ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

ห้ามพระรับเงินทอง และพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา (ทองเหลือง/รูปปั่น/พระเครื่องฯลฯ) จริงหรือไม่ อย่างไร???


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 21 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 10:27 AM

ทอง-เงินไม่ควรถวายภิกษุ ห้ามพระรับเงินทอง  และพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา (ทองเหลือง/รูปปั่น/พระเครื่องฯลฯ) จริงหรือไม่ อย่างไร???

 

1.ห้ามพระรับเงินทอง

พระไตรปิฎก ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย 
เล่ม 3 (ปกสีแดง หน้า 887 / ปกสีน้ าเงิน หน้า 940)
เล่ม   9    หน้า   536 
เล่ม   16   หน้า   302 , 308
เล่ม  11   หน้า   310 – 311   
เล่ม  3    หน้า   663 
เล่ม   7   หน้า   480
เล่ม   9   หน้า    543  
เล่ม  6   หน้า   153  และ  178
เล่ม    53     หน้า    202
เล่ม   1     หน้า   361
ฯลฯ

 

2.รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มีและพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม (มหามกุฎราชวิทยาลัย) 
 
พระไตรปิฎกที่ข้าพเจ้าและคณะจะใช้อ้างอิงนี้   
เป็นพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย 
http://www.tripitaka91.com

ผู้ที่งมงายย่อมกล่าวตู่พุทธเจ้า เล่ม  33   หน้า   346   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   คน   ๒   จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต   ๒   จำพวกเป็นไฉน 
คือ  คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน   ๑   
คนที่เชื่อโดยถือผิด  ๑   
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    คน  ๒  จำพวกนี้     ย่อมกล่าวตู่ตถาคต.


บทว่า  อพฺภาจิกฺขนฺติ  ได้แก่  กล่าวตู่   คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า  โทสนฺตโร   แปลว่า   มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน. 
จริงอยู่    คนแบบนี้ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต    เช่น   สุนักขัตตลิจฉวี     
กล่าวว่า    อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมหามีไม่. 

บทว่า    สทฺโธ   วา  ทุคฺคหิเตน   ความว่า    หรือว่า    ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า   
ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ (ความรู้)   มีความเลื่อมใสอ่อนนั้น   ถือผิดๆ   
กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า     
ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น    เป็นโลกุตระ (ประเสริฐเหนือโลก)  ทั้งพระองค์     
พระอาการ  ๓๒  มีพระเกสาเป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น    ดังนี้...


เล่ม  54   หน้า    261   บรรทัดที่  4

...ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหมด   ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา
ผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลกกราบทูลว่า     นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉันการได้เห็น
พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้    ก็เป็นครั้งสุดท้าย    หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์
ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก     ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก    การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัส
พระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งละเอียดอ่อนดี      วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.
 
พระศาสดาตรัสว่า    ประโยชน์อะไรของเธอด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน  (คือ   ร่างกายของพระองค์ในตอนนั้น)   
รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่งไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม....


เล่ม  20   หน้า 287

ในขณะนั้นท่านพระราหุลเสด็จไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพระตถาคตตั้งแต่พื้นพระบาท (เท้า)
จนถึงปลายพระเกสา (ผม)  ท่านพระราหุลนั้นทอดพระเนตร (มองดู)
เห็นความงดงามของเพศพระพุทธเจ้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า   จึงดำริว่า   
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสรีระ (ร่างกาย) วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ 32  ประการ  งดงาม
ได้เป็นดุจเสด็จไปท่ามกลางผงทองคำอันกระจัดกระจาย     
เพราะแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่งดุจนกบรรพตอันแวดล้อมด้วยสายฟ้า   
ดุจทองคำมีค่าวิจิตรด้วยรัตนะอันฉุดคร่าด้วยยนต์   แม้ทรงห่มคลุมด้วยผ้าบังสกุลจีวรสีแดง   
ก็ทรงงามดุจภูเขาทองอันปกคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง   ดุจทองคำมีค่าประดับด้วยสายแก้วประพาฬ
ดุจเจดีย์ทองคำที่เขาบูชาด้วยผงชาด   ดุจเสาทองฉาบด้วยน้ำครั่ง
ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญโผล่ขึ้นในขณะนั้นไปในระหว่างฝนสีแดง.   

สิริสมบัติของอัตภาพ (ความเป็นตัวตน) ที่ได้เตรียมไว้ด้วยอานุภาพแห่งสมติงสบารมี. (บารมี 30)     
จากนั้นพระราหุลเถระก็ตรวจดูตนบ้าง  ทรงดำริว่า   แม้เราก็งาม   
หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง  4
ได้ทรงประทานตำแหน่งปริณายก (ผู้เป็นหัวหน้า) แก่เรา  เมื่อเป็นเช่นนั้น.
ภาคพื้นชมพูทวีปจักงามยิ่งนัก    จึงเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพ
           
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า
บัดนี้ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว.
เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด.  ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ
หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น
ดุจเห็นปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์.
ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า  ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา  เดินตามหลังเรา
มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า  เรางาม  ผิวพรรณของเราผ่องใส.
ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน   ไปนอกทาง    เที่ยวไปในอโคจร
ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ.    อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน   
ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน    แม้ประโยชน์ผู้อื่น    แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง.
 
จากนั้นจักถือปฏิสนธิ (เกิด)ในนรกบ้าง    ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง     ในปิตติวิสัยบ้าง
ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง     เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด....



ทองเหลืองหล่อ   ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่      เล่ม   32    หน้า  214

อปฺปฎิโม   (ไม่มีผู้เปรียบ)   ความว่า     อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ    เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง   มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น   
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น   ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต     ย่อมไม่มี 
 
เพราะเหตุนั้น    จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.   
 
อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ)   ความว่า   ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ   
เพราะใคร ๆ   ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต  นั้นไม่มี
 
พระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.tripitaka91.com
เล่ม 32 หน้า 214 บรรทัด 6
เล่ม 11 หน้า 66
เล่ม 13 หน้า 121
เล่ม 13 หน้า 320
เล่ม 60 หน้า 267
เล่ม 21 หน้า 202
เล่ม 27 หน้า 90
เล่ม 30 หน้า 444
เล่ม 32 หน้า 176
เล่ม 33 หน้า 468
ฯลฯ
 

ไฟล์แนบ



#2 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 11:56 AM

ไม่รู้ว่า  คนที่เขียนบทความนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไรกันแน่  เพราะเขียนบทความแบบด้านเดียว  คือ  เขียนทุกอย่างเฉพาะสิ่งที่สนับสนุนบทความของตนเองเท่านั้น

 

เช่น  เรื่องสิกขาบทห้ามรับเงินทอง  ถ้าเห็นแค่เท่าที่บทความนี้เขียนมา  ก็จะต้องตัดสินทันที  ว่า  ผิด จริง   แต่ถ้าเราศึกษาไปถึงต้นเหตุของสิกขาบทนี้เมื่อไหร่  จะทำให้เราเข้าใจในพุทธเจตนาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลยว่า ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้มา "เพื่ออะไร"  จะไม่ตอบเพิ่มเติมแล้ว  เพราะในบอร์ดนี้คุยเรื่องนี้มาหลายรอบแล้ว  ข้อมูลครบถ้วนแล้ว  ลองค้นศึกษากันดูนะครับ

 

ในทำนองเดียวกัน  ใครที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าง "ถ่องแท้"  ก็จะเข้าใจได้เลยว่า  ศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนานั้นจริงๆ แล้วไม่มีเลยแม้แต่สิ่งเดียว    ศาสนวัตถุต่างๆ ของพระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร  เมื่อใด  และอย่างไร   ต่างหาก  คือ  สิ่งที่เราต้องใส่ใจ  ที่จะทำความเข้าใจ  

 

กราบขอร้องทุกท่าน  ที่เขีนยบทความทางพระพุทธศาสนานะครับ  เรื่องราวในพระพุทธศาสนานั้นเหมือนไฟบรรลัยกัลป์  ถ้าใช้ถูกวิธี  ถูกต้อง  เหมาะสม  ก็จะเกิดความอบอุ่น  ใช้ประโยชน์ได้มหาศาล  แต่ถ้าบิดเบือนด้วยอคติ  บิดเบือนด้วยอวิชา  บิดเบือนด้วยผลประโยชน์แล้วหล่ะก็  ตัวเราเองจะโดนแผดเผาให้มอดไหม้  ทุรนทุรายไม่มีประมาณเหมือนกันนะครับ   

 

จะเขียนอะไรก็แล้วแต่  อย่าลืมยึดถือพุทธวิสัยแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้  คือ  มีเหตุ  มีผล  มีทางดับเหตุ  แค่นี้ก็จะเป็นบุญเป็นกุศลแห่งพระพุทธศาสนาแล้วครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#3 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 02:16 PM

1.เขียนเพื่อสนับสนุนพระวินัยตามบทบัญญัติในพระไตรปิฏก

2.หากกล่าวว่าบทความบิดเบื่อน ผมเอาบทความออกให้แล้วนะครับ จะลงเฉพาะบทบัญญัติอ้างอิงตามพระไตรปิฏกเท่านั้น

 

ข้อมูลอ้างอิง คลิก

รู้เรื่องพระพุทธรูปตามความเป็นจริง คัดลอกจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม (มหามกุฏราชวิทยาลัย)

พระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา คัดลอกจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม (มหามกุฏราชวิทยาลัย)

ทองเงิน ไม่ควรถวายภิกษุ จากพระไตรปิฏกเล่ม 3 หน้า 940 
 



#4 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 03:05 PM

ถามว่ารักษาพระวินัยเพื่ออะไร เพื่อจะอวดเคร่งกันว่าใครรักษาได้เข้มกว่าใครแล้วมาข่มกัน หรือว่าเพื่อจะให้ได้บรรลุอมตธรรม

ดังนั้นจะรักษาพระวินัย ต้องดูวัตถุประสงค์ที่แท้จริง



#5 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 06:33 PM

..อยู่ดีๆ ยกขึ้นมาต้องมาเหตุแน่ ผมก็อยากจะรู้เหตุผล ว่าคุณคิดว่า สิ่งใดที่คุณคิดว่ามันไม่ถูกต้อง ก็ระบุเจาะจงมาเลยจะดีกว่า จะได้พูดคุยได้ถูกประเด็นนะ

 

...แน่นอน ถ้าไม่ใช้คำหยาบ คำดูหมิ่น หรือมุ่งพูดจากระทบแล้ว  เราก็พูดคุยกันได้ครับ แม้คุณจะชอบ หรือไม่ชอบสิ่งใดก็ยังพูดคุยกันได้ ขอแค่ง่ายๆแค่นี้เอง.. มีสิ่งใดที่ต้องการให้อธิบายเพิ่ม หรือจะหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนสิ่งใดก็ยิงประเด็นมาได้เลยครับ  แน่นอน ถ้าคุณสุภาพ เราก็สุภาพกลับไป..


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#6 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 09:24 AM

ใช่ครับมีเหตุครับ และที่ผมกล่าวมาอ้างอิง จุดประสงฆ์กระทู้นี้ไม่ต้องการผลลัพท์ชี้ว่าใครถูกผิดนะครับ ไม่มีอะไรถูก/ผิดนะครับ

 

เป็นการหาคำตอบของผมเองหรือท่านที่สนใจในข้อธรรมนี้ ว่าตกลงรูปปั้น/รูปถ่าย/พระเครื่อง/พระธาตุ/สิ่งแทนพระพุทธ ต้องไม่มีใช่หรือไม่? ถ้าอ้างอิงตามพระไตรปิฏกก็ไม่ได้เขียนให้สร้างสิ่งใดแทนพระพุทธเจ้า จากการค้นคว้าพระพุทธรูปก็เริ่มปั้นมาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนานแล้ว 

 

ก่อนที่ผมจะโพสกระทู้นี้ก็ได้เรียนถามปรึกษา ท่านมหาที่เรียนจบเปรียญธรรม9 มาแล้ว ท่านก็บอกว่า

 

"อารมณ์ของพระอริยะไปแล้ว คือไม่ยึดอะไรที่เป็นสมมุติแล้ว ผมว่าเอาแบบกลางๆ มัชฌิมาปฏิปทาดีกว่าครับ ของขลังต่างๆ พวกไสยศาสตร์ไม่นับถือหรือถือว่าถูกต้องครับ ส่วนรูปปั้นของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งสมมุติก็จริงแต่ก็เป็นตัวแทน สัญลักษณ์ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า ก็เหมือนกับสังเวชนียสถานทั้ง 4 นั่นแหล่ะ

 
ควรเลือกเอาสิ่งดีๆ ของท่านมาครับ บางอย่างท่านสอนคือแบบสุดโต่ง แบบปรมัตถ์เลย ไม่มีสมมุติเลย แต่เราอยู่ในโลกแห่งสมมุติ ไม่งั้นเราก็ต้องบวชเป็นพระแล้วบำเพ็ญให้บรรลุอรหันต์ไปเลย ไม่ต้องถือสมมุติใดๆ ทั้งสิ้น แม้ชื่อเรา ชื่อพ่่อแม่ เพื่่อนๆ ญาติ ฯลฯ ก็สมมุติให้เรียก ไม่งั้นเรียกไม่ถูก ถ้าไม่มีสมมุติเราก็ไม่ต้องพุดกันเลย มองแต่ตากันไปมา เพราะไม่รู้จะพูดอะไร สิ่งต่างๆ มันสมมุติหมด
 
ว่ากันโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีอะไรยึดถือ ครับมีเหตุมีผล แต่คนรับไม่ได้เพราะมันตรงเกินไปและไม่เคยเจอสไตล์นี้
 
ชื่อต้นไม้ก็สมมุติขึ้นมา ชื่อต้นไม้ยังมีชื่อต้นนั้นต้นนี้ คนไทรเรียกต้นไม้ แต่ฝรั่ง (อเมริกา) เรียก Tree ภาษาบาลีเรียก รุกขะ  ส่วนฝรั่งเศษ ญี่ปุ่น ฯลฯ  เรียกอื่นๆ มันไม่เหมือนกัน ของอย่างเดียวกันแท้ๆ แต่ทำไมเรียกคนละอย่าง ทำไมไม่เรียกเหมือนกัน นั่นคือการสมมุตินั่นเอง สมมุติว่าเป็นอันนี้ๆๆ จะได้เรียกถูก แต่ไม่รู้ชื่อจริงๆ ของมัน (ของต้นไม้) นั้นไม่รู้ชื่อะไรก็ไม่รู้ แบบว่าชื่อจริงๆ เลย ใครเป็นคนสมมุติเป็นคนแรกเราก็ไม่รู้
 
คนที่เข้าใจหลักธรรมจริงๆ (หลักธรรมคือแก่นธรรมจริงๆ) จะเข้าสิ่่งที่พูดนี้" 
 
 
 
 
 

 

 



#7 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 10:14 AM

การยึดตามพระไตรปิฎกนั้น  เราควรยึดตามแบบไหน  ถึงจะถูกต้องเหมาะสม

 

1.  ยึดปฏิบัติตามพุทธพจน์ตรงๆ โดยไม่ให้ผิดเพี้ยน

 

2. ยึดตามเหตุ  และผล ของพุทธพจน์นั้นๆ แล้วพิจารณาเพื่อปฏิบัติตาม

 

พุทธที่แท้  ควรเป็นแบบไหนครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#8 Souriya

Souriya
  • Members
  • 53 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ส.ป.ป.ลาว
  • Interests:วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 12:04 PM

สวัสดี ครับ เพื้อนฯนักสร้างบาลมี ทุกฯคน

 

ผมเป็นคนหนื่งที่สนใจในพุททะสาตสะหนา คนจาก ส.ป.ป.ลาว  แต่ต้องขออะไพล่วงหน้านะครับ เพราะเขียนพาสาไทยยังไม่คอ่ยเก่ง. วันนี้ผมขอรวมแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ.

 

1. ห้ามพระรับเงินทอง

จากกานอะทิบายของคุน Cheterkk โดยมีพระไตรปีฎก เป็นการอ้างอีง.

 

โดยส่วนตัวผมแล้ว ทุกฯกานกะทำ ไม่ว่าด้อย ทางกาย วาจา และทางใจ มันต้องมีผิด/ถูก เป็นผนของกานทะทำนั้นฯอยู่แล้ว ต่างกันตรงที่ว่า มาก หรือ น้อย นั้นเอง.

 

กานที่พระรับเงิน ไม่ถือว่าเปันสิ่งที่ผิด ถ้าหากมีจุดปะสง เพื่อสร้างปะโหยดให้กับ พุททะบลิสัด 4 ให้ลุดผนออกจากความทุกทังปวง และ เพื่อสงเสีมพุททะสาสหนาให้คงอยู่ได้นานฯ เพื่อปะโหยดสุกจะได้เกีดกับสังคมส่วนลวม.

 

และสาเหตที่พะพุททะอง บันยัดไว้ไม่ให้พระ/เนน รับเงิน ก่อเพาะกลัวว่า กิเลด มันจะกำเลีบ จะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี และจะเป็นทางนำไปสู่ความทุกทังปวงนั้นเอง ถ้าหากว่าผู้ถือสินยังมีอีนชีที่ยังออ่นหัดอยู่ แต่สะลับพระอะริยะแล้วเรื้องเหล่านี้ ไม่มีปันหาครับ มันจะเกีดขื้นสะเพาะกับสมมุดติสงเท่านั้นครับ.

 

แต่ว่าเวลาที่รับเงินพระสงก่อควนทำอย่างเหมาะสม ไม่ควนรับ มื่อ ต่อ มื่อ.

 

อีกอย่าง ในยุกของพะพุททะอง กับในยุกนี้มันก่อมีสะพาบแวดล้อมที่แตกต่างกันมาก เวลาไปไหน ก่อเดีน กะหายน้ำก่อดื่มในป่าได้ตามสะบาย แต่สะใหมนี้นี้คงทำไม่ด้าย เพาะมนละพิดมันมากมาย เราจืงจำเป็นต้องไช้เงินเพื่อเป็นของแลกเปี่ยน  เวลาไปไหนบางที่ไรยะทางมันไก พระทั้นก่อต้องไช้ลด แต่ก่อต้องใช่อย่างเหมาะสม และทำเพื่อปะโหยดส่วนลวมเท่านั้นนะครับ.

 

แต่ถ้าเราอยากจะปะติบัดให้เคั่รงคัด อย่างสะไหมพะพุททะอง มันก่อยิ่งดีใหย่ครับ ถ้าเราทำได้ แต่เราอย่าเอามาดตะถานของเราไปวัดกับคนอื่นเลีย เพราะคนเรามีระดับที่แตกต่างกัน พระสงก่อมี่บารมี และอีนชีในระดับที่แตกต่างกันเหมือนกัน. อีกอย่างเราก่อต้องดูสะพาบแวดล้อม ดูยุกสะไหมกันบ้างว่าควนจะทำแบบไหนให้มันเหมาะสมที่สุด ไม่งั้น พระพุททะอง คงไม่บอกว่า ถ้าหากพระองปะรินิพาน ไปแล้วเพื่อความสะดวก และเหมาะสม ทัมมะปะติบัดควนปัรบแก้ส่วนได ส่วนหนื่งก่อได้ แต่ต้องเปันไปเพื่อประโหยดของส่วนลวม เพื่อกานขัดเกากิเลดให้ลดลง เพื่อทำความทุกให้หมดสิ้น เพื่อสะดวกในกานเผียแผ่พุททะสาด

สะหนา และเพื่อนำพาสัดทังหลายให้หลุดผนจากความทุกทังปวง.

 

จำได้ไหมที่ ครังหนื่งในยุกของพระอง พระเทวะทัดได้เข้ามาบอกว่า

1.พระสงควนอยุ่แต่ในป่าไม่ควนอยู่ในที่เคหะสะถานที่คนทำไห้

2.พระสงไม่ควนสันเนื้อสัด

แต่พระพุททะเจ้าก่อไม่ อะนุยาดให้ทำอย่างนั้นเพาะเห็นว่า มันจะเป็นอุปะสักในกานปะติบัดทัม.

