นั่งเพลิน ๆแล้วถูกดูดมาที่กลางท้องอย่างแรง
#1
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 08:55 AM
#2
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 09:49 AM
#3
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 09:55 AM
1.ทำเฉยๆ ปล่อยให้มันดูด แบบเพลินๆต่อไป
2.เลิกนั่งไปเลย
3.นอนหลับ
ลองไปฟังหลวงพ่อฯนำนั่งสมาธิ แล้วตัดสินใจดู ว่าจะเลือกข้อไหน
#4
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 04:46 PM
เมือเห็นแล้วก็มาต่อวิชชา และเจริญวิชชาและวิปัสสนาที่แท้จริงต่อไป แม้ไม่เห็นอะไรเลยก็ให้พิจารณาธรรมะบ่อยๆครับ ให้ใจเราใสสว่างด้วยธรรมะ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#5
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 08:13 PM
#6
โพสต์เมื่อ 06 October 2010 - 10:51 PM
ก็ฝึก ถูกดูดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชินเอง
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#7
โพสต์เมื่อ 08 October 2010 - 07:57 AM
#8
โพสต์เมื่อ 08 October 2010 - 06:37 PM
หลวงปู่ท่านสอนไว้ว่า "ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิดประเสริฐนัก" และ "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"
ให้น้อง นรอ.usr33640 ลองทำดังนี้ดูนะ
จำอารมณ์สบายที่ทำให้ใจรวมหยุดนิ่งแล้วทำให้เกิดอาการถูกดูดที่กลางท้องเอาไว้ น้อมเอาอารมณ์นั้นมาเป็นที่ตั้งของการทำสมาธิในครั้งต่อๆไปทุกครั้ง วางใจที่ศูนย์กลางกายและปล่อยใจให้อยู่กับอารมณ์สบายอย่างนั้นไปเรื่อยๆโดยไม่คาดหวังอะไรทั้งสิ้น ให้อารมณ์สบายนั้นหล่อเลี้ยงใจของเราไปให้นานที่สุดตรงที่ศูนย์กลางกาย ทำอย่างนี้ทุกๆวันต่อเนื่อง แล้วจะมีวันหนึ่งที่ใจจะถูกดูดเข้าไปภายในอีก และจะเป็นบ่อยๆเพิ่มมากขึ้น ก็ขอให้สละเวลาหาเวลานั่งเพิ่ม วันละหลายๆครั้ง ครั้งละนานๆขึ้น ประสบการณ์จะดีขึ้นและมั่นคงขึ้นไปเป็นลำดับ
และเวลาตอนที่ใจถูกดูดเข้าไปอีก ก็อย่าตื่นเต้น หรือตกใจ กลัว หรือดีใจ ให้ประคองใจหยุดนิ่งเฉยๆต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ดูประสบการณ์ภายในไปเรื่อยๆเหมือนเป็นเรื่องปกติ อย่าเอ๊ะอ๊ะหรือสงสัยใดๆ ให้รักษาความนิ่งของใจต่อไปอย่างสบายๆ เราเป็นเพียงผู้ดูไม่ใช่ผู้กำกับ ดูไปเรื่อยๆอย่างสบายๆ และอย่าให้มีความทะยานอยากเข้าครอบงำใจ แล้วประสบการณ์ภายในจะดีขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำเป็นที่ประสบการณ์จะต้องเหมือนกันทุกครั้ง เวลามีประสบการณ์ภายในอะไรเกิดขึ้น ก็ให้สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่ามันเป็นของมันอย่างนั้นเอง หยุดนิ่งอย่างเดียว เท่านั้น...
และการถูกดูดเข้าไปภายในนั้น จะมี 2 แบบ
แบบที่ 1 ก็คือแบบที่น้องได้สัมผัสแล้ว คือ แบบถูกดูดแรง แบบนี้มักทำให้เราที่ยังไม่เคยชิน อาจรู้สึกกลัว ตกใจ หรือสงสัย ก็เป็นเรื่องธรรมดา เดี๋ยวเคยชินแล้วจะหายไปเอง (การถูกดูดแบบที่ 1 นี้เป็นขั้นตอนที่กำลังปรับจากหยาบภายนอกไปสู่ความละเอียดภายใน) แสดงว่าน้อง นรอ.usr33640 มาถูกทางแล้ว ให้ขยันนั่งสมาธิให้ต่อเนื่องในช่วงนี้จะทำให้ใจหยุดได้ง่ายขึ้นและมีประสบการณ์ที่ดีขึ้นไปเป็นลำดับ
แบบที่ 2 ก็คือแบบถูกดูดอย่างนุ่มนวลเพียงแค่เสี้ยววินาทีก็หลุดเข้าไปมิติภายในทันที ไม่มีการอาการเหมือนแบบที่ 1 (วื้ดเดียวแบบนุ่มๆเบาๆสบายๆแล้วเข้ากลางภายในไปเลย) อย่างนี้จะไม่รู้สึกตกใจกลัว แต่จะตื่นเต้น หรือสงสัยบ้าง ก็ทำบ่อยๆให้เคยชินแล้วจะหายไปเอง ซึ่งแบบที่ 2 นี้ เกิดจากการทำสมาธิมาอย่างต่อเนื่องจนบุญบารมีอินทรีย์ในตัวพร้อมที่จะเข้าถึงธรรมภายในมาก เมื่อหยุดใจนิ่งได้ถูกส่วน ก็จะเกิดการดูดเข้าสู่ภายในแบบที่ 2 ดังกล่าว
และไม่ว่าประสบการณ์ภายในของเราจะเป็นแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 ก็ดีทั้งนั้น และก็ให้ใช้สูตรเดียวกันคือ หยุดนิ่งเฉยอย่างเบาๆสบายๆให้ต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ (หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ เป็นคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ที่หลวงพ่อท่านนำมาสอนไว้)
แบบที่ 1 จะมีอาการถูกดูดไปสักพัก ถ้าเราสามารถประคองใจนิ่งๆต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจจะถูกส่วน แล้วจะตกศูนย์เข้าไปสู่มิติภายใน จะพบกับความสว่าง เป็นจุดเล็กๆบ้าง เป็นแสงสว่างคลุมไปทั่วทุกทิศบ้าง ฯลฯ ก็ให้ใช้ใจหรือความรู้สึกที่เป็นตัวเรามองเข้าไปที่กลางความสว่างนั้น ให้ใจไปหยุดอยู่ตรงนั้นอย่างสบายๆ ให้นานที่สุด เมื่อใจละเอียดถูกส่วนมากยิ่งขึ้น เดี๋ยวดวงปฐมมรรคจะผุดขึ้นมาจากศูนย์กลางกายกลางท้องของเราให้เห็นเอง
แบบที่ 2 จะไม่มีอาการถูกดูดเหมือนแบบที่ 1 จะวื้ดเดียวแล้วจะตกศูนย์เข้าไปสู่มิติภายในไปเลยอย่างนุ่มนวลเบาสบาย ต่อจากนี้ก็ให้ทำเหมือนกับที่แนะนำไปในแบบที่ 1 จนดวงปฐมมรรคผุดขึ้นมาให้เราเห็น
เอาแค่นี้ก่อน ...
ถ้ามีประสบการณ์มาถึงตรงนี้แล้วเมื่อไหร่ ก็ให้ใจของเราหยุดนิ่งเฉยอย่างสบายๆที่ตรงศูนย์กลางของดวงปฐมมรรค หรือสิ่งที่เรากำลังเห็นต่อไปเรื่อยๆ แล้วประสบการณ์จะพัฒนาต่อไปเองอย่างเป็นธรรมชาติจนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายภายใน
บุญรักษา
#9
โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 10:16 AM
จริง ๆ แล้วผมเคยนั่งได้ในระดับฟ้าสางนะครับนั่งไปชั่วโมงที่่ 2 รู้สึกเหมือนมีเมฆจาง ๆ เคลื่อนผ่านแล้วค่อย ๆ สว่างขึ้นๆ ก็ถามตัวเองว่าไหนว่าต้องเห็นองค์พระกับดวงแก้ว ทำไมมีแต่เมฆจาง ๆ ลอยผ่าน ก็เลยเลิกนั่งครับ( ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษานะครับ ว่าเขาจะเริ่มเป็นอย่างไรก่อน เน้นนั่งอย่างเดียว เพราะตอนนั้นนั่งแล้วมีความสุขทุกครั้งแม้ใครเปิดเพลงดัง ๆ เมื่อเข้าสมาธิแล้วก็ไม่สนใจนั่งได้ครับ นั่งตรงไหนก็ได้ขอให้มีที่นั่งก็พอ )
ขอกราบนะมัสการครับ นักเรียนอนุบาล 33640
#10
โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 12:30 PM
ความชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย คนดีทำได้ยาก
ดังนั้น ความดี ทำได้ง่ายมากๆๆๆ
#11
โพสต์เมื่อ 16 October 2010 - 11:33 PM
วิธีแก้ การกลัวความสูง
สมัยยังเด็กจนถึงวัยรุ่น(นิสิตปี 1)หลวงพี่เองก็เคยกลัวความสูงเช่นกัน เฉียดไปใกล้ที่สูงเมื่อใดจะรู้สึกหวิวๆที่ใจ แล้วร่างกายมันจะเริ่มเซ แล้วก็รู้สึกกลัวขึ้นมาทันที แต่เมื่อมาเข้าชมรมพุทธที่จุฬาฯแล้ว ศึกษาและปฏิบัติธรรมะมากขึ้น อยู่มาวันหนึ่งก็บอกกับตนเองว่า จะต้องเลิกกลัวความสูงให้ได้
เลยไปยืนจับราวเหล็กบนระเบียงนอกหน้าต่างบนชั้นของตึกที่สูงๆแล้วหลับตา แล้วค่อยๆลืมตามองแล้วมองลงไปข้างล่างพื้นดิน ก็เกิดอาการใจหวิว แล้วความกลัวก็ตามมา ก็หลับตาลง(อยู่สักพักใหญ่) จนความรู้สึกใจหวิวค่อยๆหายไปและความกลัวค่อยๆหายไป(โดยคิดสอนตนเองว่า ที่เรากลัวเรากลัวอะไร อ่อ..เรากลัวตายนั่นเอง ก็บอกกับตนเองว่า ก็จับราวเหล็กแน่นซะขนาดนี้ ไม่ตกลงไปตายหรอก อย่ากลัวตายไปเลย เราจะไม่กลัวตายๆๆๆๆ บอกตนเองอย่างนี้อยู่หลายๆครั้งในใจ) ก็จะลืมตาดูใหม่ ก็เกิดอาการใจหวิว และกลัว แต่ปริมาณจะน้อยลงกว่าครั้งแรก ก็หลับตาลง รอจนอาการหวิวและกลัวค่อยๆหมดไป ก็ลืมตาดูใหม่ (แน่นอน มือยังจับที่ราวเหล็กแบบแน่นสุดชีวิต และไม่กล้าขยับตัวเลย).....ก็ให้ทำสลับกันไปใน
ลักษณะนี้หลายๆครั้ง จนกระทั่งพอเราลืมตาดูข้างล่างพื้นดินแล้วเราไม่รู้สึกใจหวิว และไม่รู้สึกกลัวอีก ก็เป็นอันเสร็จพิธี (ถ้าให้ดี พาเพื่อนที่ไม่กลัวความสูงไปยืนอยู่ข้างๆเราด้วย เราก็จะรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เผื่อมีอะไร เพื่อนมันจะได้ช่วยเราได้ทัน)
จากนั้นมา ความรู้สึกกลัวความสูง ก็หายไปเลย (แต่ก็ยังต้องระวังที่สูงอยู่ดี เพราะเราจะประมาทไม่ได้) แต่ใจจะไม่หวิว และไม่กลัวความสูงอีกต่อไปเวลาที่ต้องเฉียดไปใกล้บริเวณขอบพื้นที่สูงๆ...
วิธีแก้ การกลัวความสูง(ในสมาธิ)
ต้องสู้ด้วยความไม่กลัว จึงจะผ่านประสบการณ์นี้ไปได้ อย่ากลัว อย่าลืมตา ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างที่มันเป็น ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น มีอะไรให้ดูก็สักแต่ว่าดูไป รู้อะไรก็สักแต่ว่ารู้ แล้วทิ้งทฤษฎีทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดไปก่อน รักษาใจให้นิ่งๆเฉยๆสบายๆอย่างเดียว ให้คิดว่า ตายเป็นตาย(แต่ไม่ยักตายซะที) อย่างไรก็ได้ไปสวรรค์ เพราะเรากำลังทำความดี ให้คิดว่าพระธรรมกายท่านกำลังรอเราอยู่ที่สุดปลายทางนั้น หรือหลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย กำลังรอเราอยู่ที่สุดปลายทางนั้น มีสิ่งดีๆกำลังรอเราอยู่ที่สุดปลายทางนั้น...ให้ปล่อยใจไปเลย อย่ากลัว และก็อย่าอยากที่จะลงไปจนเผลอไปเร่งประสบการณ์ เดี๋ยวจะใจถอนกลับออกมาซะก่อน
สรุปคือ เมื่อใจกำลังดิ่งลงไปตามทางนั้น ก็ให้ปล่อยใจตามไปเลย อย่ากลัว อย่าอยาก อย่าเอ๊ะอ๊ะสงสัยใดๆทั้งสิ้น ให้ทำใจเฉยๆ (โดยประคองใจให้เฉยๆ อย่าไปบังคับใจให้เฉยๆ ต่างกันนะตรงนี้) มีอะไรก็ดูไป รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ประคองใจให้นิ่งๆอย่างเดียว ไปจนกว่าจะถึงที่สุดปลายทางนั้น
และเมื่อไปถึงที่สุดปลายทางนั้นแล้ว จะหลุดเข้าไปสู่มิติภายใน แล้วเมื่อได้พบเห็นประสบการณ์ใดๆในตอนนี้ ก็ให้ทำอย่างเดิมอย่างเดียวคือ ประคองใจให้นิ่งๆ แล้วดูประสบการณ์ที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ มีอะไรให้ดูก็ดูไป แล้วส่งใจหรือความรู้สึกที่เป็นตัวเราไปตรงศูนย์กลางของสิ่งที่เห็น แตะลงไปเบาๆ ทำอย่างนี้เรื่อยไป...
การที่รู้สึกเหมือนใจจะขาด ก็เพราะใจกำลังจะหลุดจากกายหยาบไปสู่มิติภายใน ให้อดทนแล้วสู้ต่อไป แล้วจะดีขึ้นเอง...ลืมตาแล้วรู้สึกเหมือนใจเต้นแรง ก็เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีประสบการณ์มาถึงตรงนี้ อุปมาเหมือนรถ(ใจ)วิ่งมาเร็วๆแล้วกำลังจะหยุดแต่เราดันไปเหยียบเบรคกะทันหัน(ลืมตา) รถ(ใจ)มันก็เลยสั่นไปทั้งคัน(ใจเต้นแรง)
เมื่อมีประสบการณ์ภายในอะไรมาให้ดูให้เห็นก็ตาม ก็อย่าเอ๊ะอ๊ะสงสัย มีอะไรให้ดูก็ดูไป อย่าไปกำกับ อย่าไปปฏิเสธ ดูไปเฉยๆอย่างเดียว และก็ไม่จำเป็นว่า ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นไปตามที่ได้ยินได้ฟังมา และไม่จำเป็นว่าจะต้องเหมือนเดิมทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับความละเอียดของใจเราในตอนนั้นครั้งนั้นว่า จะละเอียดพอเหมาะกับประสบการณ์ใดก็จะเห็นประสบการณ์นั้น ก็แค่นั้นเอง...
และให้พึงพอใจกับทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เราทำได้ เพราะความพอใจจะทำให้ใจของเราเกิดความพอดี และความพอดีจะทำให้ใจของเราเกิดถูกส่วน และเมื่อใจของเราหยุดถูกส่วน ใจจะตกศูนย์แล้วเข้าสู่มิติภายในไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ...
ลองไปปฏิบัติตามดูนะ แล้วมีประสบการณ์อะไรก็มาเล่าให้ฟังต่อแล้วกัน...
อนุโมทนาบุญ สาธุ...
บุญรักษา
#12
โพสต์เมื่อ 17 October 2010 - 12:44 AM
.............
ขอแนะนำผู้ปฏิบัติเพิ่มเติมว่าให้
เพียรพยายามนั่งสมาธิบ่อยๆครับ
อาการที่เห็นนิมิตทั่วๆไป เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนเราฝันไปครับ แต่ถ้าเห็นขนาดนี้ได้แล้ว ให้กำหนดจุดเล็กใสตรงกลางของกลางนิมิตทั่วๆไปนั้น
สักพักหนึ่ง หากเล็งได้ถูก 072 หากวางใจได้ถูกศูนย์ถูกส่วนดี ก็จะเข้าสิบตกศูนย์ ถูกดูดๆๆๆๆๆ ไปฐานที่ 6 ทันทีครับ แล้วจะเห็นดวงปฐมมรรคขึ้นมาทันใจ
หากสติ มากกว่าสมาธิ
จะรู้สึกอาการถูกดึงดูดได้อย่างมาก และมักจะหายไป ไม่เห็นดวง เพราะว่าสติมากเกิน มันแข็งไปครับ ไม่ยอมปล่อยวางให้มันดึงดูดตกศูนย์ไป
หากสมาธิ มากกว่าสติ
โดยมากจะอาการคล้ายคนนอนหลับ หรือเกิดอาการวูบๆ บ่อยๆ และอาจจะมีอาการถูกดูดวูบๆ สักพักหนึ่งเหมือนคนเพิ่งจะฟื้นคืนสติ แต่กลับเห็นดวงสว่างแวววาวเสมือนกระจกส่องเงาหน้า (อาการแบบนี้คล้ายๆที่ผมเห็น แต่ไม่ได้ง่วงนะครับ อิอิ)
หากสติ และสมาธิ เสมอกัน
จะรู้สึกสงบสว่าง สดชื่น แล้วเมื่อหยุดใจถูกส่วนก็จะถูกดูดไปฐานที่ 6 เข้าสิบตกศูนย์เห็นดวงธรรมลอยเด่นที่ฐาน 7 ได้อย่างชัดเจน บางคนก็สดชื่น บางคนก็ตกใจ ดีใจเกินคาด หายไปอีกก็มีครับ แต่พวกนี้จะเห็นกระบวนการต่างๆชัดมากเลยทีเดียว
เมื่อเห็นชัดเจนดีแล้วเป็นอุคคหนิมิต ชัดมากขึ้นเป็นปฏิภาคนิมิต และเข้าสิบตกศูนย์เป็นระดับดวงปฐมมรรคที่แท้จริง คราวนี้ก็จะติดตาติดใจ แม้ไม่ต้องนึกก็เห็นได้ครับ สว่างไสวอยู่อย่างนั้นเลยทีเดียว
...........................
เล็งสิบ เล็งศูนย์ กันให้ดีๆนะครับ แต่มิใช่เล็งจนเกร็ง แค่วางใจง่ายๆเบาๆ ตรงกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส เป็นพอครับ
กดดูครับ กดเลย>>> จุดเล็กใสกลางดวงในดวง
...........................
แต่ว่าสิ่งที่อยากจะเเนะนำก็คือ ทุกท่านจะสงบหรือไม่สงบ จะเห็นดวงหรือไม่เห็นก็ตาม ต้องมีสติฝึกโยนิโสมนสิการบ่อยๆ เริ่มที่เรื่องไตรลักษณ์นี่แหละครับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และธรรมะอื่นๆด้วย
เพราะบางท่านนี่ จี้จะเอาให้เห็นอย่างเดียว แต่ไม่เคยเลยที่จะพิจารณาธรรมะ บางคนหนักเลยพอนั่งแล้วไม่สงบ นั่งมานานหลายปีก็ไม่เห็น เลยท้อแท้ พอกันทีวิชชาธรรมกาย เลิกนั่งเปลี่ยนไปนั่งแบบสายอื่นๆเลย บางคนก็ออกห่างธรรมะไปเลย
เพราะคนเหล่านี้ไม่เข้าใจธรรมปฏิบัติอย่างแท้จริงนะครับ เขารู้แค่ว่านั่งเพื่อเห็น จริงๆแล้วเป็นการนั่งเพื่อภาวนาธรรมครับ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#13
โพสต์เมื่อ 17 October 2010 - 08:55 AM
ขอขอบใจที่เป็นห่วงสุขภาพของหลวงพี่ ก็พยายามจะไม่นอนดึกแล้วเชียว แต่วันนี้เพื่อนสหธรรมมิกชวนให้หลวงพี่ไปบอกบุญกฐินคุณยายกับท่าน ตั้งแต่ 09.45-17.15 น.กว่าจะกลับถึงวัด สรงน้ำเสร็จก็รีบเข้า office มาทำงานรับบุญต่อ ดูดาวธรรมไปด้วย เผลอแป๊บเดียวดึกซะและ ก็แวะเข้ามาดูในเว็บบอร์ด เลยอดไม่ได้ที่จะต้องเข้ามาตอบกระทู้ซะนิดนึง หันไปดูนาฬิกา แล้วก็บอกกับตนเองว่า ลุยตอบต่อไป เพราะอยากให้เจ้าของกระทู้ได้มาอ่านได้ไวๆทันใจทันใช้เอาไปปฏิบัติต่อได้
และช่วง ที่ต้องไปจำพรรษาช่วยงานที่ต่างประเทศ ก็จะเข้าเว็บบอร์ดตามเวลาที่สะดวกในต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเห็นหลวงพี่เข้ามาตอน ตี 3 ก็ได้ในเวลาของเมืองไทยจ้า
ขออนุโมทนาบุญ หลวงพี่โหลด จุดเล็กใสกลางดวงในดวง ไปเรียบร้อยแล้ว สาธุ...
จะพยายามไม่จำวัดดึกจ้า เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และอายุจะได้ยืนๆ....
#14
โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 07:31 PM
#15
โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 07:47 PM
#16
โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 08:56 PM
ถูกต้องแล้ว ใจเริ่มใสแล้ว และที่เวลาลุกขึ้นมามองแล้วหายไปเพราะว่า ใจยังละเอียดไม่พอ พอลืมตาใจเลยถอนออกมา จึงทำให้ไม่เห็นอีก
ควรปฏิบัติดังนี้
พอรู้ตัวจะตื่น แล้วเห็นดวงสว่างอยู่ตรงหน้า ก็อย่าเพิ่งลืมตา ให้ดูไปสักพักแล้วค่อยๆน้อมให้ดวงสว่างนั้นมาอยู่ตรงตำแหน่งศูนย์กลางกายฐานที่ 7 โดยค่อยๆไล่จากฐานที่ 1 มาถึงฐานที่ 7 (ให้ศึกษาภาพที่ตั้งของใจฐานทั้ง 7) โดยทำแบบนี้ทุกครั้งไป ประคองดวงสว่างให้มาอยู่ตรงตำแหน่งดังกล่าวแต่อย่าไปบังคับนะ ค่อยๆทำ และอย่าไปกังวลเรื่องเวลา ถ้ากลัวว่าจะไม่ทันไปทำธุระอย่างอื่น ก็ให้บอกกับตนเองว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นี้นี่แหละ เป็นกิจอันแท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ อย่างอื่นไว้ทีหลัง...
ลองไปทำดูนะ ได้ผลอย่างไรมาบอกแล้วกัน
บุญรักษา
#17
โพสต์เมื่อ 16 December 2010 - 10:20 AM
ขอขอบคุณ know how จากพระอาจารย์และผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านครับ
#18
โพสต์เมื่อ 24 September 2014 - 08:44 PM
กระทู้นี้ชอบมากเลยครับ เลยขออนุญาตขุดกระทู้เก่ามาคุยต่อน่ะครับผม เพราะมีข้อสงสัยนิดๆ
คืออ่านไปจะมีที่บอกว่า "ให้กำหนดจุดเล็กใสตรงกลางของกลางนิมิตทั่วๆไปนั้น
สักพักหนึ่ง หากเล็งได้ถูก 072 หากวางใจได้ถูกศูนย์ถูกส่วนดี ก็จะเข้าสิบตกศูนย์ ถูกดูดๆๆๆๆๆ ไปฐานที่ 6 ทันทีครับ แล้วจะเห็นดวงปฐมมรรคขึ้นมาทันใจ" หรือ "แล้วส่งใจหรือความรู้สึกที่เป็นตัวเราไปตรงศูนย์กลางของสิ่งที่เห็น แตะลงไปเบาๆ ทำอย่างนี้เรื่อยไป..."
- คือจะถามว่า เวลาทำสมาธิแล้วเห็นนิมิตที่เป็นภาพวิวทั่วไป ให้นึกจุดเล็กใสกลางภาพ จะไม่เป็นการเอาสมาธิออกนอกตัวใช่ไหมครับ เมื่อเห็นภาพแล้วให้วางใจไว้กลางท้อง หรือกลางภาพ หรืออย่างไรดีครับ อยากรู้แบบละเอียด