คนเป็นเกย์มาบวชได้หรือไม่?
#1
โพสต์เมื่อ 04 October 2005 - 03:15 PM
#2 *Guest*
โพสต์เมื่อ 04 October 2005 - 09:45 PM
#3
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 07:51 AM
และในโรงเรียนฝันในฝัน ครูไม่ใหญ่ได้สอนไว้คือผู้ที่ไม่ใช่ชายแท้(ยังมีเศษกรรมบีบคั้น ให้เป็นเช่นนั้น) ไม่ควรมาบวชอย่างยิ่ง(เพราะหากพรั้งเผลอเพียงคิดก็จะมีวิบากติดตัว) อีกทั้งแนะนำให้ปฏิบัติธรรมด้านอื่นๆ และอธิฐานจิตให้มาก เมื่อหมดกรรมจะได้บวชสมความปรารถนาครับ
มารวมบุญเป็นกองเสบียง ปฏิบัติธรรม รักษาศีล5 ศีล8 ให้บริสุทธิ์กันดีกว่าใหมครับ
กราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
#4 *Guest*
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 08:40 AM
#5 *Guest*
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 11:09 AM
#6
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 01:51 PM
#7
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 03:02 PM
รักษาศีลได้ดี ไม่มีข้อด่างพร้อย กริยามารยาทสมกับเป็นสมณะ
จิตใจผ่องใส....ปลื้มในการบวช คือ หมายความ ตั้งใจบวชจริง ๆ และทำได้จริงๆ
ก็ให้เค้าปลื้มในสิ่งที่เค้ากระทำเถิดค่ะ...
หากตอนบวช เค้าทำได้น้อย ก็ขอให้เค้าปลื้มว่า อย่างน้อย ก็มีโอกาสได้บวช
ส่วนที่มันทำให้เค้าหมองก็ไม่ควรไปคิดถึง ลืมๆๆ ให้หมดนะค่ะ..
แล้วก็มาเป็นกองเสบียงกัน
มาทำทานบารมีให้เต็ม ๆ ล้น ๆ ไปเลย แล้วเมื่อถึงเวลาได้บวช(ชายแท้) หมู่คณะเรา พวกเราได้มีเสบียงไว้สร้างบารมีง่าย ๆ ตอนอยู่ในเพศสมณะ จนถึงที่สุดแห่งธรรมกันค่ะ
#8 *Socrates*
โพสต์เมื่อ 05 October 2005 - 04:43 PM
#9
โพสต์เมื่อ 07 October 2005 - 07:41 PM
หตฺถเมวานุกนฺตติ
สมมญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ
นิรยายูปกฑฺฒติ
ดุจหญ้าคาที่บุคคลคร่ามา โดยปราศจากความระวัง ย่อมบาดมือได้ ฉันใด
พรตพรหมจรรย์ที่ลูบคลำไม่ดี ย่อมฉุดคร่าไปสู่นรกได้ ฉันนั้น
พุทธพจน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#10 *กาจ*
โพสต์เมื่อ 08 October 2005 - 01:08 PM
#11 *Guest*
โพสต์เมื่อ 10 October 2005 - 10:27 PM
ในความรู้สึกของชาวพุทธ แค่เห็นคำว่า "เห็นตั้งเยอะ" ในความคิดเห็นที่ 10
สะอึกและสะท้อนใจมากกกกกกกกกกก
ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้
ถ้ารู้ตัวว่าเป็น ขอความกรุณาอย่าบวชเลย
#12
โพสต์เมื่อ 11 October 2005 - 02:33 PM
#13 *Guest*
โพสต์เมื่อ 12 October 2005 - 02:27 PM
ว่าให้ตั้งใจรักษา ศีล 8 ทุกวันไปตลอดชีวิตและปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงพระธรรมกายค่ะ
#14
โพสต์เมื่อ 12 October 2005 - 03:46 PM
