ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

คำว่าอุเบกขา แปลว่าอะไรคะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 putharat2525

putharat2525
  • Members
  • 55 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 July 2009 - 06:08 PM

คำว่าอุเบกขา แปลว่าอะไรคะ
ที่หลวงพ่อ งานส่วนตัวให้ว่างอุเบกขา
งานพระศาสนาให้เอาอุเบกขาวาง

#2 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 July 2009 - 09:15 PM

อุเบกขา แปลว่า วางเฉย ครับ

เรื่องส่วนตัวให้วางเฉยไว้ก่อน งานพระศาสนาอย่านิ่งดูดาย


จุดประสงค์หลักของการมาเกิดเป็นมนุษย์ คือทำพระนิพพานให้แจ้ง สร้างบารมี เอาติดตามไปข้ามภพข้ามชาติ

เรื่องส่วนตัวบางคนมักจะขวางการสร้างบารมี ก่อนมาสร้างบุญมักจะมีเรื่องอะไรมาขวาง
แต่พอตัดใจเพื่อมาสร้างบารมี ทำใจหยุดนิ่งนั่งสมาธิ เรื่องส่วนตัวที่วุ่น ๆ กลับดีขึ้น

แต่ถ้าหนักหน่อย ก็ถือเป็นวิบากกรรมที่มาขัดขวางการทำความดีของเรา



อย่าลืมมาบูชาข้าวพระกันนะครับ

ไฟล์แนบ


รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 29 July 2009 - 12:22 PM

อุเบกขา หมายถึง วางเฉยในสิ่งที่เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทั้งที่เราได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่สุดแล้วน่ะครับ

เช่น ยกตัวอย่าง เด็กเตรียมอุดม(ในอดีต) สองท่าน
ท่านที่หนึ่ง ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือเลย พอไปสอบ ผลสอบออกมาเกือบตก แต่ก็ผ่าน แม้ว่าจะได้ที่โหล่ของห้องก็ตาม แต่เด็กคนนี้ก็สบายใจที่ตนเองผ่านได้ ไม่รู้สึกเสียใจว่า ตนต้องได้ที่โหล่ของห้อง อย่างนี้เรียกว่า มีอุเบกขา รู้จักวางเฉย ทำใจได้ ยอมรับกับสภาพที่เกิดขึ้น เพราะตัวเองก็ไม่ค่อยดูหนังสือเอง จะไปโทษใคร

ท่านที่สอง อ่านหนังสืออย่างเต็มที่หามรุ่งหามค่ำ ผลสอบออกมาได้ที่สองของห้อง แทนที่จะได้ที่หนึ่ง ปรากฏว่า เด็กคนนี้เสียใจมาก ทำไมตนต้องได้ที่สอง ตนอ่านหนังสือขนาดนี้แล้ว ต้องได้ที่หนึ่งสิ ทำไมได้ที่สอง คิดวนเวียนเช่นนี้ด้วยความเสียใจ อย่างนี้ เขาเรียกว่า ไม่รู้จักวางอุเบกขาน่ะครับ

ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ควรรู้จักวางอุเบกขา แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวม เช่น พรุ่งนี้จะจัดพานไหว้ครูของนักเรียนชั้นนั้นชั้นนี้ ปรากฏว่า เด็กคนหนึ่ง กลับพูดว่า เรื่องจัดพานไหว้ครู มันเป็นเรื่องของหัวหน้าห้อง ผมหรือหนูไม่เกี่ยวว่าแล้วก็รีบกลับบ้าน ปล่อยให้คนที่เหลือไปจัดการกันเอง แล้วมาบอกว่า ตัวเองวางอุเบกขา อย่างนี้เป็นการกระทำที่ผิดน่ะครับ ไม่ใช่หลักของอุเบกขาที่ถูกต้อง

ส่วนอีกคนหนึ่งบอกว่า เรื่องจัดพานไหว้ครู เป็นภารกิจของนักเรียนทั้งห้องต้องช่วยกัน จะให้แต่หัวหน้าห้องทำคนเดียว หาควรไม่ ว่าแล้วก็ไปชักชวนเพื่อนๆ มาช่วยหัวหน้าห้องจัดพานไหว้ครู อย่างนี้จึงเรียกว่า เรื่องพระศาสนา(เรื่องส่วนรวม) ให้เอาอุเบกขาวาง น่ะครับ


