ต้องการศึกษาวิชชาธรรมกายแบบละเอียด
#1
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 01:33 AM
ด้วยความเคารพ
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#2
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 07:55 AM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#3
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 08:11 AM
#4
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 09:24 AM
ขอบอกไว้ก่อนนะครับ ว่ามันเหมือนกับการเรียนหนังสือ การที่เราจะได้เรียนวิชาชั้นสูงได้ มันต้องผ่านพื้นฐานก่อน หากพื้นฐานไม่ผ่านเราไปเรียนขั้นสูงก็ไม่มีทางเข้าใจ เหมือนอย่างคณิตศาสตร์ จะเรียน+-*/ได้เราต้องรู้ต้องรู้เกี่ยวกับตัวเลขก่อนจริงไหมครับ จะแก้สมการได้เราต้อง +-*/ ให้เป็นเสียก่อน เป็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอนไปเช่นนี้ครับ
ดังนั้น อย่าพึ่งไปสนใจเรื่อง แบบละเอียดไม่ละเอียดเลย ครับ เราฝึกพื้นฐานให้ผ่านก่อนดีกว่าครับ เมื่อผ่านแล้วค่อยว่ากันอีกทีครับ ^ ^ สู้ๆ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#5
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 11:48 AM
"ที่จะต้องเรียนรู้นั้นยังมีอีกเยอะ แต่ให้ไปทำหยุดทำนิ่งให้ได้เสียก่อน" น่ะครับ บางทีนะครับ หากใจหยุดนิ่งได้ ก็ไม่ต้องมาถามในกระทู้นี้เลยล่ะครับ
จะรู้จักครูด้วยตัวเองทีเดียว หรือ บางทีครูก็หาถึงบ้าน หรือ ส่งคนไปเชิญมาพบทีเดียวล่ะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 12:23 PM
สำหรับคุณ เคยเข้าวัด ผมตอบใน pm ไปนะครับ
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#7
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 01:59 PM
ทำหยุดทำนิ่ง ให้เชี่ยวให้ชาญ รู้จักฐานที่ตั้งของใจที่แท้จริงให้ได้นิ่งเสียก่อน อยู่กับดวงธรรมให้ได้เสียก่อนทุกอนุวินาที เดี๋ยวองค์พระจะนำทางท่านเองล่ะค่ะ
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#8
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 02:27 PM
อย่างที่คุณหัดฝันบอก หลวงปู่วัดปากน้ำฯเคยพูดว่า เรื่องอื่นอย่าเพิ่งพูดไปใหญ่โต ทำดวงทำองค์พระให้ได้เสียก่อน
เรียนวิชชาธรรมกายไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่ว่าทำครั้งแรกหรือทำแค่ 2-3 วันแล้วมันจะได้เลยทุกคน ก็แล้วแต่บุญเก่าด้วยว่าสั่งสมมามากน้อยแค่ไหน แต่ที่สำคัญที่สุดคือการฝึกใจ ถ้าฝึกบ่อยๆ นานๆเข้าก็หยุดได้เอง คนที่ได้มารู้จักวิชชาธรรมกายมีบุญพอที่จะเข้าถึงวิชชาธรรมกายอยู่แล้ว ก็อยู่แต่เพียงว่า ทำจริง ฝึกจริง และไม่ดูเบาคำสอนของหลวงพ่อที่ท่านสอนให้ทำง่ายๆ สบายๆ
บางแห่งที่เคยได้ยินมา เขาสอนให้คนที่ยังไม่เห็นอะไรเลย ท่องวิชชา ฝึกเดินวิชชาทั้งๆที่ยังไม่เห็นอะไรเลย แค่นี้ก็ไม่ถูกแล้ว วิชชาธรรมกายจะเรียนรู้ได้ด้วยการทำใจหยุดนิ่งเท่านั้น ผมเองเคยมีโอกาสได้นั่งธรรมะกับผู้ที่ได้วิชชาธรรมกายละเอียดๆ ก็ไม่เห็นว่าท่านจะสอนอะไรมากเลย ท่านสอนแต่ว่า ให้ทำใจให้หยุดให้นิ่ง ถ้าหยุดแล้วก็ให้หยุดในหยุดต่อไปอีก ถ้าเห็นดวงหรือเห็นแสงสว่างก็ให้หยุดไปในกลางของกลางต่อไป ท่านสอนเท่านี้จริงๆครับ (ในกรณีที่เรายังเพิ่งฝึกทำใหม่ๆ ยังไม่ได้เข้าถึงดวงธรรมและองค์พระภายใน) สำคัญที่สุด หยุดใจตัวเองให้ได้ เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว มันก็จะมีช่องทางให้ได้ศึกษาต่อไปเองนั่นแหละครับ
เชื่อผมเหอะ ตอนนี้ ทำใจหยุดนิ่งให้เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ภายในก่อน หลังจากนั้นค่อยมาคุยกันต่อว่าจะไปเรียนที่ไหน ถ้าคุณเกิดมาเพื่อทำวิชชาจริง เดี๋ยวก็ได้ไปนั่งในอาคารภาวนาเองนั่นแหละครับ
#9
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 03:43 PM
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#10 *YTTRA*
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 04:10 PM
#11
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 06:18 PM
ลำดับแรก : ให้ท่านดูภาพในท่าผ่าซีก จำฐานทางเดินของใจ ๗ ฐาน ให้ได้
ลำดับที่ ๒ : ให้ท่านดูดวงแก้วขาวใส ดูแล้วให้นึกได้ด้วยใจ เมื่อหลับตาแล้ว จะต้องนึกมโนภาพของดวงแก้วขาวใสได้
ลำดับที่ ๓ : ขั้นปฏิบัติ
(ก) ให้นั่งสมาธิ คือเท้าขวาทับเท้าซ้าย
(ข) มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย แขน ๒ ข้างไม่เกร็ง ปล่อยตามสบาย
(ค) ตั้งกายตรง ไม่ค้อมหลัง ตั้งใบหน้าให้ตรง ไม่ก้มหน้า
จากนั้นให้หลับตา ไม่ต้องขยี้ตา เพียงหลับตาเบาๆ ให้นึกทำใจปลอดโปร่ง ไม่คิดไปในเรื่องอื่นใดทั้งหลายทั้งปวง พึงนึกสลัดเรื่องขุ่นข้องหมองใจออกไปจากใจตน เรื่องหน้าที่การงาน และกิจการส่วนตัว ไม่นำมาคิดนึกขณะฝึกใจ
ความรู้ใดที่เคยอ่าน เคยรู้ เคยได้ยิน ให้ระงับความรู้นั้นไว้ก่อน อย่านำมานึกคิดขณะฝึก หากนำมาคิดนึก จะทำให้การฝึกไม่ได้ผล ให้นึกทำใจโปร่งใส นึกทำใจปลอดโปร่ง นึกทำใจเป็นใจเด็กไร้เดียงสา เขาสอนแค่ไหน ทำแค่นั้น เขาสอนอย่างไร ทำอย่างนั้น ทำได้อย่างนี้การฝึกจะก้าวหน้า จากนั้น พึงนึกถึงคำสอนของพระศาสดาข้อ ๓ ที่สอนให้ทำใจให้ใสนั้น มีวิธีทำดังนี้
นึกถึงดวงแก้วกลมขาวใสรัศมีโชติขนาดเท่าแก้วตา แล้วน้อมใจให้ดวงใสไปตามจุดหมายในตัวเรา ดังนี้
(๑) ฐานที่ ๑ ปากช่องจมูก (หญิงปากช่องจมูกข้างซ้าย ชายปากช่องจมูกข้างขวา)
น้อมดวงนิมิตขาวใสมาที่ปากช่องจมูก สำหรับหญิงน้อมมาที่ปากช่องจมูกข้างซ้าย สำหรับชายน้อมมาที่ปากช่องจมูกข้างขวา ส่งความรู้สึกทางใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๒) ฐานที่ ๒ เพลาตา (หญิงเพลาตาซ้าย ชายเพลาตาขวา)
จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตขาวใสมาฐานที่ ๒ คือเพลาตา สำหรับหญิงเพลาตาซ้าย สำหรับชายเพลาตาขวา บรรจุดวงนิมิตลงที่รูน้ำตาออก ส่งความรู้สึกทางใจสัมผัสนิ่งกลางดวงใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๓) ฐานที่ ๓ จอมประสาท
จากนั้น เลื่อนดวงใสไปที่จอมประสาท อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ให้เหลือกตา คือทำตาขาวเหมือนคนเป็นลม เลื่อนดวงนิมิตใสไปที่จอมประสาท เพื่อให้ใจของเราไปรับรู้ข้างใน และให้ลืมเรื่องเหลือกตาทันที เอาความรู้สึกจรดนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๔) ฐานที่ ๔ ปากช่องเพดาน หรือเพดานปาก
จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ฐานที่ ๔ คือปากช่องเพดาน ได้แก่ จุดหมายที่เราสำลักน้ำสำลักอาหาร ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๕) ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ
จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ฐานที่ ๕ คือ ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอ แต่อยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่งโดยประมาณ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๖) ฐานที่ ๖ ฐานของศูนย์กลางกาย
จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสไปในท้องเรา ให้ได้ระดับสะดือ สมมุติว่ามีเข็มร้อยด้าย ๒ เล่ม เล่มที่ ๑ สมมุติแทงจากสะดือตัวเราเองเป็นเส้นตรงทะลุข้างหลัง อีกเล่มหนึ่งสมมุติว่าแทงจากสีข้างขวาเป็นเส้นตรงทะลุสีข้างซ้าย เห็นเป็นมโนภาพว่า ในท้องเรามีเส้นด้ายตัดกันเป็นรูปกากบาท จุดที่เส้นด้ายตัดกันนั้นคือ ฐานของศูนย์กลางกาย ให้เลื่อนดวงนิมิตใสตั้งไว้ตรงนั้น ส่งใจนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจว่า สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๓ ครั้ง และนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ
(๗) ฐานที่ ๗ ศูนย์กลางกาย
จากนั้น เลื่อนดวงนิมิตใสจากฐานที่ ๖ ให้สูงขึ้นมาประมาณ ๒ นิ้วมือตัวเอง ส่งใจนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมในใจ สัม มา อะ ระ หัง จำนวน ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง และภาวนาเรื่อยไป
บริกรรม สัม มา อะ ระ หัง เรื่อยไป จะรู้สึกเกิดควมปลอดโปร่งทางใจ รู้สึกสบายใจ เกิดความสงบทางใจ จนในที่สุด “ใจนิ่ง” ไม่ส่าย ไม่ไหว ไม่ริบรัว ดวงนิมิตกลมขาวใส ก็จะเกิดความสว่างยิ่งขึ้น เมื่อถึงขั้นนี้ อย่าให้เกิดความดีใจเป็นอันขาด อย่าได้เกิดความลิงโลดเป็นอันขาด พึงวางใจเฉยๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
หากท่านเกิดความดีใจ หากท่านนึกเอาใจจี้ ดวงนิมิตจรัสแสงจะหายไปทันที ดังนั้น จึงขอร้องให้ท่านวางใจเฉยๆ ภาวนาไปเรื่อยๆ จนกว่าดวงเดิมหายไป แล้วท่านจะเห็นดวงธรรมจริงของท่าน มีลักษณะเป็นดวงเพชรขาวใสกลมสว่างโชติ เท่าดวงดาวในอากาศก็มี เท่าลูกหมากก็มี เท่าผลส้มโอก็มี เท่าเมล็ดข้าวโพดก็มี แต่อย่างใหญ่ไม่เกินดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ลักษณะของดวงธรรม เป็นดวงเพชรขาวใสกลมมีรัศมีสว่างโชติ เหตุที่ดวงธรรมมีขนาดต่างกัน ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีที่สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติ ใครสร้างสมอบรมบุญบารมีไว้มากดวงธรรมจะมีขนาดใหญ่ ท่านที่ดวงธรรมใหญ่ มักเรียนรู้เร็ว ทำเป็นเร็ว
ขณะที่ท่านบริกรรมจนสภาพใจ “หยุด” และ “นิ่ง” ดวงนิมิตสมมุติที่เรากำหนดแต่แรกนั้นจะหายไป และท่านจะเห็นดวงธรรมของท่านเอง ช่วงนี้เป็นเหตุการณ์เร็วและฉับพลัน ต้องสังเกตให้ดี
เมื่อเห็นดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายเช่นนี้แล้ว พึงรักษาดวงธรรมให้สว่างจรัสแสงเนืองๆ ชีวิตของท่านจะเจริญก้าวหน้า อารมณ์ของเราจะสว่างใส สุขภาพอนามัยดี นอนหลับเป็นสุข ตื่นขึ้นก็เป็นสุข
พระศาสดาทรงรับรองเป็นภาษาบาลีว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ แปลว่า ไม่มีความสุขใดเท่ากับความสงบใจ บัดนี้ เราได้พิสูจน์ความจริงแล้ว เราฝึกเพียงเบื้องต้น ยังให้ผลแก่เราถึงเพียงนี้ หากเราขยันหมั่นเพียรยิ่งขึ้น นั่นคือประโยชน์อันไพศาลที่เราคาดไม่ถึง
แต่ถ้าเราไม่ขยันหมั่นฝึก ดวงธรรมของเราไม่สว่างใส เราจะมีอารมณ์หงุดหงิด สุขภาพไม่ดี สามวันดีสี่วันไข้ ไม่ว่าจะทำอะไรไม่ดีทั้งนั้น เหตุนี้เอง พระศาสดาจึงสอนว่า ให้ทำใจให้สว่างใส เพราะสภาพใจที่สว่างใสให้ประโยชน์สถานเดียว ประโยชน์อันยิ่งใหญ่นั้นเราจะได้เรียนกันต่อไป
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#12
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 07:07 PM
อย่างที่บอก ทำใจหยุดนิ่งให้ได้เสียก่อนเถอะครับ ส่วนเทคนิคที่จะทำให้เป็นไวและง่ายต่อการเข้าถึงนั้น ก็วิธีที่หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่สอนนี่แหละครับ ง่าย ตรง ที่สุดแล้ว ไม่ยาก เพราะไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากหยุดกับนิ่ง สติ สบาย สม่ำเสมอ
บางคน เห็นพระเห็นดวงก็จริง แต่ก็ยังไม่ใช่ของจริงก็มี บางคนเห็นพระเห็นดวงก็จริง แล้วก็เป็นของจริงก็มี แต่ทั้งสองพวกที่เห็นก็มีหน้าที่เหมือนกันคือ หยุดในหยุด ต่อไปเรื่อยๆ
สมัยเปิดโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาใหม่ๆ หลวงพ่อเคยเมตตาสอนธรรมะเกี่ยวกับเรื่องการเห็นจริงกับไม่จริงให้ฟัง ผมจำไม่ได้แล้วว่าวันไหน เดือนไหน ปีอะไร แต่ถ้าได้ฟังแล้วจะชัดเลยว่า เห็นจริงกับไม่จริงน่ะ เป็นอย่างไร แต่พอจำได้สรุปๆว่า องค์พระกับดวงธรรม บางคนที่เห็นก็เป็นเพียงแค่กุศลนิมิต ส่วนของจริงนั้นผู้เข้าถึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง เหมือนกับว่ากินเค็มก็รู้ว่าเค็ม กินหวานก็รู้ว่าหวาน เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน แบบแผนภายในของชีวิตหลวงปู่ท่านก็สอนไปแล้วว่ามีดวงธรรม มีกายภายใน ซ้อนๆกันอยู่ มันก็จะเป็นอย่างนี้
คนที่เข้าถึงธรรมะจริงๆ ใจจะสะอาด สงบๆ จะรู้สึกเลยว่า กิเลสต่างๆจะกำเริบได้ยากขึ้น เห็นธรรมะแล้วก็รู้สึกมีความสุข สงบ ไม่ใช่เห็นแล้วก็อยากเอาไปเล่า อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองนั่งเห็นโน่นเห็นนี่ เพื่อให้คนอื่นยกยอปอปั้นหรือพูดชม คนได้ธรรมะจริงๆใจจะนิ่ง ใจจะจดจ่ออยู่กับการหยุดนิ่ง คนที่เห็นธรรมะจริงๆก็จะเห็นตามแบบแผนที่หลวงปู่ หลวงพ่อท่านสอนไว้ ไม่ใช่เห็นโน่นเห็นนี่ เห็นผีสางนางไม้ เทวดา พญานาค อะไรก็ไม่รู้วุ่นไปหมด
ที่ผมพอจำได้เลาๆ ก็ประมาณนี้ ใครพอมีเทปบันทึกย้อนหลังก็เอามาฝากกันด้วยนะครับ
#13
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 07:46 PM
ก่อนอื่นขอชื่นชมเจ้ากระทู้ที่มีความสนใจธรรมะภาคปฏิบัติ สมถะ - วิปัสสนากรรมฐาน นะครับ
เพราะมนุษย์ยุคนี้มีจำนวนน้อยมาก ที่สนใจแสวงหาและศึกษาธรรมะู้ โดยผ่านการปฏิบัติธรรม / practice meditation
สำหรับ ลิ้งค์ที่เจ้าของกระทู้เคยแนะนำไว้ ผมเคยเข้าไปมาบ้างแล้วครับ
ภาพโดยรวมก็เห็นว่า เป็นการชวนเพื่อนมนุษย์ให้มาศึกษาธรรมะภาคปฏิบัติธรรม
ผมก็โมทนา สาธุด้วยในกิจกรรมแบบนี้
ส่วนว่าผลการปฏิบัติจะดีเลิศอย่างไร ถูกต้องตรงไปตามความเป็นจริงมากน้อยน้อยแค่ไหน
ตามหลักคัมภีร์ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ที่เรียกกันว่า กาลามสูตร 10 คงต้องพิสูจน์ด้วยตนเองครับ
แต่มีข้อสังเกตว่า การประเมินผล การอบรมแต่ละรุ่นนั้น ว่า
มีนักเรียน / ผู้ฝึก เข้าถึงธรรมกาย / ดวงปฐมมรรค มากกว่า 90 % ไปถึง 100 % นั้น
1 ) ใช้วิธีประเมินผลแบบไหน เช่น การถาม - ตอบ , กรอกข้อมูล หรือ ครูผู้ฝึก เห็นด้วยญาณทัสสนะว่า
มีนักเรียน / ผู้ฝึก เข้าถึงธรรมกาย / ดวงปฐมมรรค มากกว่า 90 % ไปถึง 100 % ตามที่บอกไว้
ดังนั้นหากคณะครูผู้ฝึก สามารถสอนให้มนุษย์ บรรลุธรรม เข้าถึงสภาวะธรรมอันประณีตภายใน
ได้จริงมากกว่า 90 % ต้องนับว่า สุดยอด สุดเยี่ยมเลยครับ
เพราะแม้ในสมัยพุทธกาล ครั้งที่พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่
ก็ยังไม่ปรากฎบันทึกว่า มนุษย์และปวงเทวา ที่ได้สดับธรรมจากพุทธโอษฐ์
และภิกษุ ที่ออกบวช ได้บรรลุธรรม มากกว่า 90 % ไปถึง 100 %
2 ) การเห็นธรรมของ นักเรียน / ผู้ฝึก นั้นเห็นธรรมแบบไหน เช่น
เห็นกุศลนิมิต เป็นภาพดวงธรรม / กายธรรม , เห็นอุคหนิมิต , ปฏิภาคนิมิต หรือ เข้าถึงสภาวะธรรมนั้นจริง
ที่สำคัญอีกประการ คือ เห็นตรงไหน นอกตัว หรือ ในตัว / ตรงสิบ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ถูกส่วน หรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้เป็นการเห็นกุศลนิมิต , เห็นอุคหนิมิต , ปฏิภาคนิมิต
ก็เป็นอุปนิสัยติดตัว ผู้ฝึก รู้จักคำว่า ธรรมกาย
ให้รู้จักศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ รู้จักการวางใจในตัว
นับว่าเป็นมหากุศล ที่น่าอนุโมทนา แล้วครับ
อย่างไรก็ตาม ถ้า้เจ้าของกระทู้สนใจ จริง ลองไปอบรมดูก็ได้นี่ครับ
ผมเชื่อว่า การปฏิบัติธรรม ตามแนววิชชาธรรมกาย ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ สอนไว้
ไม่ว่าศิษย์สายไหน จังหวัดใด ก็ดีทั้งนั้น
