กสิณไฟ ต่างจาก ธรรมกาย อย่างไร?
เริ่มโดย นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน, Mar 10 2008 01:14 PM
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 01:14 PM
กสิณไฟ ต่างกับ ธรรมกาย อย่างไร วอนผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยน่ะครับ เพราะว่าการเดินทางของฐานมีความคล้ายกันครับ
เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"
#2
โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 02:18 PM
กสินไฟเป็นการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่งโดยการเพ่งมองเปลวไฟ ซึ่งเป็นลักษณะของการวางใจนอกตัว หรือเป็นการเพ่งจิตไปที่สิ่งๆหนึ่ง
แต่การฝึกสมาธิแบบธรรมกาย เป็นการวางใจไว้ในตัว ให้ใจอยู่กับตัวครับ
ความแตกต่างของการฝึกสมาธิโดยการเพ่งกสินกับการวางใจไว้ในตัว ผมขออุปมาดังนี้นะครับ
อาโปกสินอุปมาเหมือนนําในแก้วใสใบหนึ่ง หากนำแก้วออกหรือทำให้แก้วแตก เหลือแต่นําอย่างเดียว คิดว่านํานั้นจะยังคงสภาพเหมือนแก้วอย่างเดิมได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ใช่ไหมครับ อาโปกสินหรือการฝึกสมาธิด้วยการเพ่งมองก็เหมือนกัน เราไม่สามารถคงระดับของใจไว้ได้เท่าที่ควร หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดแวปเขามาเราก็สามารถเสียสมาธิได้ง่าย เหมือนแก้วใสไงล่ะครับ
การฝึกสมาธิแบบวางใจไว้ภายใน อุปมาเหมือนกับนําในแก้วพลาสติกหรือแก้วสแตนเลท แม้จะตกจากที่สูงก็ไม่แตกแม้นําจะหกออกจากแก้วหมดก็สามารถเติมใหม่ได้
แต่การฝึกสมาธิแบบธรรมกาย เป็นการวางใจไว้ในตัว ให้ใจอยู่กับตัวครับ
ความแตกต่างของการฝึกสมาธิโดยการเพ่งกสินกับการวางใจไว้ในตัว ผมขออุปมาดังนี้นะครับ
อาโปกสินอุปมาเหมือนนําในแก้วใสใบหนึ่ง หากนำแก้วออกหรือทำให้แก้วแตก เหลือแต่นําอย่างเดียว คิดว่านํานั้นจะยังคงสภาพเหมือนแก้วอย่างเดิมได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ใช่ไหมครับ อาโปกสินหรือการฝึกสมาธิด้วยการเพ่งมองก็เหมือนกัน เราไม่สามารถคงระดับของใจไว้ได้เท่าที่ควร หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดแวปเขามาเราก็สามารถเสียสมาธิได้ง่าย เหมือนแก้วใสไงล่ะครับ
การฝึกสมาธิแบบวางใจไว้ภายใน อุปมาเหมือนกับนําในแก้วพลาสติกหรือแก้วสแตนเลท แม้จะตกจากที่สูงก็ไม่แตกแม้นําจะหกออกจากแก้วหมดก็สามารถเติมใหม่ได้
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#3
โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 03:55 PM
กสินไฟกับการฝึกแบบวิชชาธรรมกาย
ความเหมือนกัน คือ มีกสินเป็นอารมณ์
ความต่างอยู่ที่กสินไฟใช้ไฟ พระอาทิตย์ แสงเทียน กับ กสินแบบวิชชาธรรมกายใช้กสินดวงแก้วหรือองค์พระ
แต่หากกำหนดใจในฐานที่ 7 เหมือนกัน ผมว่าการปฏิบัติจะได้เหมือนกัน คือ เข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้เหมือนกัน
แต่หากไม่กำหนดไว้ที่ฐานที่ 7 จะไม่ผลการเข้าถึงองค์พระได้ เพราะ ฐานที่ 7 เป็นทางเอกสายเดียวเท่านั้น
ความเหมือนกัน คือ มีกสินเป็นอารมณ์
ความต่างอยู่ที่กสินไฟใช้ไฟ พระอาทิตย์ แสงเทียน กับ กสินแบบวิชชาธรรมกายใช้กสินดวงแก้วหรือองค์พระ
แต่หากกำหนดใจในฐานที่ 7 เหมือนกัน ผมว่าการปฏิบัติจะได้เหมือนกัน คือ เข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้เหมือนกัน
แต่หากไม่กำหนดไว้ที่ฐานที่ 7 จะไม่ผลการเข้าถึงองค์พระได้ เพราะ ฐานที่ 7 เป็นทางเอกสายเดียวเท่านั้น
#4
โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 04:27 PM
ถ้านับตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนในช่วงแรกๆ แล้วล่ะก็ ก็ต้องตอบเหมือนท่านอื่นๆ ที่ตอบมาน่ะครับ
แต่ถ้านับตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนในช่วงหลังๆ แนวทางการสอนสมาธิของท่านในช่วงแรก จะเป็นเหมือนวิธีการสอนหลัก แต่ขณะเดียวกัน ก็จะเริ่มปรับการสอนให้เข้ากับจริตของคนที่มีหลากหลายน่ะครับ
เช่น บางคนหลวงปู่สอนให้นึกถึง เส้ันผม นึกไปนึกมา เส้นผมก็ใส เมื่อใจนิ่งถูกส่วน ก็เข้าถึงธรรมภายในได้เหมือนกัน ไม่ได้นึกเป็นกสินแสงสว่าง หรือกสินไฟ แต่อย่างใด กลับกลายเป็นการนึกถึง กสินดิน แทน เพราะจริตของเขาคุ้นมาอย่างนั้น เป็นต้น
ซึ่งแนวทางการสอนสมาธิ ของหลวงปู่วัดปากน้ำในช่วงหลังๆ นี่แหละครับ ที่หลวงพ่อธัมมชโย ท่านนำปรับใช้กับประสบการณ์การสอนของท่าน
คือ จะใช้วิธีการสอนแบบอาโลกกสิณที่หลวงปู่สอน เป็นแนวทางการสอนหลัก แต่ก็มีแนวทางปลีกย่อยที่หลากหลายขึ้นกับจริตของผู้คน
เช่น บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกถึง สิ่งที่ชอบ เช่น ลูกมะพร้าว-กสินดิน ไข่ดาว-กสินดิน
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกบุญที่ได้กระทำมา เป็นบุญญานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกหยดน้ำ-กสินน้ำ
บางคน หลวงพ่อท่านให้ท่องคำภาวนา เป็น ธรรมมานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านบอกว่า ไม่ต้องนึกอะไรเลย เป็น สุญญานุสติ มีความว่างเป็นอารมณ์ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า แนวทางการสอนวิชชาธรรมกาย เหมือนกสินไฟ หรือเปล่า ตอบว่า ที่เหมือนก็มี ที่ไม่เหมือนก็มาก ครับ
แต่ถ้านับตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนในช่วงหลังๆ แนวทางการสอนสมาธิของท่านในช่วงแรก จะเป็นเหมือนวิธีการสอนหลัก แต่ขณะเดียวกัน ก็จะเริ่มปรับการสอนให้เข้ากับจริตของคนที่มีหลากหลายน่ะครับ
เช่น บางคนหลวงปู่สอนให้นึกถึง เส้ันผม นึกไปนึกมา เส้นผมก็ใส เมื่อใจนิ่งถูกส่วน ก็เข้าถึงธรรมภายในได้เหมือนกัน ไม่ได้นึกเป็นกสินแสงสว่าง หรือกสินไฟ แต่อย่างใด กลับกลายเป็นการนึกถึง กสินดิน แทน เพราะจริตของเขาคุ้นมาอย่างนั้น เป็นต้น
ซึ่งแนวทางการสอนสมาธิ ของหลวงปู่วัดปากน้ำในช่วงหลังๆ นี่แหละครับ ที่หลวงพ่อธัมมชโย ท่านนำปรับใช้กับประสบการณ์การสอนของท่าน
คือ จะใช้วิธีการสอนแบบอาโลกกสิณที่หลวงปู่สอน เป็นแนวทางการสอนหลัก แต่ก็มีแนวทางปลีกย่อยที่หลากหลายขึ้นกับจริตของผู้คน
เช่น บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกถึง สิ่งที่ชอบ เช่น ลูกมะพร้าว-กสินดิน ไข่ดาว-กสินดิน
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกบุญที่ได้กระทำมา เป็นบุญญานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกหยดน้ำ-กสินน้ำ
