ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พุทธศาสนิกชนอาลัย สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์แล้ว


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 a456

a456
  • Members
  • 20 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2013 - 11:24 PM

1382627534-1385158101-o.jpg

วันนี้(24 ต.ค.) เวลา 20.28น. ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์แถลง สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา19.30น.พระชันษา100ปีประดิษฐานพระศพตำหนักเพชรวัดบวรฯ   ยังความโศกเศร้าแก่พสกนิกรชาวไทยและพุทธศาสนิกชน

50615111.jpg

ที่มา http://news.mthai.co...ews/279339.html


มาบอกเล่าข่าวเศร้า วงการพระศาสนาครับ



#2 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 08:34 AM

กำลังรอประกาศเกี่ยวกับพระราชพิธีอยู่ครับ  จะได้รู้ว่าพวกเราจะสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราชท่านอย่างไรได้บ้าง  ถ้ามีความคืบหน้าอะไรจะนำมาแจ้งให้ทราบกันนะครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 08:38 AM

แว่วว่า ข้าราชการสวมชุดดำ 15วัน ลดธงครึ่งเสา 3วัน


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 skynoi

skynoi
  • Admin
  • 603 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 08:44 AM

•♥บทเพลง เทิดพระเกียรติ♥•
สมเด็จพระสังฆราช

 

แนบไฟล์  Monk-Phrasankharacha-01.JPEG   123.95K   23 ดาวน์โหลด

 



#5 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 10:13 AM

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม   สำนักพระราชวัง  ได้ออกประกาศไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ความว่า

 เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค.56 เวลา 19.30 น.

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ต.ค.56 ถึง วันเสาร์ที่ 23 พ.ย.56 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรฯ และถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

สำนักพระราชวัง 

ทางด้านนายธงทอง จันทรางศุ  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กำหนดการในวันพรุ่งนี้( 25 ตุลาคม) อยู่ระหว่างรอทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคาดว่าจะมีการเคลื่อนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กลับวัดบวรนิเวศวิหาร ในเวลา 12.00 น. และอัญเชิญพระศพประดิษฐานยังตำหนักเพ็ชร ในวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งคาดว่าจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ในเวลา 13.00 น. โดยรัฐบาลจะออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ข้าราชการทั่วประเทศแต่งชุดไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยเป็นเวลา 15 วัน ส่วนสถานที่ราชการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา  3 วัน


ส่วนประชาชนที่ต้องการไปร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพต่อหน้าพระรูป สามารถไปได้ยังอาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรฯ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

 
 
ด้านนายสมพงษ์ แก้วเจริญไพศาล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศิษย์ของพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และแม้ว่าพระองค์ท่านจะจากไป แต่คุณงามความดีและคำสอนของพระองค์ท่านจะยังคงอยู่สืบไป และขอให้นำคุณงามความดีของพระองค์ท่านเป็นแบบอย่าง ซึ่งในวันพรุ่งนี้(25 ต.ค.) เวลา 08.00 น.จะมีการเปิดให้สักการะที่โรงพยาบาล ก่อนจะมีพิธีเคลื่นพระศพในเวลา12.00น.


556000013963204.JPEG


สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชได้เผยแพร่ คำอธิษฐานถวายพระพร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 
โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

ขอถวายบุญกุศลทั้งปวงที่บำเพ็ญมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ณ วินาทีนี้แด่เจ้าพระคุณฯสมเด็จพระสังฆราช 


ขอรวมกุศลทั้งปวงเป็นแสงสว่างไสวใสบริสุทธิ์ถวาย จิต แห่งพระองค์ท่านให้ยิ่งสว่างไสวผ่องแผ้วยิ่งๆขึ้นไป

 

 

สิ่งใดทางกาย วาจา ใจที่อาจมีล่วงเกิน ทั้งรู้และไม่รู้ตัว ข้าพเจ้ากราบขอขมากรรมทั้งหมด

 

 

ขอโมทนากุศลทุกสิ่งที่ทรงปฏิบัติมา และจะทรงบำเพ็ญต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ในพระสังขารหรือใดๆ

 

 

ขอพระรัตนตรัยโปรดชี้นำและเปิดทางสว่างให้ข้าพเจ้าขอปฏิบัติธรรม เดินจิตได้ถูกธรรม

 

 

เพื่อให้สมเป็นผู้เดินตามรอยธรรมของพระผู้ประเสริฐและงดงามพระองค์นี้ด้วยเทอญ

.................................................................................................................

 

ไทยถ้วนหน้าอาดูรสูญสิ้นแล้ว
พระดวงแก้วแห่งพุทธศาสนา
ส่งเสด็จสมเด็จพระสังฆราชา
สู่สวรรคาลัยไปนิพพาน
 
..................................................................................................

