ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การฆ่าคนตาย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 01 September 2006 - 11:19 PM

nerd_smile.gif ปัจจุบันในสังคมนั้น มีความจริงอยู่ว่า (Social fact) มีกลุ่มหลากหลาย

ประกอบด้วยกันจนก่อให้เกิดความ หลากหลายทางความความคิด,

ความประพฤติและท่าทีต่อเหตุการณ์ต่างๆ


จนดูเหมือนจะเกิดทัศนะความคิดเห็นที่ต่างกันจะมีมากขึ้น (แม้จะมีครูบาอาจารย์เหมือนกัน)

(เช่นในแวดวงกระทู้บนอินเตอร์เน็ต DMC เป็นต้น)

ทั้งที่เป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงทัศนะในประเด็นเดียวกัน



จนเกิดเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ (moral conflict) อย่างเช่น การทำแท้ง

การทำตัวอ่อนของมนุษย์และการกระทำการฆ่าให้ตายโดยกรุณา

(เช่นหมอจำเป็นต้องดึงสายออกซิเจนออกตามความต้องการของญาติ)เป็นต้น



พุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรม

ซึ่งประกอบด้วยเหตุผล และเป็นเครื่องหมายที่ยึดจับของชนหมู่มาก



สมาชิก DMC ทั้งหลายจะมีแนวคิดอย่างไรต่อท่าทีปัญหาเหล่านี้ครับ nerd_smile.gif

กระทู้นี้ นี้จึงอาจจะให้ข้อคิดเห็นตามหลักพุทธศาสนา ถึงแม้หลักการและคำสอนเหล่านี้

จะผ่านมานับพันปีแล้วก็ตาม การฆ่าโดยความกรุณานั้น

กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันอย่างมากทั้งในทางการแพทย์กฎหมาย

พุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรม


ซึ่งประกอบด้วยเหตุผล..กระทู้นี้จึงขอความเห็นให้ท่านทั้งหลาย

ที่ผ่านเข้ามาอ่านได้โปรดชี้ให้เห็นถึงทัศนะแนวคิด

โดยยึดหลักในการอธิบายปัญหาทางจริยธรรมที่ร่วมสมัย

ของชาว DMC ด้วยครับ smile.gif




ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม



#2 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 01 September 2006 - 11:26 PM

ขอสงสัยด้วยคนค่ะ เพราะหลายครั้งที่ดูภาพข่าวของ " ร่าง " ที่ยังมีลมหายใจ (บางร่าง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ) จะคุยกันกับแม่เสมอว่า ถ้าเป็นถึงขนาดนี้ ก็อย่าให้อยู่เลยนะ คงทรมานน่าดู ทั้ง ร่าง ที่ยังอยู่ และคนที่ต้องคอยดูแลร่างนั้น ขอคำชี้แนะด้วยอีกคนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#3 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 07:42 AM

ดูจากCaseของหมอที่อุบลการดึงสายออกไม่มีวิบาก
กรรมแต่ก็จะโดนทำเช่นนั้นบ้างตอนตนเองป่วย
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#4 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 07:52 AM

ในความคิดด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผม ผมว่าอยู่ที่กรรมของเจ้าของร่างมากกว่านะครับ อย่างเช่นอย่างเช่นสมมุติว่ามีคนๆหนึ่งถูกทำร้ายอาการสาหัสจนไร้สติต้องนอนโรงพยาบาล ที่แน่ๆเลยต้องมีกรรมทรมาณสัตว์อยู่แล้ว จึงทำให้ต้องโดนทำร้ายหนักถึงขนาดนั้น

ทีนี้มาแยกเป็นเคสดู อาจจะแบ่งได้เป็น2เคสคือ(ซึ่งจริงๆอาจแบ่งได้เยอะกว่านี้นะครับ)
1. เคสที่ญาติของผู้บาดเจ็บตัดสินใจให้หมอเลิกความช่วยเหลือหรือตัดสินใจปล่อยให้ผู้บาดเจ็บตายไปอย่างสงบ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลกลใดก็ตาม เช่น ขาดกำลังทุนทรัพย์ในการรักษา ก็อาจเป็นเพราะกรรมของผู้ที่บาดเจ็บที่ทรมาณสัตว์จนถึงตายมาตัดรอน บีบให้ญาติของผู้บาดเจ็บคิดปล่อยให้ผู้บาดเจ็บตาย