แต่ว่าจะดีมาก ดีพอประมาณ ถูกต้องตรงไปตามความเป็นจริง มากหรือน้อย แค่ไหน
เกินภูมิรู้ ภูมิธรรมของผม ไม่สามารถสนทนาต่อได้ครับ
ที่กล่าวมาพอสังเขปนี้ ก็เป็นทรรศนะส่วนตัวนะครับ เจ้าของกระทู้อย่าถือสา อะไรไปนัก
เป็็้นการแลกเปลี่ยนทรรศนะ ได้สนทนาธรรมตามสมควรครับ
#14
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 07:49 PM
สมัยแรกๆ หลวงพ่อท่านจะสอนแบบนี้แหละครับ คือ ให้นึกนิมิต ดวงแก้ว หรือองค์พระใส ที่ฐานที่ 1 ปากช่องจมูก แล้วนึกเลื่อนไปที่ฐานที่ 2 เพลาตา แล้วนึกเลื่อนนิมิตไปที่ฐานที่ 3 เรื่อยๆ ไป จนถึง ฐานที่ 7
ช่วงหลังๆ คนมาปฏิบัติธรรมผ่าน DMC กันทั่วโลก แต่ละคนก็มีหลากหลายจริต หลวงพ่อท่านก็จะสลับแนวการสอนให้หลายหลากให้เข้ากับจริตคนหลายประเภท แต่ไม่พ้นหลักการเดียวกัน คือ สอนให้ทำใจให้หยุดให้นิ่งครับ
บางอาทิตย์ ท่านก็สอนให้นึกนิมิตดวงแก้ว หรือ องค์พระที่ฐานที่ 7 เลย ไม่ต้องเริ่มจากฐานที่ 1 แล้วทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร ก็ต่างกัน ตรงจริตคนนั่นแหละครับ แบบนึกไปตามฐานนั้น เหมาะกับ คนที่ใจละเอียดอ่อน แต่ฟุ้งซ่านง่าย จึงต้องนึกไล่ไปตามฐานต่างๆ ส่วนแบบนึกที่ฐานที่ 7 เลย เหมาะกับ คนที่ใจละเอียดอ่อน และค่อนข้างนิ่ง ก็นึกไว้ตรงฐานที่ 7 เลย ไม่ต้องไปตามฐาน เพราะใจหยุดนิ่งง่ายอยู่แล้ว
บางอาทิตย์ ท่านก็สอนให้นึกอะไรก็ได้ เป็นนิมิต เช่น ลูกมะพร้าว ธรรมชาติ หยดน้ำค้าง เพชร หรือ อะไรที่ชอบ ไว้ที่ฐานที่ 7 เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะชาวต่างชาติ ไม่รู้จักดวงแก้ว องค์พระ เช่น ชาวโซโลมอน คุ้นกับ ลูกมะพร้าวทั้งวัน ให้นึกดวงแก้ว ก็จบกันพอดีครับ
บางอาทิตย์ ท่านก็สอนให้ไม่ต้องนึกอะไรเลย วางใจสบายๆ ที่ฐานที่ 7 บางกับคนที่ใจหยาบ นึกนิมิตไม่ออก หรือ วิตกกังวล นึกได้ก็กังวลว่า ใช่หรือไม่ใช่นะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปนึกมัน ทำใจสบายๆ หยุดนิ่งก็พอ
แต่หลังๆ นี่ท่านจะสอนแบบผสมไปเลย คือ พูดทั้งหมดในอาทิตย์เดียว ให้ครอบคลุมไปเลย
ถึงตรงนี้ คุณถนัด คงพอจะเข้าใจแล้วนะครับว่า คนมีหลายจริต เทคนิค การสอน ก็ต้องหลากหลาย เป็นเรื่องธรรมดาครับ
#15
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 08:32 AM
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#16
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 12:29 PM
ส่วนเบื้องกลางกับเบื้องสูงให้เก็บไว้ก่อน จนกว่าเราจะทำเบื้องต้นได้ก่อนแล้วเราค่อยอ่าน ส่วนว่า แล้วอ่านระดับกลางสูง ไปก่อนที่จะฝึกเบื้องต้น ทำไม่ได้เหรอ คำตอบคือ ไม่ควรครับ
ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริงง่ายๆ สมัยตอนที่ผมยังขับรถไม่เป็น ผมกับคนอื่น ก็สมัครเรียนขับรถ ในขณะเดียวกัน ผมก็หาตำรา เรียนขับรถมาอ่านด้วย ในขณะที่คนอื่น ไม่จำเป็นเลย
เผอิญตำรานี้เขียนอธิบายขั้นตอนยังไม่ค่อยดี ผมไปอ่านจบเล่ม ตั้งแต่ต้น กลาง สูง ภายในวันสองวัน แล้วย้อนมาฝึกขับรถเบื้องต้น ผลก็คือ ผมก็วิติกกังวลสิครับ
คือ ในตำราเขียนว่า เมื่อเวลาเราอยู่เกียร 1 ให้เราฟังเสียงเครื่องยนต์ให้ดี เสียงเครื่องยนต์จะเป็นสัญญาณบอกว่า ถึงเวลาเปลี่ยนเกียร์ หากเราไม่ยอมเปลี่ยนเกียร์ เราจะลากเกียร์ เครื่องอาจจะพังได้ เห็นมั้ยครับ ผมยังเข้าเกียร์ไม่เป็นเลย แต่ไปอ่านตำราล้ำหน้าไปก่อน อธิบายเกี่ยวกับวิธีเปลี่ยนเกียร์ ตายล่ะ ฟังเสียงเครื่องยนต์ แล้วเสียงมันจะเป็นยังไงล่ะ เสียงมันจะต่างจากตอนเสียงเครื่องยนต์ปรกติอย่างไรล่ะ เราไม่เข้าใจเลย ผมก็วิตกกังวลไปต่างๆ นาๆ เราจะขับรถได้มั้ยเนี่ย ในขณะที่คนอื่น ไม่ได้อ่านตำราขั้นกลาง ขั้นสูง มาก่อน เขาก็สบายใจ เรียนขั้นต้นไปเรื่อยๆ จนเป็น ส่วนผม กว่าจะเป็นก็ช้ากว่า พวกเขา นี่เพราะไม่รู้จักลำดับขั้นตอน
ยังมีอีกนะครับ ที่นี่พอเริ่มขับเป็น ครูพาออกถนนใหญ่ เอาแล้วครับ เกร็งวิตกกังวลแล้วครับ เพราะตำรา(ที่ผมอ่านล่วงหน้าไว้ในท่อนขั้นสูง) บอกว่า สายตาเราอย่ามองข้างหน้าอย่างเดียว ต้องมองกระจกหลัง กระจกข้าง ทุกๆ 8 วินาที ผมก็กังวลล่ะสิ เอ๊ะ 8 วินาทีหรือยัง ถึงเวลาที่เราต้องมองกระจกหรือยัง เลยไม่ค่อยได้ฟังครูสอนอยู่ข้างๆ ในขณะที่คนอื่น สบาย ฟังแต่ครูสอนอย่างเดียว ไม่มีปัญหาเลย แต่ครั้นพอค่อยๆ ฝึกตามครู จนขับรถเป็นแล้ว การมองไปข้างหน้า สลับกับการมองกระจกหลัง ซ้ายขวา จะกลายเป็นเรื่องธรรมชาติ เราจะรู้จังหวะเอง ไม่จำเป็นต้องทุกๆ 8 วินาที นี่คือ ปัญหา เพราะอ่านตำราล่วงหน้าไปก่อน ทำได้จริง
สรุป ผมยังยืนยันว่า ลำดับขั้นตอน สำคัญที่สุด รู้ล่วงหน้าก่อน ในขณะที่ยังทำไม่เป็น ยิ่งก่อให้เกิดปัญหา วิตกกังวล ว่าจะทำได้หรือเปล่า ดีไม่ดี สุดท้ายเลิกกลางคันไปเสียนี่
#17
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 12:51 PM
ส่วนเรื่องจริตของแต่ละคนนั้น ผมเข้าใจ ว่าสอนคนหมู่มากต้องเป็นเช่นนั้น แต่อยากให้ทางวัดมีสอนเป็นวิชา มีผู้สนใจมาลงเรียนจริงๆ จังๆ กันไปเลย ส่วนคนที่เข้าวัดที่นั่งเป็นปกติก็ทำกันต่อไป แต่คนที่สนใจจริงจังอยากจะเรียนวิชชาธรรมกายเป็นหลักก็น่าจะจัดให้มีสอน ซึ่งผมว่ามีเยอะทีเดียว
ใครจะเรียนวิชชาธรรมกายก็แยกไป จะต่อวิชชาก็ไปต่อวิชชา ส่วนเรื่องพังธรรม ทำบุญก็เป็นปกติทำกันอยู่แล้ว แล้วแต่ใครจะมาวัดเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่ง ณ วันนี้คนที่เห็นดวงปฐมมรรค หรือ องค์พระ มีไม่น้อยนะครับ แต่เขาไม่รู้จะต้องทำอย่างไรต่อ ทำยังงัยจึงจะถูก กลัวพลาด ยกตัวอย่างง่ายๆ แม่ผม ทุกวันนี้ท่านเห็นดวงปฐมมรรค แต่ไม่รู้จะต่อยอดไปอย่างไร เปิดหนังสือทำเองก็กลัวผิด จะถามผู้รู้ที่ไหน ในเมื่อวัดไม่มี help desk ให้ติดต่อสอบถามในเรื่องการต่อยอดวิชา
ด้วยความเคารพ ต้องกราบขออภัยหากมีข้อความใดไม่เหมาะสม เป็นมุมมองที่ผมมองถึงกลุ่มคนที่ต้องการศึกษาวิชชาธรรมกายแบบจริงจัง
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#18
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 02:21 PM
เอาแค่ทำตาม "คู่มือสมภาร" ได้ ผมว่าเป็นประโยชน์เหลือเฟือแล้วครับ
#19
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 03:25 PM
ขอแสดงความคิดเห็นครับ
ถ้าสังเกตุให้ดีโครงการสอนธรรมที่วัดพระธรรมกายนั้น
ดูดีๆ มีให้ครบแล้วตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงเรียนวิชชาธรรมกายนะครับ
เพียงแต่ผู้เรียน มีหลายระดับความสำเร็จ
เวลารวมกันที ก็มาทั้งหมด เป็นหมู่คณะ
ทุกวันอาทิตย์บ้าง วันงานบุญใหญ่บ้าง
คนใหม่ๆแยกไม่ออกหรอกครับถ้าเห็นเพียงแค่นั้น
แต่การได้เห็นภาพการรวมกันเช่นนั้น
ทำให้เกิดแรงบันดาลใจหรือศรัทราได้
จึงปราถนาที่จะเรียนรู้วิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการต่อไปครับ
แต่เมื่อเวลาจะเรียนกันนั้นมีแยกไป
ตามเวลา สถานที่ กิจกรรม และเพศครับ
สำหรับวิชชาธรรมกายนั้น
ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนนะครับ
ว่าจะเริ่มเรียนจริงๆได้เมื่อไหร่
เพราะว่าจะต้องใช้ธรรมจักขุ ไปเรียนกัน
หรือจะใช้คำว่าภาวนามยปัญญาไปเรียนกัน ถึงจะได้
ดังนั้นเมื่อหลักเบื้องต้นยังไม่พอ ไม่เป็น ไม่ใช่ ก็ไม่จริงแน่นอนครับ
แต่หากทางวัดจะจัดเป็นหลักสูตรแบบไม่มีบังคับระยะเวลา
เอาแบบว่า ท่านใดก็ตามขอให้เป็นคน มาขอเรียน ก็ให้เรียนไป รับหมด
โดยมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับแต่ละระดับ โดยมีวิปัสสนาจารย์ควบคุม
