กรรม
เริ่มโดย gioia, Mar 25 2006 03:34 AM
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 March 2006 - 03:34 AM
กตัตตากรรม
กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง
หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร
ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน
กตัตตาวาปนกรรม
กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น
ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม
(แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว
กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ
๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล
กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ
๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
#2
โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 05:57 PM
สาธุค่ะ
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้
น้าจี้
#3
โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 07:37 PM
สาธุ
เปิ้ล
เปิ้ล
Ple
#4
โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 07:43 PM
สาธุค่ะ
เอ๊ะ
ต้องกำกับชื่อไว้ด้วย
QUOTE
สาธุ
เปิ้ล
เปิ้ล
เอ๊ะ
ต้องกำกับชื่อไว้ด้วย
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
สุนทรพ่อ
muralath2@hotmail
#5
โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 09:25 PM
Dear Marulath, I like this:
Can you pls give the source of reference?
QUOTE
การนั่งธรรมะ ก็เหมือนกำปั้นทุบขี้ดิน
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
Can you pls give the source of reference?
#6
โพสต์เมื่อ 28 March 2006 - 12:33 PM
QUOTE
Dear Marulath, I like this:
QUOTE
การนั่งธรรมะ ก็เหมือนกำปั้นทุบขี้ดิน
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
Can you pls give the source of reference?
QUOTE
การนั่งธรรมะ ก็เหมือนกำปั้นทุบขี้ดิน
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
Can you pls give the source of reference?
จริงๆแล้วมันก็มีในหนังสือยายทุกเล่มนะคะ แต่ แต่ละเล่มจะใช้คำไม่เหมือนกัน อันนี้เอามาจากหนังสือชื่อ "เมื่อต้องดูแลตัวเอง..."ค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
สุนทรพ่อ
muralath2@hotmail
#7
โพสต์เมื่อ 28 March 2006 - 02:07 PM
" กรรม "
--------------------------------------------------------------------------------
- คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืด ๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไป
นอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรม ไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเข้าใจในกรรมเช่นนี้ไม่ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน
กรรม คือ กาลอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ ทุกคนจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ย่อมมีเจตนาคือ ความจงใจนำอยู่ก่อนเสมอ และในวันหนึ่งก็ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ จะคิด นี่แหละคือกรรม วันหนึ่ง ๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม
หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อที่จะทำกรรมที่ดีที่ควร และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดีได้ จึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำกรรมดีถ้าให้เกิดโทษทุกข์ ก็จะไม่ตรัสไว้อย่างนี้ แต่เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึง ตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควร
ที่ว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมปัจจุบัน ด้วยการควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำกรรมอะไรก็ได้นั้น ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึงกรรมอดีตที่จะส่งผลให้ในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกสำหรับผู้ที่เชื่อในอดีตชาติว่า กรรมที่ทำให้ในอดีตชาติจะส่งผลให้ในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำนาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัวอำนาจมืดที่จะมาทำร้ายเอาแน่ ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไรสมควรจะพิจารณา
' ประการแรก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเป็นทายาทรับผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาข้อมาติกา คือแม่บท ไม่มีผิดเหมือนอย่างที่คำโบรารณว่า กำปั้นทุบดิน แต่ยังมีกฎประกอบอีกหลายข้อเหมือนอย่างดินที่ทุบนั้น ยังมีปัญหาต่อไปอีกหลายข้อว่า ดินที่ตรงไหน เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าดินแล้วก็คลุมไปทั้งโลก คำว่ากรรมก็ฉันนั้นคลุมไปทั้งหมดเพราะคนทุกคนทำกรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันมากมายเหลือเกิน กรรมอันไหนจะให้ผลเมื่อไร จึงมีกฎแบ่งกรรมออกไปอีก สรุปลงว่า กรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ให้ผลก่อนกรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้นทำมาทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกบ้างสลับกันไป ผู้ที่มีสุขมากก็เพราะกรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มากก็ตรงกันข้าม
' และในปัจจุบันนี้ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดีอย่างหนักหรือบ่อย ๆ กรรมดังกล่าวนี้จะสนองผลให้ก่อน กรรมชั่วในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่าก็ไม่มีโอกาสให้ผล ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอ ๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนือง ๆ ก็จะระงับคู่เวรในอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน ทั้งเมื่อได้ดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าเพื่อความสิ้นทุกข์ ก็จะดำเนินเข้าสู่ทางที่พ้นจากกรรมเวรทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหาเป็นกรรม สมุทัยคือ เหตุให้เกิดกรรม มรรคเป็นทางดับกรรม ฉะนั้น จึงไม่ต้องกลัวอดีต แต่ให้ระวังปัจจุบันกรรม และระวังใจ ตั้งใจให้มั่นไว้ในธรรม ธรรมก็จะรักษาให้มีความสวัสดีทุกาลทุกสถาน
--------------------------------------------------------------------------------
(จาก .. พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ-สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
--------------------------------------------------------------------------------
- คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืด ๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไป
นอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรม ไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเข้าใจในกรรมเช่นนี้ไม่ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน
กรรม คือ กาลอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ ทุกคนจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ย่อมมีเจตนาคือ ความจงใจนำอยู่ก่อนเสมอ และในวันหนึ่งก็ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ จะคิด นี่แหละคือกรรม วันหนึ่ง ๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม
หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อที่จะทำกรรมที่ดีที่ควร และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดีได้ จึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำกรรมดีถ้าให้เกิดโทษทุกข์ ก็จะไม่ตรัสไว้อย่างนี้ แต่เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึง ตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควร
ที่ว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมปัจจุบัน ด้วยการควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำกรรมอะไรก็ได้นั้น ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึงกรรมอดีตที่จะส่งผลให้ในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกสำหรับผู้ที่เชื่อในอดีตชาติว่า กรรมที่ทำให้ในอดีตชาติจะส่งผลให้ในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำนาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัวอำนาจมืดที่จะมาทำร้ายเอาแน่ ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไรสมควรจะพิจารณา
' ประการแรก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเป็นทายาทรับผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาข้อมาติกา คือแม่บท ไม่มีผิดเหมือนอย่างที่คำโบรารณว่า กำปั้นทุบดิน แต่ยังมีกฎประกอบอีกหลายข้อเหมือนอย่างดินที่ทุบนั้น ยังมีปัญหาต่อไปอีกหลายข้อว่า ดินที่ตรงไหน เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าดินแล้วก็คลุมไปทั้งโลก คำว่ากรรมก็ฉันนั้นคลุมไปทั้งหมดเพราะคนทุกคนทำกรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันมากมายเหลือเกิน กรรมอันไหนจะให้ผลเมื่อไร จึงมีกฎแบ่งกรรมออกไปอีก สรุปลงว่า กรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ให้ผลก่อนกรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้นทำมาทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกบ้างสลับกันไป ผู้ที่มีสุขมากก็เพราะกรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มากก็ตรงกันข้าม
' และในปัจจุบันนี้ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดีอย่างหนักหรือบ่อย ๆ กรรมดังกล่าวนี้จะสนองผลให้ก่อน กรรมชั่วในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่าก็ไม่มีโอกาสให้ผล ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอ ๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนือง ๆ ก็จะระงับคู่เวรในอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน ทั้งเมื่อได้ดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าเพื่อความสิ้นทุกข์ ก็จะดำเนินเข้าสู่ทางที่พ้นจากกรรมเวรทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหาเป็นกรรม สมุทัยคือ เหตุให้เกิดกรรม มรรคเป็นทางดับกรรม ฉะนั้น จึงไม่ต้องกลัวอดีต แต่ให้ระวังปัจจุบันกรรม และระวังใจ ตั้งใจให้มั่นไว้ในธรรม ธรรมก็จะรักษาให้มีความสวัสดีทุกาลทุกสถาน
--------------------------------------------------------------------------------
(จาก .. พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ-สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
#8
โพสต์เมื่อ 29 March 2006 - 04:39 PM
การนั่งธรรมะ ก็เหมือนกำปั้นทุบขี้ดิน
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
ทุกคนมีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ ของตัวเอง ทำดีย่อมได้รับกรรมดี
ทุกคำภาวนาว่า สมฺมาอรหํๆๆ นั้น เราได้บุญทุกคำ
สมฺมาอรหํ ทีไรได้บุญทุกที หลับตาทีไรก็ได้บุญทุกที
เหมือนกับเราเอากำปั้นทุบขี้ดิน ทุบทีไรก็ถูกทุกที
ทุกคนมีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ ของตัวเอง ทำดีย่อมได้รับกรรมดี
#9
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 03:22 PM
สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้
#10
โพสต์เมื่อ 06 April 2006 - 07:01 PM
ไม่ค่อยเห็นคุณ JOYSA บ่อยเหมือนเมื่อก่อน
รออ่านข้อความดีๆอยู่นะคะ
อนุโมทนาบุญค่ะ
รออ่านข้อความดีๆอยู่นะคะ
อนุโมทนาบุญค่ะ
#11
โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 07:57 AM
กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