นั่งสมาธิแล้วเป็นเหน็บ
#1
โพสต์เมื่อ 17 May 2014 - 03:57 PM
โดยเฉพาะขาข้างขวาซึ่งทับอยู่ข้างบนขาข้างซ้าย
แล้วมีวิธีการแนะนำไหมคะ จะได้นั่งได้นานๆบ้างค่ะ
#2
โพสต์เมื่อ 17 May 2014 - 06:38 PM
ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาบุญกับการพยายามหาหนทางแห่งชีวิตด้วยการพยายามนั่งสมาธิของท่าน คิษจภัค คิษถฤงคิษแคธ ด้วยนะครับ (ใช้ตัว ค.ควาย หรือ ด.3เด็ก สะกดคำครับ สงสัยมานาน)
การที่เรานั่งแล้วเมื่อย ล้า ปวด ขัดยอก เป็นกันทุกคนครับ ไม่ว่าเพิ่งเริ่มนั่ง หรือนั่งมานาน เพราะสังขารเรายังอยู่ในกฏไตรลักษณ์ อยู่ภายใต้การส่งผลของกฏแห่งกรรม ขนาดนางคณิกาที่สวยที่สุด เมื่อเทียบกับนางสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว ยังเปรียบเหมือน ...ลิงแก่ที่ถูกไฟเผาจนเกรียม... เลยครับ นับประสาอะไรกับพวกเรา ซึ่งจัดว่าเป็นคนพิกลพิการในสายตาชาวสวรรค์กันเลยทีเดียว
ในเมื่อร่างกายเราเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แล้ว เราก็มาหาทางที่จะทำให้เราพ้นจากกายนี้กันเสียทีดีกว่า
1. พยายามลองขยับท่าทางของเราให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดครับ แม้จะไม่ได้เป๊ะๆ ตามตำรา แต่เราก็เอาที่เราถนัดที่สุดเป็นหลักก่อนครับ --- ผมใช้คำว่าถนัดนะครับ คือ นั่งแล้วลำบากน้อยที่สุด แต่อย่าเอาสบาย เพราะเดี๋ยวหลับครับ)
2.เมื่อเราได้ท่าที่เราถนัดที่สุดแล้ว เราก็หันมาสังเกตุตัวเราเองครับ เพราะการใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นอุปสรรคหนึ่งเหมือนกัน เรายืนนานไหม เดินมากไปไหม นั่งมากไปไหม ยกของหนักมากไปไหม ขับรถมากไปไหม บ่นมากไปไหม...อ่า...อันนี้คงไม่เกี่ยว เมื่อเราสังเกตุตัวเราเองแล้ว ก็เท่ากับว่า เรารู้อีกสาเหตุหนึ่งของการปวดเมื่อยของเรา เราก็มาหาทางแก้ ด้วยการดูแลตัวเองมากขึ้น
เช่น ถ้าเราใส่ส้นสูงยืน หรือเดินนานๆ กลับถึงบ้านหาเวลาแช่เท่้าในน้ำอุ่นจัดๆ สัดหน่อย ให้เส้นคลายตัว ระหว่างนั้นจะนวดน่อง นวดเท้าเบาๆ ไปด้วยก็ได้ ก่อนเลิกก็เอาเท้าไปแช่น้ำเย็นอีกสักที ให้รู้สึกสดชื่น แค่นี้ก็ช่วยให้เราผ่อนคลายได้เยอะครับ
การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นั่งสมาธิได้นานนะครับ โดยเฉพาะโยคะ-ศาสตร์ของตะวันออก หรือจะเล่นพิลาทิส-ศาสตร์ของฝั่งตะวันตกก็ได้ ไม่ต่างกัน เพราะทั้งคู่เน้นการยืดเส้นสาย การจัดระเบียบกล้ามเนื้อร่างกายเป็นหลัก ถ้าร่างกายเรามีความยืดหยุ่น ผ่อนคลาย ในส่วนที่ควรยืดหยุ่น ผ่อนคลาย หรือ แข็งแรงในส่วนที่ควรแข็งแรง แค่นี้ก็ทำให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วครับ ซึ่งก็รวมไปถึงการนั่งสมาธิด้วย
สรุปสั้นๆ อีกครั้ง สังเกตุตัวเอง แล้วหาทางแก้ไขครับ เดี๋ยวก็นั่งได้คล่องปร๋อตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ แล้วครับ
#3
โพสต์เมื่อ 19 May 2014 - 09:31 PM
#4
โพสต์เมื่อ 22 May 2014 - 11:44 AM
ยืนและเดินภาวนาก็ได้ครับ ทุกอริยบท เราสามารถภาวนาทำสมาธิได้ตลอดเวลาครับ
#5
โพสต์เมื่อ 22 May 2014 - 02:22 PM
ตามทีท่าน cheterkk กล่าวไว้เลยครับ สะดวกแบบไหน ถนัดแบบไหน จัดไปตามอารมณ์ของเราได้เลย เพราะการทำสมาธิภาวนาอยู่ที่การกำหนดใจ ขอให้ใจหยุด ใจนิ่งเป็นใช้ได้
ส่วนที่ว่าทำไมท่านั่งนิ่งๆ ถึงเป็นท่าที่นิยมที่สุด ก็เพราะว่า ท่านั่งหลับตา เป็นท่าที่มีสิ่งเร้ามากระทบได้น้อยที่สุดครับ ไม่ต้องสนใจภาวะรอบข้าง เหมาะแก่ผู้เริ่มต้น
แต่ถ้าสามารถทำตามที่ท่าน cheterkk กล่าวไว้ คือ ทุกอิริยาบท นั่ง นอน ยืน เดิน จะทำให้ผลการปฏิบัติธรรมเรามั่นคงได้เร็วกว่าท่านั่งอย่างเดียวครับ
แต่ทั้งหมดทั้งมวล ดูสภาวะของตัวเองเป็นหลัก พยายามเข้าใขวิธีให้ลึกซึ้ง แล้วหาหนทางที่เหมาะกับตัวเอง แค่นี้เราก็สามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างดีแล้วครับ
ปล.ยังขอเน้นนะครับ ผมใช้คำว่าสะดวก เหมาะสม ผมไม่เน้นคำว่าสบาย เพราะคำว่าสบายมักตามมาด้วยการหลับ หรือการขี้เกียจครับ ระวังตรงนี้ด้วย
#6
โพสต์เมื่อ 22 May 2014 - 10:11 PM
ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาบุญกับการพยายามหาหนทางแห่งชีวิตด้วยการพยายามนั่งสมาธิของท่าน คิษจภัค คิษถฤงคิษแคธ ด้วยนะครับ (ใช้ตัว ค.ควาย หรือ ด.3เด็ก สะกดคำครับ สงสัยมานาน)
การที่เรานั่งแล้วเมื่อย ล้า ปวด ขัดยอก เป็นกันทุกคนครับ ไม่ว่าเพิ่งเริ่มนั่ง หรือนั่งมานาน เพราะสังขารเรายังอยู่ในกฏไตรลักษณ์ อยู่ภายใต้การส่งผลของกฏแห่งกรรม ขนาดนางคณิกาที่สวยที่สุด เมื่อเทียบกับนางสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว ยังเปรียบเหมือน ...ลิงแก่ที่ถูกไฟเผาจนเกรียม... เลยครับ นับประสาอะไรกับพวกเรา ซึ่งจัดว่าเป็นคนพิกลพิการในสายตาชาวสวรรค์กันเลยทีเดียว
ในเมื่อร่างกายเราเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แล้ว เราก็มาหาทางที่จะทำให้เราพ้นจากกายนี้กันเสียทีดีกว่า
1. พยายามลองขยับท่าทางของเราให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดครับ แม้จะไม่ได้เป๊ะๆ ตามตำรา แต่เราก็เอาที่เราถนัดที่สุดเป็นหลักก่อนครับ --- ผมใช้คำว่าถนัดนะครับ คือ นั่งแล้วลำบากน้อยที่สุด แต่อย่าเอาสบาย เพราะเดี๋ยวหลับครับ)
2.เมื่อเราได้ท่าที่เราถนัดที่สุดแล้ว เราก็หันมาสังเกตุตัวเราเองครับ เพราะการใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นอุปสรรคหนึ่งเหมือนกัน เรายืนนานไหม เดินมากไปไหม นั่งมากไปไหม ยกของหนักมากไปไหม ขับรถมากไปไหม บ่นมากไปไหม...อ่า...อันนี้คงไม่เกี่ยว เมื่อเราสังเกตุตัวเราเองแล้ว ก็เท่ากับว่า เรารู้อีกสาเหตุหนึ่งของการปวดเมื่อยของเรา เราก็มาหาทางแก้ ด้วยการดูแลตัวเองมากขึ้น
เช่น ถ้าเราใส่ส้นสูงยืน หรือเดินนานๆ กลับถึงบ้านหาเวลาแช่เท่้าในน้ำอุ่นจัดๆ สัดหน่อย ให้เส้นคลายตัว ระหว่างนั้นจะนวดน่อง นวดเท้าเบาๆ ไปด้วยก็ได้ ก่อนเลิกก็เอาเท้าไปแช่น้ำเย็นอีกสักที ให้รู้สึกสดชื่น แค่นี้ก็ช่วยให้เราผ่อนคลายได้เยอะครับ
การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นั่งสมาธิได้นานนะครับ โดยเฉพาะโยคะ-ศาสตร์ของตะวันออก หรือจะเล่นพิลาทิส-ศาสตร์ของฝั่งตะวันตกก็ได้ ไม่ต่างกัน เพราะทั้งคู่เน้นการยืดเส้นสาย การจัดระเบียบกล้ามเนื้อร่างกายเป็นหลัก ถ้าร่างกายเรามีความยืดหยุ่น ผ่อนคลาย ในส่วนที่ควรยืดหยุ่น ผ่อนคลาย หรือ แข็งแรงในส่วนที่ควรแข็งแรง แค่นี้ก็ทำให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วครับ ซึ่งก็รวมไปถึงการนั่งสมาธิด้วย
สรุปสั้นๆ อีกครั้ง สังเกตุตัวเอง แล้วหาทางแก้ไขครับ เดี๋ยวก็นั่งได้คล่องปร๋อตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ แล้วครัKrap kob pra koon of this Witayatan ka. Sadhu sadhu sadhu wishing that rejoicing merit with you brings me better health till I can sit Dhamma of peace position finally.
Krap kob pra koon of this Witayatan ka. Sadhu sadhu sadhu wishing that rejoicing merit with you brings me better health till I can sit Dhamma of peace position finally.
#7
โพสต์เมื่อ 24 May 2014 - 02:55 PM
สัปปายะ แปลว่า สบาย จะปฏิบัติสมาธิให้ใจใสใจสบาย ก็ต้องสัปปายะ4 ตามพระไตรปิฎก...อาวาส อาหาร ฤดู และ อิริยาบถ4 ซึ่งปัญหาอยู่ที่การปรับโครงสร้างร่างกาย ค่อยเป็นค่อยไป จากการสังเกตุ มิฉะนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อสมาธิ อาจใช้ Balance exercise YOGA ปรับอิริยาบถให้สมดุลเป็นตัวช่วยปรับแก้ไข
#8
โพสต์เมื่อ 29 June 2014 - 11:07 PM
ขอบคุณสำหรับผู้ถาม และผู้ตอบ ขออนุญาตนำไปปรับใช้ดวยนะค่ะ กราบอนุโมทนาบุญค่ะ
#9
โพสต์เมื่อ 30 June 2014 - 01:03 PM
โดยเฉพาะขาข้างขวาซึ่งทับอยู่ข้างบนขาข้างซ้าย
แล้วมีวิธีการแนะนำไหมคะ จะได้นั่งได้นานๆบ้างค่ะ
อาการนี้ผมก็เป็นครับ ซึ่งยังถือว่าโชคดีอยู่มากครับ เพราะสำหรับบางคนเขาเป็นมากกว่าเหน็บ อย่างเช่นผมจะเป็นขัดสะโพก จะปวดเหมือนขาโดนหนีบเจ็บปวดมากๆ
วิธแก้อาการปวดขัดสะโพกมีอยู่วิธีเดียวคือการนั่งขัดสมธิหลังตรง ถ้าหลังไม่ตรง นั่งพับเพียบ เเม้เเต่นั่งพิงผนัง หรือนั่งเก้าอี้ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเจ็บปวดมาก
โรคนี้บังคับให้นั่งได้ท่าเดียวคือท่าสมธิแบบองค์พระ แบบหลวงปู่คือนั่งหลังตรง
การนั่งหลังตรงทำให้อาการเหน็บเกิด แต่อาการเหน็บนั้นเทียบไม่ได้กับอาการขัดสะโพก เท่าที่สังเกตุวิธีการแก้ปัญหาเหน็บคือ
ใช้เบาะหรืออาสนะเสริมก้น จะช่วยให้อาการเหน็บเกิดช้าหรือมีน้อย
ให้นั่งหลังตรงปล่อยกายปล่อยใจไม่เอาใจไปคิดเรื่องเหน็บ สักพักช่วงล่างจะหายไป
มือหาย ขาหาย ก็ช่วยบรรเทาอาการคิดมากเรื่องเหน็บไปได้ แม้มันจะเหน็บบ้าง
ผมว่าเราต้องอดทนกับอาการเหล่านี้ มันอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายเราไม่เเข็งเเรง เราอาจจะหาวิธีการดูเเลร่างกายเพิ่มเติมอาจจะช่วยได้ครับ
#10
โพสต์เมื่อ 17 August 2014 - 07:20 PM
#11
โพสต์เมื่อ 11 December 2014 - 07:25 AM
ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
#12
โพสต์เมื่อ 11 December 2014 - 01:23 PM
Rereading and found out the basics of meditation position. Awesome sadhu ka. Now I have practiced some Pilates for my disability and I can sit in peace position at times. Krap kob pra koon ka.