ไปที่เนื้อหา


ณ ๐๗๒

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 26 Sep 2006
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Mar 17 2011 01:20 AM
*****

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

องค์แห่งศีล

15 October 2010 - 10:32 PM

หากแต่ละคนในสังคมรักษาศีล ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ครอบครัวหรือสังคม ประเทศ โลกนั้น ย่อมมีความสงบสุขเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

(เนื่องจากว่า ไม่เจอบทความเก่า ที่มีการพูดถึงองค์แห่งศีลอย่างสมบูรณ์ ทั้ง ๕ ข้อ จึงขอนำบทความมาลงอีกครั้ง เพื่อยังประโยชน์ต่อผู้ที่ยังไม่รู้ จะได้ถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป)

อ้างอิงบทความ SB 101วิถีชาวพุทธ DOU http://main.dou.us/view_content.php?s_id=389&page=4

การรักษาศีล มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบัน ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต
3. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม
4. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้

การวินิจฉัยว่าศีลขาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์แห่งศีลแต่ละข้อ ถ้าทำครบองค์แห่งศีล ชื่อว่า ศีลขาด แต่หากไม่ครบ เป็นเพียงศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยเท่านั้น และบาปจะเกิดขึ้นเมื่อมีความตั้งใจที่จะล่วงละเมิดศีล

ศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ หากไม่มีเจตนาหรือความตั้งใจในการรักษาศีลก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล
"วิรัติ" คือ ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้

1 สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้ ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง

2 สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้น ไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง ดัง เช่นเรื่องราวของจักกนอุบาสก

3 สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน

สรุป แม้จะยังไม่ได้ทำความชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ หรือความตั้งใจในการรักษาศีล ก็ไม่จัดว่าเป็นผู้มีศีล

ขนาดตัวอักษรเล็ก?

06 October 2010 - 01:11 AM

รู้สึกไม๊คะ ว่าขนาดตัวอักษรบนเว็บบอร์ด มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ บนเว็บ DMC.tv

พอขยายขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถอ่านเว็บบอร์ดได้อย่างสบายตา ไม่ต้องจ้องมาก
จะทำให้เวลาเปิดหน้าอื่นบนเว็บ DMC ตัวหนังสือ/รูปภาพก็จะล้นหน้าจอ ต้องเลื่อน scroll bar

ไม่ทราบว่าท่านอื่นรู้สึกอย่างดิฉันไม๊คะ

คิดในทางบวก

15 September 2010 - 04:15 AM

ได้รับเมลล์จากเพื่อนทางธรรม ขอนำมาเผยแพร่ ณ ที่นี่
คิดว่าอาจมีประโยชน์ มีรูปน่ารักๆ ให้ดูผ่อนคลาย สบายตา สบายใจ
ขออนุโมทนา สาธุ กับเจ้าของเมลล์และผู้อ่าน/ชม ทุกท่านค่ะ

แนบไฟล์  m265705.jpeg   31.89K   190 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265706.jpeg   38.18K   135 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265707.jpeg   35.41K   148 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265708.jpeg   40.83K   133 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265709.jpeg   39.44K   171 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265710.jpeg   45.35K   137 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265711.jpeg   37.13K   123 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265712.jpeg   35.94K   121 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265713.jpeg   38.67K   122 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  m265714.jpeg   31.59K   153 ดาวน์โหลด

ท่าโยคะบริหารร่างกาย เพื่อการนั่งสมาธิ

01 July 2010 - 02:39 PM

ใครมีท่าอื่นที่คิดว่าสำคัญและจำเป็นต่อการนั่งสมาธิ ก็มาแชร์ประสบการณ์ร่วมกันนะคะ

ท่างู บริหารหลัง กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อหลังและไหล่
ท่าผีเสื้อ(ไม่แน่ใจเรียกชื่อถูกไม๊) ท่านี้จะทำให้สามารถนั่งในท่านั่งสมาธิแบบมาตรฐานได้ง่ายและนานขึ้น
ท่าโยคะของคุณยาย ท่าคีมคู่ ส่งเสริมการประพฤติพรหมจรรย์

ท่าผีเสื้อ
(ที่มา http://www.ladytip.c...ent/view/2058/)



1. นั่งขัดสมาธิตัวตรง ใบหน้าตรง มองไปข้างหน้า ฝ่าเท้าทั้ง 2 ประกบเข้าหากัน โดยมือทั้ง 2 ช่วยจับปลายเท้าให้สนิทชิดกัน
2. ค่อยขยับเข่าทั้ง 2 ขึ้นลงเหมือนกับปีกผีเสื้อกระพือ ทำสักครู่ จนใต้ขาผ่อนคลายแล้วให้หยุด
3. ปล่อยมือที่จับปลายเท้าทั้ง 2 ออกแล้วนำมือทั้ง 2 มากดที่เข่า โดยกดให้แบนราบไปกับพื้น ถ้าทำไม่ติดถึงพื้นก็ไม่เป็นไรค่ะ เอาแค่เท่าที่ทำได้ก้พอค่ะ ต่อๆ ไปจะค่อยๆ ทำได้เองค่ะ

ขอเพิ่มเติมท่านั่ง
4. ยืดตัวตรง มือยังจับอยู่ที่ข้อเท้า สูดลมหายใจเข้า
5. ก้มตัวไปข้างหน้า พร้อมทั้งหายใจออก ค้างไว้ 10 วินาที
6. ยืนตัวขึ้น พร้อมทั้งสูดหายใจเข้า มือทั้งสองยับจับอยู่ที่ข้อเท้า แขนและหลังเหยียดตรง

ท่างู
(ที่มา http://www.siamhealt...Cobra_Pose.htm)
การฝึกท่างู Bhujangasana (Cobra Pose)

วิธีการฝึก
1. นอนคว่ำอยู่บนพื้น เท้าเหยียด มือวางไว้ข้างลำตัวในระดับไหล่ หน้าหันไปข้างได้ข้างหนึ่ง
2. กดเท้า กล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกลงบนพื้น
3. หายใจเข้าพร้อมกับหันหน้าตรง เอาคางจรดพื้นมือยันพื้นและเหยียดข้อศอก ยกศีรษะ ไหล่ หน้าอก เอวให้สูงขึ้นเงยหน้าไปด้านหลัง โดยส่วนที่ยังกดอยู่บนพื้นคือบริเวณหัวเหน่า ต้นขาและเท้า โดยที่ไม่มีอาการปวดหลัง
4. ให้ค้างท่านั้น 15-30 วินาทีให้หายใจปกติ เวลาหายใจออกให้หย่อนตัวลงบนพื้นให้ทำซ้ำๆ 3 นาที

ท่าพลิกแพลง
* เมื่อทำท่างูเสร็จก็ให้หันหน้ามองส้นเท้าซ้ายแล้วค้างไว้ 30 วินาที กลับสู่ท่าปกติแล้วหันไปทางขวา
* ถ้ากล้ามเนื้อหลังแข็งแรงให้ยกมือขึ้น ให้ร่างกายคงท่าอยู่โดยใช้กล้ามเนื้อหลังเพียงอย่างเดียว
* เมื่อทำท่างูได้ดีก็สามารถทำท่างูจงอางโดยการงอเข่าให้จรดศีรษะดังรูป

ประโยชน์
* เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกหลัง ไหล่ และกล้ามเนื้อหน้าท้อง
* กระชับกล้ามเนื้อสะโพก
* กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง
* ลดความเครียด
* ทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง
* ใช้รักษาโรคหอบหืด

ข้อห้ามฝึก
* มีโรคที่กระดูกสันหลัง
* ตั้งครรภ์
* เส้นประสาทที่มือถูกกดทับ
* ปวดศีรษะ

ท่าของคุณยาย
ท่านั่งก้มตัว Paschimottanasana
(ที่มา http://www.siamhealt...a/sit/bend.htm)
วิธีฝึก
  1. นั่งหลังตรง เท้าเหยียดไปข้างหน้า
  2. หายใจออกแล้วเหยียดแขนไปข้างหน้าคว่ำฝ่ามือแขนขนานกับพื้น หรือมือทั้งสองจับที่ฝ่าเท้าหรือใช้เข็มขัดเกี่ยวฝ่าเท้า
  3. ขณะหายใจเข้าให้ยกมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ก้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด เข่าตึงตลอดเวลา ให้ศีรษะใกล้เข่ามากที่สุด ฝ่ามืออาจจะจับปลายเท้า หรือวางบนพื้น หรือใช้เข็มขัดเกี่ยวฝ่าเท้า
  4. ก้มจนหน้าใกล้กับเข่า คงท่าไว้ 1-3 นาที
  5. ให้ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง

ประโยชน์
  • ลดอาการเครียดและลดอาการซึมเศร้า
  • ยืดกล้ามเนื้อหลัง ไหล่และกล้ามเนื้อต้นขา
  • กระตุ้นอวัยวะภายในช่องท้อง
  • ลดอาการปวดประจำเดือนและอาการวัยทอง
  • ช่วยลดความดันโลหิต โรคนอนไม่หลับ เป็นหมัน ไซนัสอักเสบ

ถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม

25 June 2010 - 01:54 AM

หมวดสมาธิ , ถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม
มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ การใช้ภาษา...ดูจริงใจดีค่ะ ไม่ต้องตีความ
ขออนุโมทนาบุญกับทีมงาน ที่ได้รวบรวม และนำมาเผยแพร่ด้วยค่ะ

ความจริงอยากโปรโมท ให้เพื่อนๆ พี่น้อง ได้เข้าไปอ่านกันค่ะ ที่ http://dmc.tv/index.php?module=med