กิเลส 10 สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง
1. โลภะ ความอยากได้
2. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
3. โมหะ ความหลง, ความไม่รู้, ความเขลา
4. มานะ ความถือตัว
5. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
6. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง
7. ถีนะ ความหดหู่, ความท้อแท้ถดถอย
8. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อความชั่ว
10. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว
รวมกิเลสมี ๑๐
1 โลภะ (อันนี้รู้ว่า ยิ่งมีความอยากได้ ยิ่งแสวงหา พอหามาไม่ได้ ก็เป็นทุกข์)
2 โทสะ (แบบนี้เป็นทุกข์เพราะพอเวลาโกรธ และต้องการหาทางแก้แค้นเอาคืน คิดร้ายคนอื่น มันก็จะมีความเจ็บแค้นแน่นหน้าอก ไฟออกหู เมื่อตอบโต้ทำร้ายกลับคืนไม่ได้ก็จะยิ่งทุกข์หนัก หรือพอแก้แค้นคืนได้ ก็จะมีความสะใจบนความทุกข์ของคนอื่น และคิดว่านั่นคือการดับความแค้นที่สุมทรวง)
3 โมหะ (แบบนี้เป็นทุกข์ยังไงคะ เช่น สามีมีความหลงรักในภรรยา เลยต้องหาทุกอย่างมาให้แม้จะยากเพียงไหนก็ตาม แบบนี้รึเปล่าคะ)
4. มานะ (แบบนี้ก็คงเหมือนกันเวลาผู้ใหญ่ที่ถือตัว ว่าผู้น้อยไม่ทำความเคารพตนเอง ก็เลยเป็นทุกข์ ใช่ไหมคะ)
5. ทิฏฐิ (เหมือนเห็นว่าการพนันเป็นของดีรึเปล่า เลยเล่นๆๆๆ แล้วก็ล่มจมฉิบหาย แบบนี้รึเปล่าคะ แล้วมานะ กับทิฐิต่างกันยังไง)
6. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง (อันนี้ทุกข์ยังไงคะ)
7. ถีนะ (อันนี้พอจะรู้ว่ามันทำให้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ อาจทำให้คิดฆ่าตัวตายได้)
8. อุทธัจจะ (อันนี้ก็คงทุกข์เพราะ จิตไม่นิ่ง ลอยไปตามความคิดที่ฟุ้งทำให้ใจไปยึดติดกับสิ่งรอบตัว ใช่รึเปล่าคะ)
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อความชั่ว (อันนี้ทุกข์ยังไง)
10. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว (อันนี้ก็ไม่รู้ค่ะ)
อยากรู้น่ะค่ะ ช่วยตอบทีนะคะ
สงสัยเรื่องกิเลส 10 ค่ะ
เริ่มโดย ฟ้ายังฟ้าอยู่, May 27 2006 10:15 AM
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 27 May 2006 - 10:15 AM
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#2
โพสต์เมื่อ 27 May 2006 - 11:09 AM
ลองตอบดูนะครับ
ทุกข์เพราะโมหะ
ไม่ค้นคว้าหาความจริง คิดว่านั่นก็ของกู นี่ก็ของกู ร่างกายของเรามันจะต้องไม่ตาย มันจะต้องไม่แก่ มันจะต้องไม่ป่วย ทรัพย์สินทั้งหลายที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ตามหรือไม่มีชีวิตก็ตาม จะต้องทรงตัวตลอดเวลา นี่เป็นอาการของโมหะ เห็นชาวบ้านเขาตายก็ไม่คิดว่าตัวจะตาย เห็นชาวบ้านเขาป่วยก็ไม่คิดว่าตัวจะป่วย เห็นชาวบ้านเขาลำบากหรืองานที่เราทำมันลำบากมันมีทุกข์ เราก็ไม่คิดว่าเราจะมีทุกข์ นี่เป็นอารมณ์ของโมหะ
ดังนั้นการกระทำจึงไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์กลับเป็นแสวงทุกข์ใส่ตัว ดังตัวอย่างที่ยกมาให้
ทิษฐิมานะ มักจะใช้คู่กัน ก็รู้แค่ว่าเป็นอาการของคนดึงดื้อถือดี ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ทิษฐิ ก็คือความเห็น มานะ ก็คือความเพียรพยายาม หรือมานะอุตสาหะ
มานะ ๙ ก็คือ ความถือตัว ๙ ประการ หรือความสำคัญผิด ๙ ประการของคนเรา คือ
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวเองว่า เลิศกว่าเขา
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
๓. เป็นเลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่า ตัวเลิศกว่าเขา
๕. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่า ตัวเสมอเขา
๖. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
๘. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
๙. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
ข้อ ๑,๔,๗ เข้าลักษณะ ดึงดื้อถือดี ทนงตัว, จองหอง ถือตัว ทำให้เกิดการดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น
ข้อ ๒,๕,๘ เข้าลักษณะตีเสมอ ทำให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน
ข้อ ๓,๖,๙ เข้าลักษณะถ่อมตัว ทำให้เกิดการน้อยเนื้อต่ำใจ มองไม่เห็นคุณค่าตัวเอง ขาดกำลังใจ หรือหมดหวัง หรือไม่ก็อาจถึงขั้นพยาบาท ทำลายล้าง
การถือตัวทั้ง ๙ ประการดังกล่าวมานี้ หมายถึง การถือตัวเกี่ยวกับเรื่องชาติ โคตร ตระกูล รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ศิลปวิทยา และอื่น ๆ ศาสนาพุทธมีหลักการให้เลิกถือตัว คือสงบเสงี่ยม ไม่ยกตนข่มท่าน อย่างน้อย ๆ ก็ให้ไว้ตัวแต่พองาม เพื่อให้เกิดการเกรงใจกัน หากมีการถือตัว จะโดยแสดงอาการคุยเขื่อง ยกตนข่มท่าน หรือเหยียดคนอื่น ทำนองว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น วิเศษกว่าคนอื่น ศาสนาพุทธถือว่าเข้าข่ายเป็นพวกมี มิจฉาทิษฐิมานะ แต่ก็เปิดช่องให้มีการแสดงออกได้ หากจำเป็นทำนองว่า
ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
เพราะในคราวจำเป็นอย่างยิ่งยวด ป้องกันการดูหมิ่นถิ่นแคลน หรือสบประมาท จนอาจทำให้ประชาชนคลายความเชื่อมั่น เพื่อให้คนอื่นสำนึกว่า เราก็มีดีที่จะอวดเหมือนกัน หรือมีฤทธิเดชพอตัว ซึ่งในพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้พระอสิติมหาสาวกบางรูป เช่น พระโมคคัลลาน์ ซึ่งเป็นผู้เลิศ (เอตทัคคะ) ในทางมีฤทธิ์ สำแดงพลัง (อิทธิปฎิหาริย์) ปราบพวกมีทิษฐิมานะ จนสยบราบคาบ และหายข้องใจ หายสงสัยในพระพุทธคุณ หรือพุทะบารมี ได้เช่นกัน
ทิษฐิ และ มานะ ตามที่ยกตัวอย่างให้มาก็นำความทุกข์มาให้แบบนี้แหละ
ถ้าลังเลสงสัยในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า
ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
เมื่อมี การเกิด การแก่ การตาย ย่อมเป็นทุกข์
ข้อนี้น่าจะทุกข์เพราะผลบาปที่ได้รับ เช่น อบายภูมิ ทุกขคติ เป็นต้น
ความเห็นผมค้นคว้ามาตอบอาจจะมีบ้างที่ไม่ถูกต้องผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณมาก ๆ
QUOTE
โมหะ (แบบนี้เป็นทุกข์ยังไงคะ เช่น สามีมีความหลงรักในภรรยา เลยต้องหาทุกอย่างมาให้แม้จะยากเพียงไหนก็ตาม แบบนี้รึเปล่าคะ)
ทุกข์เพราะโมหะ
ไม่ค้นคว้าหาความจริง คิดว่านั่นก็ของกู นี่ก็ของกู ร่างกายของเรามันจะต้องไม่ตาย มันจะต้องไม่แก่ มันจะต้องไม่ป่วย ทรัพย์สินทั้งหลายที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ตามหรือไม่มีชีวิตก็ตาม จะต้องทรงตัวตลอดเวลา นี่เป็นอาการของโมหะ เห็นชาวบ้านเขาตายก็ไม่คิดว่าตัวจะตาย เห็นชาวบ้านเขาป่วยก็ไม่คิดว่าตัวจะป่วย เห็นชาวบ้านเขาลำบากหรืองานที่เราทำมันลำบากมันมีทุกข์ เราก็ไม่คิดว่าเราจะมีทุกข์ นี่เป็นอารมณ์ของโมหะ
ดังนั้นการกระทำจึงไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์กลับเป็นแสวงทุกข์ใส่ตัว ดังตัวอย่างที่ยกมาให้
QUOTE
มานะ (แบบนี้ก็คงเหมือนกันเวลาผู้ใหญ่ที่ถือตัว ว่าผู้น้อยไม่ทำความเคารพตนเอง ก็เลยเป็นทุกข์ ใช่ไหมคะ)
ทิฏฐิ (เหมือนเห็นว่าการพนันเป็นของดีรึเปล่า เลยเล่นๆๆๆ แล้วก็ล่มจมฉิบหาย แบบนี้รึเปล่าคะ แล้วมานะ กับทิฐิต่างกันยังไง)
ทิฏฐิ (เหมือนเห็นว่าการพนันเป็นของดีรึเปล่า เลยเล่นๆๆๆ แล้วก็ล่มจมฉิบหาย แบบนี้รึเปล่าคะ แล้วมานะ กับทิฐิต่างกันยังไง)
ทิษฐิมานะ มักจะใช้คู่กัน ก็รู้แค่ว่าเป็นอาการของคนดึงดื้อถือดี ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ทิษฐิ ก็คือความเห็น มานะ ก็คือความเพียรพยายาม หรือมานะอุตสาหะ
มานะ ๙ ก็คือ ความถือตัว ๙ ประการ หรือความสำคัญผิด ๙ ประการของคนเรา คือ
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวเองว่า เลิศกว่าเขา
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
๓. เป็นเลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่า ตัวเลิศกว่าเขา
๕. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่า ตัวเสมอเขา
๖. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
๘. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
๙. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
ข้อ ๑,๔,๗ เข้าลักษณะ ดึงดื้อถือดี ทนงตัว, จองหอง ถือตัว ทำให้เกิดการดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น
ข้อ ๒,๕,๘ เข้าลักษณะตีเสมอ ทำให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน
ข้อ ๓,๖,๙ เข้าลักษณะถ่อมตัว ทำให้เกิดการน้อยเนื้อต่ำใจ มองไม่เห็นคุณค่าตัวเอง ขาดกำลังใจ หรือหมดหวัง หรือไม่ก็อาจถึงขั้นพยาบาท ทำลายล้าง
การถือตัวทั้ง ๙ ประการดังกล่าวมานี้ หมายถึง การถือตัวเกี่ยวกับเรื่องชาติ โคตร ตระกูล รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ศิลปวิทยา และอื่น ๆ ศาสนาพุทธมีหลักการให้เลิกถือตัว คือสงบเสงี่ยม ไม่ยกตนข่มท่าน อย่างน้อย ๆ ก็ให้ไว้ตัวแต่พองาม เพื่อให้เกิดการเกรงใจกัน หากมีการถือตัว จะโดยแสดงอาการคุยเขื่อง ยกตนข่มท่าน หรือเหยียดคนอื่น ทำนองว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น วิเศษกว่าคนอื่น ศาสนาพุทธถือว่าเข้าข่ายเป็นพวกมี มิจฉาทิษฐิมานะ แต่ก็เปิดช่องให้มีการแสดงออกได้ หากจำเป็นทำนองว่า
ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
เพราะในคราวจำเป็นอย่างยิ่งยวด ป้องกันการดูหมิ่นถิ่นแคลน หรือสบประมาท จนอาจทำให้ประชาชนคลายความเชื่อมั่น เพื่อให้คนอื่นสำนึกว่า เราก็มีดีที่จะอวดเหมือนกัน หรือมีฤทธิเดชพอตัว ซึ่งในพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้พระอสิติมหาสาวกบางรูป เช่น พระโมคคัลลาน์ ซึ่งเป็นผู้เลิศ (เอตทัคคะ) ในทางมีฤทธิ์ สำแดงพลัง (อิทธิปฎิหาริย์) ปราบพวกมีทิษฐิมานะ จนสยบราบคาบ และหายข้องใจ หายสงสัยในพระพุทธคุณ หรือพุทะบารมี ได้เช่นกัน
ทิษฐิ และ มานะ ตามที่ยกตัวอย่างให้มาก็นำความทุกข์มาให้แบบนี้แหละ
QUOTE
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง (อันนี้ทุกข์ยังไงคะ)
ถ้าลังเลสงสัยในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า
ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
เมื่อมี การเกิด การแก่ การตาย ย่อมเป็นทุกข์
QUOTE
อหิริกะ ความไม่ละอายต่อความชั่ว (อันนี้ทุกข์ยังไง)
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว
ข้อนี้น่าจะทุกข์เพราะผลบาปที่ได้รับ เช่น อบายภูมิ ทุกขคติ เป็นต้น
ความเห็นผมค้นคว้ามาตอบอาจจะมีบ้างที่ไม่ถูกต้องผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณมาก ๆ
หยุดคือตัวสำเร็จ
#3
โพสต์เมื่อ 28 May 2006 - 01:02 AM
ถึงคุณทศพล
ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ
"ทิฐิมานะ มักจะใช้คู่กัน ก็รู้แค่ว่าเป็นอาการของคนดึงดื้อถือดี ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ทิษฐิ ก็คือความเห็น มานะ ก็คือความเพียรพยายาม หรือมานะอุตสาหะ"
คำว่า มานะ ในภาษาพระ หมายถึง ความถือตัว ยกตัว ข่มคนอื่น อย่างที่คุณค้นมานั่นแหละครับ ไม่ใช่ มานะในภาษาไทย มานะอดทน ความหมายเดิมเป็นความหมายภาคลบครับ
คือ ถือตัว เหมือนในนิยายเซน แก้วน้ำที่เต็ม ไม่รับความรู้จากใคร เพราะถือตัวกว่า... กว่าคนอื่น ตามที่คุณเขียนมานั่นแหละครับ
ก็เลยเป็นเหตุให้ไม่ได้ความรู้ที่จะทำให้หลุดจากความทุกข์ไปได้น่ะครับ
ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ
"ทิฐิมานะ มักจะใช้คู่กัน ก็รู้แค่ว่าเป็นอาการของคนดึงดื้อถือดี ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ทิษฐิ ก็คือความเห็น มานะ ก็คือความเพียรพยายาม หรือมานะอุตสาหะ"
คำว่า มานะ ในภาษาพระ หมายถึง ความถือตัว ยกตัว ข่มคนอื่น อย่างที่คุณค้นมานั่นแหละครับ ไม่ใช่ มานะในภาษาไทย มานะอดทน ความหมายเดิมเป็นความหมายภาคลบครับ
คือ ถือตัว เหมือนในนิยายเซน แก้วน้ำที่เต็ม ไม่รับความรู้จากใคร เพราะถือตัวกว่า... กว่าคนอื่น ตามที่คุณเขียนมานั่นแหละครับ
ก็เลยเป็นเหตุให้ไม่ได้ความรู้ที่จะทำให้หลุดจากความทุกข์ไปได้น่ะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 29 May 2006 - 04:08 PM
QUOTE
โมหะ แบบนี้เป็นทุกข์ยังไงคะ
ตอบ โมหะเป็นทุกข์คือ การหลงมัวเมาในเบญจกามคุณว่าน่ารักน่ายินดีน่าใคร่ โดยไม่รู้ว่าการหลงยินดีในเบญจกามคุณ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันน่ารื่นรมณ์ก็บ่วงร้อยรัดให้สัตว์ต้องข้องอยู่ในวัฏฏะสงสารตราบนานเท่านาน เป็นต้นครับ
QUOTE
มานะ (แบบนี้ก็คงเหมือนกันเวลาผู้ใหญ่ที่ถือตัว ว่าผู้น้อยไม่ทำความเคารพตนเอง ก็เลยเป็นทุกข์ ใช่ไหมคะ)
ตอบ มานะคือความถือตัวถือตนว่าดีกว่าเขาบ้าง แย่กว่าเขาบ้าง เสมอเขาบ้าง เมื่อจิตมีการถือตัวก็จะทำให้มีใจเป็นบาปมองคนอื่นว่าด้อยกว่าบ้าง แย่กว่าบ้างเป็นต้น เป็นทุกข์เพราะยังจิตให้เศร้าหมองไม่อาจจะหลุดพ้นจากสังสารได้เพราะความหลงตนว่าดีกว่าผู้อื่น เป็นต้น
(ดังที่คุณทศพล และคุณvior ได้กล่าวไว้แล้วแหละครับ)
QUOTE
ทิฐิ ความเห็นผิด
ตอบ ทิฐิ เป็นคำกลางๆ แบ่งได้เป็น สัมมาทิฐิ กับมิจฉาทิฐิ ผู้มีทิฐิคือยังข้องอยู่ด้วยความคิด ไม่ว่าจะสัมมาทิฐิความเห็นที่ถูกต้อง มิจฉาทิฐิความเห็นที่ผิด เป็นทุกข์คือ บุคคลไม่อาจก้าวล่วงพ้นวัฎฎะด้วยการติดยึดแม้ในความคิดว่าดีหรือไม่ดีนั่นเอง
QUOTE
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง (อันนี้ทุกข์ยังไงคะ)
ตอบ ความสงสัยนำมาซึ่งความหวาดระแวง วิตกกังวล ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอุปมาก็เหมือนภรรยาหรือสามีที่ระแวงสงสัยในความรักของกันและกันว่าจะมีการนอกใจกัน เป็นต้น
QUOTE
ถีนะ (อันนี้พอจะรู้ว่ามันทำให้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ อาจทำให้คิดฆ่าตัวตายได้)
ตอบ ถีนะใช้คู่กับมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความหดหู่ ไม่ผ่องใสของใจ อารมณ์ใจไม่แช่มชื่นไม่เบิกบาน ทำให้จิตเป็นทุกข์
QUOTE
อุทธัจจะ (อันนี้ก็คงทุกข์เพราะ จิตไม่นิ่ง ลอยไปตามความคิดที่ฟุ้งทำให้ใจไปยึดติดกับสิ่งรอบตัว ใช่รึเปล่าคะ)
ตอบ ความฟุ้งซ่านของใจเป็นความปรารถนาของใจหวังในสิ่งนั้น สิ่งนี้ที่ต้องการที่ปรารถนามีใจทะยานนำไปก่อน มีความหวังผล คาดหวังเต็มไปด้วยความหวัง เป็นทุกข์อีกเช่นกันครับ
QUOTE
อหิริกะ ความไม่ละอายต่อความชั่ว
ตอบ ความไม่ละอายต่อบาปส่งผลให้บุคคลดำรงตนด้วยความประมาทก่อกรรมบาปอกุศลด้วยกายทุจริต(กระทำไม่ดี) วจีทุจริต(พูดไม่ดี) มโนทุจริต(คิดไม่ดี) เข้าถึงอบายทุคติเป็นทุกข์ในสัมปรายภพนั่นเอง
QUOTE
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว
ตอบ เมื่อบุคคลไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปแล้วมีจิตประมาทก่อกรรมทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมส่งผลให้ได้เสวยทุคติในอบายภูมิเป็นอันมาก
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#5
โพสต์เมื่อ 06 March 2007 - 02:02 PM
กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