ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

7.ท่านพระมหาปันถก (พระมหาสาวก)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 09:53 AM

พระมหาปันถก

[attachmentid=1657]

พระมหาปันถก เป็นลูกชายของธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ มีน้องชายอีกคน หนึ่ง ซึ่งพี่น้องทั้งสองคนนี้เดิมชื่อว่า “ปันถก” เหมือนกันแต่เพราะท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า “มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “จูฬปันถก” ทั้งสองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณะจัณฑาล เพราะพ่อแม่ต่างวรรณะกันโดยพ่อเป็นวรรณศูทร ส่วนแม่เป็นวรรณแพศย์ ประวัติมีดังต่อไปนี้:-
ความเป็นมา พระมหาปันถก เป็นลูกของธิดาเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ ซึ่ง มารดาของท่านนั้นเมื่อเจริญวัยขึ้น มีรูปร่างลักษณะสวยงาม และเศรษฐีผู้เป็นพ่อและแม่ห่วงลูกสาวเป็นอย่างมากเลย ถึงขนาดสร้างปราสาทให้อยู๋ชั้นบนสุดของปราสาท ห้ามไม่ให้คบหากับคนภายนอก จึงเป็นเหตุให้ลูกเศรษฐี สนิทสนมกับคนใช้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นชายหนุ่มภายในเรือนตน เมื่อพวกเขาสนิทสนมกันขึ้น จึงลักลอบได้เสียกันฉันสามีภรรยา ในกาลต่อมา ทั้งสองกลัวว่าผู้เป็นบิดามารดาจะรับรู้ จึงพากันหนีออกจากบ้านเพื่อไปอาศัยในชุมชนอื่น ที่ไม่มีผู้ใดรู้จักพวกเขาสองคน แล้วอยู่ร่วมสุขร่วมทุกข์กันฉันสามีภรรยาสองคน

เหตุที่ได้ชื่อว่า มหาปันถก เมื่อนางได้ตั้งท้องขึ้นจึงได้อ้อนวอนให้ผู้เป็นสามีนำกลับไปคลอดที่บ้านของพ่อแม่ของตน โดยให้ข้ออ้างต่อผู้เป็นสามีว่า ผู้ที่เป็นพ่อแม่ถึงอย่างไรก็คงจะไม่ทำอันตรายลูกของตนหรอก แต่สามีก็พยายามบ่ายเบี่ยงพลัดวันประกันพรุ่งไม่ยอมนำภรรยาของตนไป ด้วยกลัวว่า เมื่อนำภรรยาของตนไปหาพ่อแม่ของภรรยาแล้ว จะถูกพ่อแม่ของภรรยาลงโทษ จนในมี่สุดภรรยาจึงต้องหนีสามีกลับไปหาพ่อและแม่เพื่อคลอดลูก แต่ยังไม่ทันไปถึงบ้านของพ่อแม่ ครรภ์ของนางได้กระทบกระเทือนจึงต้องคลอดบุตรในระหว่างทาง สามีกลับมาไม่เห็นนางจึงได้ถามคนในระแหวกนั้น จึงทราบว่านางไปไหน สามีเธอได้ออกตามหาและได้พบเธอและลูกในระหว่างทาง สามีของนางจึงนำนางกลับมาที่บ้านและได้ตั้งชื่อลูกของตนว่า “ปันถก” เพราะได้เกิดในระหว่าทาง ต่อมานางได้คลอดบุตรคนที่สองในระหว่างทาง อีกเช่นกัน จึงได้ให้ชื่อลูกคนแรกใหม่ว่า “มหาปันถก” ส่วนลูกคนที่สองซึ่งเป็นน้องของมหาปันถก ได้ชื่อว่า “จูฬปันถก”(ประวัติความเป็นมาของท่านจูฬปันถกนั้น หากผู้ได้มีความสนใจ ก็ขอให้ติดตามต่อไป ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลมาให้ ส่วนครั้งนี้ ขอให้ความรู้เรื่องพระมหาปันถกก่อน)
ได้บวชเป็นพระ สองสามีภรรยานั้นได้ช่วยกันเลี้ยงดูลูกทั้งสอง อยู่ครองรักกันมานาน จนกระทั่งลูกเจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับเด็กเพื่อน ๆ กัน ได้ฟังเด็กคนอื่น ๆ เรียกญาติผู้ใหญ่ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น ส่วนของตนไม่มีคนเหล่านั้นให้เรียกเลย จึงซักไซ้ถามจากบิดามารดาอยู่บ่อย ๆ จนทราบว่าญาติผู้ใหญ่ของตนนั้นอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงรบเร้าให้บิดามารดาไปพบท่านเหล่านั้น จนในที่สุดบิดามารดาอดทนต่อการรบเร้าไม่ไหว จึงตัดสินใจพาลูกทั้งสองไปพบ ตา ยาย ที่เมืองราชคฤห์เมื่อเดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้พักอยู่ที่ศาลาหน้าประตูเมืองไม่กล้าที่จะเข้าไปหาบิดามารดาในทันที เมื่อพบคนรู้จักจึงสั่งความให้ไปบอกแก่เศรษฐีว่า ขณะนี้ลูกสาวของท่านพาหลานชายสองคนมาเยี่ยม ฝ่ายเศรษฐียังมีความแค้นเคืองอยู่ จึงบอกแก่คนที่มาส่งข่าวว่า “สองผัวเมียนั้น อย่ามาให้เห็นหน้าเลย ถ้าอยากได้ทรัพย์สินเงินทอง ก็จงเอาไปเลี้ยงชีพเถิด แต่ขอให้ส่งหลานชายทั้งสองคนมาให้ก็แล้วกัน”สองสามีภรรยานั้น รับทรัพย์สินเงินทองไปเลี้ยงชีวิตแล้วส่งลูกชายทั้งสองคนให้มาอยู่
กับเศรษฐีผู้เป็นตา ฝ่ายเศรษฐีก็เลี้ยงดูหลาน ๆ ด้วยความรักใคร่ พาไปฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาที่วัดเวฬุวันเป็นประจำ แต่ถึงอย่างไร หลานทั้งสองก็สร้างความลำบากใจแก่เศรษฐีผู้เป็นตาอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อมีคนถามว่า “หลานชายทั้งสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวคนไหนของท่าน” ก็รู้สึกละอายที่จะตอบ “เป็นบุตรของลูกสาวคนที่หนีตามชายหนุ่มไป”ดังนั้น เมื่อต่อมา มหาปันถก หลานคนโตเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กล่าวขออนุญาตเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร คุณตาผู้เศรษฐีจึงรีบอนุญาตด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง พาไปบวชเป็นสามเณร ท่านเป็นสามเณรจนอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านพยายามบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวกิเลสทั้งปวง

ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ พระมหาปันถก เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระศาสนาเป็นกำลังช่วยงานพระบรมศาสดา ตามกำลังความสามารถ พระบรมศาสดา ได้ทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ “ภัตตุทเทศก์” ผู้แจกจ่ายภัตตาหารและกิจนิมนต์ ตามบ้านทายกทายิกา และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้รับลาภสักการะโดยทั่วถึงกัน ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อยยุติธรรม จนเป็นที่พอใจของบรรดาเพื่อนสหธรรมิก และทายกทายิกาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว ท่านได้ระลึกถึงน้องชายของท่าน ต้องการที่จะให้น้องชายได้รับความสุขเช่นเดียวกับตนบ้าง จึงไปขออนุญาตจากคุณตาแล้วพาจูฬปันถก ผู้เป็นน้องชายมาบวชเป็นศาสนทายาทอีกคนหนึ่งพระมหาปันถก เป็นผู้มีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้เจริญวิปัสสนา ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำนี้ ขอให้เจ้ากรรมนายเวร พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ตลอดจนวงศาคณาญาติทั้งหลาย ทั้งอดีตและปัจจุบัน และผู้ที่อาศัยอยู่ทั้ง 4โลก อันได้แก่ มนุษย์ นรก บาดาล สวรรค์ จงมีส่วนบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำด้วยเทอญ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  R2472_1.jpg   37.67K   32 ดาวน์โหลด


#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 01:03 PM

QUOTE
ท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า “มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “จูฬปันถก”สองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณะจัณฑาล มารดาได้ตั้งชื่อลูกของตนว่า “ปันถก” เพราะได้เกิดในระหว่าทาง


สาธุ โมทนาบุญด้วยครับ


หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 extra

extra
  • Members
  • 409 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 January 2006 - 12:48 AM

สาธุค่ะ happy.gif

#4 chankitt

chankitt
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 June 2006 - 09:53 PM

สาธุ สาธุ สาธุ
...