ต่อมาเป็นส่วนขยายความ , และเนื่องจากเนื้อหายาว จึงขอย่นย่อพอสังเขป
ดังนั้นอาจมีข้อความสำคัญตกหล่นบ้าง
ผมก็ขออภัยทาน ด้วยครับสมัยใดกัปพินาศเพราะไฟ. มหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น ยังฝนหาใหญ่อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล.
มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำพืชทั้งปวงออกหว่าน.
ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลาร้อง.
ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝนขาดเม็ดเลยทีเดียว.
ในกาลนั้น โดยล่วงไปแสนปีจักสิ้นกัป.
ฉะนั้นกามาวจรเทพทั้งหลาย ชื่อว่า โลกพยูหะ เป็นชาวโลก ปล่อยศีรษะผมเผ้ารุงรัง
ร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง
มีเพศผิดรูปยิ่งนักเที่ยวไปในทางของมนุษย์ พากันบอกกล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนปีจากนี้จักสิ้นกัป โลกนี้จักพินาศ. แม้มหาสมุทรก็จักเหือดแห้ง.และมหาปฐพีพระยาภูเขาสิเนรุจักถล่มทลายพังพินาศไป. โลกจักพินาศตลอดถึงพรหมโลก. ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านจงเจริญ เมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขากันเถิด. จงบำรุงมารดาบิดา จงเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ดังนี้.
พวกมนุษย์และภุมมเทวดาโดยมาก ครั้นสดับคำของกามาวจรเทพเหล่านั้น แล้วพากันเกิดสังเวช
มีจิตอ่อนต่อกันและกัน ทำบุญมีเมตตาเป็นต้น แล้วไปบังเกิดในเทวโลก.
ณ เทวโลกนั้น ทวยเทพบริโภคอาหารทิพย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณแล้วได้ฌาน.
ส่วนมนุษย์พวกอื่นบังเกิดในเทวโลก ด้วยอปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป.
แม้สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมได้ฌานอย่างนั้นในภพนั้น.
สัตว์ทั้งปวงย่อมบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจฌานที่ได้แล้วในเทวโลกอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
โดยกาลยาวนานขึ้นไปโดยการกำหนดปี
พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ย่อมปรากฏ.
เมื่อพระอาทิตย์นั้นปรากฏการกำหนดคืนวันไม่ปรากฏ.พระอาทิตย์ดวงหนึ่งขึ้น. ดวงหนึ่งตก.
โลกไม่ขาดความร้อนจากดวงอาทิตย์.
ในพระอาทิตย์ที่ยังกัปให้พินาศไม่มีสุริยเทพบุตร. เหมือนในพระอาทิตย์ปกติ
เมื่อพระอาทิตย์ปกติยังเป็นไปอยู่วลาหกบ้าง เปลวไฟบ้าง ย่อมไปในอากาศ.
เมื่อพระอาทิตย์ยังกัปให้พินาศกำลังเป็นไปท้องฟ้าปราศจากควันและวลาหก ดุจบานกระจกไม่มีฝ้า ฉะนั้น.
น้ำในลำธารเป็นต้นแห้ง เว้นมหานทีทั้ง ๕
จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ.
เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ นั้น ปรากฏแม้มหานทีก็แห้ง.
จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ปรากฏ.
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ มหาสระ ๗ เหล่านี้ คือ
สีหปาตนะ ๑ หังสปาตนะ กัณณมุณฑกะ ๑ รถการทหะ ๑ อโน-ตัตตทหะ ๑
ฉัททันตทหะ ๑ กุณาลวาหะ ๑ แห้ง
เพราะเป็นแหล่งเกิดมหานทีในป่าหิมพานต์.
จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ นั้นปรากฏ น้ำแม้เพียงเปียกข้อนิ้วมือ ก็ไม่เหลืออยู่ในมหาสมุทรโดยลำดับ.
จากนั้นโดยล่วง กาลยาวนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ.
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นมีควันพวยพุ่งเป็นอันเดียวกัน ติดแน่นไปด้วยควัน.
แม้แสนโกฏิจักรวาลก็เหมือนอย่างจักรวาลนั้น.
จากนั้น โดยล่วงกาลยาวนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นพร้อมด้วยแสนโกฏิจักรวาล ก็มีเปลวไฟโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน.
แม้ยอดภูเขาสิเนรุสูงประมาณ ๑๐๐โยชน์ ก็ทำลายหายไปในอากาศนั่นเอง.
เปลวไฟนั้นลุกโพงลงจดสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา.
เปลวไฟเผากนกวิมาน รัตนวิมาน และมณีวิมาน จรดดาวดึงส์พิภพ.
*** พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ 1015
เชิญศึกษาเรื่อง กัปพินาศด้วยน้ำ กันต่อครับ
อนึ่ง
สมัยใดกัปพินาศไปด้วยน้ำ มหาเมฆยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในตอนก่อนนั่นแหละ.
แต่ความแปลกกกันมีดังต่อไปนี้.
มหาเมฆมีน้ำกรดยังกัปให้พินาศ ตั้งขึ้นในที่นี้.
เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองตั้งขึ้นในอากาศนั้น
ฉะนั้น.มหาเมฆนั้น เมื่อยังฝนละเอียดได้ตกแต่ต้น
ย่อมให้ตกเต็มแสนโกฏิจักรวาล ด้วยสายฝนใหญ่ตามลำดับ
แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น ถูกน้ำกรด ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมละลาย น้ำถูกลมพัดไปโดยรอบ
น้ำท่วมตั้งแต่แผ่นดินถึงทุติยฌานภูมิ
น้ำนั้น ยังพรหมโลกแม้ ๓ ให้ย่อยยับไปในที่นั้น แล้วจดถึงสุภกิณหาตั้งอยู่. น้ำนั้นยังไม่สงบตราบเท่าสังขารประมาณอณูยังมีอยู่.
สัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจากสุภกิณหาแล้ว ย่อมเกิดในอาภัสสรพรหมเป็นต้น.
*** พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ 1016
เชิญ ศึกษาเรื่อง
กัปพินาศด้วยลม กันต่อครับ
อนึ่ง สมัยใด
กัปพินาศไปด้วยลมนั้น. มหาเมฆยังกัปให้พินาศไปแต่ต้นตั้งขึ้นแล้ว
พึงให้พิสดารตามนัยดังกล่าวแล้ว ในตอนก่อนนั่นแหละ.
แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้.
ลมตั้งขึ้นเพื่อยังกัปให้พินาศในโลกนี้ เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองในอากาศนั้น ฉะนั้น.
ลมนั้นยังธุลีหยาบให้ตั้งขึ้นก่อน.
แต่นั้นยังธุลีละเอียด ทรายละเอียด ทรายหยาบ ก้อนกรวดและหินเป็นต้น
ให้ตั้งขึ้นที่แผ่นหินประมาณเรือนยอดและที่ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งขึ้นในที่ไม่เสมอ.
ธุลีเหล่านั้นไม่ตกจากแผ่นดินอีก เพราะจมอยู่ในท้องฟ้า.
ธุลีเหล่านั้นแหลกละเอียดไปในที่นั้น. ถึงความไม่มี.
ครั้นแล้ว ลมตั้งขึ้นที่ภายใต้แผ่นดินใหญ่ ตามลำดับ
แล้วพลิกแผ่นดินทำรากดินไว้เบื้องบน แล้วซัดไปในอากาศ.
ผินแผ่นดินมี ๑๐๐ โยชน์เป็นประมาณ แตกไปประมาณสองโยชน์ สามโยชน์สี่โยชน์ ห้าโยชน์
ถูกกำลังลมซัดไป แหลกละเอียดบนอากาศนั่นเองถึงความไม่มี.
ลมยกภูเขาจักรวาลบ้าง ภูเขาสิเนรุบ้าง ขึ้นแล้วซัดไป
ในอากาศ. ผินแผ่นดินเหล่านั้นกระทบกันและกัน แล้วแหลกละเอียดพินาศไป.
ด้วยอุบายนี้แหละ ลมยังภุมมัฏฐกวิมานและอากาสัฏฐกวิมานให้พินาศ
ยังกามาวจรเทวโลก ๖ ให้พินาศ
แล้วยังจักรวาลแสนโกฏิให้พินาศ.
จักรวาลกระทบกับจักรวาล. หิมวันตะกระทบกับหิมวันตะ.สิเนรุกระทบกับสิเนรุ แล้วแหลกละเอียดพินาศไป.
ลมพัดตั้งแต่แผ่นดินจนถึงตติยฌานภูมิ.
ลมยังพรหมโลก ๓ ให้พินาศ จดถึงเวหัปผลาตั้งอยู่. เพราะเหตุไร โลกจึงพินาศไปอย่างนี้.
เพราะอกุศลมูลเป็นเหตุ.
เพราะเมื่ออกุศลมูลหนาขึ้นแล้ว โลกจึงพินาศไปอย่างนี้. *** พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1017อนึ่ง โลกนั้นแล
เมื่อโทสะหนา โลกพินาศไปด้วยไฟ.
เมื่อราคะหนา พินาศไปด้วยน้ำ.
เมื่อโมหะหนา พินาศไปด้วยลม.
*** พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1018