 
สำหรับในเวลา 12.00 น.วันนี้จะมีพิธีอัญเชิญพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปประดิษฐาน ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร โดยใช้เส้นทาง
ถนนราชดำริ เลี้ยวซ้ายแยกศาลาแดงขึ้นทางด่วนพระราม4   ลงทางด่วนอุรุพงษ์ เบี่ยงซ้ายเข้าถนนเพชรบุรี -ถนนหลานหลวง-ผ่าน แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง -อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนดินสอ เลี้ยวขวาเข้า ถ.พระสุเมรวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งประชาชนสามารถร่วมส่งเสด็จพระศพได้ตลอดเส้นทาง
 
................................................................................................

สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#6 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 06:13 PM

พระประวัติ

 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

น้อมถวายอาลัย น้อมสานใจตามรอยธรรมตราบกาลนาน

 

 

เพลงสังฆราชบูชา (Sangharaja Praise for his 100th Birthday )

   

  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

Monk-Phrasankharacha-07.jpg
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ราชาแห่งคณะสงฆ์ไทย

 

คำอธิษฐานถวายพระพร สมเด็จพระสังฆราช

   สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชได้เผยแพร่ คำอธิษฐานถวายพระพร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกโดยมีรายละเอียดดังนี้

ขอถวายบุญกุศลทั้งปวงที่บำเพ็ญมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ณ วินาทีนี้แด่เจ้าพระคุณฯสมเด็จพระสังฆราช
ขอรวมกุศลทั้งปวงเป็นแสงสว่างไสวใสบริสุทธิ์ถวาย จิต แห่งพระองค์ท่านให้ยิ่งสว่างไสวผ่องแผ้วยิ่งๆขึ้นไป
สิ่งใดทางกาย วาจา ใจที่อาจมีล่วงเกิน ทั้งรู้และไม่รู้ตัว
ข้าพเจ้ากราบขอขมากรรมทั้งหมด ขอโมทนากุศลทุกสิ่งที่ทรงปฏิบัติมา และจะทรงบำเพ็ญต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ในพระสังขารหรือใดๆ ขอพระรัตนตรัยโปรดชี้นำและเปิดทางสว่างให้ข้าพเจ้าขอปฏิบัติธรรม เดินจิตได้ถูกธรรม เพื่อให้สมเป็นผู้เดินตามรอยธรรมของพระผู้ประเสริฐและงดงามพระองค์นี้ด้วยเทอญ

 

พระประวัติ พระประวัติขณะทรงพระเยาว์


     สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู

Sangharaja-02.jpg


     เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

 

พระประวัติบรรพชาและอุปสมบท

     เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

 

Monk-Phrasankharacha-09.jpg
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


     ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”  จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

 

พระประวัติการศึกษาพระปริยัติธรรม

     พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

     พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

     หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

พระประวัติการปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์


     หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

     เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก

     ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย

 

พระประวัติได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

     พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น


Sangharaja-04.jpg

ทรงรับพระราชทานพัดยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2532

 

    เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน )สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวรสังฆราชพระองค์แรกของประเทศไทย

แถลงการณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึงการสิ้นพระชนม์


     สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต


Monk-Phrasankharacha-06.JPEG

 


พระกรณียกิจพระสังฆราช

พระกรณียกิจของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นอเนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้

ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ
พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2509 ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. 2511 เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2516, และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2514 เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศฯ
พ.ศ. 2520 เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 43 คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. 2528 ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน 73 คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พ.ศ. 2536 เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. 2538 เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี


ด้านสาธารณูปการ


ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
ปูชนียสถาน
ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
พระอาราม
ด้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตาอินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล
โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี
โรงพยาบาล
ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี, และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม 19 แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง


พระภารกิจของพระสังฆราช


พ.ศ. 2484 เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2489 เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก


พ.ศ. 2499 เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
พ.ศ. 2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระญาณสังวร" สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 ถึงปี พ.ศ. 2515 เป็นเวลาถึง 152 ปี
พ.ศ. 2517 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. 2528 เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2531 รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย


พระนิพนธ์

ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้
ประเภทตำรา
ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค 1-2 สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ
ประเภทพระธรรมเทศนา
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ 5 กัณฑ์, ทศพลญาณ 10 กัณฑ์, มงคลเทศนา, โอวาทปาฏิโมกข์ 3 กัณฑ์, สังฆคุณ 9 กัณฑ์ เป็นต้น
ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ
ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท, วินัยมุข, พุทธประวัติ, ภิกขุปาติโมกข์, อุปสมบทวิธี, และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
ประเภททั่วไป
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา, หลักพระพุทธศาสนา, พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ, 45 พรรษาพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ), วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ), แนวปฏิบัติในสติปัฎฐาน, อาหุเณยโย, อวิชชา, สันโดษ, หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมจิต, การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่, บัณฑิตกับโลกธรรม, แนวความเชื่อ, บวชดี, บุพการี-กตัญญูกตเวที, คำกลอนนิราศสังขาร, และตำนานวัดบวรนิเวศ เป็นต้น