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 July 2009 - 08:24 PM

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18642

http://www.dmc.tv/fo...php/t15785.html

http://www.dmc.tv/fo...x.php/t371.html
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 29 July 2009 - 08:48 PM

อนุโมทนา คำตอบของทุกท่านนะครับ

เรื่องส่วนตัว ให้วางอุเบกขา
เรื่องพระศาสนา ให้เอาอุเบกขาวาง


มีความหมายหมาย ตามที่เพื่อนกัลยาณมิตร ขยายความไว้ดีแล้ว ครับ
โดยเฉพาะพี่ หัดฝัน และท่านอื่น ในกระทู้เก่า ที่พี่ WISH ลิ้งค์ไว้ให้

สาธุ

เพิ่มมุมมองเรื่อง ความหมายของ คำ ใน ภาษาเขียน ภาษาพูด สักนิดครับ
โดยส่วนตัวผมคิดว่า
คำแต่ละคำ และ คำศัพท์เฉพาะ ในทางศาสนาหรือวิทยาการเฉพาะด้าน
สามารถตีความ อธิบายได้หลายความหมาย หลายนัยยะ หลายความลุ่มลึก ในแต่เหตุการณ์นะครับ

คำว่า อุเบกขา ก็เช่นกัน

เมื่อใช้ในความหมายทางโลก ก็มีนัยยะ ในแบบที่คนทางโลก เข้าใจ ยอมรับ

เมื่อใช้ในทางธรรม เช่น อุเบกขา ในพรหมวิหารธรม ๔ , อุเบกขาบารมี ฯล
แม้มีความหมายคล้าย ๆ กัน
ทว่า อาจขยายความเฉพาะด้าน มีรายละเอียดต่างกันได้ และมีความลุ่มลึกหลายระดับ ตามลำดับ ๆ

เหมือนคำว่า ความสุข

ความสุขแบบทางโลก ทางโลกียะ ทางอายตนะหยาบ ๆ ก็มีความหมาย นัยยะแบบหนึ่ง
และมีความลุ่มลึก ละเอียด ปราณีต หลายหลายระดับชั้น
เช่น
ความสุข กิน กาม เกียรติ ของ คนจน คนรวย
ก็เหมือนกันในความหมาย ความรู้สึก
และต่างกันในปริมาณ ความละเอียด ปราณีต

โลกียะสุข ( ความสุข ) ของมนุษย์ กับโลกียะสุข ( ความสุข ) ของทิพย์
เหมือนกันในความหมาย ความรู้สึก
แต่ก็ต่างกันในปริมาณ ความละเอียด ปราณีต ทั้งทางอายตนะ และ สัมผัส ๕

ความสุขในทางธรรม โลกุตตระ ก็มีความหมาย นัยยะแบบหนึ่ง
และแม้ความสุขในทางธรรม ก็ยังมีปริมาณ ละเอียด ปราณีต ความสะอาด บริสุทธิ์ ลุ่มลึก ต่างกัน

ขอรวบรัด มาลงที่
คำว่า อุเบกขา
ผมชอบในความหมายของ การฝึกจิต ฝนใจ มากกว่านัยยะอื่น
คือ
กิริยาไม่ยินดี ไม่ยินร้าย , เฉย ๆ
เมื่อดำเนินใจเข้าสู่สภาวะธรรมภายใน ณ กึ่งกลางกาย
ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 Sunshine

Sunshine
  • Members
  • 363 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2009 - 09:54 AM



อนุโมทนาบุญในคำขยายความทั้งหมด

มีหลายคนถามคำแปล พี่ได้แต่ตอบตามความเข้าใจของเราเอง

ตอนนี้ก็ไปตอบคนอื่นได้แจ่มขึ้นค่ะ


#7 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 July 2009 - 10:59 AM

สาธุค่ะ อิอิได้ความรู้ไปด้วย