ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอคำอธิบายจากผู้รู้เพิ่มเติม


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr34015

usr34015
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 March 2010 - 08:23 PM

ขอคำอธิบายจากผู้รู้เพิ่มเติม ไปอ่านเจอมา
นิมิตจำแนกได้ ๒ ส่วนคือนิมิตภายนอก กับนิมิตภายใน นิมิตภายนอก ได้แก่สิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็นเข้าโดยสิ่งนั้นมีอยู่จริง มาปรากฏให้รู้ให้เห็นจริงๆ ส่วน นิมิตภายใน เป็นสิ่งที่จิตคิดนึกปรุงแต่งขึ้นเอง การจำแนกว่านิมิตที่เห็นนั้น เป็นนิมิตภายนอกหรือนิมิตภายใน กระทำได้โดยย้อนเข้ามารู้จิตผู้รู้ เมื่อย้อนเข้ามาถึงจิตผู้รู้แล้ว เวลาที่ย้อนกลับออกไปรู้นิมิตนั้น หากเป็นนิมิตภายนอก เช่นโอปปาติกะมาขอส่วนบุญ หรือขอฟังธรรม ภาพของโอปปาติกะนั้นจะยังคงอยู่ แต่หากนิมิตนั้นจิตปรุงแต่งขึ้นเอง พอย้อนออกจากจิตผู้รู้ จะไม่พบเห็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้นมาอีก เพราะการย้อนเข้าไปรู้จิตผู้รู้นั้น ได้ทำลายความปรุงแต่งของจิตเสียแล้ว

นักปฏิบัติในขั้นเริ่มแรกจำนวนมากหลงวุ่นวายอยู่กับเรื่องนิมิต สนใจไต่ถามแต่เรื่องนิมิต บางคนปฏิบัติเพื่อนิมิตก็มี เช่นปฏิบัติเพื่อจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในนิพพาน หรือไปไหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์ บางคนปฏิบัติเพื่อจะเห็นดวงแก้วบ้าง เห็นพระพุทธรูปในกายบ้าง สิ่งเหล่านี้ยังหาสาระแก่นสารไม่ได้ ถือเอาเป็นสรณะใดๆไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ เป็นของแปลกปลอม เป็นสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้จริง


ผู้ปฏิบัติไม่ควรตื่นเต้นกับสิ่งที่ถูกรู้ เพราะสาระแก่นสารของการปฏิบัติอยู่ที่ จิตผู้รู้ จึงควรสนใจที่จะศึกษาเรื่องจิตผู้รู้ ยิ่งกว่าเรื่องสิ่งที่ถูกรู้ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นถึงเรื่องการรู้เห็นโอปปาติกะ แท้จริงโอปปาติกะเป็นเรื่องธรรมดามาก พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวถึงโอปปาติกะอยู่บ่อยครั้ง ผู้ปฏิบัติไม่ควรปฏิเสธ แต่ก็ไม่ควรให้โอปปาติกะมาเป็นเจ้าหัวใจ สิ่งที่ควรทำเมื่อพบโอปปาติกะคือการแผ่เมตตา และหากไม่ต้องการพบโอปปาติกะ ก็จงอย่าเผลอตัวส่งจิตออกนอก "
จาก http://wittawatpage....ndex03_01.shtml
พอคลิกไปอ่านต่อปรากฎว่าไม่ได้ เลยงง ว่าถ้านั่งให้เห็นองค์พระแล้ว ประโยชน์มันคืออะไร นอกจาการมีสมาธิที่นิ่ง เราไม่ควรยึดติดใช่ไหม รบกวนผู้รู้หน่อยคะ เด็กใหม่หัดนั่ง+ยังไม่ค่อยเข้าใจมากพอ

#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 28 March 2010 - 09:13 PM

ถูกต้องครับ ที่ว่า นิมิตนั้น ไม่ว่าจะไม่ภายนอกตัว หรือ ภายนอกตัวก็ไม่ควรยึดถือไว้เป็นที่พึ่งครับ ที่ควรต้องยืดถือเป็นที่พึ่ง คือ ของจริงแท้ ที่ไม่ใช่นิมิตน่ะครับ

เพียงแต่ต่างกันตรงที่ นิมิตภายนอกตัวนั้น ไม่ควรยึดถือไว้เลย เพราะเป็นนิมิตเลื่อนลอยแทบทั้งนั้น อาจจะมีของจริงบ้างแต่ผู้ฝึกใหม่ก็ไม่ทราบอยู่ดี ดังนั้น ท่านจึงแนะนำกันมาว่า นิมิตภายนอกตัวนั้น ไม่ควรไปยืดถือเลย

แต่นิมิตภายในตัวนั้น หากไม่ได้เกิดที่กลางตัว ก็ให้น้อมมาไว้ที่กลางตัวครับ
ส่วนนิมิตที่เกิดขึ้นที่กลางตัว ก็ไม่ควรยึดเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ให้ทิ้งไปเลย แต่ให้ใช้เป็นทางผ่านเพื่อไปพบของจริงไงล่ะครับ

เหมือนอะไร เหมือนเราต้องการแก่นของต้นไม้ เราไปหาที่ก้อนหิน เจอมั้ยครับ แก่นต้นไม้ ย่อมไม่เจอใช่มั้ยครับ เราต้องวางก้อนหินทิ้งไปใช่มั้ยครับ
เอ้า เอาใหม่ เราต้องการแก่นแท้ของต้นไม้ เราก็เลยไปคว้าต้นไม้ขึ้นมา ถามว่า ได้แก่นต้นไม้หรือยังครับ ตอบว่ายัง
ได้แค่เปลือกต้นไม้ (แต่ในเปลือกมีแก่นอยู่) คราวนี้เราจะไม่ทิ้งต้นไม้ไป แต่เรากระเทาะเปลือกเข้าไปหาแก่น เท่านั้นเอง

นิมิต กับของจริง(แก่นแท้สัจธรรม) ก็เช่นเดียวกัน
นิมิตภายนอกก็เหมือน ก้อนหิน (ไม่ใช่แก่นต้นไม้) เราไม่ควรไปยึดถือเลย ให้ปล่อยวางไป (หรือดูเฉยๆ ไม่สนใจก็ได้)
นิมิตภายใน ก็เหมือน เปลือกต้นไม้ (ยังไม่ใช่แก่น) จริงอยู่เราไม่ควรยึดถือเช่นกัน แต่เราจะปฏิบัติต่างจากก้อนหิน ใช่มั้ยครับ ถ้าเป็นก้อนหิน(นิมิตภายนอก) เราอย่าสนใจเลย แต่ถ้าเป็นเปลือกต้นไม้(นิมิตภายใน) ให้น้อมมาวางกลางตัว
นิมิตกลางตัว ก็เหมือนกระพี้ต้นไม้ (ยังไม่ใช่แก่น) ซึ่งเราก็ไม่ควรอยู่ถือเช่นกัน แต่เราจะกะเทาะกระพี้เข้าไปหาแก่นแท้น่ะครับ โดยหยุดในหยุดเข้าไปภายใน กลางของกลาง เดี๋ยวเราก็จะพบของจริง ที่ไม่ใช่ก้อนหิน ไม่ใช่เปลือกต้นไม้ ไม่ใช่กระพี้ต้นไม้ แต่เป็นแก่นแท้ของต้นไม้น่ะครับ

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติไปเจอนิมิต บางท่านก็ไม่ได้เข้าใจถ่องแท้ หลงไปยึดติดนิมิตก็มีอยู่ เหมือนคนต้องการแก่นต้นไม้ ไปเห็นก้อนหิน หรือ เห็นเปลือกต้นไม้ ก็ยึดถือเข้าใจว่าพบแก่นแท้แล้ว อย่างนี้ก็มี

ส่วนบางท่านก็ไม่เข้าใจถ่องแท้เช่นกัน ปล่อยวางนิมิตไปเสียหมดสิ้นน่ะครับ นิมิตบางอย่างควรปล่อยวาง แต่นิมิตบางอย่างควรยึดในเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ของจริงน่ะครับ เหมือนคนต้องการแก่นต้นไม้ แต่ไปเห็นก้อนหิน พี่แกก็ขว้างทิ้ง ครั้นไปเห็นต้นไม้ พี่แกก็ขว้างทิ้งไปทั้งต้นเลย อย่างนี้เลยไม่ได้แก่นต้นไม้กันพอดี พอเข้าใจมั้ยครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 มองอย่างแมว

มองอย่างแมว
  • Members
  • 722 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:NYC

โพสต์เมื่อ 29 March 2010 - 01:55 AM

แนะนำให้ฟังไฟล์ mp3 ที่หลวงพ่อนำนั่งสมาธิไฟล์นี้ดูนะครับ

http://www.kalyanami...ount.asp?id=825

ความยาวประมาณ 35 นาที นั่งสมาธิไปฟังไปเดี๋ยวจะมีคำอธิบายเรื่องนิมิตให้ฟัง
ซึ่งจะตอบคำถามที่ถามมาได้อย่างดีเลยครับ
"ฉุดมันเอาไว้ หยุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันรวนเร ต้องหยุดนิ่งสุดใจ หยุดมันเอาไว้ ฉุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันซวนเซ ต้องฉุดให้ใจหยุด"
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)

#4 Yenta4

Yenta4
  • Members
  • 21 โพสต์
  • Interests:Dhamma

โพสต์เมื่อ 29 March 2010 - 07:49 PM

จากที่เคยอ่านวิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เขียนเกี่ยวกับวิธีฝึกสมาธิ 40 วิธี ท่านกล่าวถึงวิธีที่จะผ่านสภาวะธรรมตั้งแต่สภาวะธรรมเบื้องต้นไปจนถึงสภาวะธรรมที่ละเอียดๆยิ่งขึ้น เช่นเมื่อฝึกใจจนสงบนิ่งผ่านจาก ขณิกสมาธิ(หมายถึงสมาธิช่วงแรกที่ยังไม่แนบแน่น) อุปจารสมาธิ(สมาธิเกือบจะแนบแน่น) จนถึงอัปปนาสมาธิ(สมาธิแนบแน่น หรือที่เรียกว่าเข้าถึง "ฌาน" นั่นเอง) ซึ่งวิธีที่ท่านพูดถึงคือ ให้เพิกอารมณ์ฌานต่างๆ ถึงจะสามารถผ่านอารมณ์ฌานทั้งรูปฌานและอรูปฌานไปได้ แต่ก่อนที่จะเพิกนิมิตหรือารมณ์ฌานได้ ก็ต้องมีสิ่งนั้นเกิดขึ้นก่อน เพราะถ้าไม่มีก็เพิกไม่ได้จริงไหมครับ เหมือนเป็นจุดเริ่มเบืองต้นก่อนที่จะเดินทางต่อๆไป (ตรงนี้ให้ไปฟังไฟล์เสียงของคุณครูไม่ใหญ่ที่คุณมองอย่างแมวนำมาโพสไว้นะครับ ชัดเจนมากๆ และคุณหัดฝันก็อธิบายไว้ดีอยู่แล้ว)

คำว่าเพิก หมายถึง ให้ปล่อย ไม่นึก ไม่ใส่ใจ แต่ไม่ใช่ให้ไปปฏิเสธอารมณ์ฌานหรือปฏิเสธนิมิตนั้นๆว่า ไม่เอา ไม่อยากเห็น หรืออยากเห็น อยากได้ โดยสรุปก็คือให้ทำเฉยๆนั่นเอง ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านสรุปหลักปฏิบัติสมาธิออกมาให้เข้าใจง่ายๆแก่นักปฏิบัติรุ่นหลังไว้แล้วว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ" ซึ่งท่านก็เทศน์ไว้อีกว่า "หยุดคำเดียวเท่านั้นถูกทางสมถะตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆ" จะเห็นได้ว่าหลักการปฏิบัตินั้นตรงกัน ถูกกัน ซึ่งครูบาอาจารย์ของเราท่านสรุปไว้ให้เราหมดแล้ว ขอแค่เราทำให้สม่ำเสมอและถูกวิธีเท่านั้นครับ

ดังนั้นปฏิบัติสมาธิไปเถิด ไม่ต้องกลัวติดนิมิตครับ เราปฏิบัติเพื่อหยุดนิ่งให้บริสุทธิ์เข้าไปภายในเป็นชั้นๆ อยู่แล้ว และเมื่อถึงดวงธรรมภายใน กายภายใน เราจะแยกออกได้เองว่า นิมิตที่เรานึกในตอนต้นกับสภาวะธรรมะภายในที่เราเข้าถึงจริงๆต่างกันอย่างไร เหมือนเราเห็นหุ่นขี้ผึ้งกับคนจริงๆ เราก็สามารถแยกออกได้ใช่ไหมครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้แล้ว "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" เมื่อเราปฏิบัติจนเข้าถึงธรรม เราจะรู้แจ้งธรรมได้ด้วยตนเอง... อนุโมทนาครับ happy.gif





#5 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 March 2010 - 08:35 PM

สาธุกับทุกท่าน ตอบได้ดีมากทุกคำตอบ.

#6 Airy

Airy
  • Members
  • 162 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 April 2010 - 03:47 AM

แนะนำดีมากครับ..ผมฟังไม่รู้เบื่อ...เลย

สรุปว่านิมิต..ไม่ให้ยึด..ไม่ให้ทิ้ง..ให้ดูเฉยๆแล้วน้อมเข้ากลางตัว ขอบคุณมากครับ ...สาธุ..สาธุ..สาธุ..

พอคลิกไปอ่านต่อปรากฎว่าไม่ได้ เลยงง ว่าถ้านั่งให้เห็นองค์พระแล้ว ประโยชน์มันคืออะไร
นอกจาการมีสมาธิที่นิ่ง เราไม่ควรยึดติดใช่ไหม รบกวนผู้รู้หน่อยคะ เด็กใหม่หัดนั่ง+ยังไม่ค่อยเข้าใจมากพอ


นั่งให้ได้องค์พระนั้น...แค่ได้เข้าเรียนอนุบาลครับ...

ยังมีชั้น ปฐม..มัธยมต้น...มัธยมปลาย...

วิทยาลัย...มหาวิทยาลัยอีกครับ...

มีปริญญาเอกให้เรียนอีกหลายร้อยใบครับ...ขึ้นกับคุณจะเลือกสายและวิชาเอาเอง เรียนเองตามความถนัด

แต่ที่สอน..สอนแค่อนุบาลครับ..หลังจากนั้นเรียนได้ด้วยตัวเองแล้วครับ..(ไม่ต้องสอนกันแล้วทีนิ..ไปเองได้โลด)

#7 Airy

Airy
  • Members
  • 162 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 April 2010 - 04:53 AM

อย่าเสียเวลาสงสัยอะไรอยู่เลยครับ.....นั่งอย่างเดียว...เดี๋ยวก็รู้..

มีสุดยอดอาจารย์...รออยู่ภายใน...ถามได้ทุกเรื่อง...เรียนได้ทุกอย่าง...ล้วนเป็นสุดยอดวิชาทั้งนั้น..

วิชายอดมนุษย์น๋ะ...เรียนทั้งชีวิตไม่จบ...ยิ่งเรียนยิ่งสว่าง..ยิ่งเรียนยิ่งทึ่ง..เออะตรงกับข้อธรรม

ของพระพุทธเจ้าทุกข้อเลย..ไม่ขัดแย้งกันเลย..เห็นยิ่งกว่าการมองเห็น 6 ด้านเลย

เห็นกระทั่งฉากหลังและกลไกของธรรมชาติทั้งหมด..เห็นทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเลย

นี่ละครับคือปัญญาจริงๆ...เป็นปัญญาที่ไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาซ้ำอีกแล้วครับ

ที่กล่าวว่าในกายมีพระไตรปิดกนี่แหละครับ

(อย่าเสียเวลาไปพิจารณานั้น..นี่..โน้น..อย่างงัน..อย่างงี้..อยู่เลย.เช่น..แขน..ขา..เอ็น..เนื้อ..หนัง..กระดูก..

คากิ..เลือด..หนอง..หลวงปู่สดแนะทางสายกลางง่ายๆ ให้แล้วครับ คือตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว)