ลูกศิษย์ซื้อเบียร์มาเป็นของฝาก ผมควรจะทำอย่างไร?
#1
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 04:59 AM
- แน่นอนอยู่แล้วที่ผมจะต้องบอกว่า ผมไม่ดื่ม แล้วก็ไม่รับด้วย เนื่องจากมันผิดศีล แล้วก็อธิบายไปเกี่ยวกับข้อห้ามทางพระพุทธศาสนา
- แต่อีกใจหนึ่ง ผมก็มานั่งคิดๆ ว่า เอ หรือผมควรจะรับดี?
เพราะถ้าผมรับมาแล้ว ผมก็จะเทมันทิ้ง ก็แปลว่าจะไม่มีใครได้ดื่มเบียร์ 3 ขวดนั้น
แต่ในกรณีนี้ ผมไม่รับ เขาบอกว่าจะเอาไปฝากเพื่อนผมอีกคนหนึ่ง ซึ่งก็ให้คำแนะนำเขาเช่นเดียวกัน ก็แปลว่าเพื่อนของผมจะต้องดื่มเบียร์ 3 ขวดนั้น เพราะเพื่อนผมชอบอยู่แล้ว (แม้จะเป็นมุสลิมก็ตาม)
แต่ถ้าผมรับ เค้าก็จะซื้อมาให้บ่อยๆ หรือไม่เหนอ? ฉะนั้นทางที่ดีก็ไม่ควรจะรับเลยตั้งแต่ต้น ใช่หรือไม่ครับ?
#2
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 09:18 AM
ก็คงจะเป็นอย่างนั้นล่ะมั้งครับ เพราะเขาคงเข้าใจว่าพี่ชอบดื่มน่ะ
ถูกต้องนะครับ "ตัดไฟแต่ต้นลม" เสียเลยจะดีกว่า แล้วเราต้องค่อยๆ สอนเขาแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งยังต้องบอกกับเขาอีกว่า สิ่งที่ให้แล้วไม่ได้บุญนอกจากสุรายาเสพย์ติดแล้วยังมีอะไรอีกบ้าง? (อาทิ ภาพลามก การให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือใช้แรงงาน และให้การมหรสพ เป็นต้น) บอกกับเขาไปเลยนะครับ ไม่ต้องกลัวว่า เขาจะโกรธ จะด่า จะว่า หรือไม่พอใจแต่อย่างใด เพราะในขณะนี้ เรามีหน้าที่ของความเป็นครู เราต้องสอนพวกเขาด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู จึงจะถูกต้องครับ
#3
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 10:18 AM
and ..One who is given to drinking (Beer.etc..) and gambling ruins what he has obtained. Such is the cause of destruction...
...Best Regard.....I am under the Loard Buddha....
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#4
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 11:59 AM
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#5
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 12:53 PM
จะเป็นแบบอย่างที่ดี กับบางท่านที่เจอกับเหตุการณ์แบบนี้ครับ
ส่วนตัวผม คิดว่า พี่ควรจะปฏิเสธ เลยครับ
เพราะว่า เหตุผล ที่บอกมาก็เป็นเหตุที่ถูกต้อง เรามีศีล มีธรรม แล้วตอนนี้ก็เป็นกระแส
ที่กำลีงเกิดขึ้นในประเทศ พี่ควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีครับ ^^
ก็ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ... สาธุ ... ^^~*
ยิ้ม...ยิ้ม...ยิ้ม........ยิ้มแล้วรวย ... คราบ
เ มื่ อ เ ร า ส ว่ า ง * * * โ ล ก * * * ก็ ส ว่ า ง ด้ ว ย ^^~*
ส า ธุ . . . ค รั บ ^^~*
#6
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 06:31 PM
เคยเอามะขามหวาน (เป็นลูกเลย) กลับมาอังกฤษด้วยค่ะ ก็เลือกลูกสวยๆ ฝากอาจารย์ อาจารย์คนหนึ่งก็รับ (กินหรือเปล่าไม่รู้ แต่เดาว่าอาจจะกิน เพราะว่าดูเป็นคนอินเตอร์พอสมควร ชอบเดินทางไปทั่วโลก รู้จักคนเอเชียค่อนข้างดี) พอเอาไปให้อีกคน เค้าก็ปฏิเสธ บอกว่าไม่เอา บอกเหตุผลว่าท้องเค้าไม่ดี (เราว่าเค้าไม่กล้่ากินมากกว่า เพราะเค้าค่อนข้างตรงข้ามกับอาจารย์คนแรก)
เพราะฉะนั้น เราไม่ดื่ม ก็บอกว่าไม่ดื่มค่ะ บอกว่า "ผิดศีล" อย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมะท่านเคยปฏิเสธ สมัยที่ท่านเป็นนักศึกษาไงคะ ว่า "ผมไม่ดื่ม ผมถือศีล"
พอเค้าอยากรู้ว่า "ศีล" คืออะไร ก็ได้โอกาสเราล่ะ ที่จะพูดเรื่องศาสนาพุทธ อิอิ
ป.ล. ไม่ควรเอาไปให้คนอื่นนะคะ เพราะวิบากกรรมก็เหมือนกับเลี้ยงเหล้าคนอื่น
#7
โพสต์เมื่อ 21 January 2006 - 09:53 PM
รับรองว่า เขาไม่ว่าอะไรหรอกค่ะ
ฝรั่งเขาเข้าใจเหตุผลง่าย และพยายามไม่ให้เขาเอาไปให้คนอื่นนะคะ
เดี๋ยวได้รับแบ่งส่วนบาปค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 22 January 2006 - 05:47 AM
จะรับไว้ แต่ไม่ดื่ม....
แล้วแอบไปทิ้งทีหลัง....
#9
โพสต์เมื่อ 22 January 2006 - 11:12 AM
#10
โพสต์เมื่อ 22 January 2006 - 06:49 PM
What did I do with the bottles I got before discovering DMC?
I used it to clean my toilet. I think the same as xlmen..it came from my boon as well...
Next time if someone want to give me agian, I will tell them I don't drink anymore. But if they insist I will take it, and I will also tell them I will use it to clean my toilet...thanks.
#11
โพสต์เมื่อ 22 January 2006 - 06:51 PM
"ผมมีศีล"
แล้วบอกเขาเรื่องศีลให้เขาทำตามค่ะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#12
โพสต์เมื่อ 22 January 2006 - 08:48 PM
พอลูกน้องเข้าใจแล้ว ท่านก็อธิบายถึงโทษของน้ำเมา แล้วตั้งสโลแกนว่า "ใครดื่มสุราเมรัย ขัดใจผู้พัน" ในกองพันของท่านจึงไม่มีใครดื่มอีกเลย
#13
โพสต์เมื่อ 23 January 2006 - 07:45 AM
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยโดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล/วารสารคลินิก ปีที่ 22 ฉบับที่1มกราคม 2549
จากข้อมูลจากรมสรรพสามิตพบว่า อัตราการบริโภคเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เฉลี่ย 58.0 ลิตรต่อคนต่อปีใน พ.ศ. 2546 เพิ่มจากปี พ.ศ. 2532 ที่อัตราการดื่มเฉลี่ย 20.2 ลิตรต่อคนต่อปีเกือบ 3 เท่าตัว เฉพาะอัตราการบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2546 เทียบกับปี พ.ศ. 2532 มากกว่า 8 เท่าตัว จากอัตราเฉลี่ย 4.4 ลิตรต่อคนในปี พ.ศ. 2532 เพิ่มเป็น 39.4 ลิตรต่อคนในปี พ.ศ. 2546 โดยในปี พ.ศ. 2546 กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึง 6.27 หมื่นล้านบาทจากการใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาทของคนไทยในการซื้อมาบริโภค
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ในโครงการสำรวจสถิติสังคม การสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ ซึ่งทำการสำรวจทุก 5 ปี ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าปี พงศ. 2546 คนไทยดื่มสุรา 18.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 35.46 ของประชากรอายุ 11 ปี ขึ้นไป แยกเป็นชาย 15.5 ล้านคน หรือร้อยละ 60.8 ของเพศชายอายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นหญิง 3.95 ล้านคนหรือร้อยละ 14.5 ของเพศหญิงอายุ 11 ปีขึ้นไป สำหรับการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ. 2534, 2539, 2544 และ 2546 พบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 1-2 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ดื่มประจำ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในประชากรชายจากร้อยละ 34.9 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 39.1, 39.3 และ 43.9 ในปี พ.ศ. 2539, 2544 และ 2546 ตามลำดับ ส่วนเพศหญิงมีอัตราร้อยละ 18.1 ในปี พ.ศ. 2534 และมีแนวโน้มที่ลดลงเป็นร้อยละ 20.4, 19.5 และ 16.7 ในปี พ.ศ. 2539, 2544 และ 2546 ตามลำดับ
การสำรวจจำนวนผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากครัวเรือนตัวแทนทั่วประเทศที่มีอายุระหว่าง 12-65 ปี ซึ่งทำการสำรวจโดยคณะกรรมการบริหารเครือข่ายวิชาการสารเสพติด พบว่า ในปี พ.ศ. 2546 ประชากรร้อยละ 58.5 หรือประมาณ 26,566,000 คน เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชีวิต ร้อยละ 46.4 หรือประมาณ 21,083,200 คน ดื่มในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และร้อยละ 34.8 หรือประมาณ 15,786,500 คน ดื่มในช่วง 30 วัน ก่อนการสำรวจ เมื่อเทียบกับการสำรวจเช่นเดียวกันนี้ในปี พ.ศ. 2544 พบว่าอัตราการดื่มในปี พ.ศ. 2546 ลดลง แต่หากดูเฉพาะผู้ที่ดื่มมากกว่า 20 วัน ในระยะเวลา 30 วัน ก่อนสอบถาม ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ดื่มประจำหรือผู้ที่มีโอกาสติดสุราสูง พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น คือจากร้อยละ 3.5 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นร้อยละ 4.1 ในปี พ.ศ. 2546
จำนวนเยาวชนที่ดื่มมากขึ้นและอายุที่เริ่มดื่มน้อยลง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กรุ่นใหม่มีแนวโน้มการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น และเริ่มดื่มที่อายุน้อยลง ในช่วงเวลาเพียง 7 ปี (พ.ศ. 2539-2546) กลุ่มผู้หญิงวัย 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่น่าจับตามากที่สุด เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบ 6 เท่า คือ จากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 5.6 และในกลุ่มหญิงที่ดื่มวัย 15-19 ปีนี้ร้อยละ 14.1 เป็นกลุ่มที่ดื่มประจำ (ดื่ม 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ถึงดื่มทุกวัน) วัยรุ่นเพศชายวัย 11-19 ปี ที่ดื่มมีจำนวนประมาณ 1.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.2 ของประชากรในกลุ่มอายุนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจซ้ำในปี พ.ศ. 2547 พบว่าประชากรชายเริ่มดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย 19.4 ปี โดยร้อยละ 52.8 ของประชากรชายเริ่มดื่มครั้งแรกในช่วงอายุ 15-19 ปี ขณะที่หญิงเริ่มดื่มครั้งแรกในช่วงอายุ 20-24 ปี
ขณะที่ผลสำรวจจากนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดลพบุรี พบว่า นักเรียนชายและหญิงที่ดื่มสุราซึ่งมีอายุ 14-16 ปีในปัจจุบัน ระบุว่าเริ่มดื่มตั้งแต่อายุระหว่าง 13-14 ปี ด้วยอัตราส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ 44 และ 46 ตามลำดับ ส่วนนักเรียนชายและหญิงที่อายุปัจจุบัน 17-20 ปี ระบุว่าเริ่มดื่มเมื่ออายุ 15-16 ปี สูงสุดด้วยอัตราใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 43 และ 40 ตามลำดับ จึงมีแนวโน้มว่านักเรียนเริ่มหัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่ออายุน้อยลงเรื่อยๆ
แบบแผนการดื่มและรสนิยมในการดื่ม
ประชากรไทยดื่มสุราเป็นประจำเกือบ 1 ใน 6
ในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 17.8 ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำ และร้อยละ 14.9 ดื่มนานๆ ครั้ง ส่วนประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ประชากรนิยมดื่มมากที่สุด ได้แก่ เบียร์และสุราขาว คิดเป็นร้อยละ 33.0 และ 32.3 ตามลำดับ
ผู้ที่ดื่มประจำส่วนใหญ่เลือกสุราขาวเป็นเครื่องดื่มประจำ สุราไทยเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มรวมเป็นกลุ่ม สุราจีนและยาดองเป็นเครื่องดื่มสำหรับการดื่มคนเดียว ส่วนเบียร์ผู้ชายจะดื่มเป็นกลุ่ม แต่ผู้หญิงจะดื่มเบียร์คนเดียว สุราขาวสำหรับผู้ชายนั้นจะดื่มทั้งเป็นกลุ่มและดื่มคนเดียว แต่ผู้หญิงจะดื่มสุราขาวเป็นกลุ่มมากกว่า
โครงการการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อหามาตรการทางเลือกป้องกันและแก้ไข ซึ่งดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2539-2541 ที่จังหวัดลพบุรี พบว่า เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมของครัวเรือนในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ สุราไทยหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าสุราแดง มี 3 ยี่ห้อ คือ แม่โขง หงษ์ทอง และแสงทิพย์ สุราขาวที่ชาวบ้านเรียกเหล้าขาวหรือ 35 ดีกรี สุราจีนหรือที่ชาวบ้านเรียกสุราเชี่ยงชุน เบียร์คือ สิงห์และช้าง และยาดอง มีการแบ่งกลุ่มผู้ดื่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ดื่มเป็นประจำซึ่งดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวันโดยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือ 2 ชนิดอย่างสม่ำเสมอ อีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ดื่มเป็นครั้งคราวเป็นผู้ที่ดื่มแต่เฉพาะเมื่อมีงานรื่นเริง งานเทศกาลหรือโอกาสสังสรรค์ กลุ่มที่ดื่มประจำส่วนมากร้อยละ 60.1 เลือกสุราขาวเป็นเครื่องดื่มประจำ ผู้ที่ดื่มเป็นประจำประมาณครึ่งหนึ่งเป็นพวกดื่มคนเดียว อีกครึ่งหนึ่งเป็นพวกที่ต้องดื่มเป็นกลุ่ม เช่น ดื่มกับเพื่อนบ้านหรือที่ทำงาน สุราไทยเป็นที่นิยมของผู้ดื่มเป็นกลุ่มมากกว่าผู้ดื่มคนเดียวตรงข้ามกับสุราจีนและยาดอง ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ดื่มสุราคนเดียวมากกว่าดื่มเป็นกลุ่ม สำหรับเบียร์มีลักษณะต่างกันระหว่างผู้ดื่มหญิงกับผู้ดื่มชาย คือ เบียร์นั้นเป็นที่นิยมของผู้ชายที่ดื่มเป็นกลุ่มมากกว่าผู้ชายที่ดื่มคนเดียว แต่ตรงข้ามกับผู้หญิงซึ่งนิยมดื่มเบียร์คนเดียวมากกว่าดื่มเป็นกลุ่ม นั่นหมายความว่าสุราไทยเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มรวมเป็นกลุ่มสุราจีนและยาดองเป็นเครื่องดื่มสำหรับดื่มคนเดียว ส่วนเบียร์ผู้ชายจะดื่มเป็นกลุ่ม แต่ผู้หญิงจะดื่มเบียร์คนเดียว สุราขาวสำหรับผู้ชายนั้นจะดื่มทั้งเป็นกลุ่มและดื่มคนเดียว แต่ผู้หญิงจะดื่มสุราขาวเป็นกลุ่มมากกว่า เครื่องดื่มที่ผู้หญิงนิยมดื่มมากกว่าผู้ชาย ได้แก่ น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ไวน์พื้นบ้าน/สปาย/ไวน์ชาวบ้านทำเอง
ผู้ที่ดื่มเป็นครั้งคราวส่วนใหญ่จะดื่มเป็นกลุ่ม เบียร์และสุราไทยใช้เป็นเครื่องดื่มกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงาน (เพื่อนในวิถีชีวิตแบบใหม่) ส่วนสุราขาวใช้เป็นเครื่องดื่มกับกลุ่มเพื่อนบ้าน(เพื่อนในวิถีชีวิตดั้งเดิม)
สำหรับกลุ่มผู้ดื่มเป็นครั้งคราว เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมรวมกลุ่มทางสังคมอย่างชัดเจน ผู้ดื่มเป็นครั้งคราวกว่าร้อยละ 80 มักดื่มเป็นกลุ่มกับเพื่อนบ้าน ญาติ เพื่อนที่ทำงาน และกับลูกน้อง พฤติกรรมการดื่มมีความแตกต่างระหว่างชนิดเครื่องดื่มกับกลุ่มที่ดื่มด้วย กล่าวคือผู้ชายที่ดื่มสุราไทยและผู้ชายที่ดื่มเบียร์มักจะดื่มกับเพื่อนที่ทำงานเป็นส่วนมาก คือ ร้อยละ 45.3 และร้อยละ 39.4 แต่ผู้ชายที่ดื่มสุราขาว จะดื่มกับญาติกับคู่รักมักจะดื่มเบียร์หรือสุราขาว ร้อยละ 24.5 และ 23.7 ตามลำดับ ส่วนผู้หญิงไม่ว่าจะดื่มสุราไทย เบียร์ หรือสุราขาว ก็มักจะดื่มกับเพื่อนบ้านเป็นส่วนมาก ร้อยละ 62.2, 58.3 และ 67.4
แรงงานสูงอายุนิยมดื่มสุราขาว แรงงานวัยกลางคนนิยมดื่มสุราไทย และแรงงานวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นนิยมดื่มเบียร์
ส่วนการสำรวจแรงงานในจังหวัดลพบุรี พบว่าเบียร์เป็นเครื่องดื่มซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มแรงงานที่อายุต่ำกว่า 19 ปี กลุ่มอายุ 20-29 ปี และ 30-39 ปี ส่วนแรงงานอายุ 40-49 ปี จะนิยมดื่มสุราไทยมากที่สุดและผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป นิยมดื่มสุราขาว ส่วนใหญ่ผู้ใช้แรงงานจะดื่มสุราเป็นครั้งคราว ผู้ใช้แรงงานชายเกือบครึ่งรายงานว่าดื่มเฉลี่ยแต่ละครั้ง 1 ขวดแบน (350-375 มล.) ขณะที่อีก 1 ใน 5 ของแรงงานชายดื่มแต่ละครั้งเฉลี่ย 1 ขวดกลม (750 มล.)
ยังมีต่ออีกนะคะขอตัวไปทำงานก่อนค่ะสายแล้ว
#14
โพสต์เมื่อ 06 February 2007 - 10:44 AM