ความหมายของโพธิจิต พุทธภูมิ พุทธเกษตร พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วิสุทธิภูมิ โพธิสัตว์ มหายาน โพธิสัตว์ เถรวาท
มีทานผู้หนึ่งถามว่า :
โพธิญาณ โพธิจิต พุทธภูมิ พุทธเกษตร พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วิสุทธิภูมิ ทั้งหกคำนี้มันแตกต่างกันอย่างไรครับ สาธุ
และก็คำว่าวิสุทธิเกษตร กับ พุทธเกษตร กับคำว่า โพธิจิต วิสุทธิพุทธเกษตร โพธิสัตวมรรค มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ.....เป็นความเห็นส่วนตัว ตามที่ได้เคยรู้มา ถ้าท่านใดไม่เห็นด้วย จะค้านหรือเห็นต่างกันก็ไม่ว่ากัน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า คุณกำลังนำทัศนะของพุทธศาสนา 2 นิกายที่เห็นไม่ตรงกัน และแยกตัวกันไป 2000 ปีแล้ว มาถาม
โพธิสัตว์ มหายาน - ต้องบรรลุอรหันต์แล้ว แต่ท่านเอาความเมตตากรุณาเข้ามาในใจอีก เพือท่านจะได้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ต่อไปเพื่อช่วยโปรดสรรพชีวิตอื่นให้เข้าถึงนิพพานก่อน
โพธิสัตว์ เถรวาท - ไม่จำเป็นต้องบรรลุอรหันต์ เพียงแต่ท่านตั้งความปราถนาและตั้งปณิทานว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้ในชาติใดชาติหนึ่ง
พุทธภูมิ - เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่ และเป็นที่พระพุทธเจ้าสอนและถกธรรมกับพระโพธิสัตว์มหายาน
พุทธเกษตร และ วิสุทธิเกษตร - น่าจะหมายถึงอย่างเดียวกัน เป็นแดนสวรรค์ที่ไม่อยู่ในสังสารวัฏฏ์ แดนสวรรค์นี้เกิดจากอำนาจการอธิษฐานของพระพุทธเจ้า เช่น แดนสุขาวดี
ของพระอมิตาภพุทธเจ้า และพุทธเกษตรของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หรือ เอี๊ยะซือฮุก
พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ - เป็นภูมิปัญญาระดับพระพุทธเจ้า
โพธิจิต - หรือจิตที่หลุดพ้น หรือจิตพุทธะ หรือธรรมญาณ น่าจะเป็นตัวเดียว หมายถึงแก่นแท้ของจิตของเขา เปลือกนอกอาจจะเป็นจิตเดรัจฉาน จิตเปรต จิตเทพ
จิตพรหม ฯลฯ แต่แก่นในเราเป็นเพชร หรือเป็นโพธิจิต ข้างนอกอวิชชามาห่อหุ้มของในแก่นแท้ของเราเท่านั้น
วิสุทธิภูมิ - เป็นหลักการสำคัญของมหายาน โดยนับเป็น วิถีทางหนึ่งที่จะยังสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ด้วยการตั้งจิตประณิธานพึ่งอำนาจพุทธบารมีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อไปอุบัติยังแดนพุทธเกษตรเหล่านั้น เมื่อสรรพสัตว์มีศรัทธาเชื่อมั่นในพุทธบารมีย่อมสามารถไปอุบัติ ณ พุทธเกษตร พูดง่ายๆ เป็นพุทธเกษตร ที่ให้เราไปฝึกละกิเลส
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: usr32692
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 17
- ดูโปรไฟล์ 11428
- อายุ ไม่เปิดเผย
- วันเกิด ไม่เปิดเผย
-
Gender
ไม่เปิดเผย
กระทู้ที่ฉันเริ่ม
ความหมายของโพธิจิต พุทธภูมิ พุทธเกษตร ฯลฯ
13 January 2010 - 07:21 PM
กฎแห่งกรรมแตกต่างจากพรหมลิขิตอย่างไร?
01 January 2010 - 11:55 AM
กฎแห่งกรรมแตกต่างจากพรหมลิขิตอย่างไร?
บางท่านโจมตีศาสนาพุทธว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของทาส คือสอนให้ชนชั้นล่างยอมรับในการถูกกดขี่ โดยใช้ทฤษฏี
กรรมเก่า เหมือนกับศาสนาฮินดู ที่เชื่อในเรื่อง พรหมลิขิต คือ กรรมในอดีตชาติได้ผลในชาติปัจุบัน-อนาคตของเรา พระเจ้า
กำหนดแผนที่ชีวิตของเราไว้แล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
แต่โดยแท้จริงแล้ว ศาสนาพุทธของเราลึกซึ้งกว่านั้นมาก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เราสามารถทำกรรมใหม่ ไปเปลี่ยนแปลง
กรรมเก่าได้ ผลของกรรมใหม่ มันจะไปเปลี่ยนแปลงแผนที่เดิมของกรรมเก่าหรือพรหมลิขิตได้ เพียงแต่ผลของการเปลี่ยน
แปลงนั้น มันจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ไม่ใช่เราทำอะไร ไปคิดว่าแก้กรรม(พรหมลิขิต)อะไรไม่ได้เลย ต้องยอมรับพรหมลิขิตหรือ
วิบากกรรมเก่าสถานเดียว
เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ กรรมเก่าหรือพรหมลิขิตก็คือ ไอ้ที่เรากำลังเป็นอยู่และเคยเป็นมาแล้ว ส่วนกรรมใหม่ก็คือ ไอ้ที่กำลัง
จะทำและกำลังทำอยู่ หรือทำไปแล้วในชาตินี้แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้
ขบวนการของกรรมเก่าที่ได้ให้ผลหรือกำลังให้ผล ที่เรียกว่า พรหมลิขิต + กรรมใหม่ที่กำลังจะทำ ที่กำลังทำอยู่ และที่ทำ
ไปแล้วในชาตินี้ แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้ รวมทั้งหมดพระพุทธองค์เรียกว่า กฎแห่งกรรม
พูดอีกแง่หนึ่ง พรหมลิขิต คือ กฎแห่งกรรมในอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคต มันเป็น แผนที่ชีวิตที่วางไว้แล้ว แต่ปัจจุบัน
และอนาคตของเราก็หาได้เป็นไปตามพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะเราเป็นผู้ตัดสินใจในการทำกรรมใหม่
ที่เปลี่ยนแปลงพรหมลิขิต หรือแผนที่ชีวิตของเราด้วย
เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า การเด็ดดอกไม้เพียงดอกเดียว สะเทือนไปถึงดวงดาว มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราตัดสินใจทำกรรม
ดีกรรมชั่วในตอนนี้ มันสะเทือนไปถึงปัจจุบันและอนาคตของเราด้วย ด้วยเหตุนี้ หมอดูดังๆจำนวนมากมักทำนายเหตุการณ์
ต่างๆผิดพลาด เพราะเขารู้แต่พรหมลิขิต หรือแผนที่ชีวิตชุดเดิม พรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่เขาไม่รู้ แม้แต่พระอริยะเจ้า
ท่านยังทำนายพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ไม่ได้เลย ท่านรู้เฉพาะพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมเท่านั้น
ผมจะขอยกตัวอย่างพระอริยะเจ้าที่ทำนายผิดพลาด 2 ท่าน มาเป็นตัวอย่างนะครับ
1. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
หลวงพ่อจรัญทำนายว่า.....อาตมาจะมรณภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2521 เวลาเที่ยง 12.45 น.ด้วยอุบัติเหตุรถคว่ำคอหักตาย
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของท่าน
เมื่อถึงเวลานั้น หลวงพ่อจรัญท่านก็เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ คอหักจริงๆ แต่ท่านไม่ตาย ด้วยเหตุที่ หลวงพ่อจรัญได้สำนึกบาป
ที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น ไก่เหล่านั้นเลยให้อภัย ท่านจึงแค่คอหัก แต่ไม่ตาย
นี่คือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของท่าน
วิเคราะห์
- หลวงพ่อจรัญมองเห็นกรรมเก่าที่จะให้ผล(ตามพรหมลิขิต/กฎแห่งกรรม)
- หลวงพ่อจรัญมองไม่เห็นกรรมใหม่ที่จะให้ผล ท่านทำกรรมใหม่ คือ สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น
- กรรมใหม่ส่งผลเปลี่ยนพรหมลิขิต กฎแห่งกรรมในอดีต จึงให้ผลไม่ได้เต็มกำลัง เพราะโดนวิบากกรรมดีในชาตินี้ช่วยไว้
2. พระสารีบุตร
ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร และภิกษุอื่นๆ ต่างไม่ได้ให้พรเณรบวชใหม่คนหนึ่ง ให้มีอายุยืน เพราะวิบากกรรมของเขาต้องตาย
ถึงฆาตแน่ พระสารีบุตรได้เล็งเห็นว่า เณรผู้นี้จะมรณะในอีก 7 วัน
ท่านจึงอนุญาตให้เณรกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อโปรดบิดามารดา และญาติโยมทางบ้านเป็นครั้งสุดท้าย
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของเณรบวชใหม่
เมื่อเพลาผ่านไปเจ็ดวัน เณรได้กลับมายังอารามเหมือนเดิม พระสารีบุตรเองแปลกใจว่า เพราะเหตุใดเณรคนนั้นไม่ตาย ท่านจึง
ได้สอบถามเณรว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทางไปและกลับ เณรได้แถลงไขว่า ระหว่างทางที่ไปนั้น ได้พบปลาจำนวนหนึ่ง
ตกคลักในหนองน้ำที่ใกล้แห้ง จึงได้เอาจีวรช้อนขึ้นมาไปปล่อยในแหล่งน้ำที่ใกล้ๆ
ด้วยญาณแห่งพระสารีบุตร ท่านก็ทราบได้ว่า ปลาเหล่านั้น คืออดีตเจ้ากรรมนายเวรของเณรผู้นั้นเอง และเมื่อเณรได้นำปลาไป
ปล่อยในแหล่งน้ำ เท่ากับว่าได้ทำบุญต่ออายุให้กับตัวเอง และเจ้ากรรมนายเวรนั้น จึงได้อโหสิกรรมให้เณร
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของเณรบวชใหม่
วิเคราะห์
- พระสารีบุตรมองเห็นกรรมเก่า(พรหมลิขิต/แผนที่ชีวิต)ที่จะให้ผลให้เณรคนหนึ่งตาย
- พระสารีบุตรมองไม่เห็นกรรมใหม่ ที่จะให้ผลให้เณรคนนั้นไม่ตาย ซึ่งเป็นตอนที่เณรคนนั้นเดินทางกลับบ้าน เณรไปปล่อย
ปลา ซึ่งเป็นการทำกรรมใหม่ ทำให้กรรมเก่าของเณรไม่ส่งผล
มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่สามารถเห็นอนาคตที่ไม่เปลี่ยนแปลง
สรุป
กฎแห่งกรรมก็คือพรหมลิขิตนั่นเอง แต่กฎแห่งกรรมบอกวิธีการแก้พรหมลิขิต หรือ แก้แผนที่กฎแห่งกรรมในอดีตที่ส่งผลถึง
ปัจจุบันและอนาคตเอาไว้ด้วย ถ้าเราทำตามพรหมลิขิต โดยไม่แก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ก็เท่ากับเราไม่เข้าใจกฏแห่งกรรมอย่าง
แท้จริง
บางท่านโจมตีศาสนาพุทธว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของทาส คือสอนให้ชนชั้นล่างยอมรับในการถูกกดขี่ โดยใช้ทฤษฏี
กรรมเก่า เหมือนกับศาสนาฮินดู ที่เชื่อในเรื่อง พรหมลิขิต คือ กรรมในอดีตชาติได้ผลในชาติปัจุบัน-อนาคตของเรา พระเจ้า
กำหนดแผนที่ชีวิตของเราไว้แล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
แต่โดยแท้จริงแล้ว ศาสนาพุทธของเราลึกซึ้งกว่านั้นมาก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เราสามารถทำกรรมใหม่ ไปเปลี่ยนแปลง
กรรมเก่าได้ ผลของกรรมใหม่ มันจะไปเปลี่ยนแปลงแผนที่เดิมของกรรมเก่าหรือพรหมลิขิตได้ เพียงแต่ผลของการเปลี่ยน
แปลงนั้น มันจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ไม่ใช่เราทำอะไร ไปคิดว่าแก้กรรม(พรหมลิขิต)อะไรไม่ได้เลย ต้องยอมรับพรหมลิขิตหรือ
วิบากกรรมเก่าสถานเดียว
เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ กรรมเก่าหรือพรหมลิขิตก็คือ ไอ้ที่เรากำลังเป็นอยู่และเคยเป็นมาแล้ว ส่วนกรรมใหม่ก็คือ ไอ้ที่กำลัง
จะทำและกำลังทำอยู่ หรือทำไปแล้วในชาตินี้แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้
ขบวนการของกรรมเก่าที่ได้ให้ผลหรือกำลังให้ผล ที่เรียกว่า พรหมลิขิต + กรรมใหม่ที่กำลังจะทำ ที่กำลังทำอยู่ และที่ทำ
ไปแล้วในชาตินี้ แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้ รวมทั้งหมดพระพุทธองค์เรียกว่า กฎแห่งกรรม
พูดอีกแง่หนึ่ง พรหมลิขิต คือ กฎแห่งกรรมในอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคต มันเป็น แผนที่ชีวิตที่วางไว้แล้ว แต่ปัจจุบัน
และอนาคตของเราก็หาได้เป็นไปตามพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะเราเป็นผู้ตัดสินใจในการทำกรรมใหม่
ที่เปลี่ยนแปลงพรหมลิขิต หรือแผนที่ชีวิตของเราด้วย
เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า การเด็ดดอกไม้เพียงดอกเดียว สะเทือนไปถึงดวงดาว มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราตัดสินใจทำกรรม
ดีกรรมชั่วในตอนนี้ มันสะเทือนไปถึงปัจจุบันและอนาคตของเราด้วย ด้วยเหตุนี้ หมอดูดังๆจำนวนมากมักทำนายเหตุการณ์
ต่างๆผิดพลาด เพราะเขารู้แต่พรหมลิขิต หรือแผนที่ชีวิตชุดเดิม พรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่เขาไม่รู้ แม้แต่พระอริยะเจ้า
ท่านยังทำนายพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ไม่ได้เลย ท่านรู้เฉพาะพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมเท่านั้น
ผมจะขอยกตัวอย่างพระอริยะเจ้าที่ทำนายผิดพลาด 2 ท่าน มาเป็นตัวอย่างนะครับ
1. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
หลวงพ่อจรัญทำนายว่า.....อาตมาจะมรณภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2521 เวลาเที่ยง 12.45 น.ด้วยอุบัติเหตุรถคว่ำคอหักตาย
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของท่าน
เมื่อถึงเวลานั้น หลวงพ่อจรัญท่านก็เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ คอหักจริงๆ แต่ท่านไม่ตาย ด้วยเหตุที่ หลวงพ่อจรัญได้สำนึกบาป
ที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น ไก่เหล่านั้นเลยให้อภัย ท่านจึงแค่คอหัก แต่ไม่ตาย
นี่คือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของท่าน
วิเคราะห์
- หลวงพ่อจรัญมองเห็นกรรมเก่าที่จะให้ผล(ตามพรหมลิขิต/กฎแห่งกรรม)
- หลวงพ่อจรัญมองไม่เห็นกรรมใหม่ที่จะให้ผล ท่านทำกรรมใหม่ คือ สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น
- กรรมใหม่ส่งผลเปลี่ยนพรหมลิขิต กฎแห่งกรรมในอดีต จึงให้ผลไม่ได้เต็มกำลัง เพราะโดนวิบากกรรมดีในชาตินี้ช่วยไว้
2. พระสารีบุตร
ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร และภิกษุอื่นๆ ต่างไม่ได้ให้พรเณรบวชใหม่คนหนึ่ง ให้มีอายุยืน เพราะวิบากกรรมของเขาต้องตาย
ถึงฆาตแน่ พระสารีบุตรได้เล็งเห็นว่า เณรผู้นี้จะมรณะในอีก 7 วัน
ท่านจึงอนุญาตให้เณรกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อโปรดบิดามารดา และญาติโยมทางบ้านเป็นครั้งสุดท้าย
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของเณรบวชใหม่
เมื่อเพลาผ่านไปเจ็ดวัน เณรได้กลับมายังอารามเหมือนเดิม พระสารีบุตรเองแปลกใจว่า เพราะเหตุใดเณรคนนั้นไม่ตาย ท่านจึง
ได้สอบถามเณรว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทางไปและกลับ เณรได้แถลงไขว่า ระหว่างทางที่ไปนั้น ได้พบปลาจำนวนหนึ่ง
ตกคลักในหนองน้ำที่ใกล้แห้ง จึงได้เอาจีวรช้อนขึ้นมาไปปล่อยในแหล่งน้ำที่ใกล้ๆ
ด้วยญาณแห่งพระสารีบุตร ท่านก็ทราบได้ว่า ปลาเหล่านั้น คืออดีตเจ้ากรรมนายเวรของเณรผู้นั้นเอง และเมื่อเณรได้นำปลาไป
ปล่อยในแหล่งน้ำ เท่ากับว่าได้ทำบุญต่ออายุให้กับตัวเอง และเจ้ากรรมนายเวรนั้น จึงได้อโหสิกรรมให้เณร
นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของเณรบวชใหม่
วิเคราะห์
- พระสารีบุตรมองเห็นกรรมเก่า(พรหมลิขิต/แผนที่ชีวิต)ที่จะให้ผลให้เณรคนหนึ่งตาย
- พระสารีบุตรมองไม่เห็นกรรมใหม่ ที่จะให้ผลให้เณรคนนั้นไม่ตาย ซึ่งเป็นตอนที่เณรคนนั้นเดินทางกลับบ้าน เณรไปปล่อย
ปลา ซึ่งเป็นการทำกรรมใหม่ ทำให้กรรมเก่าของเณรไม่ส่งผล
มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่สามารถเห็นอนาคตที่ไม่เปลี่ยนแปลง
สรุป
กฎแห่งกรรมก็คือพรหมลิขิตนั่นเอง แต่กฎแห่งกรรมบอกวิธีการแก้พรหมลิขิต หรือ แก้แผนที่กฎแห่งกรรมในอดีตที่ส่งผลถึง
ปัจจุบันและอนาคตเอาไว้ด้วย ถ้าเราทำตามพรหมลิขิต โดยไม่แก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ก็เท่ากับเราไม่เข้าใจกฏแห่งกรรมอย่าง
แท้จริง
จิตปภัสสรแตกต่างจากจิคหลุดพ้นอย่างไร?
01 January 2010 - 11:46 AM
ผมเข้าไปดูในเว็บสบายใจบอร์ด เห็นกระทู้นี้น่าสนใจมาก เลยนำมาฝากเพื่อนสมาชิกให้แสดงความเห็นว่า เป็นอย่างนี้หรือเปล่า
จิตปภัสสรแตกต่างจากจิตหลุดพ้น
http://xmoi.tapasilo...6;topicseen#new
เนื้อเรื่องเดิมโดยphonsak
จิตปภัสสร = กายทิพย์ หรือ อทิสมานกาย ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
จิตพุทธะหรือจิตหลุดพ้นหรือจิตพ้นวิเศษหรือจิตสิ้นการปรุงแต่ง คือ ธาตุรู้ ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ทุกข์
พูดง่ายๆ
จิตปกัสสร หรือ ภวังค์จิต = จิตสังขาร หรือจิตในปฎิจจสมุปบาท
ส่วนจิตพุทธะหรือจิตพ้นวิเศษ = นิพพานจิตดวงหนึ่งๆ ที่ออกมาจากนิพพานจิตมวลรวม
ที่เรียกว่า "นิพพาน"
หลวงปู่ดุลย์เทศน์ว่า "โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง
บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"
จิตที่มีรูปปรมาณู = จิตสังขาร หรือ อทิสมานกาย
จิตปราศจากปรมาณู = จิตพ้นวิเศษ หรือ จิตพุทธะดวงหนึ่ง
นิพพาน = จิตมวลรวมของจิตปราศจากปรมาณู
พูดเป็นวิชาการได้ในอีกนัยหนึ่งว่า จิตปภัสสรเป็นกายทิพย์ จิตหลุดพ้นเป็นกายธรรม หรือธรรมกาย
จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ ให้ทิ้งจิตกายทิพย์(อทิสมานกาย) ไม่ว่ามีนจะปภัสสร หรือยังไม่ก็ตาม ไปหาจิตหลุดพ้น(ธรรมกาย)
จิตปภัสสรแตกต่างจากจิตหลุดพ้น
http://xmoi.tapasilo...6;topicseen#new
เนื้อเรื่องเดิมโดยphonsak
จิตปภัสสร = กายทิพย์ หรือ อทิสมานกาย ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
จิตพุทธะหรือจิตหลุดพ้นหรือจิตพ้นวิเศษหรือจิตสิ้นการปรุงแต่ง คือ ธาตุรู้ ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ทุกข์
พูดง่ายๆ
จิตปกัสสร หรือ ภวังค์จิต = จิตสังขาร หรือจิตในปฎิจจสมุปบาท
ส่วนจิตพุทธะหรือจิตพ้นวิเศษ = นิพพานจิตดวงหนึ่งๆ ที่ออกมาจากนิพพานจิตมวลรวม
ที่เรียกว่า "นิพพาน"
หลวงปู่ดุลย์เทศน์ว่า "โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง
บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"
จิตที่มีรูปปรมาณู = จิตสังขาร หรือ อทิสมานกาย
จิตปราศจากปรมาณู = จิตพ้นวิเศษ หรือ จิตพุทธะดวงหนึ่ง
นิพพาน = จิตมวลรวมของจิตปราศจากปรมาณู
พูดเป็นวิชาการได้ในอีกนัยหนึ่งว่า จิตปภัสสรเป็นกายทิพย์ จิตหลุดพ้นเป็นกายธรรม หรือธรรมกาย
จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ ให้ทิ้งจิตกายทิพย์(อทิสมานกาย) ไม่ว่ามีนจะปภัสสร หรือยังไม่ก็ตาม ไปหาจิตหลุดพ้น(ธรรมกาย)
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: usr32692
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·