 

2.รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มีและพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา

 

ที่ผ่านมาเราก่อเคียเห็นกํระนี ที่มีวัดแห่งหนื่ง พะยายามจะสั่งสอนคนไม่ให้ยืดติดกับพะพุททะรูบ เพราะคิดว่าเปันเพียงแค่รูบปั้นที่ทำขื้นจาก ดินชาย +ชิเมัน+น้ำ เท่านั้น มันไม่เห็นจะมีคา อะไรที่จะต้องไปกราบไหว้. แต่อย่าลืมว่า คนเราทุกคนมีพื้นถานความรู้ความเข้าใจในระดับที่แตกต่างกัน. ถ้าเราเอาความรู้ระดับมัดทะยม ไปสอนเดักอะนุบาน ยังไงมันก่อไม่ได้ผน. ทัมมะปะติบัดก่อเหมือนกัน บางคนยังไม่รุ้ว่าพระพุททะเจ้าเป็นไคร มาจากไหน มีหน้าตายังไง และมีความสำคันแบบไหน. สิ่งที่จะสือ ได้ดีที่สุดก่อคือ รูบพาบ จากนั้นก่อเกีดเป็นความเหลื้อมใสสัดทา และจื่งมาเปันกานสืกสาัทัมมะ และกานปะติบัดทัม. ทุกอย่างมันต้องมีขั้นมีตอนไม่ไช้ว่า ทุกคนจะเข้าใจเหมือนกันหมด และจะรู้ลืกเหมือนกันหมด ไม่งั้นพระอง คงไม่ยกประเดันดอกบัว 4 เห่ลาขื้นมาดอกนะครับ.

 

พระพุทธรูป เปียบสะเหมือนสันยาลักของพระสาวก และ สันยาลักของพระพุททะอง ที่พะยายามจะช่วยเหลือให้สัดทังหลายพ้นจากความทุกทังปวง. ความดีอันปะเสีดนี้ กับกานเปันแบบอย่างที่ดีให้กับมะนุด และเทวะดา และกานเปันครูผู้ยิ่งใหย่ของพระอง และบันดาเหล่าสาวก ทังหลาย,  ไม่ว่ารูปปั้นนั้นจะทำด้วย

เพัดพรอย, ทองคำ, ไม่ , ดิน หรือกระดาด ผมก่อจะให้ความเคารบรัก. สำรับผมแล้ว มันสมควนอย่างยิ่งที่พวกเราจะให้ความเคารบ นับถือ กับผู้ที่มีพระคุน และท่านก่อเป็นผู้ที่ประเสีดที่สุดใน พบ 3 แห่งนี้.

 

กานที่เราสามาดปะติบัดทัมมะ จนมีอีนชีแก่ก้า และไม่ยืดติดกับทุกอย่างมันก่อเปันสิ่งที่ดีแล้วครับ แต่ก่อควนคำนื่งถืงผู้ที่เป็นมือใหม่หัดฝืก ว่าเราควนจะสอนพวกเขาเห่ล่านั้นอย่างไรดี อย่างเชั่นที่ พระอง คำนื่งถืงดอกบัว 4 เหล่า นั้นละครับ. และที่สำคันที่อยากฝากไว้ ถ้าเราปะติบัดดี ปะติบัดชอบแล้วนั้นมันก่อเป็นสิ่งที่ดีแล้ว และก่อนที่จะให้ความรู้กับไคร เราก่อต้องทบทวน ให้ดีก่อนนะครับ และต้องยืดหลัก สายกรางเป็นหลักนะครับ.

 

สาธุครับ.

 

 


สิ่งที่ต้องสะสมคือบุนกุสน สิ่งที่ต้องสะแหวงหาคือพระรัตนะไตรพายใน เป้าหมายชีวิดคือที่สุดแห่งทัม ที่พักละหว่างทางคือ ดุสิดบุรี วงบุนพิเสด เขดพระโพทิสัด.

ละชั่วทุกอย่าง ทำดีทุกรูบแบบ ทำใจให้พ่องใส อยากไปไหนก่อไปได้ทุกที่...


#9 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 12:17 PM

โอเค ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่ให้แสดงความคิดเห็นมาครับ 



#10 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 05:03 PM

เรื่องนี้แหละ เป็นประเด็นในการสังคายนาทุกครั้ง ที่ชัดเจนที่สุดคือครั้งที่  2 

 

พระห้ามรับเงินรับทอง โดยปรารภเหตุวัตถุ 10 ประการ ของพระภิกษุวัชชีบุตรกรุงเวสาลี โดยมีพระเถระชื่อพระยสกากัณฑบุตร เดินทางไปที่เมืองเวสาลี รู้เห็นพฤติกรรมของภิกษุวัชชีบุตรที่นำถาดทองใส่น้ำตั้งไว้ท่ามกลางสงฆ์ บอกให้พวกชาวบ้านถวายเงินแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วนำเงินน้ันมาแบ่งกันและแบ่งให้พระยสะด้วย นอกจากพระยสะจะไม่รับแล้วยังห้ามชาวบ้านถวายเงินแก่สงฆ์และอธิบายให้ชาวบ้านฟังจนชาวบ้านเลื่อมใสพระยสะมาก พระวัชชีบุตรจึงลงอุเขปนียกรรมแก่พระยสะ เพราะขัดแก่ลาภสักการะ และไม่ให้ความเคารพในหมู่สงฆ์ พระยสะทราบเรื่องจึงเดินทางออกจากเมืองเวสาลีไปชักชวนรวบรวมภิกษุเมืองต่างๆ เพื่อต้องการจะระงับอธิกรณ์ในกรุงเวสาลี และเป็นเหตุให้เกิดการสังคายนาครั้งที่ 2 ขึ้น

 

จริงๆ ถ้าพระสงฆ์ต้องการอะไรก็ให้บอก ในสมัยก่อนต้องการ บริขาร ต้องการน้ำ ต้องการเข็ม ด้าย ก็ให้บอกญาติโยม สมัยนี้ ต้องการปูน ต้องการค่ากระเบื้อง ต้องการค่าโทรศัพท์ ไม่รู้ว่า AIS TRUE Dtac เค้าจะศรัทธาและถวายให้หรือไม่ หรือพระภิกษุไปประเทศศาสนาที่ต่างประเทศ ในประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา จะไปเดินบิณฑบาตสัก 100 รอบก็ไม่มีใครใส่บาตร แม้แต่ในสมัยก่อนเช่น สถูปสาญจี ก็มีชื่อพระ เป็นผู้บริจาคในการสร้าง   นั่นก็หมายความว่าสมัยก่อนพระก็ต้องมีเงินมีทรัพย์ไม่งั้นจะสร้างสถูปได้อย่างไร

 

