แจกหนังสือ ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
#1
โพสต์เมื่อ 20 December 2007 - 04:19 PM
อันนี้ตัวอย่างคร่าวๆ
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อันทำให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กลายเป็นอัจฉริยะบุคคลที่่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ของโลกเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนในปี ค.ศ. 1905 เมื่อผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์พร้อมกันถึง ๕ ชิ้น และชิ้นหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพจำเพาะอันมีูสมการ e = mc2 ที่สร้างคุณอย่างอเนกอนันต์พอ ๆ กับการสร้างโทษอย่างมหันต์
ก่อนหน้าทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ดิฉันซาบซึ้งในบุญคุณของอัลเบร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากที่สุดแทนมนุษยชาติ นั่นคือ อะไรคือจุดคงที่อันเป็นอนันตยะที่สมบูรณ์ของจักรวาล What is the absolute ruling point in nature?
ดิฉันไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์และไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจ ดังที่นักข่าวมักขอร้องให้ไอน์สไตน์สรุปสั้น ๆ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้คืออะไีร ทำไมจึงสำคัญต่อมนุษยชาติมาก ไอน์สไตน์มักรู้สึกลำบากใจเพราะนี่เป็นความรู้ที่เขาปลุกปล้ำอยู่ถึง ๑๕ ปี แล้วจะให้มาสรุปให้คนฟังอย่างสั้น ๆ ได้อย่างไร ไอน์สไตน์จึงเฉตอบนักข่าวด้วยเรื่องที่ขบขันว่า
“คุณลองเอามือวางเหนือเตาร้อน ๆ สักหนึ่งนาทีสิ คุณจะรู้สึกว่ามันนานเหมือนหนึ่งชั่วโมง แต่หากคุณไปนั่งอยู่ใกล้หญิงสาวสวยสักหนึ่งชั่วโมง คุณจะรู้สึกว่ามันนานเหมือนเพียงนาทีเดียว นั่นแหละคือทฤษฎีสัมพัทธภาพของผมแหละ”
เรื่องการสรุปความคิดหลัก ๆ นี่แหละ เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการรู้รายละเีอียด เพราะเป็นเรื่องของการสร้างกรอบ หรือ โครงสร้างของความคิด ฉะนั้น สิ่งที่ดิฉันจะสรุปอันเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์จึงเป็นความรู้ที่ย้อนกลับไปในชั่วโมงวิทยาศาสตร์สมัยที่ยังเรียนชั้นมัธยม เพราะคุณครูย่อมหยิบยื่นแต่ความคิดหลัก ๆ ที่พูดอย่างสรุปย่อ ๆ เท่านั้น และดิฉันยังดึงความคิดแบบสรุปเหล่านี้ออกมาจากหนังสือสารานุกรมของเยาวชนรวมทั้งการดูสารคดีต่าง ๆ ด้วย บวกกับความรู้ในเรื่องพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ดิฉันจึงสามารถต่อยอดแจกแจงความคิดเหล่านี้ออกมาได้
ทำไมไอน์สไตน์จึงอยากหาจุดคงที่
เพื่อความชัดเจนมากขึ้น ขอให้เข้าใจว่า “จุดคงที่” กับ “จุดปกติ” มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งดิฉันจะใช้ทดแทนกันตั้งแต่บัดนี้เพื่อให้เหมาะสมกับข้อเปรียบเทียบ
สิ่งที่ดิฉันให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ทำไมไอน์สไตน์จึงต้องการหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่ออะไร สิ่งที่ดิฉันทำความเข้าใจได้คือ ถ้าหากไอน์สไสตน์สามารถหาจุดปกติของจักรวาลที่อยู่อย่างคงทนถาวร มีค่าสมบูรณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เขาจะสามารถใช้จุดปกตินั้นเป็นมาตรฐานการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ และย่อมทำให้ผลของการวัดอะไรต่าง ๆ คงที่ ปกติ ได้ผลเหมือนกันหมด absolute value ไม่ว่าจะวัดจากจุดไหนของจักรวาล
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่สามารถหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลได้ เพราะว่า สิ่งต่าง ๆ ที่แม้ดูนิ่ง ๆ บนโลก ไม่เคลื่อนไหวก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่นิ่งจริง เพราะโลกกำลังหมุนอยู่ เมื่อดูในวงกว้างออกไปจากนอกโลก ก็พบว่าระบบสุริยะจักรวาลก็กำลังเคลื่อนอยู่ แกแลกซี่ของเราและอื่น ๆ ก็กำลังเคลื่อนอยู่ ตลอดจนถึงจักรวาลทั้งหมดก็กำลังเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดนิ่งหรือจุดปกติที่สามารถให้คุณค่าที่เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง
สัมพันกับอนิจจังและนิพพาน
ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เปรียบเหมือนกับการพบสี่แยกหลักที่สามารถเดินเลี้ยวต่อไปได้อีกมากมายหลายทางทีเดียว ในขณะที่ไอน์สไตน์เลี้ยวไปสู่แยกที่เน้นความรู้ทางด้านฟิสิกส์เพียงอย่างเดียวจนก่อให้เกิดการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ พลังงานปรมณูและเทคโนโลยี่อื่น ๆ อีกมากมายนั้น ดิฉันจะพยายามพาคุณเลี้ยวไปสู่แยกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขทุกข์ของชีวิตของเราโดยตรง ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องครอบจักรวาล ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต เพราะความคิดทั้งหมดเหล่านี้สัมพันกับเรื่องอนิจจังและพระนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเรื่องครอบจักรวาลเช่นกัน จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันพยายามจะโยงให้คุณในหนังสือเล่มนี้
เมื่อไม่รู้จุดคงที่ของจักรวาล
เมื่อไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดคงที่ในจักรวาล ย่อมหมายความว่า การวัดอะไรต่าง ๆ จะต้องสมมุติจุดคงที่ขึ้นมาก่อน และวัดสิ่งต่าง ๆ จากจุดสมมุตินั้น ซึ่งผลที่ได้จะมีค่าสัมพัทธ์กับจุดปกติที่ถูกสมมุติขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจชัดเจนมากขึ้น ดิฉันจะเรียกแทนจุดคงที่นี้ว่า “พรมแดนสุดท้าย the final frontier” (บทที่ ๔) เพื่อให้สอดคล้องกับการยกตัวอย่างที่จะวัดความใกล้ไกลของสถานที่
เมื่อคุณไม่รู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ก็ความหมายว่าคุณไม่รู้ขอบเขตที่เป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลที่สามารถใช้เป็นเสาหลักมาตรฐานเพื่อวัดความใกล้ไกลของทุกสถานที่ในจักรวาลนั่นเอง เช่น หากคุณต้องการทราบว่า เชียงใหม่อยู่ไกลแค่ไหน คุณจะถามลอย ๆ ไม่ได้ คุณต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดก่อนว่าคุณต้องการวัดความใกล้ไกลของเมืองเชียงใหม่จากจุดไหนเสียก่อน จึงจะพูดกันรู้เรื่อง ไม่เช่นนั้น เถียงกันตาย
หากคุณเอากรุงเทพเป็นหลัก นั่นคืือ สมมุติให้กรุงเทพเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ไกลจากกรุงเทพ ๖๐๐ กิโลเมตร หากคุณเอาสงขลาเป็นหลัก เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากสงขลา ๑๖๐๐ กิโลเมตร หากสมมุติให้กรุงลอนดอนเป็นหลักหรือเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากลอนดอนถึง ๖๐๐๐ กิโลเมตร เป็นต้น ฉะนั้น คุณจะเห็นว่า ๖๐๐, ๑๖๐๐, ๖๐๐๐ กิโลเมตรคือค่าสัมพัทธ์อันเป็นผลของการสมมุติจุดนิ่งหรือจุดพรมแดนสุดท้ายขึ้นมาเพื่อวัดความใกล้ไกลของสถานที่ ฉะนั้น การตัดสินว่าใครอยู่ใกล้หรือไกลเชียงใหม่จึงขึ้นอยู่ที่ว่า คุณอยู่จุดไหน คนอยู่ลอนดอนก็ต้องเห็นว่าเชียงใหม่ไกลมาก ใครอยู่สงขลาก็ย่อมเห็นเชียงใหม่ไกลกว่าคนอยู่กรุงเทพ ใครอยู่ลำปางก็ย่อมเห็นว่าเชียงใหม่อยู่ใกล้นิดเดียว นี่คือ การพูดอย่างสัมพัทธ์ relatively speaking อันเป็นผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพ
เมื่อรู้จุดคงที่
แต่ถ้าคุณรู้จุดคงที่ จุดนิ่ง หรือจุดปกติของจักรวาล หรือ รู้แน่ชัดว่าพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลอยู่ตรงไหนแล้วละก็ ทีนี้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ซอก ซอย ไหนของจักรวาลก็ตาม คุณก็สามารถวัดจากจุดที่คุณอยู่และไปจรดที่เสาหลักสุดท้ายหรือพรมแดนสุดท้าย หรือ จุดปกติของจักรวาล ทุกคนจะสามารถทำได้เหมือนกันหมดเพราะรู้เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลแล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะอยู่ ณ จุดไหนของจักรวาล ก็สามารถวัดจากจุดที่ตนเองอยู่และไปจรดที่เสาหลักอันเป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาล การวัดนั้นก็จะเป็นมาตรฐานสากลของจักรวาล ได้ค่าคงที่เหมือนกันหมด ฉะนั้น คนอยู่กรุงเทพ เชียงใหม่ สงขลา ลอนดอน หากจะวัดความใกล้ไกล ก็ต้องวัดไปที่เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลก่อน ซึ่งอาจจะได้ค่าตามลำดับเช่นนี้คือ ๑.๕ ล้านปีแสง ๑.๕๒ ล้านปีแสง ๑.๕๔ ล้านปีแสง ๒ ล้านปีแสง เป็นต้น นี่เป็นการสมมุติว่าหากเรารู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ทุกคนจะรู้แน่ชัดว่า ใครอยู่ใกล้หรือไกลจากจุดคงที่หรือพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลมากน้อยแค่ไหน นี่คือ การพูดอย่างแน่นอน absolutely speaking เพราะรู้จุดเที่ยงแท้แน่นอนของจักรวาล นี่คือเหตุผลที่ไอน์สไตน์อยากหาจุดคงที่ของจักรวาล เพื่อจะได้ใช้เป็นมาตรฐานหลักของจักรวาล แต่อย่างที่พูดแล้วว่า ความรู้ของไอน์สไตน์เน้นไปที่เรื่องฟิสิกส์เพียงถ่ายเดียวเท่านั้น
#2
โพสต์เมื่อ 20 December 2007 - 08:13 PM
ม่ายมีตังค์ซื้อ
ชอบมากๆเลย
ดีใจจัง จะได้อ่านแล้ว
อนุโมทนาบุญด้วยน้าคะ
" ไกลพ่อใจเราเข้ากลาง
แม้ห่างเข้ากลางเหมือนใกล้
ใกล้พ่อใจห่างกลางไป
เหมือนไกลพ่อลับลิบตา "
`๏`
" ใจพ่อไม่เคยห่างไกล
อยู่ใกล้หรือไกลเหมือนใกล้
ลูกเอ๋ยอยู่กลางจำไว้
อยู่ไกลเหมือนใกล้พ่อเอย"
_/l\_
..................................
#3
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 08:06 AM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#4
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 08:06 AM
#5
โพสต์เมื่อ 21 December 2007 - 10:34 AM
#6
โพสต์เมื่อ 23 December 2007 - 06:41 AM
#7
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 02:11 PM
#8
โพสต์เมื่อ 28 December 2007 - 10:35 PM
และจะเอาไปถ่ายเอกสารให้เพื่อน พี่ น้อง อ่านด้วยครับ