จนสำเร็จวิชาธรรมกายกันที่เดียว
ผมเองก็ขอสมัครโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ คนหนึ่งครับ
ส่วนอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ Web ที่ทางท่านเจ้าของกระทู้ คุณถนัดท่านถามมา
ผมขอยกคำสอนของคุณยาย ( คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง) ขึ้นประกอบ
พร้อมทำ Link ข้อมูลของหลวงปู่ และ หลวงพ่อ ไว้ประกอบ เพื่อเข้าไปดูเพิ่มเติมครับ
โดยส่วนตัวผมเองแนะได้แต่ว่าอย่าไขว้เขวเพราะสิ่งที่แค่ได้เห็นได้ฟัง
จนมารู้ภายหลังว่า ใกล้เกลือกินด่าง นะครับ
มรดกธรรม พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย
http://www.kalyanami...ing.asp?catid=1
เลือกฟัง หรือSave
มรดกธรรม (07) เดินตามฐาน
โอวาทหลวงพ่อ(พระราชภาวนาวิสุทธิ์) นำนั่งสมาธิ
http://www.kalyanami...ing.asp?catid=2
เลือกฟัง หรือ Save
โอวาท 1_ (06) เทคนิคการวางใจ
โอวาท 5_ (11) สำรวจทางเดินของจิต
โอวาท8_(11) การวางใจสบายๆ
โอวาท9_(10) ทางเดินของพระอริยเจ้าเริ่มต้นที่ฐานที่เจ็ด
โอวาท11_(19) ระดับการพิจารณามีหลายระดับ
โอวาท12_(04) กายในกาย 18 กาย
โอวาท12_(20) เทคนิคการวางใจ
ไฟล์แนบ
#20
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 06:53 PM
ไม่ว่าคำพูดใดก็ตาม หากผมไม่ได้พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ว่าจริงหรือไม่ จากการศึกษาวิชชาธรรมกาย ผมก็คงยังไม่เชื่อครับ ดังนั้น จึงอยากเรียนวิชชาธรรมกายให้สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะถ้าได้ศึกษาจากผู้มีที่ถือศีลมากกว่า ผู้ที่ศีล 5 หรือ 8 ก็ไม่ครบน่ะครับ
อย่างใน case study ในรายการอนุบาลฝันในฝัน ผมดูแล้ว ทำผมตระหนักในบุญ บาป และพึงกระทำดี ละบาป สั่งสมบุญอยู่เสมอ เพราะสิ่งเหล่านั้นสามารถรู้ได้ด้วยจิตสำนึกว่า ดีหรือไม่ดี แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เชื่อได้ 100% จนกว่าผมจะได้พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ด้วยตัวผมเอง
เพราะผมจะชวนคนเข้าวัด มาทำบุญ นั่งสมาธิได้เต็มปาก ผมก็ต้องทำให้ได้เสียก่อน
ด้วยความเคารพ
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#21
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 08:09 PM
ฟังเสียงเครื่องยนต์ว่าถึงเวลาเปลี่ยนเกียร์เป็นอย่างไร ถ้าได้ลองฟังเสียงเครื่องยนต์ขณะขับรถจริง ในที่สุดก็จะเข้าใจว่า เสียงต่างกันอย่างไร หรือ การมองกระจกรถทุกๆ 8 วินาทีนั้น ความจริงแล้ว เขาทำกันอย่างไร ต่อเมื่อได้ขับรถจริงเท่านั้น จึงจะทราบ อ่านหนังสือ ไม่มีวันเข้าใจหรอกครับ
อ่านหนังสือว่า พริกเผ็ดอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่มีวันเข้าใจ ต่อเมื่อได้กินพริกเข้าไปนั่นแหละ จึงจะรู้ได้ชัดเจนว่า พริกนั้นเผ็ดอย่างไร
อ่านตำรา หรือ แม้แต่ฟังหลวงพ่อว่า ให้เดินจิตไปตามฐานต่างๆ ฟังไปอ่านไปนึกว่าตนเองเข้าใจ แต่ที่ไหนได้ คนที่เขาไม่ได้อ่านไม่ได้ฟัง แต่เขาหยุดใจจนเห็นฐานต่างๆ ชัดเจนจริงๆ เขาก็จะเข้าใจชัดเจนเอง ยิ่งกว่าคนที่อ่านตำราแน่นอนครับ
#22
โพสต์เมื่อ 22 December 2007 - 11:05 PM
ดีครับ แบบนี้
ปกติผมก็ชอบคนจริง ทำจริง สู้ยิบตา ถอยไม่เป็น ไม่สำเร็จเป็นไม่ยอม
หวังว่าคุณถนัด ทำนิ่ง ทำหยุดได้เร็วไว หยุดใจที่ฐานที่ 7 ได้ทันที
เห็นดวงธรรมดวงแรก(ดวงปฐมมรรค ) ผ่านดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุต ดวงวิมุตติญาณทัศนะ
เห็นกายมนุษย์ละเอียด ผ่านดวงธรรม ทั้ง 6 ในกายมนุษย์ละเอียด
เข้าสู่กายทิพย์ ผ่านดวงธรรม ทั้ง 6 ในกายทิพย์
ไล่ไปแบบนี้จนถึงกายที่ 18 กายธรรมอรหัต ละเอียด ได้ธรรมจักขุ
แล้วไปเรียนวิชชาธรรมกายกัน
ขอท่านอย่าล้มเลิก
