พระมหา ดร.โชว์ ทสฺสนีโย ผู้อำนวยการฝ่ายธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้เริ่มการอภิปรายสรุปว่า “ผมไปร่วมประชุมและอภิปรายมาหลายงาน เมื่อไม่นานมานี้ที่วัดปากน้ำ มีท่านเจ้าคุณรูปหนึ่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอบอกผมว่ายินดีพลีชีพเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ไม่นานมานี้สันติบาลก็ไปสอบสวนผม เพราะกลัวว่าชาวพุทธจะก่อคลื่นใต้น้ำ จากเหตุการณ์หนึ่งที่ผมไปออกรายการกรองสถานการณ์ทางช่อง 11 กับ ดร.พระมโน เมตตานันโท เพราะต้องการป้องปรามกลัวว่าชาวพุทธจะเดินขบวนเรียกร้องให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ปัจจุบันมีการรุกรานพระสงฆ์มาก เช่นที่นนทบุรีมีการเก็บภาษีเมรุเผาศพ นำเอากฎหมายปี 2528 แต่มาบังคับใช้ในปี 2550 ถ้าพระสงฆ์ยังวางอุเบกขาไม่ออกมาช่วยกันอย่างนี้พระพุทธศาสนาอยู่ในอันตราย
เดี๋ยวนี้พระผู้ใหญ่กลัวมาก ต้องให้พระมหาโชว์ออกมาต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ถ้าอย่างนั้นก็เป็นเรื่องที่น่ากลัว ผมออกประกาศแนวคิดในการเรียกร้องให้มีการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งๆที่ประเทศเราพัฒนาประเทศเป็นระบบอประชาธิปไตยมานานแล้ว
ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร) สนช สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใครเป็นกรรมการ่าง ประธาน คมช. เป็นใคร เราแทบจะคาดคะเนว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาแบบไหน ทั้งๆที่ยังไม่เริ่ม แต่ทำประชาพิจารณ์แล้ว ไม่มีคำว่าพระมหากษัตริย์เป็นศาสนูปถัมภกก์ ถ้าอย่างนี้จะอ้างว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก เราจะอ้างได้อย่างไร ไม่อายประเทศอื่นเขาหรือ ประเทศอื่นๆ เขามีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ บางท่านกลัวว่าเมื่อบัญญัติจะทำให้ชาวพุทธเป็นคนชั้นสอง
ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร) สนช สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใครเป็นกรรมการ่าง ประธาน คมช. เป็นใคร เราแทบจะคาดคะเนว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาแบบไหน ทั้งๆที่ยังไม่เริ่ม แต่ทำประชาพิจารณ์แล้ว ไม่มีคำว่าพระมหากษัตริย์เป็นศาสนูปถัมภกก์ ถ้าอย่างนี้จะอ้างว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก เราจะอ้างได้อย่างไร ไม่อายประเทศอื่นเขาหรือ ประเทศอื่นๆ เขามีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ บางท่านกลัวว่าเมื่อบัญญัติจะทำให้ชาวพุทธเป็นคนชั้นสอง
กฎหมายของอิสลามมีหลายฉบับเช่นการประกอบพิธีฮัจ มีกฎหมายบังคับให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แต่สำหรับชาวพุทธไม่มีกฎหมายรองรับเลย จึงดูเหมือนกับว่าเงินภาษีของชาวพุทธนำไปสร้างผลประโยชน์ให้กับอิสลาม นักการเมืองอิสลามเป็นกลุ่มที่เข้าแข็งที่สุดในรัฐสภาแม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ทรงอำนาจ แต่นักการเมืองชาวพุทธกลับไม่ค่อยมีพลัง ไม่ค่อยออกมาสนับสนุนชาวพุทธ ส่วนมากจะคัดค้าน
พระมหาโชว์สรุปว่า “ถ้าไม่มีกฎหมายจะให้งบประมาณได้อย่างไร ประโยชน์ของการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญคือ มีงบประมาณสนับสนุนถูกต้องตามกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ดูแล สามารถที่จะเขียนกฎหมายลูกมารองรับได้ ถ้าไม่มีกฎหมายแม่บทกฎหมายอื่นก็มีไม่ได้”
#####ธงชัย เกื้อสกุล ได้อภิปรายว่า ผมอยากเห็นพระพุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิตของคนไทย เราต่อสู้มานานแล้วตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2475 ยังไม่เคยสำเร็จ มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอีกมากมาย มีทั้งคนที่สนับสนุนและคัดค้าน ทำไมเราจึงต้องควรบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีเหตุผลหลายประการเช่น
(1) ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ เมื่อคนส่วนใหญ่ต้องการจึงต้องให้ นี่ว่าตามกติกาของระบบอประชาธิปไตยซึ่งฟังเสียงส่วนน้อย แต่ให้ถือตามเสียงส่วนใหญ่ มีเวลา 180 วัน กลางเดือนเมษายนกรอบแรกเสร็จแล้ว มีกรรมาธิการยกร่างเพียง 35 คนโดยมีคุณประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธานยกร่าง ถ้ายกร่างบัญญัติไว้ก็เริ่มได้ง่าย จากนั้นจึงฟังเสียงของ 12 องค์กร และฟังเสียงประชามติ
(2) ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือสมัยกรุงสุโขทัย ทุกอาณาจักรมีพระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศาสนูปถัมภกก์ พึ่งมาเปลี่ยนแปลงกันมากก็ตอนเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2475
(3) พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยมีพระธรรมเป็นเบ้าหลอมวิญญาณ จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย เป็นวิถีแห่งชาวพุทธ ทำไมจะบัญญัติไว้ไม่ได้
(4) โลกยอมรับแล้วว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก แต่ทำไมจึงไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เคยมีมติของมหาเถรสมาคมห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ขอบอกว่าเรื่องนี้มิใช่การเมือง แต่เป็นการปกป้องคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนา ถ้าพระพุทธศาสนาย่อยยับไปวัดจะอยู่ได้ไหม
แนวทางในการต่อสู้ #####ธงชัน สรุปว่า “ชาวพุทธต้องต่อสู้จึงจะได้มาซึ่งความถูกต้อง เราต้องมีสติและเตรียมการให้พร้อมให้ทันกรอบแรกจะออกมากลางเดือนเมษา แนวทางในการต่อสู้โดยใช้ยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้คือ
(1) ชาวพุทธต้องรวมพลัง มีความเข้าใจตรงกัน ปักธงในการต่อสู้อย่างเดียวกันคือ พระมหากษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ และพระพุทธศาสนาต้องเป็นศาสนาประจำชาติ
(2) การใช้สื่อสารมวลชนทุกอย่าง เพื่อให้เกิดพลังในการต่อสู้ ให้แพร่ขยายพลังความคิดให้คนเข้าใจได้อย่างทั่วถึง
(3) การสร้างเครือข่าย ต้องขยายเครือข่ายให้มากขึ้น ใครอยู่ตรงไหนทำงานอะไรต้องร่วมมือกัน วัดในประเทศไทย 30000 กว่า เฉพาะในกรุงเทพฯ 400 กว่าวัดแล้ว ถ้าแต่ละวัดมีเครือข่ายร่วมกัน กิจกรรมของเครือข่ายต้องทำงาน ทำไมจะไม่สำเร็จ
(4) ใครคือกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแรกคือกรรมาธิการยกร่าง 35 คน กลุ่มต่อมาคือกลุ่ม สสร. อีก 100 คน ใครที่เป็นลูกศิษย์พระสงฆ์รูปใด เรียกมาคุย มาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
(5) จัดทำเอกสาร แจกจ่ายไปทั่วประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวพุทธได้แสดงประชามติออกมาแล้ว เมื่อคนส่วนใหญ่ต้องการอย่างนี้ก็จะกลายเป็นพลังในการเรียกร้องอย่างถูกต้อง หรือจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เอส เอ็ม เอส ทางโทรศัพท์ ส่งออกไปให้มากที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นพลังที่สำคัญ
(6) การเคลื่อนไหวมวลชน เป็นการแสดงพลังที่เป็นไปอย่างถูกต้อง เช่นเดินขบวนแสดงพลังจากท้องสนามหลวงไปรัฐสภา จัดปาฐกถาให้มากที่สุด ต้องพูดให้คนเข้าใจให้ได้ รวมพลังขององค์กร แบ่งพลังออกเป็นหน่วยต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่
1. พระพุทธศาสนาคู่ชาติไทย เพราะพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ
2. ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพราะมีพระธรรมคำสั่งสอนและจารีตประเพณี
3. คนส่วนใหญ่ 95 เปอร์เซนต์นับถือพระพุทธศาสนา”
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาทล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์ของมหาชนชาวสยาม คนไทยเป็นศาสนิกทั่วกันคนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ”
อดีตสมาชิกวุฒิสภากัมพล ภู่มณี สิ่งต่างๆที่คณะสงฆ์และชาวพุทธทั้งหลายพยายามเรียกร้องหรือต้องการให้บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ คณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังรอพิจารณา กรณีข่าว ITV ถึงเวลาบอกว่าปิด แต่พอถึงเวลาสุดท้ายก็ต้องยอมให้ดำเนินการต่อไป และขอเรียกร้องให้สื่อวิทยุของพระพุทธศาสนาช่วยเรียกร้องให้ชาวพุทธตื่นตัว ให้พร้อมกับการเรียกร้องพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งสสร.จะเสนอยกร่างครั้งแรกวันที่ 15 มีนาคม 2550 และต้องดูว่ามีข้อความว่าจะให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ หรือไม่ ซึ่งการเรียกร้องนี้จะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศชาติ สิ่งบอกเหตุในปัจจุบันคือลูกหลานไม่เข้าวัด ศาสนาอื่นมีมากขึ้น พระทั้งหลายถูกทำลายชื่อเสียง พระพุทธศาสนาอยู่อย่างเป็นมิตรและเป็นที่พึ่งพิงของศาสนาอื่น
#####ธงชัย เกื้อสกุล กล่าวโดยสรุปว่า ทุกท่านต้องต่อสู้ตามแนววิถีพุทธและไม่ตอบโต้เมื่อเกิดการยั่วยุ เมื่อมีผู้นำสิ่งสำคัญต้องมีการเชื่อผู้นำและองค์กรเฉพาะกิจเท่านั้น หากไม่เชื่อกันแตกแยกกันเองย่อมแพ้ และอุดมการณ์ของการชุมนุมนี้ต้อง 6ไม่ คือ
1. ไม่เป็นเครื่องมือของพรรคการเมือง แต่ทำเพื่อพระพุทธศาสนา
2. ไม่เรียกร้องนอกประเด็น ที่ต้องการคือ ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพุทธมามกะ
3. ไม่หยาบคายและมีเหตุมีผล
4. ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
5. ไม่แตกความสามัคคีกันเอง
6. ไม่สร้างความแตกแยกในพระพุทธศาสนา และ ศาสนาอื่นเข้าร่วมช่วยเหลือ
การอภิปรายเรื่องทำไมต้องบัญญัติพระพุทธศาสนาเป้นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ โดยวิทยากรทั้งสามท่านได้ใช้เวลาในการนำเสนอประมาณ 3 ชั่วโมง ดังนั้นหากใครสนใจอยากรับฟังข้อมูลทั้งหมดกรุณาติดต่อได้ที่ฝ่ายถ่ายทอดสด และสามารถรับฟังได้ทาง mburadionews