พระเกียรติยศของพระสังฆราช

Monk-Phrasankharacha-08.jpg

ตราประจำพระองค์


ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ. 2490 พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์
พ.ศ. 2495 พระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 พระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกคุณวิภูสิต ธรรมวิทิตคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2504 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
พ.ศ. 2532 สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช


ตำแหน่งที่ได้รับการถวาย


ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา อันเป็นตำแหน่งที่ได้รับการทูลถวายจากผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศเข้าร่วมประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกชนแห่งโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2555 ในฐานะที่ทรงได้รับการเคารพอย่างสูงสุด รวมทั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแห่งประเทศไทย ผู้สอนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทุกคนปฏิบัติธรรมตั้งอยู่ในพระปัญญาธรรมและพระกรุณาธรรมนำ ไปสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองมีพระบารมีปกแผ่ไพศาลไปทั่วราชอาณาจักรไทยและทั่วโลก นับเป็นแบบอย่างของสากลโลก ซึ่งเป็นการมอบตำแหน่งนี้เป็นครั้งแรกของโลก


ปริญญากิตติมศักดิ์

พระองค์ได้รับการถวายปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันการศึกษา ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2529: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2532: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2533: พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2537: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2538: การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2539: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2540: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2543: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2545: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาไทศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พ.ศ. 2548: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
พ.ศ. 2554: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
พ.ศ. 2556: ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
งานฉลองพระชันษา 96 ปี (8 รอบ)

3 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 96 ปี รัฐบาลจัดให้มีการบำเพ็ญกุศล และงานฉลองเนื่องในโอกาสมงคลนี้


อ้างอิงจาก wikipedia.org


เพลงสังฆราชบูชา (Sangharaja Praise for his 100th Birthday )

 

 

เนื้อเพลงสังฆราชบูชา (Sangharaja Praise for his 100th Birthday )

 

 

....................................................................................................................

 

 


86134.jpg
 
ในหลวง พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ บรรจุพระศพสมเด็จพระสังฆราช  ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้อัญเชิญพระโกศไปยังวัดบวรฯ แล้ว 
 
 
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพ เจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังได้ร่วมกันจัดสถานที่ภายในพระตำหนักเพ็ชร สถานที่ที่ใช้เก็บพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก   หลังจากอัญเชิญมาจาก รพ.จุฬา โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกันอัญเชิญพระโกศกุดั่นใหญ่ ที่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในการประกอบพิธี โดยจะมีการปิดถนนหน้าวัดบวรฯ ตั้งแต่เวลา 10.00 น.และจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพในช่วงบ่ายวันนี้
          
 
สำหรับประชาชนที่เดินทางมาร่วมสรงน้ำพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สามารถมาที่อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร โดยทางวัดได้จัดให้ประชาชนสามารถร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพต่อหน้าพระรูปได้ตั้งแต่เวลา 13.00น.เป็นต้นไป

สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#7 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 25 October 2013 - 06:22 PM

^_^  ...  สุดยอดนักข่าวเลยนะคุณทศ ...

 

....มารับรางวัลไปเลย...  " 1 กอง " ....


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#8 Shutter_B

Shutter_B
  • Admin
  • 49 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 26 October 2013 - 08:34 AM

     แนบไฟล์  Monk-Phrasankharacha-09.jpg   141.97K   45 ดาวน์โหลด

 

      สำนักนายกรัฐมนตรี ออกประกาศ ขยายเวลาไว้ทุกข์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) 30 วัน ตั้งแต่ 25 ต.ค.-23 พ.ย.56

     วันที่ 25 ต.ค. 56 สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศเรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ ตามที่ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์ มีกําหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 นั้น

     โดยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเจริญด้วยพระคุณธรรมอันเปี่ยมล้น และได้ทรงบําเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่พระบวรพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา ประกอบกับประชาชนจํานวนมากต่างเศร้าโศกอาลัยในการสิ้นพระชนม์

    ดังนั้น เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย รัฐบาลจึงเห็นสมควรประกาศให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556

     ทั้งนี้ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันไว้ทุกข์ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย โดยพร้อมเพรียงกัน

 
ขอบคุณข่าวจากไทยรัฐออน์ไลน์
 

 


"หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง"