spd_20090622170013_b.jpg   46.98K   162 ดาวน์โหลด



คำเทศนาของหลวงปู่ เป็นดังนี้ค่ะ


วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน

คำว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คุณวิเศษของพระองค์ในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) วิชชา, (๒) จรณะ อะไรเรียกว่า วิชชา วิชชาในที่นี้หมายเอา ความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูก หรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน ไม่รู้ไม่เห็นของจริงคือนิพพาน ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่ายึดมั่น คือยึดมั่นในขันธ์ ๕ ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื้ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ก็ว่า เมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้นั้น ได้แก่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท และ อริยสัจจะ

ขันธ์ ๕
เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืดคือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรมถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

วิชชา ที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ (๑) วิปัสสนาวิชชา, (๒) มโนมยิทธิวิชชา, (๓) อิทธิวิธีวิชชา, แต่ถ้านับรวมตลอดถึง อภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชา เข้าด้วยกันแล้ว รวมกันเป็น ๘ คือ (๔) ทิพพจักษุวิชชา, (๕) ทิพพโสตวิชชา, (๖) ปรจิตตวิชชา, (๗) ปุพเพนิวาสวิชชา, (๘) อาสวักขยวิชชา

ส่วน จรณะ นั้น มี ๑๕ คือ (๑) ศีลสังวร, (๒) อินทรียสังวร, (๓) โภชเน มัตตัญญุตา, (๔) ชาคริยานุโยค, (๕) ศรัทธา, (๖) สติ, (๗) หิริ, (๘) โอตตัปปะ, (๙) พาหุสัจจะ, (๑๐) อุปักกโม (วิริยะ), (๑๑) ปัญญา กับ รูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕

วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน “ วิปัสสนา” คำนี้ แปลตามศัพท์ว่า เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่า เห็นต่างๆ เห็นอะไร ? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร ? แจ้งโดยสามัญญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร ? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร ? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจรดจ่ออยู่ศูนย์ดวงปฐมมรรค (คำว่าปฐมมรรคนี้ได้มาจากบาลีในสนธิกับประโยคว่า “ตฺตรายมาทิ” ซึ่งแปลกันมาว่า อยํ ปฐมมคฺโค อันว่าปฐมมรรคนี้ อาทิ ภวติ มีอยู่เป็นเบื้องต้น ตตฺร นิพฺพาเน ในพระนิพพานนั้น) เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌานและอรูปฌาน ก็ยังอยู่กระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่ เรียกกันว่าฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยสมถะเป็นรากฐานก่อน จึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้




=======================================

เพิ่มเติม

วิโมกข์ 8
ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ

1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม
2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก
3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม(ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา
4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย
7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://www.84000.org..._item.php?i=298




ปฏิสัมภิทาญาณ 4
ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ ความสามารถพิเศษในการสั่งสอนคนอื่น ได้แก่
1.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร
2.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถสรุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
3.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่องภาษาทุกภาษาทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์ สาารถเข้าใจได้
4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถอธิบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดี ตอบคำซักถามได้แจ่มแจ้ง

ที่มา : พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
หน้า 87 ข้อ [๑๘๖] เป็นต้นไป



แถมค่ะ


อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด — superknowledge; ultra-conscious insight)
1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — magical powers)
2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ — divine ear)
3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ — penetration of the minds of others; telepathy)
4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้ — remembrance of former existences; retrocognition)
5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ — divine eye)
6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป — knowledge of the exhaustion of all mental intoxicants)

ในอภิญญา 6 นี้ 5 ข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อที่ 6 เป็นโลกุตรอภิญญา คุณวิเศษเหล่านี้ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงด้วยการบอกเล่าหรือสั่งสอนกัน ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนั้นๆ แล้วจึงจะประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

ที่มา :พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://84000.org/tip..._item.php?i=274


สาธู๊
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#3 usr33771

usr33771
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 12:04 PM

สาธุ...