สิ่งใดที่จะเปิดรู้เปิดญาณท่านได้ก็ขอให้ท่านได้พบโดยเร็วนะครับ
ผมขอเป็นกำลังใจให้กับท่านที่มีใจปราถนาที่จะเรียนวิชชาธรรมกายทุกคนครับ
#23
โพสต์เมื่อ 23 December 2007 - 12:46 PM
#24
โพสต์เมื่อ 23 December 2007 - 07:18 PM
ฉะนั้นในสิ่งที่เขาเปิดอบรมแล้วได้ผล 95% อย่างที่ผมลงไว้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ของจริง หลวงพี่บอกว่า ถ้าเป็นของจริง ตัวเราจะรู้ด้วยตัวเอง ตอนนี้ก็เลยขอให้นั่งแบบนี้ไปก่อน เมื่อเราขจัดคราบที่เกาะใจอยู่ได้จนใส แล้วก็จะเห็นเอง เพราะกิเลสบนโลกมันเยอะ จากทีวี วิทยุ หนังสือ หน้าที่การงาน มันทับถมกันทำให้ใจหมองลงทุกวัน
ให้หมั่นนั่งบ่อยๆ ทำบุญ สวดมนต์ มันก็จะเริ่มดีขึ้น และในที่สุดก็จะสมหวัง
สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณคำตอบทุกคำตอบมากครับ แต่ถึงอย่างไรผมก็จะพิสูจน์ก่อนแน่นอน ไม่แน่ในวันนึง หลวงพ่อจะมีกองทัพธรรมที่เข้าถึงธรรมกายอันบริสุทธิ์พร้อมๆ กันเป็นแสนๆ คนก็เป็นได้ ครับ
แต่อย่างไรก็โหวตกันนะครับ จะได้มีพลังที่จะช่วยเกิดโครงการนี้ขึ้นมาจริงๆ
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#25
โพสต์เมื่อ 24 December 2007 - 12:03 AM
#26
โพสต์เมื่อ 24 December 2007 - 11:01 AM
หากคุณได้ดวงปฐมมรรค และเดินวิชชา จนเห็นกายละเอียด 18 กายอย่างชำนาญแล้ว
ขอ แนะนำว่า ทุกวันพฤหัสบดี ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เวลา บ่ายสองโมง ที่หอสังเวช
จะมีผู้ใหญ่หลายๆคนที่ได้วิชชาธรรมชั้นสูง มารวมตัวกันมากมาย
อย่าถามนะครับ ว่าไปคุยกับคนไหน หากคุณได้วิชชาแล้วจริงๆ ลองอธิษฐานที่ หน้าหีบศพหลวงพ่อ คุณจะรู้ได้ด้วยตัวเอง
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนไหนได้วิชชาชั้นสูงแล้ว ............ อันนี้น่าคิดนะครับ
ตามที่บันทึกเอาไว้ วิชชาธรรมกาย สามารถ กำจัดทุกข์ กำจัดภัย กำจัดโรค ....
อ่านใจผู้อื่นได้นะครับ ระลึกชาติตนเอง ระลึกชาติผู้อื่น กำจัดกิเลส
แก้โรคภัยไข้เจ็บตนเอง หรือ ผู้อื่นก็ได้นะครับ รวมทั้ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม
ในแต่ละกายที่ละเอียดเข้าไป ก็เพื่อกำจัดกิเลส แต่ละขั้นนะครับ
กลางของกลาง ละเอียดในละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียด เข้าไปไม่มีที่สิ้นสุด หยุดในหยุดเรื่อยไป
ลองพูดคุยกับผู้ใหญ่ท่านนึงที่นั่งบริเวณ รูป สมเด็จพระสังฆราช แล้วลองถามเรื่องวิชชาธรรมกาย
เชื่อว่าหากคุณสังเกตจะทราบได้ครับ
ธาตุธรรมเดียวกัน จะดึงดูดเข้าหากันเองนะครับ
หากคุณ เดินวิชชาจนชำนาญแล้ว ตอนเย็นประมาณ หกโมงเย็น
มีแม่ชีหลายท่านจะสอน อยู่ในห้อง บริเวณข้างๆ โรงงานทำวิชชา แล้วแต่วันนะครับ
แม่ชีหลายท่านๆ ก็ทำหน้าที่ในโรงงานทำวิชชาด้วยครับ
รวมถึง ห้องของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชามาโดยตรง
หากคุณยังมีพื้นฐานไม่ชำนาญ แนะนำให้ขึ้นไปนั่งที่ชั้นสอง หอขาว ก็จะมีนั่งอยู่หลายร้อยคนนะครับ
ในห้องนี้ จะมีแม่ชีอาวุโส มานั่งคุมวิชชาให้ด้วยครับ
ตอนนี้ ลอง หาคำว่า _คู่มือสมภาร _จาก google ไปอ่านก่อนนะครับ
หรือ มรรคผลพิสดาร 63 กัณเทศน์ ......
หรือจะลองไปติดต่อที่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อซื้อ ซีดีเสียงของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็ได้ครับ จะมี 2 แผ่น
#27
โพสต์เมื่อ 25 December 2007 - 09:20 AM
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#28
โพสต์เมื่อ 25 December 2007 - 07:40 PM
#29
โพสต์เมื่อ 10 January 2008 - 10:11 AM
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#30
โพสต์เมื่อ 12 February 2008 - 06:20 PM