ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 08:45 AM

ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอด 45 พรรษาแล้ว   ทรงเปล่งปัจฉิมวาจาก่อนดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย  สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  เธอทั้งหลายจงยังความไม่ปร

 

มาทให้ถึงพร้อมเถิด"

(มหาปรินิพพานสูตร ฑี.ม. 10/143/180)

ความหมาย "ความไม่ประมาท"คือ การที่สติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด พูด ทำสิ่งใดๆ
 

จะไม่ยอมถลำสู่ทางเสื่อม และ ไม่ยอมพลาดโอกาสในการสร้างความดี

การเจริญภาวนา เป็นเหตุให้เกิดการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า  หากไม่ประกอบเหตุคือการเจริญภาวนา ผลคือการตรัสรู้ธรรม ย่อมไม่มี

ดังนั้นการเจริญภาวนา หรือพูดสั้นๆว่าการนั่งสมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หวังความสุขความหลุดพ้นเป็นอย่างยิ่ง

ผู้ไม่นั่งสมาธิ ได้ชื่อว่าประมาทที่สุด เพราะหากไม่เข้าถึงกายธรรมอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ ก็ตกเป็นบ่าวเป็นทาสกิเลสตลอดไป ผู้ไม่นั่งสมาธิได้ชื่อ

 

ว่าประมาทขอยกไว้

 

แม้ผู้นั่งสมาธิแล้วก็ยังได้ชื่อว่าประมาทอยู่หากมีลักษณะ 11ประการ ดังนี้

 

1. ไม่ทำกิจโดยเคารพ คือนั่งสมาธิไปอย่างนั้นๆ ไม่ศึกษาว่าทำถูกต้อง ถูกวิธีหรือไม่ทำผิดก็คิดว่าทำถูก ทำน้อยก็คิดว่าทำมาก จึงได้รับผลไม่เต็ม

 

    ที่เท่าที่ควร

 

2. ไม่ทำติดต่อกัน คือนั่งสมาธิแบบเดี๋ยวจริงเดี๋ยวหย่อน   เหมือนธารน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกันก็กลายเป็นร่องน้ำเป็นหย่อมๆ ไป

3. ทำๆ หยุดๆ คือนั่งสมาธิไปช่วง เลิกนั่งไปอีกช่วงเหมือนกระแตที่วิ่งๆ หยุดๆ แม้ช่วงที่ได้นั่งสมาธิจะได้ผลอย่างดี แต่หากทำๆ หยุดๆ แล้วก็

 

    ยากที่จะเอาดีได้ เหมือนนักกีฬาที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หากซ้อมบ้างไม่ซ้อมบ้าง ก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศได้

4. ทำอย่างท้อถอย คือนั่งสมาธิเหมือนคนซังกะตาย เหมือนลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มแรง

5. ทอดฉันทะ คือทำแบบเลื่อนลอย ทำแบบหมดรัก  "ความรัก" จะก่อให้เกิดพลังอย่างน่าอัศจรรย์

6. ทอดธุระ อาการหนักกว่า ทอดฉันทะอีก คือไม่สนใจทำแล้ว

7. ไม่ติด คือทอดธุระแล้วก็ชะล่าใจ ชักนั่งสมาธิไม่ติดแล้ว ผุดลุกผุดนั่ง

8. ไม่คุ้น คือพอทิ้งไปมากเข้าบ่อยเข้า ครั้นมานั่งสมาธิอีก ก็เหมือนมาเริ่มต้นใหม่เหมือนไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน
     

    รู้สึกอึดอัดขัดข้องไปหมดก็ต้อง อดทน...อดทน... แล้วก็ อดทน ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เอง ไม่ควรท้อถอย หรือหมดกำลังใจ

9. ไม่ทำจริงๆ จังๆ คือทำแบบเช้าชาม เย็นชาม ทำพอได้ชื่อว่าทำ

10. ไม่ตั้งใจทำ คือทำแบบถูกบังคับให้นั่ง ทำแบบให้คิดจะเอาดี

     อันที่จริง จะตั้งใจนั่งสมาธิกับไม่ตั้งใจช่วงเวลานั้นก็ใช้เวลาเท่ากัน ไหนๆ จะต้องเสียเวลาแล้วก็น่าจะทำให้ดีที่สุด

11. ไม่หมั่นประกอบ คือนานๆ ทำที ทำที่ก็ทำแต่น้อย เช่นนั่งสมาธิปีละ3 ครั้งครั้งละ 10 นาทีเป็นต้น

 

      พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้เราสันโดษในปัจจัย 4 แต่ไม่ใช่สันโดษในการสร้างความดี ความดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือน

 

      ทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ บัณฑิตไม่อิ่มด้วยความดี โดยเฉพาะความดีที่เกิดจาก การนั่งสมาธิเจริญภาวนา

 

ความประมาททั้ง 11 ประการนี้ จะค่อยๆ บั่นทอนความดี จากการนั่งสมาธิไปเรื่อยๆจนเราหมดกำลังใจที่จะทำต่อไป

ดังนั้นจึงควรเร่งตรวจสอบตนเองและหมั่นฝึกใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน


ความไม่ประมาทแบบย่อ ความไม่ประมาทคำเดียว  แต่ได้ย่อพระไตรปิฏกทั้งหมดลงคำๆ นี้   อุปมาเหมือนรอยเท้าสัตว์ทุกรอย สามารถบรรจุในรอย

 

เท้าช้างได้ 

พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี

 

ได้สรุปเรื่องความไม่ประมาทอย่างง่ายๆ ว่า

"ท่านทั้งหลายจงรีบฝึกฝนอบรมตน ให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้   อย่าประมาทในชีวิต "ประมาท" หมายถึง เอาใจออกห่างศูนย์กลางกาย   ใจออก

 

จากศูนย์กลางกายได้ชื่อว่าประมาทแล้ว การเข้าถึงธรรมกายก็จะยืดออกไป   ทำให้สิ่งที่เราจะเรียนรู้อะไรต่างๆอีกมากมายหมดสิ้นไป...

ให้ตรึกระลึกถึงศูนย์กลางกายตั้งแต่ตื่นจนกระทั้งหลับ   วางใจให้ถูกส่วนให้ละเอียดอ่อน ให้จริงจังจริงใจ  และสม่ำเสมอทุกวัน 

ความสม่ำเสมอเป็นหัวใจแห่งการปฏิบัติธรรม   ไม่ว่าจะเซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม เจ็บไข้ อย่างไรก็ตาม   ทันทีที่เราปิดตาจรดศูนย์กลางกาย   ก็

 

เป็นการกำชัยชนะล้านเปอร์เซนต์แล้ว"

ชีวิตปลา รักน้ำ ขวนขวายที่จะอยู่กับน้ำ และขาดน้ำไม่ได้ฉันใด   ชีวิตเราก็ต้องรักศูนย์กลางกาย ขวนขวายที่จะอยู่กับศูนย์กลางกาย   และขาด

 

ศูนย์กลางกายไม่ได้ฉันนั้น

Ref: วารสารกัลฯ ฉบับที่ 144 ธันวาคม 2540 
 

จากยอดดอย โดยทันต์จิตต์

Credit: พระอาจารย์ ณรงค์ ทฺนตจิตโต


แล้วอย่าลืมบันทึกผลการปฏิบัติธรรมกันด้วยนะครับ

 

http://www.dmc.tv/meditation/


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#2 puky02

puky02
  • Member_Facebook
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 10:39 AM

สาธุค่ะ



#3 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 11:13 AM

 [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
 [๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่
พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง
อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ 
 [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
 [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ
 [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ
 [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ
 
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ
อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม
สิ้นไป อย่างนี้
 
ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว
ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
 ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
 จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ                          ฉะนี้แล ฯ


#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 02:52 PM

Meaw LiKe!


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 08:47 PM


นิวรณ์, นิวรณธรรม       มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

#6 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 08:54 PM

วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
 
ถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ความหวาดเสียวเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
 
ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่วหยาบเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหาย
ไปได้ 
 
ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไปได้
 
 ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสำคัญสภาวะว่าต่างกันขึ้นแก่เราได้อีก ฯ
 
 
 
สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ
 
 
 
สมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อยเห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้ เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างหาประมาณมิได้ และเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้างตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ


#7 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 09:55 PM

อย่าหาว่าเรื่องมากเลยนะครับท่าน 

dhammarama

 

ไหนๆ  ก็อุตส่าห์ยกพุทธพจน์อันล้ำค่ามาแล้ว  ถ้าจะใส่รายละเอียดที่มา  ที่ไป  ให้หน่อยก็ดีนะครับ  จะได้สมบูรณ์ขึ้น  สามารถเก็บไว้ศึกษาได้นานเท่านานครับ  เพราะคนรุ่นหลังๆ ที่ใจกำลังเปิดเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ครับ  

 

รบกวนช่วยพิจารณาด้วยครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#8 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 10:09 PM

copy and paste    www.google.com

 

มันเป็นข้อความจาก สรุปจากความเห็นส่วนตัว  

จึงไม่สามารถอ้างอิงได้เพราะไม่ได้ copy ทั้งพระสูตร

มีตรงไหนคลาดเคลื่อน  ก็ชี้แนะได้ จักเป็นพระคุณยิ่ง



#9 justmin

justmin
  • Members
  • 132 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 31 July 2013 - 10:33 PM

.อ่านแล้วก้ได้เตือนใจตัวเองย้ำเข้าไปอีก สาธุ สาธุ สาธุ..



#10 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 01 August 2013 - 07:52 AM

copy and paste    www.google.com

 

มันเป็นข้อความจาก สรุปจากความเห็นส่วนตัว  

จึงไม่สามารถอ้างอิงได้เพราะไม่ได้ copy ทั้งพระสูตร

มีตรงไหนคลาดเคลื่อน  ก็ชี้แนะได้ จักเป็นพระคุณยิ่ง

น่าเสียดายจัง    แต่ไม่เป็นไรครับ  อย่างน้อยก็ยังเก็บไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไป ได้มีแนวทางในการศึกษาต่อได้

 

อย่าลืมนำมาโพสต์ไว้อีกนะครับ  


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