บางคน หลวงพ่อท่านให้ท่องคำภาวนา เป็น ธรรมมานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านบอกว่า ไม่ต้องนึกอะไรเลย เป็น สุญญานุสติ มีความว่างเป็นอารมณ์ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า แนวทางการสอนวิชชาธรรมกาย เหมือนกสินไฟ หรือเปล่า ตอบว่า ที่เหมือนก็มี ที่ไม่เหมือนก็มาก ครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#5
โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 10:33 PM
การทำสมาธิเป้าหมายเพื่อให้ใจ หยุด แต่วิธีการเริ่มต้นนั้นมากมายถ้าในวิสุทธิมรรคก็ 40 วิธี แต่กระบวนการหลังจากใจ หยุด
เกิดเป็น ดวงปฐมมรรค แล้วนี่ซิครับเป็นการดำเนินจิตเข้าไปในทางสายกลาง เรียกว่า ทางสายกลางเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึง
พระรัตนตรัยภายใน(พระธรรมกาย) ดังนั้นวิธีทั้งสองก็เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อให้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด(พระรัตนตรัย) วิธีการเบื้องต้นอาจแตกต่างกันบ้าง หรือเหมือนกันบ้างไม่เป็นอะไรครับ นิมิตที่ใช้ก็เพื่อให้ใจเรามีที่ยึดที่เกาะไม่ฟุ้งไปเรื่องอื่นๆ และเกิดเป็นสมาธิครับ ุุ้
เกิดเป็น ดวงปฐมมรรค แล้วนี่ซิครับเป็นการดำเนินจิตเข้าไปในทางสายกลาง เรียกว่า ทางสายกลางเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึง
พระรัตนตรัยภายใน(พระธรรมกาย) ดังนั้นวิธีทั้งสองก็เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อให้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด(พระรัตนตรัย) วิธีการเบื้องต้นอาจแตกต่างกันบ้าง หรือเหมือนกันบ้างไม่เป็นอะไรครับ นิมิตที่ใช้ก็เพื่อให้ใจเรามีที่ยึดที่เกาะไม่ฟุ้งไปเรื่องอื่นๆ และเกิดเป็นสมาธิครับ ุุ้
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี สิ่งที่เราทำย่อมเป็นของเรา ทำทั้งทีทำให้ปลื้ม
#6
โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 01:11 PM
QUOTE
กสิณไฟ ต่างกับ ธรรมกาย อย่างไร
- ต่างกันลิบเลย(Basic & Advance มากๆ)- กสิณไฟ(เตโชกสิณ) เป็นหนึ่งในกสิณ10 ในวิสุทธิมรรค 40วิธี ใช้ไฟเป็นอารมณ์ หลวงพ่อทัตตะเคยเทศน์ถึงวิธีการคือจุดเทียน แล้วนำกระดาษตัดเป็นช่องวงกลม นำแสงไฟจากเปลวเทียนที่ลอดผ่านช่องวงกลมมากำหนดเป็นอารมณ์ ส่วนจะวางใจไว้ในตัวนอกตัวก็แล้วแต่ หากจะเข้าสู่เส้นทางอริยมรรคแล้วต้องวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น จึงจะเข้าถึงรัตนะภายใน คือ ธรรมกาย
- ที่วัดพระธรรมกายใช้อาโลกสิณเป็นอารมณ์ วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่7 เหนือสะดือ2นิ้วมือ
- บางครั้งพระเดชพระคุณฯก็แนะนำวิธีอื่น เพราะคนเรามีจริตที่แตกต่างกัน เช่น อานาปานสติ กำหนดว่าที่สุดของลมหายใจคือศูนย์กลางกายฐานที่7 อย่างที่คุณหัดฝันตอบ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#7
โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 02:00 PM
ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าจากการที่ศึกษาธรรมะและได้ปฏิบัติมา.......
กสิณไฟ กับ อาโลกกสิณ ต่างก็เป็น ๑ ใน ๑๐ ของกสิณ ๑๐ กอง
ของกรรมฐาน ๔๐ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้....
เป็นสมถกรรมฐานเหมือนกัน ใช้นิมิตเพ่ง นึก ตรึกหรือระลึกถึงเหมือนกัน
จะต่างกันที่วรรณะของกสิณที่ใช้เท่านั้น ส่วนของพระธรรมกายนั้นใช้บริกรรมนิมิต
วางไว้ที่ศูนย์กลางกลางฐานที่ ๗ แบบอื่นมักจะวางไว้ที่อื่น เช่นนอกตัวบ้างหรือ
วางไว้ภายในตัวแต่ไม่ใช้ฐานที่ ๗ เช่นหน้าผากหรือกึ่งกลางระหว่างคิ้ว,หน้าอก
เป็นต้น อารมณ์...การเข้าถึง(ไม่ใช่ขอถึงหรือพูดถึง) จะเหมือนกัน ต่างกันที่วรรณะ
ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิหรือโพธิญาณ/ผู้ที่เคยฝึกมาแล้วแต่อดีตชาติ
ก็มักจะฝึกกสิณในหลายๆกอง ทั้งกสิณไฟ อาโลกกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ ฯลฯ
ซึ่งถ้าฝึกกองใดกองหนึ่งสำเร็จแล้ว กสิณกองอื่นก็ฝึกเหมือนกัน ต่างแต่นิมิตที่ใช้เท่านั้น
ถ้าผู้ที่อยู่ในส่วนการฝึกของวิชชาธรรมกายนั้น ให็หาดูได้ในหนังสือ "คู่มือสมภาร" จะมี
รายละเอียดของการฝึกกสิณ ๑๐ กอง เดินวิชชาเข้า...ซ้อนๆกัน อันมีผลต่อการเดินสมาบัติฯ
ซึ่งพอจะกล่าวได้ว่า กสิณไฟต่างกับธรรมกาย อย่างไรนั้น.........อยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล
มากกว่า....ตามความเข้าใจของข้าพเจ้านั้น(ดังที่กล่าวมาข้างต้น)ไม่ต่างกันและเป็นส่วนหนึ่ง
ของเกือบทุกวิชชา ในทุกๆสาย...ที่ต้องใช้(กรณีที่ต้องการด้านพละกำลังของสมาธิ/สมถกรรมฐาน)
ซึ่งวิชชาธรรมกายก็ได้กล่าวถึงและเป็นรายละเอียดที่ต้องเข้าถึงเหมือนกัน ในการเดินสมาบัติฯ
ของการฝึกสมาธิในชั้นสูง ต่อไป
หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยและขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
(เนื่องจากเคยเขียนข้อความลงกระทู้แล้วโดน ลบ ตบแต่งข้อความ.......
ที่เขียนมาทั้งหมดข้าพเจ้าก็ฝึกฝนอยู่ในแนววิชชาธรรมกายที่พูดหรือกล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย)
กสิณไฟ กับ อาโลกกสิณ ต่างก็เป็น ๑ ใน ๑๐ ของกสิณ ๑๐ กอง
ของกรรมฐาน ๔๐ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้....
เป็นสมถกรรมฐานเหมือนกัน ใช้นิมิตเพ่ง นึก ตรึกหรือระลึกถึงเหมือนกัน
จะต่างกันที่วรรณะของกสิณที่ใช้เท่านั้น ส่วนของพระธรรมกายนั้นใช้บริกรรมนิมิต
วางไว้ที่ศูนย์กลางกลางฐานที่ ๗ แบบอื่นมักจะวางไว้ที่อื่น เช่นนอกตัวบ้างหรือ
วางไว้ภายในตัวแต่ไม่ใช้ฐานที่ ๗ เช่นหน้าผากหรือกึ่งกลางระหว่างคิ้ว,หน้าอก
เป็นต้น อารมณ์...การเข้าถึง(ไม่ใช่ขอถึงหรือพูดถึง) จะเหมือนกัน ต่างกันที่วรรณะ
ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิหรือโพธิญาณ/ผู้ที่เคยฝึกมาแล้วแต่อดีตชาติ
ก็มักจะฝึกกสิณในหลายๆกอง ทั้งกสิณไฟ อาโลกกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ ฯลฯ
ซึ่งถ้าฝึกกองใดกองหนึ่งสำเร็จแล้ว กสิณกองอื่นก็ฝึกเหมือนกัน ต่างแต่นิมิตที่ใช้เท่านั้น
ถ้าผู้ที่อยู่ในส่วนการฝึกของวิชชาธรรมกายนั้น ให็หาดูได้ในหนังสือ "คู่มือสมภาร" จะมี
รายละเอียดของการฝึกกสิณ ๑๐ กอง เดินวิชชาเข้า...ซ้อนๆกัน อันมีผลต่อการเดินสมาบัติฯ
ซึ่งพอจะกล่าวได้ว่า กสิณไฟต่างกับธรรมกาย อย่างไรนั้น.........อยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล
มากกว่า....ตามความเข้าใจของข้าพเจ้านั้น(ดังที่กล่าวมาข้างต้น)ไม่ต่างกันและเป็นส่วนหนึ่ง
ของเกือบทุกวิชชา ในทุกๆสาย...ที่ต้องใช้(กรณีที่ต้องการด้านพละกำลังของสมาธิ/สมถกรรมฐาน)
ซึ่งวิชชาธรรมกายก็ได้กล่าวถึงและเป็นรายละเอียดที่ต้องเข้าถึงเหมือนกัน ในการเดินสมาบัติฯ
ของการฝึกสมาธิในชั้นสูง ต่อไป
หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยและขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
(เนื่องจากเคยเขียนข้อความลงกระทู้แล้วโดน ลบ ตบแต่งข้อความ.......
ที่เขียนมาทั้งหมดข้าพเจ้าก็ฝึกฝนอยู่ในแนววิชชาธรรมกายที่พูดหรือกล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย)
#8
โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 08:01 PM
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[354] กรรมฐาน 40 (ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต, สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา, อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต — mental exercises; subjects of meditation)
1. กสิณ 10 ดู [315]
2. อสุภะ 10 ดู [336]
3. อนุสติ 10 ดู [335]
4. อัปปมัญญา 4 ดู [161]
5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร — perception of the loathsomeness of food)
6. จตุธาตุวัฏฐาน (กำหนดพิจารณาธาตุ 4, พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ; ธาตุมนสิการ ก็เรียก — analysis of the four elements)
7. อรูป 4 ดู [207]
กรรมฐานใดให้ได้สมาธิถึงขั้นใด ดู [99] ภาวนา 3; กรรมฐานใดเหมาะกับจริตใด ดู [262] จริต 6.
ดังนั้นผู้ถาม ถามมาว่า กสินไฟ คืออะไร ก็จะตอบได้ว่ากสิณไฟอยู่ใน กสิณ 10 มีดังนี้
[315] กสิณ 10 (วัตถุอันจูงใจ, วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ — meditation devices)
ก. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป —Element-Kasina)
1. ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ — the Earth Kasina)
2. อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ — the Water Kasina)
3. เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina)
4. วาโยกสิณ (กสิณคือลม — the Air Kasina: Wind Kasina)
ข. วรรณกสิณ 4 (กสิณคือสี — Color Kasina)
5. นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว — the Blue Kasina)
6. ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง — the Yellow Kasina)
7. โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง — the Red Kasina)
8. โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว — the White Kasina)
ค. กสิณอื่นๆ
9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina
สรุป เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina) คือแปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์" กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน <LI>แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า <LI>ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ <LI>การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ <LI>ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต <LI>อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ <LI>สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ <LI>เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา
ส่วนหลักธรรมธรรมกาย คือ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=14636
และวิธีฝึกคือ http://www.dhammakay...tation_th_4.php
แนะนำด้วยนะครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[354] กรรมฐาน 40 (ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต, สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา, อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต — mental exercises; subjects of meditation)
1. กสิณ 10 ดู [315]
2. อสุภะ 10 ดู [336]
3. อนุสติ 10 ดู [335]
4. อัปปมัญญา 4 ดู [161]
5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร — perception of the loathsomeness of food)
6. จตุธาตุวัฏฐาน (กำหนดพิจารณาธาตุ 4, พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ; ธาตุมนสิการ ก็เรียก — analysis of the four elements)
7. อรูป 4 ดู [207]
กรรมฐานใดให้ได้สมาธิถึงขั้นใด ดู [99] ภาวนา 3; กรรมฐานใดเหมาะกับจริตใด ดู [262] จริต 6.
ดังนั้นผู้ถาม ถามมาว่า กสินไฟ คืออะไร ก็จะตอบได้ว่ากสิณไฟอยู่ใน กสิณ 10 มีดังนี้
[315] กสิณ 10 (วัตถุอันจูงใจ, วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ — meditation devices)
ก. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป —Element-Kasina)
1. ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ — the Earth Kasina)
2. อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ — the Water Kasina)
3. เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina)
4. วาโยกสิณ (กสิณคือลม — the Air Kasina: Wind Kasina)
ข. วรรณกสิณ 4 (กสิณคือสี — Color Kasina)
5. นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว — the Blue Kasina)
6. ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง — the Yellow Kasina)
7. โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง — the Red Kasina)
8. โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว — the White Kasina)
ค. กสิณอื่นๆ
9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina
สรุป เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina) คือแปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์" กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน <LI>แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า <LI>ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ <LI>การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ <LI>ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต <LI>อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ <LI>สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ <LI>เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา
ส่วนหลักธรรมธรรมกาย คือ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=14636
และวิธีฝึกคือ http://www.dhammakay...tation_th_4.php
แนะนำด้วยนะครับ