2. เคสที่ญาติของผู้บาดเจ็บทุ่มเทรักษาให้ผู้บาดเจ็บหาย ผู้บาดเจ็บเลยยังต้องทรมาณเพราะความเจ็บอยู่เช่นนั้นต่อไป ในกรณีนี้ก็อาจจะเป็นเพราะกรรมที่ทรมาณสัตว์ไว้ส่งผลดลจิตให้ญาติหรือเจ้าของคนเจ็บคิดเช่นนั้น เพื่อให้ผู้บาดเจ็บเสวยผลกรรมของการทรมาณสัตว์ต่อไป และอาจเป็นเพราะว่าผู้บาดเจ็บไม่ได้ทรมาณสัตว์จนถึงตายจึงไม่มีวิบากกรรมมาตัดรอนชีวิตเหมือนอย่างเคสแรก

เพราะฉนั้นในความคิดของผมนั้นสาเหตุคงมาจากกรรมของผู้บาดเจ็บที่เคยทำในชาติที่ผ่านมาส่งผลดลใจให้คนรอบข้างมีความคิดเช่นไรกับผู้บาดเจ็บน่ะครับ ดังนั้นสมมุตินะครับสมมุติ ถ้าหากผู้บาดเจ็บนั้นเป็นญาติของเราเอง ผมว่าเรารักษาชีวิตเขาไว้ให้นานที่สุดเถอะครับ เพราะคิดว่ามันเป็นกรรมของเขาเองที่ทำให้เขาต้องมาอยู่ในสภาพนั้น และถ้าหากผู้บาดเจ็บมีวิบากกรรมฆ่าสัตว์ตามมาส่งผลด้วย วิบากกรรมนั้นจะเป็นตัวตัดสินเองครับ เราอย่าไปตัดสินใจอะไรเด็ดขาดปล่อยให้วิบากกรรมของเขาเป็นตัวตัดสินดีกว่าครับ เรามีหน้าที่เพียงแค่เป็นผุ้นำบุญสร้างบุญให้เขาได้มีส่วนรับบุญเพื่อตัดรอนวิบากกรรมนั้นก็พอ หากจับพลัดจับพลูผู้บาดเจ็บมีวิบากกรรมฆ่าสัตว์มาตัดรอนก็จะได้มีบุญที่เราทำให้เขาหล่อเลี้ยงไม่ต้องดิ่งไปมหานรก หรือไม่ถ้าหากวิบากกรรมทรมาณสัตว์เขาเหลือน้อยบุญที่เราทำให้เขาจะได้ตัดรอนวิบากกรรมเขาทำให้เขาหายเป็นปกติเร็วขึ้น

แต่กรณีที่ว่าหมอดึงสายอ๊อกซิเจนออกนั้นอันนี้แน่นอนครับ เพราะวิบากกรรมที่เขาฆ่าสัตว์ตายมาส่งผล แต่ผมคิดว่าหมอคนนั้นเขาก็คงจะมีวิบากกรรมเชื่อมโยงต่อไปด้วยน่ะครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 09:11 AM

เรื่องนี้ ภาษาทางการแพทย์เขาเรียกเพราะๆ ว่า การุณยฆาต แต่ความเป็นจริงแล้ว ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นคือ

1. การุณยฆาต ที่เป็นการฆ่าชีวิตผู้อื่นให้ตายจริงๆ เช่น การฉีดยาพิษเข้าร่างคนไข้ให้ตายไปทันที จะได้ไม่ต้องอยู่อย่างทรมาณ(กาย หรือใจ หรือ ทั้งกายใจ) ซึ่งเรื่องนี้เคยออกเป็นเคส Study แล้ว ถือว่า ผิดศีลข้อ 1 ครับ

2. การุณยมาต ที่ไม่ใช่ การุณยมาต เป็นอย่างไร ก็เป็นการไม่ได้ฆ่าเขา เพียงแต่ไม่ด้ช่วยให้เขาหายใจต่อไปด้วยเครื่องช่วยหายใจ คือ การดึงเครื่องช่วยหายใจออกนั่นเอง เพราะ ต้องอย่าลืมว่า เทคโนโลยีสมัยก่อน ไม่มีเครื่องช่วยหายใจ แต่ปัจจุบันมีเครื่องช่วยหายใจ ดังนั้น บางทีสภาพร่างกายของคนไข้นั้น ไม่ไหวแล้ว ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน ก็หมดลมไปอย่างสงบแล้ว แต่ปัจจุบัน ยังหายใจอยู่ได้เพราะเครื่องช่วยหายใจ อย่างนี้ก็มีหลายๆ เคส

