ทาน ศิล ภาวนา
และ หยุดใจ
เหมือนกันอย่างไรครับ
ข้าพเจ้าโง่นักขอท่านผู้มีความรู้ชี้แจ้งด้วยครับ
ทาน ศีล หยุดใจ ได้ไหมครับ?
เริ่มโดย usr21239, Dec 27 2007 11:43 PM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 27 December 2007 - 11:43 PM
#2
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 09:55 AM
ยังงง ๆ กับคำถาม?
#3
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 10:13 AM
ในความคิดด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผม ทาน ศีล สมาธิ มีความเหมือนกันคือเป็นการหยุดครับ
ทาน เป็นการหยุดความตระหนี่
ศีล เป็นการหยุดทำสิ่งไม่ดี ที่เป็นโทษต่อตัวเอง
สมาธิ เป็นการหยุดใจไม่ให้เกิดความประมาท
หรือสรุป ทาน ศีล สมาธิ คือการหยุดตัวเองจากอบายทั้งปวงครับ
ทาน เป็นการหยุดความตระหนี่
ศีล เป็นการหยุดทำสิ่งไม่ดี ที่เป็นโทษต่อตัวเอง
สมาธิ เป็นการหยุดใจไม่ให้เกิดความประมาท
หรือสรุป ทาน ศีล สมาธิ คือการหยุดตัวเองจากอบายทั้งปวงครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#4
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 11:23 AM
เคยได้ยินว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโวเคยเทศน์ไว้ว่า
เมื่อทำทาน จะทำให้ใจไม่มีความตระหนี่ ใจจะอ่อนละมุนขึ้นเหมาะแก่การรักษาศีล
เมื่อศีลเกิดใจก็จะอ่อนละมุนขึ้นอีกระดับหนึ่ง จะทำให้สามารถทรงสมาธิได้ง่ายขึ้น ทำสมาธิได้ง่ายสะดวกและเหมาะแก่การงาน
สรุปกล่าวคือ ทานส่งผลให้ศีลมั่นคง ศีลส่งเสริมให้สมาธิดีขึ้น เมื่อทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา จะทำให้ใจหยุดนิ่งได้ง่ายครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
เมื่อทำทาน จะทำให้ใจไม่มีความตระหนี่ ใจจะอ่อนละมุนขึ้นเหมาะแก่การรักษาศีล
เมื่อศีลเกิดใจก็จะอ่อนละมุนขึ้นอีกระดับหนึ่ง จะทำให้สามารถทรงสมาธิได้ง่ายขึ้น ทำสมาธิได้ง่ายสะดวกและเหมาะแก่การงาน
สรุปกล่าวคือ ทานส่งผลให้ศีลมั่นคง ศีลส่งเสริมให้สมาธิดีขึ้น เมื่อทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา จะทำให้ใจหยุดนิ่งได้ง่ายครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
#5
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 04:49 PM
ตามที่ คุณ อ่อนหัด ได้ตอบไว้แล้ว
( ทาน ==> ศีล ==> สมาธิ ) = หยุดใจ จนกระทั่งใจนิ่งสนิท
สำคัญที่ต้องปฎิบัติ จึงจะเข้าใจ
( ทาน ==> ศีล ==> สมาธิ ) = หยุดใจ จนกระทั่งใจนิ่งสนิท
สำคัญที่ต้องปฎิบัติ จึงจะเข้าใจ
#6
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 11:32 PM
เหมือนกันตรงที่ว่า ทั้งสี่อย่างนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรปฎิบัติ ไม่ไห้ขาดแม้แต่ข้อเดียว จนกระทั่งตัวเรามีคุณสมบัติตามเหตุที่ประกอบนั้น ไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสุขความเจริญของชีวิต ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า ค่ะ
#7
โพสต์เมื่อ 02 January 2008 - 10:23 AM
ลองปฏิบัติตามพิสูจน์ดูสิครับว่า
ทาน หยุดใจ จากความโลภ ได้หรือไม่
ศีล หยุดใจ จากความโกรธ ได้หรือไม่
และภาวนา หยุดใจ จากความหลง ได้หรือไม่
แล้วจะเข้าใจที่พระองคุลีมาล ตอนยังเป็นโจร ร้องบอกพระพุทธเจ้าว่า "สมณะ หยุดก่อน"
แต่พระพุทธเจ้าตอบว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านต่างหาก ยังไม่หยุด"
ทาน หยุดใจ จากความโลภ ได้หรือไม่
ศีล หยุดใจ จากความโกรธ ได้หรือไม่
และภาวนา หยุดใจ จากความหลง ได้หรือไม่
แล้วจะเข้าใจที่พระองคุลีมาล ตอนยังเป็นโจร ร้องบอกพระพุทธเจ้าว่า "สมณะ หยุดก่อน"
แต่พระพุทธเจ้าตอบว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านต่างหาก ยังไม่หยุด"
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#8 *YTTRA*
โพสต์เมื่อ 02 January 2008 - 01:07 PM
คุณอ่อนหัดกล่าวถูกต้องแล้ว
เสริม...
ทานเป็นเบื้องต้น
ศีลเป็นเบื้องกลาง
ภาวนาเป็นเบื้องปลาย
บุญที่เกิดจากการบำเพ็ญกิริยาทั้งสาม ให้ผลแตกต่างกัน
ผลแห่งทาน บังเกิดเป็นโภคทรัพย์สมบัติ
ผลแห่งศีล บังเกิดเป็นความบริบูรณ์แห่งรูปสมบัติ
ผลแห่งทาน บังเกิดเป็นความบริบูรณ์แห่งปัญญา
หากทำทานแต่ไม่รักษาศีล และไม่ทำภาวนา ก้ออาจจะรวยอย่างเดียว อาจเกิดมาไม่สมประกอบ หรือโง่เขลาเบาปัญญา อย่างเช่น คนพิการเกิดในบ้านเศรษฐี (เกิดมามีทรัพย์แต่ไม่สามารถใช้ทรัพย์)
คนที่ทำทาน รักษาศีลแต่ไม่ทำภาวนา เมื่อเกิดมาอาจมีทรัพย์ และร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่อาจมีปัญญาแตกฉานในสรรพวิชชาได้ช้ากว่าผู้อื่น หรือความเข้าใจโลกและความเป็นจริงของชีวิตพร่องลงไป (มีทรัพย์ ได้ใช้ทรัพย์ แต่อาจใช้ทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ เช่นเอาไปเล่นการพนัน เป็นต้น)
คนที่ทั้งทำทาน รัษาศีล เจริญภาวนา เมื่อเกิดมาจะเป็นผู้มีทรัพย์ ร่างกายแข็งแรง สติปัญญาเฉลียวฉลาด และใช้สมบัติทั้งสามในทางที่เกิดประโยชน์มากที่สุด (มีทรัพย์ ร่างกายสมบูรณ์แงแรง และใช้ทรัพย์ได้อย่างถูกต้อง)
ผลแห่งบุญทั้งสามประการ ให้ผลคนละอย่าง แต่ไม่สามารถแยกจากกัน เหมือนเงาที่ไม่สามารถแยกออกจากเจ้าของได้ ไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ทำอีกอย่างหนึ่งได้ เหมือน ปืนที่ต้องมีลูกจึงจะใช้ได้
เสริม...
ทานเป็นเบื้องต้น
ศีลเป็นเบื้องกลาง
ภาวนาเป็นเบื้องปลาย
บุญที่เกิดจากการบำเพ็ญกิริยาทั้งสาม ให้ผลแตกต่างกัน
ผลแห่งทาน บังเกิดเป็นโภคทรัพย์สมบัติ
ผลแห่งศีล บังเกิดเป็นความบริบูรณ์แห่งรูปสมบัติ
ผลแห่งทาน บังเกิดเป็นความบริบูรณ์แห่งปัญญา
หากทำทานแต่ไม่รักษาศีล และไม่ทำภาวนา ก้ออาจจะรวยอย่างเดียว อาจเกิดมาไม่สมประกอบ หรือโง่เขลาเบาปัญญา อย่างเช่น คนพิการเกิดในบ้านเศรษฐี (เกิดมามีทรัพย์แต่ไม่สามารถใช้ทรัพย์)
คนที่ทำทาน รักษาศีลแต่ไม่ทำภาวนา เมื่อเกิดมาอาจมีทรัพย์ และร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่อาจมีปัญญาแตกฉานในสรรพวิชชาได้ช้ากว่าผู้อื่น หรือความเข้าใจโลกและความเป็นจริงของชีวิตพร่องลงไป (มีทรัพย์ ได้ใช้ทรัพย์ แต่อาจใช้ทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ เช่นเอาไปเล่นการพนัน เป็นต้น)
คนที่ทั้งทำทาน รัษาศีล เจริญภาวนา เมื่อเกิดมาจะเป็นผู้มีทรัพย์ ร่างกายแข็งแรง สติปัญญาเฉลียวฉลาด และใช้สมบัติทั้งสามในทางที่เกิดประโยชน์มากที่สุด (มีทรัพย์ ร่างกายสมบูรณ์แงแรง และใช้ทรัพย์ได้อย่างถูกต้อง)
ผลแห่งบุญทั้งสามประการ ให้ผลคนละอย่าง แต่ไม่สามารถแยกจากกัน เหมือนเงาที่ไม่สามารถแยกออกจากเจ้าของได้ ไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ทำอีกอย่างหนึ่งได้ เหมือน ปืนที่ต้องมีลูกจึงจะใช้ได้
#9
โพสต์เมื่อ 03 January 2008 - 10:48 AM
หยุด คือ ตัวสำเร็จ