ในเรื่องความแตกแยกนี้มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล ในเรื่องของความเข้มข้นที่แตกต่างในการปฏิบัติ ทำให้พระสงฆ์เกิดความแตกแยกกัน บวกกับพระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ สงฆ์เมื่อต้องการ ก็พึงถอนสิกขาบทเพียงเล็กน้อยโดยกาลล่วงไปแห่งเรา" (ที.ม. (ไทย) 10/216/165) ทรงอนุญาติให้สงฆ์สามารถยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ไม่มีพระภิกษุรูปใดตอบได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยนั้นคือสิกขาบทหมวดใดบ้าง พระมหากัสสปะจึงให้รักษาสิกขาบทไว้ทุกข้อ ต่อมาทำให้มีพระภิกษุบางกลุ่ม หรือพระภิกษุต่างถิ่นต่างภูมิประเทศต่างสภาพอากาศ ที่เห็นแก่การประพฤติพรหมจรรย์เน้นปรมัตธรรม  ไม่เคร่งในสิกขาบทบางข้อ  ได้มีการตีความหมายของสิกขาบทเพื่อเอื้อประโยชน์แก่การปฏิบัติของตน หรือไม่ได้ปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้บางข้อ ก็ทำให้เกิดข้อแตกแยกในการปฏิบัติในที่สุด และเป็นมูลเหตุแห่งความแตกแยก

 
คือ ถ้าสงฆ์ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของพระวินัยแต่ละข้ออย่างแท้จริง และปฏิบัติพระวินัยเพื่ออวดเคร่งกัน และไม่ยอมกัน เหมือนที่เจ้าของกระทู้ยกตัวอย่างมาว่าถือเคร่ง เวลามีญาติโยมมาถวายปัจจัย ก็จะใช้ก้านธูปเขี่ยๆไปไว้ใต้เตียง ทำว่าถือเคร่งไม่จับเงินจับทอง พอเวลามรณภาพไป มาเปิดกุฏิดู มีซองเต็มไปหมดใต้เตียง ปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่ตรงวัตถุประสงค์ของพระวินัย ทำเพียงแค่อวดเคร่งกันเท่านั้น
 
และการที่สงฆ์ไม่ยอมกัน ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ย่อมทำให้เกิดความแตกแยก และแตกเป็นนิกายในที่สุด ซึ่งนั่นถือเป็นอนัตริยกรรม ควรระแวดระวังเรื่องนี้ให้ดี


#11 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 09:56 PM

 

ทอง-เงินไม่ควรถวายภิกษุ ห้ามพระรับเงินทอง  และพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา (ทองเหลือง/รูปปั่น/พระเครื่องฯลฯ) จริงหรือไม่ อย่างไร???

 

1.ห้ามพระรับเงินทอง

พระไตรปิฎก ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย 
เล่ม 3 (ปกสีแดง หน้า 887 / ปกสีน้ าเงิน หน้า 940)
เล่ม   9    หน้า   536 
เล่ม   16   หน้า   302 , 308
เล่ม  11   หน้า   310 – 311   
เล่ม  3    หน้า   663 
เล่ม   7   หน้า   480
เล่ม   9   หน้า    543  
เล่ม  6   หน้า   153  และ  178
เล่ม    53     หน้า    202
เล่ม   1     หน้า   361
ฯลฯ

 

2.รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มีและพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม (มหามกุฎราชวิทยาลัย) 
 
พระไตรปิฎกที่ข้าพเจ้าและคณะจะใช้อ้างอิงนี้   
เป็นพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย 
http://www.tripitaka91.com

ผู้ที่งมงายย่อมกล่าวตู่พุทธเจ้า เล่ม  33   หน้า   346   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   คน   ๒   จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต   ๒   จำพวกเป็นไฉน 
คือ  คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน   ๑   
คนที่เชื่อโดยถือผิด  ๑   
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    คน  ๒  จำพวกนี้     ย่อมกล่าวตู่ตถาคต.


บทว่า  อพฺภาจิกฺขนฺติ  ได้แก่  กล่าวตู่   คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า  โทสนฺตโร   แปลว่า   มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน. 
จริงอยู่    คนแบบนี้ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต    เช่น   สุนักขัตตลิจฉวี     
กล่าวว่า    อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมหามีไม่. 

บทว่า    สทฺโธ   วา  ทุคฺคหิเตน   ความว่า    หรือว่า    ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า   
ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ (ความรู้)   มีความเลื่อมใสอ่อนนั้น   ถือผิดๆ   
กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า     
ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น    เป็นโลกุตระ (ประเสริฐเหนือโลก)  ทั้งพระองค์     
พระอาการ  ๓๒  มีพระเกสาเป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น    ดังนี้...


เล่ม  54   หน้า    261   บรรทัดที่  4

...ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหมด   ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา
ผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลกกราบทูลว่า     นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉันการได้เห็น
พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้    ก็เป็นครั้งสุดท้าย    หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์
ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก     ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก    การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัส
พระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งละเอียดอ่อนดี      วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.
 
พระศาสดาตรัสว่า    ประโยชน์อะไรของเธอด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน  (คือ   ร่างกายของพระองค์ในตอนนั้น)   
รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่งไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม....


เล่ม  20   หน้า 287

ในขณะนั้นท่านพระราหุลเสด็จไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพระตถาคตตั้งแต่พื้นพระบาท (เท้า)
จนถึงปลายพระเกสา (ผม)  ท่านพระราหุลนั้นทอดพระเนตร (มองดู)
เห็นความงดงามของเพศพระพุทธเจ้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า   จึงดำริว่า   
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสรีระ (ร่างกาย) วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ 32  ประการ  งดงาม
ได้เป็นดุจเสด็จไปท่ามกลางผงทองคำอันกระจัดกระจาย     
เพราะแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่งดุจนกบรรพตอันแวดล้อมด้วยสายฟ้า   
ดุจทองคำมีค่าวิจิตรด้วยรัตนะอันฉุดคร่าด้วยยนต์   แม้ทรงห่มคลุมด้วยผ้าบังสกุลจีวรสีแดง   
ก็ทรงงามดุจภูเขาทองอันปกคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง   ดุจทองคำมีค่าประดับด้วยสายแก้วประพาฬ
ดุจเจดีย์ทองคำที่เขาบูชาด้วยผงชาด   ดุจเสาทองฉาบด้วยน้ำครั่ง
ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญโผล่ขึ้นในขณะนั้นไปในระหว่างฝนสีแดง.   

สิริสมบัติของอัตภาพ (ความเป็นตัวตน) ที่ได้เตรียมไว้ด้วยอานุภาพแห่งสมติงสบารมี. (บารมี 30)     
จากนั้นพระราหุลเถระก็ตรวจดูตนบ้าง  ทรงดำริว่า   แม้เราก็งาม   
หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง  4
ได้ทรงประทานตำแหน่งปริณายก (ผู้เป็นหัวหน้า) แก่เรา  เมื่อเป็นเช่นนั้น.
ภาคพื้นชมพูทวีปจักงามยิ่งนัก    จึงเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพ
           
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า
บัดนี้ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว.
เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด.  ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ
หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น
ดุจเห็นปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์.
ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า  ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา  เดินตามหลังเรา
มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า  เรางาม  ผิวพรรณของเราผ่องใส.
ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน   ไปนอกทาง    เที่ยวไปในอโคจร
ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ.    อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน   
ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน    แม้ประโยชน์ผู้อื่น    แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง.
 
จากนั้นจักถือปฏิสนธิ (เกิด)ในนรกบ้าง    ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง     ในปิตติวิสัยบ้าง
ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง     เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด....



ทองเหลืองหล่อ   ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่      เล่ม   32    หน้า  214

อปฺปฎิโม   (ไม่มีผู้เปรียบ)   ความว่า     อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ    เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง   มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น   
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น   ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต     ย่อมไม่มี 
 
เพราะเหตุนั้น    จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.   
 
อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ)   ความว่า   ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ   
เพราะใคร ๆ   ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต  นั้นไม่มี
 
พระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.tripitaka91.com
เล่ม 32 หน้า 214 บรรทัด 6
เล่ม 11 หน้า 66
เล่ม 13 หน้า 121
เล่ม 13 หน้า 320
เล่ม 60 หน้า 267
เล่ม 21 หน้า 202
เล่ม 27 หน้า 90
เล่ม 30 หน้า 444
เล่ม 32 หน้า 176
เล่ม 33 หน้า 468
ฯลฯ

 

(พูดตามหลักก็ถูก)ตามที่จริงก็ไช่ห้ามพระรับเงินแต่ถ้าไส่ช่องยัดเข้าย้ามหรือผ้ารองใด้แต่ไม่เกิน4บาทเงินสมัยก่อนแต่สมัยนี้ไม่รู้รับได้กี่บาทผมไปถามหลวงปู่มาแล้วแต่จะจับเงินนั้นไม่ได้ถ้าจะไปซื้อของต้องให้โยมหรือเณรจับเงินนั้นแล้วเอาไปซื้อของแต่ได้ยินหลวงพี่บอกว่าเป็นเพียงปัจจัย4ใช้ได้แต่อย่าใช้จนเกิดกิเลสและพระอีกองค์จะไม่แตะเงินไม่รับเงินแต่จะพกเพียงปากกาเล่มเดียวใว้เขียนใบเช็คเวลาจะจ่ายซื้อของหรือจ่ายค่ารถคิดว่าน่าจะใช้ได้น้ะ้ครับ(แต่เงินเก่ายังเหลือในบัญชีสมัยยังเป็นโยม)

เรื่องวัตถุมงคลมีพระใว้เป็นสิ่งเตื่อนใจให้ระลึกได้แต่อย่าหลงในวัตถุมากเกินจนเกิดกิเลสพระแขวงคอหรือพระพุทธรูปมีมาหลายสมัยแล้วหล่อปั่นมาเพื่อให้ผู้คนไม่ลืมศาสนาตัวเองคิดว่างั่น



#12 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 07 November 2013 - 11:28 PM

^_^ ..กราบนมัสการครับ พระอาจารย์อธิบายได้ชัดเจนมากครับ บางเรื่องผมเพิ่งได้อ่านละเอียดก็คราวนี้เอง  ...คุ้มแระ สำหรับกระทู้นี้  :)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#13 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 11 November 2013 - 08:00 PM

อ๋อ คุยกันอยู่ที่กระทู้นี้เอง งั้นผมอธิบายเรื่อง พระพุทธรูป บ้างครับ ในสมัยพุทธกาล มีการบูชาต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ของชาวเมืองสาวัตถี เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่อื่นมาแล้ว

ก็ในเมื่อ ต้นไม้ ซึ่งไม่ใช่ตัวพระพุทธเจ้าแท้ๆ แต่หากน้อมจิตบูชา ด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธานึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังกระทำได้

 

แล้วเหตุไฉน การบูชาพระพุทธรูป ด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมจะกระทำไม่ได้

http://www.84000.org...php?b=27&i=1790

 

แถมด้วยนี่ คือ พจนานุกรมของพระอาจารย์ปยุต ปยุตโต หรือ พระธรรมปิฎก ผู้เลื่องชื่อในช่วง 20-30 ปีก่อน บอกไว้ชัดเจนว่า อุทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูปhttp://84000.org/tip...p?text=เจดีย์_๔

 


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#14 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 11 November 2013 - 08:51 PM

ส่วนเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสให้พระภิกษุ ภิกษุณี อย่ายินดีในรูปปัจจุบันของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เป็นเพราะท่านเหล่านั้น ได้ยกสภาวะจิตของตน พร้อมที่จะบรรลุธรรม หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์กันแล้ว เช่น พระวักกลิ เริ่มต้นศรัทธาพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้ารูปงาม ซึ่งตอนแรกๆ พระพุทธองค์ก็ปล่อยให้ท่านคิด และทำตามใจท่านไปก่อน จนเมื่อทรงเห็นว่า บารมีถึงพร้อม จึงค่อยเทศน์โปรดว่า อย่าสนใจกายเนื้อของพระพุทธองค์ ให้มุ่งสนใจกายธรรม ดีกว่า

ส่วนประชาชนคนทั่วไปเช่น ชาวเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ก็ทรงมีพุทธานุญาติให้บูชาสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ เช่น ต้นโพธิ์ได้ ถึงตรงนี้ หากศรัทธาพระพุทธศาสนาแบบไม่ทันได้ใคร่ครวญก็ต้องบอกว่า คำสอนพระพุทธศาสนาสับสน ทำไมตรงโน้นได้ ทำไมตรงนี้ไม่ได้ คำสอนเดียวกันแท้ๆ

 

แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้ ก็จะเห็นความลุ่มลึกในพระพุทธศาสนาก็เหมาะกับประชาชนคนทุกระดับ สำหรับปุถุชนคนทั่วไปที่ยังสร้างบารมีในวัฏฏะ ก็จะทรงสั่งสอนให้บูชาพระพุทธองค์ เพื่อบ่มบารมีให้แก่รอบ ส่วนผู้ที่จะพ้นวัฏฏะแล้ว พระพุทธองค์จะทรงสอนให้ยึดฝั่งพระนิพพาน

เปรียบเสมือน คนแล่นเรือกลางทะเล ท่านสอนว่า ให้ยึดเรือเป็นที่พึ่ง หากทิ้งเรือ ตายสถานเดียว แต่เมื่อแล่นเรือจะถึงฝั่ง ท่านกลับสอนให้ทิ้งเรือ เพราะถ้ายึดเรือไว้ ก็ขึ้นฝั่งไม่ได้ ฉันใด ก็ฉันนั้น หากคนศึกษาเรื่องทะเลโดยผิวเผิน ก็จะ งง ว่า ทำไมบางท่อน บอกให้ยึดเรือ ทำไมบางท่อน บอกให้ทิ้ง เรือ จะเอายังไงกันแน่ ก็เอาอย่างนี้แหละ คือ ให้ดูสถานการณ์ของใจเรา ว่าอยู่ในระดับไหน ก็ให้ทำตามระดับนั้น

 

ทำผิดลำดับ เช่น อยู่กลางทะเล ดันทิ้งเรือ หรือ กิเลสปัญญาหยาบอยู่แท้ๆ ไปออกให้คนอื่น อย่าศรัทธาพระพุทธรูป อย่างนี้ รอดจากทะเลวัฏฏะได้ยาก

 


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#15 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 November 2013 - 09:44 PM

พระไตรปิฎกที่ข้าพเจ้าใช้อ้างอิงนี้  เป็นพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.tripitaka91.com

ไฟล์แนบ



#16 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 11 November 2013 - 09:55 PM

ขอถามแบบไม่เกรงใจนะครับ  "  ต้องการสื่อให้เกิดประเด็นอะไรหรือครับ "

 

ไม่เอาความคิดคนอื่นนะครับ  เอาความคิดของท่านเจ้าของกระทู้ล้วนๆ เลยนะครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#17 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 02:42 PM

ไม่ได้ต้องการสื่อเพื่อ การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย การใช่หรือไม่ใช่ การถูกหรือผิด ประเด็นใดๆครับ

 

โดยต้องการถกข้อธรรมว่าตกลงยึดพระพุทธรูปหรือไม่ยึดพระพุทธรูป (อ้างอิงตามพระไตรปิฏก http://www.tripitaka...251_300.htm#267 ไม่มีการกล่าวเรื่องสร้างพระพุทธรูป )

 

*การเกิดขึ้นของพระพุทธรูปก็สร้างขึ้นหลังพุทธกาล ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าก็มิได้กล่าวไว้ ชนรุ่นหลังจึงมาแยกตีความคำว่า  "สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น " พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 267 อรรถกถากาลิงคชาดก*



#18 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 04:33 PM

ก็ไม่เห็นจะเป็นไรเลยครับ ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตร ประนมมือไหว้ กลางอากาศว่างเปล่า ผู้คนที่ไม่เข้าใจ ก็พูดกันไป

แต่พระสารีบุตรบอกว่า ท่านไม่ได้ไหว้อากาศ ท่านกำหนดทิศว่า พระอสชิ ผู้เทศน์โปรดให้ท่านเป็นพระโสดาบัน อยู่ทางทิศนั้น ท่านก็ไหว้ไปทางทิศนั้น โดยระลึกถึงคุณของพระอสชิ

 

ที่นี้ ถ้าผมกลับไปบ้าน หันไปในอากาศ กำหนดทิศทางที่ประเทศอินเดียตั้งอยู่ แล้วยกมือไหว้อากาศ แต่จิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า สิ่งที่ผมทำจะเป็นความผิดไปได้อย่างไร ในเมื่อกระทำเหมือนพระสารีบุตรทุกอย่าง

 

เช่นกัน ผมก็ไม่ต้องไปกระทำแบบนั้น แต่กราบไหว้พระพุทธรูปแทน โดยจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ผมย่อมกระทำได้ เพราะ อากาศว่างเปล่า ยังได้เลย แล้วพระพุทธรูป ทำไมจะไม่ได้


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#19 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 08:27 PM

โอเค  เข้าใจแล้ว  คราวนี้ได้คุยกันถูกเรื่องแน่ๆ

 

ในทางพระพุทธศาสนาแล้ว  นอกจากตัวของพระพุทธศาสนาเองแล้ว  เรายังต้องเรียนรู้  วัฒนธรรม  และ  ประเพณี  ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อความเข้าใจในความเป็นมาเป็นไปของเรื่องราวทั้งหมด

 

ถ้ายึดถือ  ตามตัวบทของพระพุทธศาสนาอย่างเดียว  เราก็ต้องมาศึกษาแนวคิด(ขออนุญาติใช้คำนี้เพื่อให้เกิดความเป็นกลางในการแสดงความคิดเห็น)ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ว่าพระองค์ทำไมถึงทรงตรัสเรื่องการบูชาพระองค์เอาไว้อย่างที่ท่านยกมา

 

แต่เรื่องราวของศาสนวัตถุอื่นๆ นั้น  ตามมาทีหลัง  ด้วยเหตุผลประการเดียว  "ระลึกถึง"  เมื่อมาถึงตรงนี้  ท่านต้องถอยออกจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  เข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม  แล้ว

 

ในช่วงแรก  วัฒนธรรมการระลึกถึงด้วยการบูชานั้น  เริ่มต้นจากการสร้างสรรสัญลักษณ์ขึ้นมาทดแทนสิ่งที่เราระลึกถึง  เช่น  การก่อกองดินเพื่อแสดงว่า  ที่ตรงนี้มีความสำคัญ  การวาดรูปสิ่งแทนก็เป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งที่ตกทอดมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู   การวาดภาพองค์เทพเจ้า  สงวนไว้เฉพาะนักบวชเท่านั้น  คนทั่วไปเลยหลีกเลี่ยงด้วยการวาดสัญลักษณ์แทนเพื่อการระลึกถึงบูชา

 

การสร้างพระพุทธรูปนั้น  ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของกรีก-โรมัน  ซึ่งนิยมสลักรูปเหมือนเทพเจ้า  กษัตริย์  และผู้มีชื่อเสียง เอาไว้ระลึกถึงบูชา  เมื่อพระพุทธสาสนาเผยแพร่เข้าไป  วัฒนธรรมท้องถิ่นก็เข้าผสมกลมกลืนไป   ทำให้พระพุทธรูปมีจุดกำเนิดในยุคนี้เอง  ส่วนเอเซียเรา  ได้รับอิทธิพลการสร้างพระพุทธรูปบางส่วนมาจากดินแดนในคาบสมุทรตอนใต้ด้วย  จากเหตุผลเดียวกัน  คือวัฒนธรรมการสลักรูปเทพเจ้าไว้บูชา  เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่เข้ามาตามเส้นทางการค้า  การสลักพระพุทธรูปก็ได้เริ่มต้นในส่วนนี้ของโลกในอีกแบบหนึ่ง

 

ในไทยเรา  อดีตเป็นพวกลัทธินับถือผี  นับถือธรรมชาติ  เมื่อศาสนาพราหมณ์เข้ามา  เราก็รับประเพณีของศาสนาพราหมณ์เข้ามาผนวกไว้กับประเพณีดั้งเดิมของเรา  ซึ่งประเพณีการบูชารูปเคารพก็เป๋นประเพณีหนึ่งในนั้น   เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้วรวมหล่อหลอมเข้ากับประเพณีดั้งเดิมที่มีความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ปนอยู่  ก็ทำให้คนไทยเรา  มีประเพณีการบูชารูปเคารพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปด้วย

 

(ขอย่อแล้ว ย่ออีกนะครับ  ไม่งั้นจะยาวมาก)

 

เพราะฉะนั้น  จะเห็นได้ว่า  การกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปไม่ใช่เรื่องเฉพาะของพระพุทธศาสนา  แต่เป็นวัฒนธรรม  ประเพณีอันดีงามที่ตกทอดสืบต่อกันมา  แม้ในตอนแรกจะเริ่มต้นที่การระลึกถึงบูชา  แล้วมาในปัจจุบันนี้ความหมายของการบูชาจะเปลี่ยนไปบ้างในบางกลุ่ม    แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความหมายตรงของพระพุทธรูปเปลี่ยนไปจากการระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเลย

 

การกราบไหว้บูชาพระพุทธรูป  จึงเป็นพุทธประเพณีครับ  ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธพจน์  พุทธวัจจนะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่อย่างใด

 

ไม่ทราบจะพอเข้าใจหรือเปล่านะครับ  เพราะอธิบายสั้นเกิน  เนื้อหาความรู้มีรายละเอียดเยอะ  ต้องมาศึกษาเรียนรู้ถึงจะเข้าใจได้ดีกว่าการมานั่งพูดคุยแบบนี้ครับ

 

ขอสรุปคำตอบสั้นๆ แบบง่ายๆ อย่างนี้นะครับ  

โดยต้องการถกข้อธรรมว่าตกลงยึดพระพุทธรูปหรือไม่ยึดพระพุทธรูป

จะยึดหรือไม่ยึด  ให้พิจารณาจากเจตนาว่าสิ่งที่ทำไปนั้น  ทำเพื่ออะไร  ถ้าสิ่งนั้นทำแล้วมีประโยชน์  คนอื่นไม่เดือดร้อน  เราไม่เดือดร้อน  เป็นไปในแนวทางมรรค  ผล  นิพพาน  ก็ให้ทำไป  แม้จะไม่มีข้อสรุปชี้ชัดจากพระไตรปิฎกก็ตาม

 

ขอตอบตามความเห็นส่วนตัวแบบนี้ครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#20 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 08:50 PM

................................................................................

 

เข้ามาเสริมต่อ  ในทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น  ศาสนวัตถุทุกอย่าง  จัดเป็นพุทธประเพณีทั้งนั้น  ไม่เฉพาะพระพุทธรูป  โบสถ์  วิหาร  กุฎี  ศาลา  ตำรับตำราต่างๆ  ไม่มีสิ่งใดที่จัดเป็นพุทธบัญญัติ(มียกเว้นบ้าง  แต่ขอยกเอาไว้ก่อน  เช่น  ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้ากฐิน เป็นต้น)   ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นจากการความศรัทธาล้วนๆ  ที่หล่อหลอมรวมเข้าไปในชีวิตประจำวัน  หลอหลอมรวมเข้าไปในวัฒนะรรม  ประเพณี  จนแยกออกจากกันไม่ได้แล้ว

 

เพราะฉะนั้น  ถ้าเรื่องเหล่านี้  มีการเปลี่ยนแปลงไป  เราก็ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้อีกที  ว่าอะไรที่ทำให้เปลี่ยนไป   วิถีชีวิตเปลี่ยนไป  วัฒนธรรมเปลี่ยนไป  ประเพณีเปลี่ยนไป  สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนั้น  เราต้องเข้าใจ  ยอมรับ  และแก้ไข

 

แนวทางแก้ไขที่ดี  ไม่ใช่การมาบอกให้ยกเลิกสิ่งที่ทำกันมาเป็นพันปีในวันเดียว  การที่มีสิ่งที่กระทำต่อเนื่องกันมาเป็นพันปี  นั่นแปลว่าสิ่งนั้นต้องมีจุดดีที่เด่นชัดอย่างแน่นอน  ถ้าต่อไปในอนาคต  จุดดีนั้นถูกบดบังไป  เราควรที่จะยกขึ้นมาปัดฝุ่น  ทำความสะอาด  ดีกว่าต้องทิ้งไปนะครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#21 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 10:50 PM

รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มีและพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา

 

รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี ใช่ก็ได้

พระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา ใช่ก็ได้

 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่บูชารูปเหมือนของพระพุทธองค์ ซึ่งผู้สร้างขึ้นมีใจระลึกถึงพระพุทธองค์ ต้องการให้เป็นตัวแทนของพระองค์

ขนาดต้นโพธิ์ตรัสรู้ธรรม เรายังเคารพมีจิตนอบน้อมส่งไปผ่านต้นโพธิ์ไปถึงพระพุทธเจ้า ผลบุญยังมหาศาล 

แล้วรูปเหมือนของพระพุทธองค์ เป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์โดยตรงผ่านรูปเหมือน ไม่ยิ่งได้บุญยิ่งไปอีกหรือ

ประเด็นสำคัญคือ การให้จิตของผู้พบเห็นมีใจนอบน้อมไปยังพระพุทธเจ้า ซึ่งทำจะทำให้ใจของผู้นั้นบริสุทธิ์ สะอาด หลุดร่อนจากกิเลสอาสวะ และได้เข้าถึงอมตธรรมในที่สุด

 

แนบไฟล์  ae_102.jpg   22.6K   28 ดาวน์โหลด

 

อย่างนี้ สงสัยจะจับประเด็นสำคัญผิดไป

ต้องดูวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพระสูตรต่างๆที่ยกมาให้ชัดเจน สอบทานในพระสูตรอื่นๆ ว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกันไหม ขัดกับพระสูตรอื่นๆไหม แต่นั้นการนำพระสูตรต่างๆมาถกเถียงกัน จนลืมวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการศึกษาพระสูตร คือ การนำธรรมมาปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรม ก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร นอกจากจะเสียเวลา และเพิ่มมานทิฏฐิให้กับตัวเอง

 

สิ่งที่สำคัญในเรื่องพระพุทธรูปนี้คือ จิตของผู้พบเห็น น้อมไปในอมตธรรม น้อมไปในทางหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ  แต่การติดว่าพระพุทธรูป ไม่ใช่พระพุทธเจ้า แล้วห้ามกราบไหว้ จนลืมวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการกราบไหว้บูชา คือ การบูชาพระพุทธเจ้าผ่านพระพุทธรูปนี้ ทำให้จิตน้อมไปสู่กระแสมรรคผลนิพพาน การยึดติดเช่นนี้ก็คงไม่ใช่แนวทางที่น่าจะเป็น

 

 



#22 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2013 - 10:47 AM

 

ไฟล์แนบ