#4 Poti

Poti
  • Members
  • 254 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 01:48 PM

สาธุท่าน สาธุธรรม saveไว้แล้ว

เพิมเติม ที่ถูกต้องเป็น วิชชา

#5 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 02:50 PM

...นี่แหละ ที่เขาเรียกว่า "ผู้รู้จริง" อิอิ สาธุ
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#6 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 08:20 PM

http://main.dou.us/v...s_id=352&page=4
ที่เหลือ เพื่อนๆตอบแล้ว
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#7 usr23182

usr23182
  • Members
  • 114 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2010 - 11:30 PM

ขอบคุณ ทุกท่านค่ะ ที่มอบธรรมทานให้ กับ ทุกคนค่ะ สาธุ ค่ะ

ได้ความรู้มาอีกเพียบ ดีจังค่ะ

อนุโมทนาบุญ กับ ทุกท่านด้วยค่ะ ที่ตั้งใจทำความเพียร นั่งสมาธิ ให้ได้พระธรรมกาย

สาธุ สาธุ สาธุ

#8 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 March 2010 - 02:21 AM

สาธุ ครับผม

#9 usr35678

usr35678
  • Members
  • 3 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 August 2010 - 08:57 PM

เอาวิชชา๓ก่อนนะทำให้ได้สักวิชชาก่อน ปุุพเพนิวาสนุสติ /ทิพย์จักษุ/อาสวขยญาณ

#10 usr35678

usr35678
  • Members
  • 3 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 August 2010 - 09:03 PM

อภิญญา๖ก็เพิ่ม อิทธิวิธี(แสดงฤทธิ์)หูทิพย์ ปรจิตตวิชชานะ ง่ายมะ เอาอีกมะคับ

#11 usr35678

usr35678
  • Members
  • 3 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 August 2010 - 09:08 PM

วิชชาแปด ก็เพิ่มขึ้น เป็นคุณวิเศษที่มากกว่าเดิม แต่จรณะ๑๕เป็นวิธีการที่จะไปสู่วิชชาต่างๆให้สมบูรณ์ เป็นลักษณะของผู้ที่ฝึกตัวดีแล้วอย่างเยี่ยมยอด ส่วนปฎิสัมภิทาญาณ ก็เป็นความรู้ที่แตกฉานสี่อย่างเกี่ยวกับภาษาที่ใช้แสดงธรรมเผยแผ่ธรรมะ แต่ละวิชชา ทำยากง่ายต่างกัน ส่วนมากพระอรหันต์ธรรมดา เช่นสุขวิปัสสกะไม่ค่อยมีฤทธิ์เลย ยกเว้นหมดกเลส แม้หลายองค์จะมีก็มีแค่บางอย่างพระพุทธเจ้าจะมีครบจ้ะ

#12 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 24 October 2010 - 08:30 PM

QUOTE
วิชชา ที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ (๑) วิปัสสนาวิชชา, (๒) มโนมยิทธิวิชชา, (๓) อิทธิวิธีวิชชา, แต่ถ้านับรวมตลอดถึง อภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชา เข้าด้วยกันแล้ว รวมกันเป็น ๘ คือ (๔) ทิพพจักษุวิชชา, (๕) ทิพพโสตวิชชา, (๖) ปรจิตตวิชชา, (๗) ปุพเพนิวาสวิชชา, (๘) อาสวักขยวิชชา
ข้อความนี้ไม่ถูกต้องนะคะ

วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษอันลึกซึ้งด้วยปัญญา ได้แก่ ญาณ คือความหยั่งรู้ ซึ่งเกิดจาก การทำสมาธิสุดยอดเข้าถึงธรรมกาย คือ
1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติตัวเองได้
2. จุตูปปาตญาณ คือตาทิพย์ ระลึกชาติคนอื่นได้
3. อาสวักขยญาณ คือความรู้ที่ทำให้หมดกิเลส
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น บางรูปมีญาณแก่กล้าขึ้นไปอีก คือบางรูปได้อภิญญา 6 บางรูป ได้วิชชา 8 บางรูปได้ปฏิสัมภิทาญาณ 4

วิชชา 8 คือความรู้แจ้ง หรือความรู้วิเศษ 8 อย่าง คือ
1. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์
2. มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ
3. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ ขยายตัวได้หายตัวได้ ฯลฯ
4. ทิพยโสต มีหูทิพย์
5. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
7. ทิพยจักษุ มีตาทิพย์
8. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำกิเลสให้สิ้นไปได้
ที่มา http://main.dou.us/v..._id=370&page=15

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป