ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทำไมมนุษย์ส่วนใหญ่จึง....


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 neoclassic

neoclassic
  • Members
  • 46 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 08:23 PM

ทำไมมนุษย์ส่วนใหญ่จึงคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นปัญหาที่ใหญ่เสมอ ทั้ง ๆ ที่บางทีเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่? ช่วยตอบแบบแนวธรรมนะครับ (.. ) ขอบคุณครับ

#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 08:45 PM

เป็นเพราะมนุษย์จะสนแต่เรื่องของตนเอง จนไม่ได้คิดว่า คนอื่นเขาก็มีปัญหา
มีชีวิตของเขาเหมือนกัน

ไม่รู้ทางธรรมเท่าไหร่ค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 09:14 PM

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ เขาเอาใจไปตั้งไว้ผิดที่ เมื่อเอาใจไปตั้งไว้ผิดที่ (ไม่วางไว้ที่ศูนย์กลางกาย) ซึ่ง ณ ตำแหน่งซึ่งเป็นจุดที่จะนำเอาใจไปวางนั้น คือ เส้นทางสายกลาง คือ เส้นทางซึ่งเมื่อนำเอาใจไปวางไว้อย่างสงบแล้ว เป็นหนทางอันก่อให้เกิดปัญญา แต่ตนกลับไม่วาง ทอดธุระเสีย เพราะเหตุนี้เอง ปัญญาอันเป็นเครื่องช่วยในการแก้ไขปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จึงไม่เกิด เพราะฉะนั้น เขาจึงหาทางออกให้กับตนเองไม่ได้ และเฝ้าครุ่นคิดอยู่เนืองๆ ว่า "ปัญหาที่เขาได้ประสบพบเจอนั้นเป็นเรื่องใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับน้อยนิด (อย่าง) มหาศาล"

#4 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 09:19 PM

สาธุ

คำตอบลึกอีกตามเคยนะพี่
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#5 neoclassic

neoclassic
  • Members
  • 46 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 09:39 PM

ถ้าเกิดว่าเราเอาใจไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกลาย (ก็คือการทำสมาธิ ใช่มั้ยครับ) ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่าเราต้องทำใจให้เป็นสมาธิตลอดเลยเหรอครับ ฉนั้นเราก็ไม่มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่นเลยเหรอครับ (ถ้าความคิดนี้ไม่ถูกต้องประการไรช่วยไขให้กระจ่างด้วยนะครับ)

#6 New

New
  • Members
  • 95 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 10:02 PM

จริงๆแล้วการเอาใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลานั้น เป็นสิ่งที่ดีเพราะนั่นหมายความว่าเรามีสติสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา

ถ้าจะพูดไป มนุษย์มักคุ้นกับการเอาใจไปอยู่นอกตัวหรือนอกสูญกลางกายมากกว่า ทำให้คิดว่าการเอาใจไว้ศูนย์กลางกายเป็นเรื่องยาก ทั้งๆที่จริงการเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย คือการทำใจให้หยุดนิ่ง มีสติไว้ตลอด เป็นกรณียกิจ กิจที่แท้จริงของมนุษย์ทุกคน (คือการกลั่นกายวาจาใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย โดยการดำเนินใจไปตามเส้นทางสายกลาง ผ่านกลางกายของตัวเราเอง) มนุษย์เรามักจะคุ้นกับกิเลส หรือสิ่งที่จูงให้ใจเดินออกไปนอกเส้นทางของพระนิพพาน

จริงๆถ้าพูดกันแล้ว คนที่เริ่มฝึก หรือหาทางหลุดพ้นจากกิเลส ก็คงต้องบังคับใจตนเองหรือเรียกได้ว่าจะเริ่มรู้สึกไม่เคยชินกับการเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย ต่อเมื่อทำได้จนชำนาญ เราก็จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นการฝืน หากแต่เป็นการเคยชิน และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

เปรียบได้กับการเดินของมนุษย์ ถามว่ามีใครเดินได้ตั้งแต่เกิดเลยหรือไม่ คำตอบคือก็คงไม่มี(นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) แต่ทุกคนก็มาฝึกฝนกันจนเดินเป็นทั้งนั้น ถามว่าตอนฝึกเดินใหม่ๆ เราสามารถเดินไป ยกแขนไป หรือเดินไปคุยไป เดินไปยกไม้ยกมือทำท่าต่างๆไปด้วยได้หรือเปล่า ก็คงไม่ เพราะจะทำให้ไม่สามารถเดินได้ หรือล้มลงก่อนที่จะเดินได้ เช่นเดียวกันกับการหัดประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย ใหม่ๆก็เหมือนกับการฝึกเดิน คือถ้าใจเราตรึกที่กลางกาย ก็จะทำอย่างอื่นไม่ได้ แต่ถ้าทำอย่างอื่นก็จะตรึกไม่ได้ แต่เมื่อหัดไปบ่อยๆแล้ว มันก็จะเป็นการเคยชิน เป็นอัตโนมัติไปเอง ไม่ว่าจะทำอะไรเราก็จะมีสติระลึกรู้ที่กลางกายเสมอๆ เหมือนกับการเดินเช่นกัน เมื่อเราฝึกเดินจนแข็งดีแล้ว ก็จะสามารถยกมือยกไม้ ทำท่าทำทางต่างๆในขณะที่เดินได้ โดยที่ท่าทางเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการเดินลดลงไป ดีไม่ดี เมื่อเดินคล่องๆแล้ว จะวิ่งไปรำไปก็คงทำได้อย่างสบายๆ

พอจะเข้าใจตัวอย่างที่ยกมาบ้างไหมครับ พยาพยามอธิบายให้เห็นภาพ แหะๆๆ

#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 10:07 PM

ต้องขอปรับความเข้าใจกันเสียก่อนนะครับว่า การทำสมาธินั้น เราใช้จิตทำนะครับ ไม่ได้ใช้มือ ใช้เท้าทำ (เพราะนั่นเป็นเพียงท่าในการนั่ง) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถบำเพ็ญบุญกิริยานี้ได้ในทุกอิริยาบถไม่ว่าจะ นั่ง นอน ยืน เดิน นอกจากนี้ ยังสามารถทำควบคู่ไปกับภาระกิจประจำวันของเราได้อีกด้วย (โดยไม่ทำให้เสียการเสียงาน) ดังคำกล่าวที่ว่า "ข้างนอกเคลื่อนไหว ข้างในหยุดนิ่ง" นั่นแหละครับ

#8 New

New
  • Members
  • 95 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 10:10 PM

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ของ จขกท นะครับ

คนเรามักจะเห็นว่าเรื่องของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่เพราะ เป็นเรื่องของตนเอง มนุษย์ทุกคนรักตัวเองมากที่สุดอยู่แล้ว ฉนั้นเรื่องของตัวเองจึงสำคัญกว่าสิ่งอื่น

อีกอย่างนะครับ ผมคิดว่าใจของเราแต่ละคน จะมีการรับรู้หรือหรือมึความรู้สึกนึกคิด อยู่กับตัวของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เรื่องของคนอื่น บางทีก็ลืมไปบ้าง ถ้าใส่ใจมากก็ลืมช้าแต่ถ้าไม่ใส่ใจก็ลืมไว แต่ตัวเราสิ เราอยู่กับตัวของเราตลอดเวลา ดังนั้นจึงเห็นเรื่องที่มากระทบต่อตัวเราได้เยอะกว่าเรื่องของคนอื่น เราจึงอยู่กับเรื่องที่กระทบกับเรานานกว่าเรื่องของคนอื่น ดังนั้นจึงทำให้เราคิดถึงตัวเอง และรู้สึกว่าปัญหาของตัวเองมากกว่าคนอื่น

อีกอย่างหนึ่งผมคิดว่า ปัญหานั้นจะใหญ่หรือหนักแค่ไหน มันก็อยู่กับมุมมองของคนแต่ละคนเหมือนกัน ว่าเราเอาเรื่องของเราไปเทียบกับอะไร เช่น ถ้าเรารู้สึกว่าเรามีเงินไม่พอใช้ในแต่ละวัน ถ้าเทียบกับคนมีเงินเยอะๆแล้ว เราดูแย่เหมือนกัน แต่เมื่อเทียบกับวณิพกแล้ว เรายังสบายกว่าพวกเขาตั้งมาก บางทีเรื่องแบบนี้ มันก็น่าจะขึ้นกับการเปรียบเทียบปัญหาของเราว่าเราไปเทียบกับอะไร เรามีการคาดหวังในใจมากน้อยเพียงใด กับเรื่องที่เกิดขึ้นกับเรา

พอจะเข้าใจสิ่งที่ผมเขียนไปไหมครับ เขียนไม่ค่อยจะเก่งน่ะครับ เหอๆๆ

#9 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 10:23 PM

ปัญหาเกิดที่เหตุ ถ้ายังหาเหตุไม่เจอปัญหาก็ยังใหญ่อยู่ครับ

ถ้าหาเหตุเจอปัญหาก็จะเล็กลง หรือหมดปัญหาครับ

ก่อนอื่นต้องตั้งปัญหาก่อนว่า มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ธรรมกาย มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน
1. มนุษย์มีกายหยาบ กว่าทุกกายที่กล่าว
2. มนุษย์มีจิตหยาบกว่าทุกกายที่กล่าว
3. มนุษย์มีสมาธิสั้นกว่าทุกกายที่กล่าว
4. มนุษย์มีความไม่รู้ติดตัวมาตั้งแต่วันแรกเกิด ไม่เหมือนกายที่กล่าว
ฯลฯ

ดังนั้นถ้ามีความสงสัยว่าเหตุใดจึงทำสมาธิไม่ก้าวหน้า ก็ต้องบอกว่า ความยึดมั่นถือมั่น และความไม่รู้ ความลังเลสงสัย ทำให้จิตยึดติดในสังขาร ยึดติดในอารมณ์ ยึดติดในจิตที่หยาบ สมาธิจึงไม่เกิด

การฝึกสมาธิก็คือ การหยุดกิเลส ที่มาจากใจทั้งปวงให้สงบลง น้อยลง ถ้าสมาธิมาก อารมณ์ที่ปรุงแต่งใจก็น้อยลง หยุด สงบ นิ่ง ณ ภายในได้มาก

เมื่อจิตสงบนิ่ง ปล่อยวางความยึดมั่นด้วยกายหยาบ ปล่อยความยึดมั่นด้วยจิตหยาบ ใจก็จะเคลื่อนเข้าไป ณ ภายใน ยิ่งใจละเอียดสงบระงับจากกิเลสมาก กายและใจภายในก็ละเอียดมาก สงบมาก บริสุทธิ์มาก ความรู้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะหาเหตุของปัญหาก็จะเกิดมาเองครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#10 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 10:37 PM

QUOTE
มนุษย์มีแก่เจ็บตาย ไม่เหมือนกายที่กล่าว

ผมขอเสริมว่า จากคำที่ขีดเส้นใต้นั้น คงมีเพียงแต่ "กายธรรม" อันเป็นกายที่พ้นโลกแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะกายอื่นที่เหลือล้วนแต่เป็นกายที่ข้องอยู่ในภพและไม่เที่ยงทั้งสิ้น

#11 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 11:09 PM

ไวจังครับ ผมลบไม่ทันน้องก้องฯเลยครับเนี่ย 5555
หลุดครับ ขออภัยอย่างแรง
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#12 neoclassic

neoclassic
  • Members
  • 46 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 01:55 AM

ขอบคุณครับทุกข้อความที่ไขข้อข้องใจ แต่คิดไปคิดมาแล้วคนที่มีสติตลอดเวลานั่นก็หมายถึง พระอรหันต์เท่านั้น

#13 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 02:51 AM

พระอรหันต์ท่านทรงสติตลอดเวลาจริงครับ ดังนั้นการเจริญสติปัฎฐาน 4 มีสติเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม จึงเป็นสิ่งที่ควรเจริญเป็นอย่างยิ่งครับ อย่าได้ท้อแท้หรือมองว่าพระอรหันต์เท่านั้นที่เจริญได้แล้วเราจะเจริญไม่ได้เลยครับ เพราะก่อนที่ท่านจะบรรลุเป็นพระอรหันต์อดีตท่านก็เคยเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละครับ ขอให้พยายามต่อไปเถอะครับอย่าท้อแท้เสียก่อน เพราะการท้อแท้ก็เท่ากับยอมจำนวนต่อกิเลสมาร ซึ่งก็หมายถึงการต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกนับชาตินับภพไม่ถ้วนเลยทีเดียวครับ

สติ สัมปชัญญะเป็นอุปการะให้เกิดสมาธิ ๆ เป็นอุปการะให้เกิดปัญญา
การฝึกจิตให้มีสติ ก็คือการที่จิตมีสติรู้เท่าทันกิเลสในตัวตลอดเวลาครับ โดยไม่ปล่อยให้อกุศลจิตเข้าแทรก ถ้านั่งสมาธิแม้นจิตไม่สงบก็รู้เท่าทันว่าไม่สงบ จิตสงบก็รู้ว่าจิตสงบ จิตซัดส่ายก็รู้เท่าทันว่าจิตซัดส่าย จิตวอกแวกก็รู้เท่าทันว่าจิตวอกแวก จิตไม่จดจ่อในบริกรรมภาวนาก็รู้ว่าจิตไม่จดจ่อ เป็นต้นครับ ฝึกสติทุกอริยาบถจะช่วยเป็นอุปการะให้การทำสมาธิได้ในอนาคตครับ

หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน