ทอง-เงินไม่ควรถวายภิกษุ ห้ามพระรับเงินทอง และพระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศาสนา (ทองเหลือง/รูปปั่น/พระเครื่องฯลฯ) จริงหรือไม่ อย่างไร???
1.ห้ามพระรับเงินทอง
เป็นพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.tripitaka91.com
ผู้ที่งมงายย่อมกล่าวตู่พุทธเจ้า เล่ม 33 หน้า 346
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑
คนที่เชื่อโดยถือผิด ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต.
บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ ได้แก่ กล่าวตู่ คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า โทสนฺตโร แปลว่า มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน.
จริงอยู่ คนแบบนี้ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต เช่น สุนักขัตตลิจฉวี
กล่าวว่า อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมหามีไม่.
บทว่า สทฺโธ วา ทุคฺคหิเตน ความว่า หรือว่า ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า
ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ (ความรู้) มีความเลื่อมใสอ่อนนั้น ถือผิดๆ
กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า
ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น เป็นโลกุตระ (ประเสริฐเหนือโลก) ทั้งพระองค์
พระอาการ ๓๒ มีพระเกสาเป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น ดังนี้...
เล่ม 54 หน้า 261 บรรทัดที่ 4
...ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหมด ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา
ผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลกกราบทูลว่า นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉันการได้เห็น
พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์
ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัส
พระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งละเอียดอ่อนดี วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.
พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน (คือ ร่างกายของพระองค์ในตอนนั้น)
รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่งไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม....
เล่ม 20 หน้า 287
ในขณะนั้นท่านพระราหุลเสด็จไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพระตถาคตตั้งแต่พื้นพระบาท (เท้า)
จนถึงปลายพระเกสา (ผม) ท่านพระราหุลนั้นทอดพระเนตร (มองดู)
เห็นความงดงามของเพศพระพุทธเจ้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงดำริว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสรีระ (ร่างกาย) วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ งดงาม
ได้เป็นดุจเสด็จไปท่ามกลางผงทองคำอันกระจัดกระจาย
เพราะแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่งดุจนกบรรพตอันแวดล้อมด้วยสายฟ้า
ดุจทองคำมีค่าวิจิตรด้วยรัตนะอันฉุดคร่าด้วยยนต์ แม้ทรงห่มคลุมด้วยผ้าบังสกุลจีวรสีแดง
ก็ทรงงามดุจภูเขาทองอันปกคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง ดุจทองคำมีค่าประดับด้วยสายแก้วประพาฬ
ดุจเจดีย์ทองคำที่เขาบูชาด้วยผงชาด ดุจเสาทองฉาบด้วยน้ำครั่ง
ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญโผล่ขึ้นในขณะนั้นไปในระหว่างฝนสีแดง.
สิริสมบัติของอัตภาพ (ความเป็นตัวตน) ที่ได้เตรียมไว้ด้วยอานุภาพแห่งสมติงสบารมี. (บารมี 30)
จากนั้นพระราหุลเถระก็ตรวจดูตนบ้าง ทรงดำริว่า แม้เราก็งาม
หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง 4
ได้ทรงประทานตำแหน่งปริณายก (ผู้เป็นหัวหน้า) แก่เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น.
ภาคพื้นชมพูทวีปจักงามยิ่งนัก จึงเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพ
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า
บัดนี้ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว.
เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ
หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น
ดุจเห็นปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์.
ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา
มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม ผิวพรรณของเราผ่องใส.
ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในอโคจร
ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน
ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง.
จากนั้นจักถือปฏิสนธิ (เกิด)ในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติวิสัยบ้าง
ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด....
ทองเหลืองหล่อ ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ เล่ม 32 หน้า 214
อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.
อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ
เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี