จิต และ ใจ
#1
โพสต์เมื่อ 17 February 2006 - 11:53 PM
#2
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 01:14 AM
ขอเดาเอานะครับว่า
กาย คือ ที่อยู่อาศัยของ ใจ หรือ จิต หรือ วิญญาณ
ใจ จิต วิญญาณ คือ สภาวะหรือระดับความละเอียดของใจในระดับต่างๆ ครับ
ใจ ทำหน้าที่รับรู้ อารมณ์จากภายนอกเข้ามากระทบกับใจภายใน แล้วทำให้ใจรู้สึกดีใจเสียใจ หรือเฉยๆ ก็เรียกว่าใจ
จิต คือ คุณสมบัติทั้งหมดของใจ ไม่ว่าจะเป็น เห็น จำ คิด รู้ หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประชุมรวมกันละเอียดกว่าใจ เรียกว่า จิต
เช่น เจริญสติปัฎฐาน 4 เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นต้น
วิญญาณ คือ ตัวรู้ หรือตัวรับรู้ ที่อยู่ในจิต ละเอียดกว่า ใจ และละเอียดกว่า จิต เรียกว่า วิญญาณ
กายกับใจเป็นของคู่กัน เมื่อมีกายก็ต้องมีใจ ลองรับเสมอ หรือที่ภาษาพระทั่วไปเรียกว่า
รูปนาม
ใจ จิต วิญญาณ ต่างกันด้วยความละเอียด และคุณสมบัติ
เหมือนกันเพราะเรียกสั้นๆ ว่า ใจ
********************************************************
ฝึกจิต ก็คือ ฝึก เห็น จำ คิด รู้ ให้หยุดรวมเป็นจุดเดียวกัน
ฝึกใจ ก็คือ ฝึกใจให้ละวางขันธ์ 5 คือกาย ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายให้มากที่สุด หยุดนิ่งจนเกิดเป็นจิต ณ ภายใน
บังคับจิต คือ ไม่หยุดก็บังคับให้หยุด วอกแวกก็บังคับให้นิ่ง เห็นด้วยใจในนิมิตไม่นิ่งก็ต้องบังคับให้มองด้วยใจให้นิ่งๆ ให้ได้ เป็นต้น
บังคับใจ คือ บังคับใจที่สอดไปในอารมณ์ภายนอก ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ให้มารวมหยุดลงที่ใจ บังคับใจให้จดจ่อที่จิต ละวางกาย หรือสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย เรียกว่า บังคับใจ เป็นต้น
***ผิดถูกประการใดขออภัยด้วยครับ ท่านใดทราบเชิญร่วมบุญด้วยครับสาธุ***
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#3
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 09:58 AM
#4
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 03:37 PM
ใจ
อยู่ที่ไหน? อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือความเห็นอยู่ที่ท่ามกลางกาย ความจำอยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ ความคิดอยู่ท่ามกลางดวงจิต ความรู้อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณ เห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้หมดทั้งร่างกาย ส่วนเห็นเป็นต้นของรู้ ส่วนจำเป็นของเนื้อหัวใจ ส่วนคิดเป็นต้นของดวงจิต ส่วนรู้เป็นต้นของดวงวิญญาณ
ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในอยู่ในกลางดวงจิต
ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอกอยู่ในกลางเนื้อหัวใจ
ดวงจำ กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่งเท่าดวงตาทั้งหมด
ดวงเห็น อยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป นั่นเป็นดวงเห็น
ดวงเห็นนั่นแหละ ธาตุเห็นมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละเรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น
ดวงจำ ธาตุจำมันอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงคิด ธาตุคิดมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงรู้ ธาตุรู้อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมเป็นจุดเดียวกันเรียกว่า "ใจ"
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง
"หลักการเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน"
#5
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 04:30 PM
สรุปก็คือ จิต มันเป็นส่วนประกอบของใจอีกทีน่ะครับ เพราะจิตเกิดจากความคิด ซึ่งความคิดนั้น รวมกับ ความเห็น ความจำ ความรู้ จึงประกอบขึ้นมาเป็นใจ
Someday I'm gonna be free.
#6
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 07:10 PM
น้าจี้
#7
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 07:15 PM
[attachmentid=2408]
จากภาพบนอธิบายว่า ใจนั้นมีองค์ประกอบหลักอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ ประการ ซึ่งทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อผัสสะที่เข้ามากระทบสู่ดวงจิตที่ซ้อนอยู่ภายใน ได้แก่ เห็น ๑ จำ ๑ คิด ๑ รู้ ๑ ส่วนภาพล่าง แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดต่างๆ ของตำแหน่งอันเป็นฐานที่ตั้งดั้งเดิมของใจ (ฐานที่ ๗)
ปล. เห็นพี่ xlmen กับคุณถูกส่วนเข้ามาโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้ ผมเลยช่วยหาภาพมาประกอบเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่านให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันนะครับ สาธุ... สาธุ... สาธุ...
ไฟล์แนบ
#8
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 12:36 AM
น้าจี้
#9
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 12:47 AM
#10
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 02:59 PM
ตอบแบบเดาๆ อีกเช่นเคยครับ
จิต คือ ธรรมชาติที่รู้ได้ เห็นได้ จำได้ คิดได้ เรียงใหม่คือ เห็น จำ คิด รู้
เจตสิก คือ อารมณ์ของจิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ กุศลาธรรมา(อารมณ์ดี) ,อกุศลาธรรมา(อารมณ์ชั่ว),
อัพยากตาธรรมา (อารมณ์กลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว อารมณ์เฉยๆ)
ถ้าเปรียบใจหรือจิตเป็นเช่นน้ำแล้ว
เจตสิกเปรียบได้กับ ตะกอนในน้ำ หรือสารเจือปนในน้ำ
เมื่อตะกอนในน้ำมันมีมากอยู่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นสิ่งที่อยู่ใต้น้ำได้ ดังนั้นถ้าหากใช้สารส้มทำให้ตะกอนในน้ำตกลงก่อน ตะกอนก็จะเกิดการนอนก้น น้ำก็จะใสได้ และสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ในน้ำได้อย่างชัดเจน
ขี้ตะกอน หมายถึง อกุศลมูล แบ่งออกเป็น โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหะมูลจิต
สารส้ม หมายถึง กุศลมูล แบ่งออกเป็น อโลภมูลจิต อโทสมูลจิต อโมหะมูลจิต
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#11
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 04:15 PM
พี่ตอบว่าเป็นตะกอน หรือสารเจือปน ถูกต้องนะครับ แต่หากเป็นผม ผมจะเปรียบเจตสิกเป็นเช่นดั่งสีหลากสีที่ละลายอยู่ในน้ำอันเปรียบเสมือนกับดวงจิต และถ้าจะสรุปให้ง่ายขึ้นแล้ว เจตสิก คือ อารมณ์อันทำหน้าที่ในการปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในสภาวะต่างๆ นั่นเองครับ
#12
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 10:29 PM
น้าจี้
#13
โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 01:13 AM