บุญ...มีความหมาย คืออะไรหรอค่ะ
#1
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 03:09 PM
#2
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 03:52 PM
ว่าแต่ น้องฝน ซึ่งบอกว่าไม่เคยเข้าวัด จะมาวัดเพื่อทำบุญใหญ่พิเศษอันหาทำได้ยาก เพื่อเป็นคุณเครื่องแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของตัวน้องเองในวันพรุ่งนี้ 22 เมษายน มาร่วมงานหล่อพระ 100,000 องค์ และ ถวายไทยธรรมวัดทั่วประเทศ 10,000 วัด หรือไม่ครับ
ผมถือโอกาสชวนซะเลย เพราะ บุญคือคุณเครื่องแห่งความสุขและความสำเร็จในทุกสรรพชีวิต ตั้งแต่ปุถุชนจนถึงพระอริยะเจ้า แน่นอนรวมไปถึงตัวน้องฝนเองด้วยครับ และ โอกาสนี้ ไม่ว่าจะมีเงินกี่ร้อยกี่พันล้าน ก็ไม่อาจจะซื้อโอกาสนี้ให้ย้อนคืนกลับมาได้ ถ้าพลาดโอกาสบุญนี้แล้วก็พลาดเลยนะครับ
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 04:05 PM
#4
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 04:49 PM
ยิ่งบุญมากกิเลสที่มีในขันธสันดานก็จะเบาบางมาก ถ้ามีบุญน้อยกิเลสก็มาก
ถ้าหมดบุญ บาปก็มากสุดๆ ถ้าบาปมากกว่าบุญก็ตกนรกเพลินไปเลย
หรือจะเรียกว่า ถ้ากระแสจิตเลวมากกว่ากระแสจิตดี ก็เสวยสุขในนรกเห็นๆ
ลองดูกระทู้เดิมประกอบก็ได้ครับ
http://www.dmc.tv/fo...findpost&p=6754
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#5
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 05:34 PM
คนไทยหายใจเข้าออกเป็นบุญ นึกถึงการทำบุญอยู่เสมอ ขาดบุญไม่ได้ แต่มักไม่เข้าใจความหมายของ "บุญ" อย่างเช่นเวลาพูดว่า "ทำบุญทำทาน" เรามักเข้าใจว่า ทำบุญ คือ ถวายข้าวของแก่พระสงฆ์ ส่วนทำทาน คือ ให้ข้าวของแก่คนยากคนจน และยังเข้าใจจำกัดแต่เพียงว่าต้องทำกับพระสงฆ์เท่านั้นจึงจะเป็นบุญ
บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ คำว่า "ทาน" แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน จะมอบของให้ใคร หรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง
ฉะนั้น เวลาพูดว่า ไปทำบุญทำทาน จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการแบ่งปันสิ่งของ (ทานมัย) ซึ่งเป็นการแบ่งปันให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบๆ แต่เพียงแค่การให้ทานบริจาคสิ่งของ แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ทำบุญอย่างมีความหมาย
บุญ มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า "ปุญญะ" แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ บุญเป็นเครื่องจำกัดสิ่งเศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลส ดังนั้นการทำบุญจึงเป็นการช่วยลดละเลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีใจคับแคบ ตระหนี่ถี่เหนียว หวงแหน ยึดติดลุ่มหลงในวัตถุสิ่งของ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของความทุกข์ให้ออกไปจากใจ ทำให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวต่อไปในคุณความดีอย่างอื่น หรือเปิดช่องให้นำเอาคุณสมบัติอันดีงามอื่นๆ มาใส่เพิ่มเติมแก่ชีวิต เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น
ขณะเดียวกันบุญก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะน่าบูชา คนที่ทำบุญมักเป็นคนน่าบูชา เพราะเป็นบุคคลผู้มีคุณธรรม มีความดี บุญทำให้เกิดภาวะน่าบูชา แก่ผู้ที่ทำบุญสม่ำเสมอและเมื่อได้ทำบุญแล้ว จิตใจก็อิ่มเอิบเป็นสุขที่ประณีตลึกซึ้งขึ้นไป เป็นความสุขที่ยั่งยืนยาวนาน และเป็นความสุขที่สงบประณีต
หลวงพ่อพุทธทาสพูดถึงวิธีทำบุญ ๓ แบบ ว่า เปรียบเหมือนกับคน ๓ คน เอาน้ำ ๓ ประเภทมาอาบชำระล้างตัว คือ
๑) บุคคลทำบุญเหมือนเอาน้ำโคลนมาอาบ คือ คนที่ทำบุญด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนสัตว์ ฆ่าวัว ฆ่าควาย ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ และเอาเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาจัดงานบุญเลี้ยงกัน รวมทั้งมีเลี้ยงสุรายาเมาด้วย จนบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาททำร้ายกัน เหล่านี้เป็นการทำบุญด้วยการทำบาป เหมือนกับเอาน้ำโคลนมาชำระตัว จะสะอาดได้อย่างไร
๒) บุคคลทำบุญเหมือนเอาน้ำเจือด้วยแป้งหอมมาอาบ คือ คนที่ทำบุญด้วยอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในบุญเป็นอย่างมาก เมาสวรรค์ เมาวิมาน เป็นการทำบุญด้วยกิเลสหรือความยึดติดอย่างรุนแรง ทำแล้วหวังผลเช่นนั้นเช่นนี้ เหมือนเอาน้ำที่เป็นเครื่องหอมมาอาบชำระกาย จะสะอาดได้อย่างไร
๓) บุคคลทำบุญเหมือนเอาน้ำสะอาดมาอาบ คือ คนที่ทำบุญด้วยใจสงบร่มเย็น ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น ว่าเป็นตัวเราของเรา (อาจจะมีบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นเหตุจริงจังให้จิตฟุ้งซ่าน สั่นไหว หรือยึดติดเป็นอุปาทาน) เหมือนคนเอาน้ำสะอาดมาอาบ ย่อมสะอาดกว่าบุคคล ๒ ประเภทแรก
เราทำบุญแล้วเป็นแบบไหน หรือ จะเป็นแบบไหน ต้องเลือกพิจารณาดูให้ดี ๆ
บุญคือการสร้างสรรค์ชุมชน
มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎกว่า ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ชาวบ้านกำลังร่วมกันทำงานในชุมชน อย่างขมักเขม้น มฆมาณพช่วยงานอยู่แถวนั้น ก็ทำความสะอาดที่พัก เพื่อเตรียมตัวจะพักกลางวัน จนสะอาดเรียบร้อยน่าพักผ่อน ต่อมามีคนเห็นว่า จุดที่มฆมาณพทำความสะอาด เป็นสถานที่น่าพักผ่อนก็เข้ามาใช้ มฆมาณพก็ต้องออกไปแต่ไม่โกรธ จากนั้นมฆมาณพ ก็ไปชำระทำความสะอาด ที่จุดอื่นต่อ แล้วถูกคนอื่นแย่งเอาที่ไปอีก ก็ไม่โกรธ คงย้ายที่ไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ พร้อมกับคิดว่าคนเหล่านี้ได้รับความสุขก็ดีแล้ว เขามีความสุขจากที่ของเราจากการกระทำของเรา การกระทำของเราเป็นการกระทำที่เป็นบุญ บุญนี้จึงให้ความสุขแก่เราด้วย
มฆมาณพทำความสะอาดที่สาธารณะเช่นนี้ เป็นเหตุให้กลับบ้านค่ำมืด เพื่อนบ้านถามว่าไปทำอะไรมา ก็ตอบว่า "ไปทำบุญชำระทางสวรรค์" ต่อมามีชายหนุ่มในหมู่บ้านเห็นด้วยกับวิธีการทำบุญแบบนี้ ก็มาช่วยมฆมาณพมากมายรวมเป็นกลุ่มถึง ๓๓ คน
ตัวมฆมาณพเอง ต่อมาก็กลายเป็นหัวหน้ากลุ่มทำบุญ ด้วยการสร้างสรรค์ชุมชน ก็ได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เขาจึงชักชวนชาวบ้านให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันกันและกัน และร่วมกันละเว้นจากอบายมุข สุรายาเมา สิ่งเสพติดและการพนัน จนชาวบ้านหันมาถือศีลกันทั่วหน้า
ยังไม่หมดแค่นั้น ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ยังรวมตัวกันพัฒนา ปรับถนนหนทาง สร้างศาลาที่พักตามทาง ขุดบ่อน้ำ สร้างสะพาน ปลูกไม้พุ่มไม้กอ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ จนเกิดความสวยงาม
มฆมาณพและเพื่อน ๆ ผู้เป็นนักทำบุญทั้งหลายได้ทำบุญด้วยการสร้างสรรค์ชุมชนเช่นนี้ เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ตัวมฆมาณพผู้เป็นหัวหน้านักทำบุญ ไปเกิดเป็นท้าวสักกะ คือพระอินทร์ในกาลต่อมา
แม้แต่การช่วยกันบริการสถานที่สาธารณะในชุมชนให้เกิดความสะอาด สะดวกสบาย ก็ยังเป็นบุญ การทำบุญจึงสามารถทำได้ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดกาล และยังมีรูปแบบวิธีการที่สร้างสรรค์มากมาย
บุญ ๑๐ วิธี
ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ
๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทาน เป็นการช่วยขัดเกลา ความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไป ก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคล หรือชุมชนโดยส่วนรวม
๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น
๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งในความคิดความเชื่อ และวิถีปฏิบัติ ของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน ที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)
๖. เปิดโอกาสให้คนอื่น มาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่น มีส่วนร่วมทำ - ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี (หรือทำบุญ) ของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนา ในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)
๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดี กับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)
๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง และเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น - ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญก็เป็นบุญ (ทิฏฐุชุกรรม)
ทิฏฐุชุกรรม หรือ สัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิด และทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง
ที่มา : http://www.khonnaruk...boon-1.html#top
#6
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 05:39 PM
Someday I'm gonna be free.
#7
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 05:40 PM
#8
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 07:59 PM
และก็ขอบคุณพี่BOG-BOGมากนะค่ะ แหมแจ่มแจ้งจริงๆ แต่บทความคุ้นๆแหะ อิอิ
ขอบคุณพี่ๆทุกคนเลยนะค่ะ เดี๋ยวหาว่าฝนชมแต่พี่2คนเดี๋ยวจะน้อยใจกัน เอาเป็นขอบคุณพี่ๆนะค่ะที่มาเสนอความคิดเห็นในกระทู้นี้ และฝนจะมีคำถามมาถามพี่ๆเรื่อยนะค่ะ(ถ้าไม่เบื่อซะก่อนนะค่ะ) พรุ่งนี้แล้วก็ขอให้พี่ๆที่ไปร่วมงานได้รับบุญมาเยอะๆนะค่ะสาธุ
#9
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 11:25 PM
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา
โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
#10
โพสต์เมื่อ 22 April 2006 - 08:19 AM
#11
โพสต์เมื่อ 22 April 2006 - 09:04 AM
#12
โพสต์เมื่อ 23 April 2006 - 07:31 AM
รู้สึกจิตใจมันพอง ๆ ขนลุกซู่ อย่างไงไม่รู้ คิดว่าน่าจะเป็นบุญเก่ากับบุญปัจจุบันมาบรรจบกัน
ตามความเข้าใจผม หลังจากได้เรียนรู้เรื่องบุญมากขึ้น บุญคือปัจจัยที่หล่อเลี้ยงชีวิตของ
เราเอาไว้ ถ้าขาดบุญชีวิตก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงขาดบุญไม่ได้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรา
มีในปัจจุบันทั้งหมดเป็นผลจากบุญเก่าที่เราทำมาทั้งสิ้น
#13
โพสต์เมื่อ 23 April 2006 - 07:34 PM
๑. อสาธารณมญฺเญสํ ไม่เป็นของสาธารณะแก่บุคคลทั่วไป (ใครทำ ใครได้)
๒. อโจรหรโณ ใครๆ ก็ลักขโมยไปไม่ได้
๓. อนุคามิโก ติดตามให้ผลไปในที่ทุกแห่งหน ทุกภพ ทุกชาติ ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน
๔. สพฺพกามทโก ให้สมบัติต่างๆ ตามที่ปรารถนาตั้งแต่มนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ
บุญนิธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
๑. ทาน การสละออกเพื่อประโยชน์แก่มวลสรรพสัตว์ทั้งหลาย
๒. ศีล รักษากาย วาจา ใจ ของตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ โยเว้นขาดจากการกระทำชั่วทางกาย วาจา ใจ
๓. สัญญมะ มีความสำรวมระวังกิริยามารยาท และสังวรณ์ระวังมิให้กิเลสเข้าครองใจได้
๔. ทมะ รู้จักข่มจิตใจเมื่อถูกกิเลสรบกวน โดยไม่ลุแก่อำนาจแห่งความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง
#14
โพสต์เมื่อ 23 April 2006 - 11:49 PM
เพราะฉะนั่น เราก็ต้องสร้างบุญใหม่ เพราะถ้าหมดบุญ นั่นก็คือ ความตายมาเยือน
#15
โพสต์เมื่อ 24 April 2006 - 06:25 PM
#16
โพสต์เมื่อ 25 April 2006 - 10:13 AM
บุญ =กรรมดี
กรรมกลางๆ =กรรมกลางๆ
บาป =กรรมไม่ดี
#17
โพสต์เมื่อ 25 April 2006 - 03:27 PM
กรรมกลางๆเป็นยังไงเหรอค่ะ คุณ nut 33
#18
โพสต์เมื่อ 26 April 2006 - 02:05 AM
กรรมกลางๆ ก็คือ กรรมที่มีผลไม่ดี ไม่ชั่ว ยังไงล่ะครับ คุณขอบฟ้า
#19
โพสต์เมื่อ 22 June 2006 - 11:41 PM
ลูกพระธรรม
#20
โพสต์เมื่อ 23 February 2007 - 11:58 AM