เข้าใจแล้วคะว่าบาป แต่ดิฉันถามเพิ่มเติมว่า เพื่อนดิฉันต้องทำอย่างไรคะ ถึงจะทำให้วิบากกรรมเบาบางลง เห็นที่โพสความคิดเห็นกันมีแต่บอกว่าอย่าบวชเลย อันนี้ก็ขอบคุณค่ะที่ช่วยสนใจแสดงความคิดเห็น แต่ขอให้แสดงความคิดเห็นตรงคำถามด้วยนะคะ
ก็เห็นมีท่านอื่นได้แสดงความเห็นตามที่ถามไว้แล้วนี่คะ
อย่างความเห็นของคุณ saowanee15 ก็ตอบคำถามที่ว่า เคยบวชไปแล้วจะบาปไม๊
ที่เคยบวชไปแล้วก็ได้บุญไปแล้ว ไม่ใช่ได้บาป แต่หากพลั้งเผลอคิดในเรื่องที่เป็นอกุศลระหว่างที่บวชอยู่ก็จะมีวิบากติดไป อย่างที่คุณ tnawut แสดงความคิดเห็นไว้ แล้วตอนนี้จะทำอย่างไร ก็อย่างที่คุณ saowanee15 และท่านอื่นๆว่าไว้ว่าสิ่งที่ผิดพลาดลืมไปให้หมด ให้สร้างบารมีเป็นกองเสบียง ถือศีลแปด อธิษฐานให้ได้เกิดเป็นเพศบริสุทธิ์และได้บวช ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย เรื่องนี้คุณครูไม่ใหญ่เคยกล่าวอยู่บ่อยๆ
ในความเห็นของดิฉัน ถ้าเกรงใจที่พระอาจารย์มาชวนบ่อยๆก็บอกท่านไปตามตรงเลยว่าตัวเค้าเป็นเกย์ แล้วปรึกษาพระอาจารย์ดูว่าท่านจะแนะนำอย่างไร
#15 *Guest*
โพสต์เมื่อ 13 October 2005 - 03:47 PM
ปล. เด็กราม ปี 1 น่ารัก
#16
โพสต์เมื่อ 14 October 2005 - 01:28 AM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#17
โพสต์เมื่อ 14 October 2005 - 12:15 PM
เนื่องจาก ไม่มีพระวินัยปกป้องเกย์ได้เลยครับ ในขณะที่ถ้าเป็นคนทั่วไป เวลาบวชเป็นพระ แล้วหากมีความรู้สึก กามกำเริบขึ้นมา (ซึ่งก็เป็นได้ สำหรับผู้ที่ยังฝึกตัวอยู่ ยังไม่หมดกิเลส) จะมีพระวินัยคอยปกป้องอยู่ เช่น ห้ามพระคุยกับผู้หญิงในที่ลับหูลับตา อย่างนี้ พระวินัยยังช่วยป้องกันได้
แต่ถ้าสมมุติเป็นเกย์ เวลา กามกำเริบขึ้นมา ก็จะต้องไปรู้สึกกับเพศเดียวกัน ทีนี้พระวินัยไม่สามารถช่วยปกป้องได้เลยครับ เพราะไม่มีพระวินัยข้อที่ว่า ห้ามพระคุยกับพระกันเอง ในที่ลับหูลับตา อ้าวก็เป็นพระเหมือนกัน ทำไมจะคุยกันไม่ได้ นอนในกุฎิเดียวกันยังได้เลย เมื่อพระวินัยไม่สามารถป้องกันได้เช่นนี้ พระพุทธเจ้าท่านหวังดี ท่านจึงห้ามเกย์บวชน่ะครับ เพื่อป้องกันไม่ให้เขาพลาดพลั้ง ยิ่งกว่านี้ แล้วจะย่ำแย่เลยนะครับ
#18
โพสต์เมื่อ 14 October 2005 - 01:51 PM
แองจี้
#19
โพสต์เมื่อ 14 October 2005 - 01:53 PM
ดีค่ะ post มาเลยจะได้รู้กันค่ะ
angie
#20
โพสต์เมื่อ 14 October 2005 - 04:46 PM
สำหรับผู้ที่เข้ามาบวช ตั้งใจฝึกตน เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น เมื่อชอบมองเพศตรงข้ามขึ้นมาด้วยความรู้สึกว่าน่ารักดี ก็ถือเป็น กามกำเริบ นั่นเองครับ
แต่สำหรับระดับผู้ครองเรือนที่ถือศีล 5 ถ้าเป็นคู่ครองของตนเอง ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่ถ้าไปชอบมองคู่ครองของคนอื่นขึ้นมา ปัญหาก็กำลังก่อตัวขึ้นเช่นกันครับ
#21
โพสต์เมื่อ 22 October 2005 - 11:33 AM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบดั่งหลุมถ่านเพลิง มีความทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ดุจบุรุษผู้มีกำลังมาก ช่วยกันฉุดจับโยนลงไปในหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรงนั้น
กามเปรียบเหมือนกระดูกโคที่เปื้อนเลือด แม้สุนัขนั้นจะพึงแทะสักเพียงใด ก็ไม่อาจทำให้ หายหิว หายเพลียได้ (ที่เป็นเช่นนั้น เพราะมันอร่อยน้ำลายของตัวมันเองต่างหาก) หากแต่ได้รับความเหน็ดเหนื่อยคับแค้น
กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่นกแร้ง เหยี่ยว นกตะกรุม โผเข้ารุมจิกยื้อแย่ง ตัวใดที่คาบชิ้นเนื้อไว้ไม่ยอมปล่อย ย่อมถูกตัวอื่นรุมจิกรุมทึ้ง ได้รับอันตรายหรือทุกข์หนักปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ
กามเปรียบเหมือนคบเพลิงที่ทำด้วยหญ้าที่มีไฟลุกโพลง เมื่อถือเดินทวนลม เปลวไฟอันลุกโชนนั้น ย่อมไหม้เอามือ เอาแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง หากผู้ถือไม่ยอมทิ้งคบเพลิงนั้นเสีย ย่อมได้รับทุกข์ถึงตายหรือปางตาย
กามเปรียบเหมือนความฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ตื่นขึ้นมาแล้วกลับไม่พบสิ่งใดเลย จึงต้องเป็นทุกข์ด้วยความเสียใจ
กามเปรียบเหมือนสิ่งของที่ยืมผู้อื่นเขามา แม้จะเป็นแก้วมณีมากค่าเพียงใด ครั้นถึงเวลา ย่อมถูกเอาคืนไป
กามเปรียบเหมือนการปีนป่ายต้นไม้ ขึ้นไปเก็บผลไม้อันมีโอชารส หากเมื่อใดที่มีบุรุษอื่นมาโค่นต้นไม้นั้นลง ถ้าไม่รีบลงจากต้นไม้นั้นโดยเร็ว ย่อมได้รับอันตรายอย่างแน่นอน
กามเปรียบดั่งคมหอก คมดาบ ที่คอยสับแล่ขันธสันดาน
กามเปรียบดั่งหอกและหลาวใหญ่ ที่เสียบร้อยรัดให้ดิ้นรนอยู่ในกองทุกข์
กามเปรียบดั่งศีรษะอสรพิษ อันน่าครั่นคร้ามสะดุ้งกลัว
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมเห็นว่า "เบญจกามคุณ" เป็นของที่นำมาซึ่งความทุกข์ ความอาลัยเสียดาย สะอื้นไห้ เต็มไปด้วยทุกข์ภัย เป็นของปุถุชนผู้หนา ผู้ครองเรือน มิใช่กิจของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
ผู้มีปัญญาทั้หลาย เมื่อเห็นโทษภัยดังนี้แล้ว จิตนั้นย่อมเกิดความสังเวชสลดใจ จิตนั้นย่อมเกิดความแน่วแน่มั่นคง เห็นคุณของการประพฤติพรหมจรรย์ อันเป็นเพศภาวะที่หลุดออกจากกาม พ้นออกจากกาม และพรากออกจากกาม ทั้งที่เป็นของมนุษย์และทิพย์.
หมายเหตุ; สำหรับรายละเอียดของกรรมฐาน ๓ กองนั้น ขอเวลาให้กระผมสักระยะหนึ่งนะครับ (เวลานี้ ขอให้ท่านได้พิจารณาเรื่อง "โทษแห่งกาม" ชิมลางไปพลางๆ ก่อนก็แล้วกัน) เพราะกระผมต้องเรียบเรียงเอง คัดเลือกภาพประกอบเอง ลำดับเนื้อหาจากต้นฉบับเอง และพิสูจน์อักษรเองทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้รายละเอียดทุกอย่างออกมาสมบูรณ์ที่สุด ก็ขอให้ทุกท่านเป็นแรงใจให้กระผมด้วยนะครับ ไม่ได้ลืมหรอกครับว่า เรามีสัญญาอะไรกับท่านไว้.
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#22
โพสต์เมื่อ 24 October 2005 - 08:02 PM
ขั้นที่ ๑. หากเรายังมีความรู้สึกกำหนัดยินดีในรูปนั้นอยู่ ก็ขอให้มองรูปนั้นต่อไปจนกระทั่งครบวงจรแห่งวัฏจักรของชีวิต โดยมองตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อย่ามองรูปแค่เพียงที่เห็นแต่ในปัจจุบัน เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะเกิดความกำหนัดยินดี แล้วพึงพิจารณาว่า "รูปนามสังขารธรรมทั้งหลายไม่ว่าดีหรือร้าย เมื่อถึงจุดสิ้นสุด ล้วนต้องมีสภาพเข้าสู่ความเสื่อมสลาย ไม่สามารถคงทนหรือตั้งอยู่ยั่งยืนได้เลย"
ขั้นที่ ๒. หากยังไม่หายกำหนัดยินดี ก็ให้พิจารณาโดยระลึกว่า กายนี้ โดยปกติแล้ว มีแผลประจำที่อยู่ถึง ๙ แห่ง คือ ทวารทั้ง ๙ อันได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ และทวารหนัก ๑ ซึ่งทวารทั้งปวงนี้ เป็นที่ไหลถั่งของของอสุจิโสโครกต่างๆ ให้ผู้เป็นเจ้าเรือนต้องคอยเช็ดคอยล้างอยู่เป็นนิจ จากนั้น จึงพลิกเอาอวัยวะที่อยู่ภายในออกมาภายนอก พลิกส่วนที่อยู่ข้างนอกเข้าไปไว้ภายใน แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่า "ความงามนั้น ปรากฏอยู่ได้แค่เพียงผิวหนัง ลึกกว่านั้นลงไปล้วนแล้วแต่ปฏิกูลทั้งสิ้น"
ขั้นที่ ๓. พิจารณาให้แยบคายลงไปอีก โดยในขั้นนี้ ให้จับเอาอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ แล้วพิจารณาถึงความปฏิกูลเป็นอย่างๆ ไปโดยละเอียด อาทิ ลำไส้ใหญ่ มีภายในที่เต็มไปด้วยกรีส (อุจจาระ) ที่มีกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจ กระเพาะอาหาร เป็นประหนึ่งดังสุสาน ซึ่งเป็นที่ทับถมของบรรดาซากสัตว์ทั้งหลาย ที่เราได้บริโภคเข้าไป เปรียบเสมือนส้วมที่หมักหมมด้วยมูตรคูถ ที่ไม่เคยล้างถ่ายทำความสะอาดเท่าอายุของผู้เป็นเจ้าของ และกายนี้ที่ตั้งขึ้น/อยู่ได้ เพราะประกอบขึ้นจากกระดูก ๒o๖ ท่อน มีเลือดเนื้อเป็นเครื่องฉาบทา มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องพันธนาการรัดรึงไว้ เป็นต้น มาถึงขั้นนี้ ท่านจะเห็นไปตามความเป็นจริงว่า "แท้ที่จริง ตัวเรานั้นไม่มี แต่ที่เราถือว่ามี นั่นเป็นเพราะความยึดมั่นถือมั่น มืดบอดด้วยตัณหาและอุปาทาน" ดังที่ท่านพุทธทาสท่านได้กล่าวไว้ว่า
แต่พอโง่มันก็มี "ตัวกู" ได้
พอหายโง่ "ตัวกู" ก็หายไป
หมด "ตัวกู" เสียได้เป็นเรื่องดี"
ขั้นที่ ๔. หากมาถึงขั้นนี้แล้วยังไม่หายกำหนัดยินดีอีก ก็ขอให้เรานึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ของเรานะครับว่า ท่านก็เป็นมนุษย์มีอาการครบ ๓๒ เช่นเดียวกับเรา แต่ทำไม? ท่านจึงสามารถเอาชนะกามที่เกิดจากความดำริได้ เราก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับท่าน เป็นลูก เป็นหลาน ในสายธาตุสายธรรมท่าน จะทำให้ได้เช่นเดียวกับท่าน ไม่ได้เชียวหรือ?
ขั้นที่ ๕. สุดท้ายให้พิจารณาให้ลึกลงไปถึงโทษภัยในวัฏฏะอันน่ากลัว (โทษข้ามภพ ข้ามชาติ) ในทำนองว่า หากเราประกอบเหตุเช่นนี้ ตัวเราเองจะต้องไปเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ และอย่างนี้ โดยขั้นนี้ หากยังจำภาพของวงจรแห่งวิบากกรรม วิบากกาม ในโรงเรียนอนุบาลฯ ได้ ก็ให้นึกไปเป็นลำดับขั้นเลยนะครับ โดยมองให้เห็นตั้งแต่โทษในมนุษย์ กระทั่งถึงโทษในอบายภูมิ แล้วเราจะเห็นอะไรที่น่าสมเพทเวทนา กระทั่งเกิดความสลดสังเวชในกาม ทั้งจะเกิดปัญญาสอนตัวเอง ที่จะงดเว้นจากบาปธรรมทั้งหลายและมีความสำรวมในกาม
หมายเหตุ; หลักของการพิจารณาโดยลำดับขั้นดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ ส่วนหนึ่งได้มีกล่าวไว้ในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และอีกส่วนหนึ่งมาจากความเมตตาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ซึ่งลำดับขั้นในการพิจารณานี้ กระผมได้นำมาประยุกต์และเรียบเรียงขึ้นเอง โดยเริ่มพิจารณาเป็นลำดับจากหยาบ (คือ การเริ่มพิจารณาความปฏิกูลตั้งแต่รูปกายภายนอก) ไปหาละเอียด (คือ การพิจารณาให้เห็นถึงความปฏิกูลภายในและโทษภัยในวัฏฏะ) ซึ่งกระผมได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเผาผลาญกิเลสในดวงจิต ด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย บทพิจารณาดังกล่าวจึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นธรรมทานแด่นักสร้างบารมีทุกท่าน อีกทั้งเป็นประโยชน์เกื้อกูลในการประพฤติพรหมจรรย์ของพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้สลัดออกแล้วซึ่งความยินดีในการครองเรือน และเพื่อเป็นการประคับประคองนักสร้างบารมีทุกท่าน ให้สามารถตามติดสร้างบารมี กับมหาปูชนียาจารย์ และบูรพคณาจารย์วิชชาธรรมกายทุกท่าน สร้างบารมีไปได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่พลัดพราก ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม โดยมีดวงจิตที่พิสุทธิ์สะอาด ปราศจากนิวรณ์ อันเปรียบประดุจดั่งเครื่องกั้น คือ กามฉันทะ และเครื่องเนิ่นช้า คือ กามตัณหาทั้งปวง
อนิจจาร่างกายของชายหญิง มีแต่สิ่งปฏิกูลอาดูรหลาย เต็มไปด้วยมูตรคูถไม่เว้นวาย น่าเบื่อหน่ายรำคาญทุกกาลไป ร่างกายนี้มีหนังหุ้มบังทั่ว โดยรอบตัวมีช่องดังปล่องไข่ สิ่งโสโครกมากมายจากภายใน ให้หลั่งไหลซึมออกมานอกกาย กายนี้เป็นแผลใหญ่จำไว้เถิด เป็นที่เกิดทุกข์ยากลำบากหลาย แต่คนเขลาเฝ้าชมหลงงมงาย ว่าเฉิดฉายโสภาเที่ยงถาวร อะยังโขกาโยโอ้กายนี้ เป็นถิ่นที่เกิดอยู่แห่งหมู่หนอน มีโรคาสารพัดคอยตัดรอน ให้เดือดร้อนเป็นประจำทุกข์ย่ำยี ร่างกายนี้ไม่นานนักจักผันแปร ถึงความแก่คร่ำคร่าสิ้นราศี จักสิ้นลมล้มตายวายชีวี กลายเป็นผีเน่าผุพังเหม็นจังเลย
ข้อแนะนำเวลาปฏิบัติสมาธิ อยากให้ท่านที่สนใจลองพิจารณาบทพิจารณาทั้ง ๕ ข้อ แบบอนุโลม (ขั้นที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕) และปฏิโลม (ขั้นที่ ๕, ๔, ๓, ๒, ๑) ดูนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่จิตฟุ้งคิดตกไปในเรื่องของกาม ให้พิจารณาทบไปทวนมาจนกระทั่งจิตหายฟุ้ง เมื่อหายฟุ้งแล้วก็ให้ทำหยุดในหยุด นิ่งในนิ่งต่อไปอย่าถอย
ขอให้ทุกท่านจงเป็นผู้มีดวงจิต ดวงธรรม และพระธรรมกายภายในที่สว่างไสว ราคีไม่เข้าใกล้ดวงจิต ไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญฯ
#23
โพสต์เมื่อ 24 October 2005 - 11:40 PM
เพศบริสุทธิ์ได้บวช(น่าอิจฉาที่ซู้ดดดเรย)ก็ดีแล้วไม่ใช่หรอค่ะ
ส่วนเรื่องเป็นเกย์น่ะ -*- (ไม่เคยเป็น) ยกเว้นไม่ได้รึงัยกัน
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"
#24
โพสต์เมื่อ 19 November 2005 - 04:48 PM
#25
โพสต์เมื่อ 19 November 2005 - 04:59 PM
#26 **
โพสต์เมื่อ 19 November 2005 - 05:33 PM
ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านในที่นี้นะครับ
#27 **
โพสต์เมื่อ 19 November 2005 - 08:46 PM
แต่ถ้าใจยังเป็นเกย์อยู่ก็ห้ามบวชนะครับ เพราะ ถือว่า คุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามพุทธานุญาตินะครับ ตรงอันตรายิกธรรม (ธรรมอันเป็นอันตราย) ข้อ ปุริสโสสิ (เป็นชายใช่ไหม คือ ทั้งกายและใจ) ครับ
ขอให้เข้าใจนะครับ ที่มีพุทธบัญญัติแบบนี้ เพราะเคยเกิดเหตุการณ์ไม่ดีไม่งามขึ้นสมัยพุทธกาลครับ พระพุทธองค์จึงยึดเอาความสงบเรียบร้อยของสงฆ์เป็นใหญ่ จึงบัญญัติให้บวชเฉพาะผู้เป็นชายแท้ทั้งกายและใจครับ
อ้อ...เพิ่มเติมนิดนึงนะครับ เป็นเกร็ดความรู้ พุทธบัญญัติทุกเรื่อง รวมไปถึงศีลทั้งหมดของพระภิกษุ ไม่ใช่พระพุทธองค์คิดขึ้นเองนะครับ แต่มีพระสงฆ์สมัยพุทธกาลไปทำเข้า แล้วชาวบ้านติเตียน พระพุทธองค์จึงบัญญัติข้อห้ามต่างๆ ขึ้นมาครับ
#28
โพสต์เมื่อ 21 November 2005 - 01:37 PM
๑. อุตุนิยาม
๒. พีชนิยาม
๓. กรรมนิยาม
๔. ธรรมนิยาม
๕. จิตตนิยาม
#29
โพสต์เมื่อ 31 January 2006 - 12:10 AM
.............................................................................
เท่าที่ทราบพระพุทธองค์มิได้ประนามพฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือเห็นว่าเกย์เป็นคนเลว จะว่าไปแล้ว ในทางพุทธศาสนาถือว่า เป็นเกย์หรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับว่าล่วงศีลข้อที่ ๓ (ล่วงละเมิดคนที่มีเจ้าของ โดยที่เจ้าของ ไม่ยินยอม)หรือเปล่า พอใจในคู่ครองของตนหรือไม่ และถึงแม้จะพอใจ ในคู่ครองของตนอยู่แล้ว ก็ยังต้องมีความสันโดษในกาม (สทารสันโดษ) หรือมีความสำรวมในกาม (กามสังวร)
คือไม่หมกม่นอย่ในกามารมณ์ ถ้าหลงใหลอย่แต่ในเพศรส ชนิด"เข้าแต่หอล่อกามา"
จนไม่เป็นอันทำงานทั้งทาง โลกและทางธรรม ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควร ถึงแม้จะเป็นการเสพสมระหว่างเพศ หรือเป็นการเสพสมระหว่างสามี ภรรยาก็ตาม
.................................................................................................
ในทางพระวินัย มีข้อกำหนดว่าห้ามมิให้ "บัณเฑาะก์"บวชพระ .............
"บัณเฑาะก์"หมายถึงอะไร 0.................
พจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระธรรมปิฎก อธิบายว่าหมายถึง "กะเทย, คนไม่ปรากฏ ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑ ชายมีราคะกล้าประพฤติ นอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑"
.................................................................................................
คำถามคือว่าเกย์จัดอย่ในบุคคล ๓ ประเภทหรือไม่ คำว่า"กะเทยโดยกำเนิด" นั้น น่าจะหมายถึงคนที่มี อวัยวะเพศทั้งชายและหญิงตั้งแต่เกิด ในแง่นี้ กะเทยจึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงเกย์เสมอไป ขันที ก็เช่นกัน ไม่จำเป็นว่าต้องหมายถึงเกย์ บัณเฑาะในความหมายที่ ๓ น่าจะหมายถึงเกย์มากที่สุด เพราะมีข้อความระบุว่า "ประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม" อย่างไรก็ตาม ท่านไม่ได้ระบุเพียงแค่นั้น แต่ยังมีข้อความต่อท้ายว่า"และ ยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น" ถ้าเช่นนั้นจะพูดได้ไหมว่า เกย์ที่สงบเสงี่ยม มิได้ยั่วยวนชายอื่นให้"ประพฤตินอก จารีตในทางเสพกาม" ไม่จัดว่าเป็นบัณเฑาะก์ ดังนั้นจึงไม่อย่ในข่ายห้ามบวช ข้อนี้ขอฝากให้พิจารณาดูนะครับ...(ความเห็นผมบวชได้ครับ ถ้ามั่นใจในตนเอง เพราะถ้าพลาดมาตัวผู้บวชนั่นเองรับกรรม .. แต่ควรบวชที่วัดสาขาครับที่ในป่าในเขามีพระที่มีอายุมากๆๆครับ)เพราะ ถ้ามาบวชธรรมทายาท หรือมาฝึกเป็นหมู่คณะใหญ่นี่อาจจะทำให้หมู่คณะเสียหายได้ ในกรณีเผลอหรืออาจจะเกิดกามกำเริบ อันนี้ผมว่าไม่ควรครับ เพราะรุ่นที่ผมมาบวชก็เคยเจอครับ อันนี้อันตรายครับ ได้ไม่คุ้มเสียครับ)เพราะงานใหญ่มีผู้คนมากต้องเอาอุเบกขานำหน้า ห้ามเอาเมตตานำหน้าไม่งั้น งานไม่สำเร็จ เกิดความขัดแย้งกัน เช่นมีกระเทยมาบวชธรรมทายาท พระพี่เลี้ยงเอาเมตตานำหน้ารับเข้ามาบวช แล้วมาออกอาการภายหลัง ชาวโลกติเตียน ชื่อเสียงวัดเสียหาย..อย่างนี้ไม่คุ้มครับ..ต้องเอาอุเบกขานำหน้า ไม่ก็แนะนำไปบวชที่วัดสาขาที่ไกลๆ ครับ
การที่พุทธศาสนาห้ามมิให้บัณเฑาะก์บวช น่าจะเป็นเพราะเพื่อป้องกันมิให้เกิดความวุ่นวายในหมู่สงฆ์ เพราะถ้าชายที่มีรสนิยมชอบชายด้วยกัน เกิดบวชเป็นพระ มาอย่ในหมู่พระ ก็อาจหลงใหลชอบพอพระด้วยกัน ก็ไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม (ทั้งฝ่ายที่ชอบและถูกชอบ) มิหนำซ้ำอาจเกิดความหึงหวงอิจฉาริษยา จนเกิดการทะเลาะ วิวาทกัน...
อันนี้อันตรายที่สุดครับ ยิ่งวัดพระธรรมกายเป็นวัดใหญ่มีทั้งคนศรัทธา และไม่ศรัทธา เราต้องเอาอุเบกขานำหน้าครับ...
บวชน่ะบวชได้ครับ...แต่ต้องหาสถานที่บวชให้เหมาะสมครับ....
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#30
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 12:21 PM
คลิ๊กที่นี่ http://84000.org/tip...ems=1&preline=1 ภิกษุรูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.พระวินัยได้ปรับอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ที่เป็นพระอุปัชฌายะคjt ----บุคคล๓๒จำพวก อาจจะสามารถเข้ามาบวชเข้ามา อาจเพราะพระอุปัชฌายะไม่รู้พระวินัย หรือ ตั้งใจจงใจฝ่าฝืน(ยอมอาบัติ) หรือ ไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติบุคคลผู้ที่จะบวชดีพอ
ผู้ที่เป็นบัณเฑาะห์จัดอยู่บุคคลห้ามมิให้บวช๓๒ประเภท นั้นไม่มีโอกาสบวชตั้งแต่ต้น ถึงบวชก็บวชไม่ขึ้น เทียบดูสัตว์เดรัจฉานบวช
http://84000.org/tip...608&pagebreak=0 ดูข้อ [๑๒๗]
http://84000.org/tip...608&pagebreak=0 ดูข้อ [๑๒๕]
บัณเฑาะห์จึงไม่สามารถบวชได้โดยวิธีใดๆค่ะ