แต่ก็ยังมีที่ร่างกายยังพอจะรักษาตัวได้อยู่ แต่หมอวินิจฉัยพลาด หรือ ญาติคนไข้ตัดสินใจพลาด แล้วดึงเครื่องช่วยหายใจออก อย่างนี้ก็มี ดังนั้น คงต้องดูเป็นกรณีๆ ไป ต้องอาศัยหมอที่มีวินิจฉัยเก่งๆ ที่จะดูได้ครับ

ซึ่งไม่ว่า จะสภาพร่างกายไม่ไหว หรือ ร่างกายยังไหว แต่ถูกดึงเครื่องช่วยหายใจออกก่อน ก็ไม่ผิดศีลข้อ 1 ครับ แต่กรณีหลังก็จะต้องไปเจอบ้างในอนาคต แต่ผมว่าไม่น่าจะซีเรียส ลองนึกถึง คนสมัยก่อน เขายังไม่กังวลเลยว่า ผมหรือฉันจะต้องมีเครื่องช่วยหายใจ เพราะเขาไม่รู้จัก ดังนั้น หากถ้าร่างกายไม่ไหวจริงๆ แล้ว ที่ยังหายใจอยู่ได้เพราะเครื่องเท่านั้น ถ้าต้องถูกดึงเครื่องช่วยหายใจออก ก็ไม่เป็นไรครับ ผมว่า
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 light mint

light mint

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

  • Members
  • 1423 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:THAILAND
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 10:06 AM

เวรกรรมจริงๆ เลย

เรื่องทางการแพทย์ มีหลายเรื่องที่ต้องตัดสินใจเลือก เช่น ระหว่าง แม่ หรือลูกในท้อง

บางกรณี ที่ต้องฆ่าเด็กในท้องเพื่อช่วยชีวิตแม่ไว้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็ตายแน่ๆ ทั้งแม่ทั้งลูก

คนที่เป็นแพทย์ที่ดูแลเคสนั้น จะทำอย่างไรดี?

ความจำเป็น หรือ จริยธรรม

จะสร้างกรรม(ที่หมอจะสร้างขึ้นใหม่) หรือจะปล่อยให้หญิงที่เป็นแม่คนนั้น ตายไป

ทำไงดี?
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ


#7 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 11:59 AM

กฏแห่งกรรมเป็นเรื่องของเจตนา คือประกอบด้วยความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ หรือไม่ ?
เพราะถ้าไม่มี กิเลส ๓ ตระกูลนี้เข้าครอบงำ ก็ได้ชื่อแสดงว่ากระทำโดยบริสุทธิ์ใจ

เรื่องนี้ถ้าทำถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว มีสัมมาทิษฐิ (ต้องศึกษาด้วย ) เพราะอาจจะ
ถูกโมหะเข้าครอบงำ

ผมคิดว่าร่างกายที่ไม่สามารถรับรู้อะไรได้ หรือไม่สามารถสร้างคุณความดีอะไรได้อีก
นั้นคือร่างกายที่ต้องรับกรรมอย่างเดียว ถ้ากลับเป็นตัวเราอยู่ในสภาพเช่นนี้ ก็พร้อมที่จะรับ
การุณฆาต เพราะไม่มีความหวังใด ๆ เหลืออยู่เลย เช่น สมองตาย

ส่วนเรื่องต้องเลือกระหว่างแม่กับลูก แพทย์ต้องตัดสินใจเลือกนั้น ผมว่าถ้านายแพทย์
นั้นมีความบริสุทธิ์ใจ ( ไม่คิดถึงผลประโยชน์ตัวเอง ) แล้วลงมือผ่าตัดย่อมต้องคิดว่าต้อง
การให้รอดทั้งแม่และลูกเป็นสำคัญ แต่ผลจะออกมาอย่างไรนั้นอีกเรื่องหนึ่ง

หยุดคือตัวสำเร็จ

#8 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 12:32 PM

QUOTE
ปัญหาทางจริยศาสตร์ (moral conflict) อย่างเช่น
- การทำแท้ง
- การทำตัวอ่อนของมนุษย์
- การกระทำการฆ่าให้ตายโดยกรุณา(เช่นหมอจำเป็นต้องดึงสายออกซิเจนออกตามความต้องการของญาติ)เป็นต้น

เคยมีความรู้ทางนี้บ้างเล็กน้อย รอผู้ชำนาญมาเสริม

การทำแท้ง เท่าที่ทราบทางการแพทย์ยังยึดกรอบของกฎหมายเป็นหลักโดย จะทำได้ก็ต่อเมื่อ
- การตั้งครรภ์เกิดจากการกระทำชำเรา ตามมาตรา...ที่กำหนด
- การตั้งครรภ์นั้นมีผลต่อสุขภาพของมารดา เช่น มารดาเป็นลิ้นหัวใจรั่ว การตั้งครรภ์อาจทำให้มารดาหัวใจล้มเหลว
ซึ่งทั้งสองกรณี ใช่ว่าจะทำได้ทันที ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ(Abortion commitee)ก่อน

การทำตัวอ่อนของมนุษย์ รวมถึง Cloning น่าหนักใจเพราะกฎหมายไทยอาจตามวิทยาการไม่ทัน

ส่วนกรณีที่หมอจำเป็นต้องดึงสายออกซิเจน(เข้าใจว่าดึงท่อช่วยหายใจ)ออกตามความต้องการของญาติ
- ในเมืองไทยไม่มี เพราะกฎหมายไทย เป็น Cevil law อย่างหนังสมัยก่อน เรื่อง ครูปิยะถูกทำร้าย เพื่อนครูสงสารเลยปิดออกซิเจนเพื่อให้ตาย ทางกฎหมายทำไม่ได้หรอก ถือว่าคุณพยายามฆ่าผู้ป่วยแม้คุณจะหวังดีและเขาจะต้องจบในเวลาไม่นานก็ตาม
- ขณะที่บางประเทศเป็น Common law คือญาติสามารถร้องศาลให้คณะลูกขุนตัดสินให้ถอดเครื่องช่วยหายใจได้ โดยใช้บรรทัดฐานจากหลักความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ คือ เมื่อแพทย์ได้พยากรณ์ว่าสมองผู้ป่วยตาย ก้านสมองไม่ทำงาน การใช้อุปกรณ์เพื่อพยุงชีพ เป็นความสิ้นเปลือง ประกอบกับเตียงที่ใช้กับรายนี้จะเกิดประโยชน์ถ้านำไปช่วยผู้ป่วยรายอื่นที่มีโอกาสรอดได้มากกว่า

QUOTE
บางกรณี ที่ต้องฆ่าเด็กในท้องเพื่อช่วยชีวิตแม่ไว้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็ตายแน่ๆ ทั้งแม่ทั้งลูก คนที่เป็นแพทย์ที่ดูแลเคสนั้น จะทำอย่างไรดี?

กฎหมายยังไม่ถือว่าทารกในครรภ์นั้นเป็นชีวิตที่สมบูรณ์(ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎแห่งกรรม) จนกว่าจะคลอดออกมามีสูติบัตร จึงจะถือเป็นชีวิตตามกฎหมาย
ดังนั้นทางการแพทย์จึงตัดสินใจช่วยมารดาไว้ก่อนเสมอ
ละครทีวีมักจะทำไม่ตรงกับความจริง เคยมีหนังบางเรื่องนางเอกตั้งครรภ์ หมอบอกว่าต้องเลือกคนใดคนหนึ่ง(ไม่แม่ก็ลูก) นางเอกเลือกให้ลูกรอด ตัวเองยอมตาย ซึ่งอันนี้ขัดความความเป็นจริง ทำให้คนนอกวงการแพทย์สับสน
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#9 D_jung

D_jung
  • Members
  • 109 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 08:19 PM

น่าเศร้าเนอะ
ทางหมอเค้าก็คงพยายามรักษาชีวิตจนถึงที่สุดล่ะ
แต่การออกกฎหมายทำแท้งได้อย่างถูกกฏหมายนี่ ออกจะเอื้อต่อการไม่ระมัดระวังตัว ไม่ระวังศีลข้อ3 กันมากขึ้นนะ

#10 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 02:05 PM

ความเก็นนั้นหลากหลายต่างๆนาๆ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี