ทำไมถึงทำการบ้าน 10 ข้อ ทั้งวันไม่ได้
#1
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 01:09 PM
แล้วก็พบว่า ตัวใจสูงเองไม่สามารถทำการบ้านครบ 10 ข้อได้สักที ขนาดตอนไปเข้าสมาธิแก้วก็ยังทำได้ไม่ครบเลยอ่า เพราะพอตั้งใจมากไปก็ตึง หย่อนไป ก็ใจฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น T_T
โดยเฉพาะข้อที่ "ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่าตัวเราเป็นพระ พระเป็นตัวเรา"
และ
ข้อที่ "ทุกกิจกรรมให้หยุดใจนึกถึงดวงหรือองค์พระไปด้วย"
จึงอยากได้คำแนะนำ จากทุกท่านค่า ^o^
เพราะใจสูงเชื่อมั่นมากๆๆๆๆ ว่า การทำการบ้านครบทั้ง 10 ข้อ จะทำให้เราเข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้นค่า
อนุโมทนาบุญกับทุกความคิดเห็นล่วงหน้าเลยนะคะ
*************************
http://sasismile.wordpress.com
บล็อกใสๆ ของใจสูงค่า
#2
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 01:43 PM
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยะคุณ ได้แสดงปาถกถา ที่สวนพนาวัฒน์เมื่อ 17-18ม.ค.2551
คราวนี้มารู้จักคุณสมบัติ ของดวงใจ ประกอบด้วย 13 ประการคือ
1. อสรีรํ ใจไม่ใช่กาย ไม่มีสรีระเช่นกาย
2.เอกจรํ ใจเกิดขึ้นทีละดวงใจไม่อยู่นิ่ง เกิดทีละดวงติดต่อเนื่องกันไปเป็นเป็นสาย เกิดเร็วมากเหมือนกระแสไฟฟ้า จึงดูเหมือนว่าไม่ขาดตอน ส่งผลให้ต้องคิดทีละเรื่อง ๆ บางทีเรื่องแรกยังคิดไม่เสร็จมีเรื่องใหม่มาเพราะเป็นคล้ายหยดน้ำทีละหยด
3.คุหสยํ ใจมีกายเป็นที่อยู่อาศัย
4.ทุรงฺคมํ ใจสามารถเที่ยวไปได้ไกล ๆ แม้ร่างกายจะอยู่ตรงนี้แต่สามารถคิดถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จักรวาล บ้าน หรือที่ไหน ๆ ก็สามารถคิดได้อย่างรวดเร็ว
5.สุทุกทสํ ใจเห็นได้แสนยาก
6.ทุนฺนิคฺคหํ ใจหากปล่อยให้เตลิดแล้วควบคุมยาก
7.ลหุ ใจสามารถเกิดดับได้รวดเร็ว
8. ผันทนํ ใจมักหมกมุ่นครุ่นคิดในเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์อันน่าใคร่เหมือนหมูที่ชอบจมปลัก
9. จปลํ ใจมักคิดกวัดแกว่งเหมือนลิง
10.ทุกรักขํ ใจรักษาให้มั่นคงได้ยาก
11.ทุนนิวารยํ ใจห้ามได้ยาก ดื้อรั้นเหมือนแมว
12.ปภัสสรํ ใจมีความสว่างในตัว แต่มืดเป็นครั้งคราวเพราะกิเลสที่จรมา คล้ายเมฆหมอกมายังดวงจันทร์
13.ทันตํ ใจสามารถฝึกได้ พัฒนาได้ ไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อเข้าใจแล้ว การบ้านของ รร.อนุบาล ก็จะรู้ว่าเป็นไปเพื่อพัฒนาใจ สร้างอุปนิสัย ให้ใจอยู่ในบุญกุศล เมื่อตั้งใจมั่น หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะเห็นใจ
#3
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 02:18 PM
การบ้าน 10 ข้อ
1.นำบุญไปฝากคนที่บ้าน
นำบุญไปฝากคนที่บ้าน หมายถึง การเดินทางกลับบ้านด้วยความสดชื่น ด้วยจิตใจสดใสมีพลัง เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา และความเข้าใจถึงสภาวะในบ้านของตน คนใกล้ชิด อย่างพอคาดคะเนได้ว่าในแต่ละวันจะต้องกลับไปพบกับอะไร ทำให้เกิดภาวะเตรียมตัว เตรียมใจ ห่อหุ้มตนไว้ด้วย สภาวธรรมที่ตนเข้าถึง หรือด้วยอารมณ์สดใสแช่มชื่น อย่างพร้อมที่จะพบกับทุกสิ่งบนพื้นฐานแห่งเมตตาธรรมของตน
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ทำให้บุญไหลหล่อเลี้ยงกาย วาจา ใจ ได้ตลอดระยะทางกลับบ้าน
2. สามารถทำให้บุญทับทวีได้ด้วยอารมณ์ที่งดงามและความปีติที่ได้ทำมาและจะทำต่อไปที่บ้าน
3. ถ้ารักษาอารมณ์สบาย หรือวางกลางไว้ได้ตลอดการเดินทางกลับบ้าน ทั้งสภาวธรรมและบุญจะยิ่งมากมาย ตลอดจนทำให้เกิดกุศโลบายในการที่จะทำให้บ้านสดชื่นได้ด้วยตัวเรา
4. เมื่อทำได้สัมฤทธิผลจะเกิดบุญต่อเนื่องมากมาย บุญที่เกิดกับคนอื่น ๆ ย่อมไหลกลับมาหล่อเลี้ยงตัวเรา
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ทำให้คนในบ้าน ในครอบครัว ที่ไม่อาจไปโรงเรียนได้ด้วยภารกิจ ได้รับบุญ ได้รับความสดใสพลอยชื่นใจไปด้วย คือ "ทำให้เกิดบุญขึ้นในใจเขา" นั่นเอง
2. กลับไปยังภาระหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ด้วยความแจ่มใส ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่ปล่อยให้ตกเป็นภาระของใคร เช่น หน้าที่ของบุตร ธิดา ภรรยา สามี ฯลฯ ทำให้เกิดความสุขสุนทรีย์มากขึ้นกว่าเดิม
3. ความสดใส รอยยิ้ม และคำพูดดี ๆ ที่ปรับไปตามสภาพของแต่ละบ้าน แต่ละสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้ไม่เกิดการนึกตำหนิติเตียนตัวเรา ครูบาอาจารย์ของเราและพระพุทธศาสนา
4. ไม่ทำให้บุคคลอื่นเป็นบาป ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เป็นที่รักหรือคนใกล้ชิดกระทำบาป
5. ทำให้บุญไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงคนในบ้าน บรรยากาศในบ้านในครอบครัวเกิดการพัฒนา เกิดสิ่งที่ดีขึ้นได้ด้วยบุญที่เรานำไปฝากเป็นประจำ
วิธีการ
ตั้งจิตอธิษฐานขณะเมื่อพระอาจารย์นำอธิษฐาน ให้การนำบุญไปฝากคนที่บ้านของเราาสัมฤทธิผลด้วยความสดใสทั้งสองฝ่าย ให้เกิดขึ้นโดยง่าย ทั้งประโยชน์ตน (ตัวเรา) และประโยชน์ท่าน (บุคคลในบ้าน)
วางใจเบา ๆ ไว้ที่กลางกาย ไว้ในตัว ไว้ในกลางสภาวธรรมของตน เท่าที่สภาวธรรม สภาวะอารมณ์ของเราจะเอื้ออำนวยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องร้อน เรื่องร้าย เรื่องการวิพากษ์ วิจารณ์ วิจัยใด ๆ
พูดแต่เรื่องดี ๆ คำพูดดี ๆ ยิ้มแย้มแจ่มใส
2. จดบันทึกผลการปฏิบัติธรรม
ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องในเรื่องของการปฏิบัติ การจดบันทึกทำให้เกิดการทบทวน ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งทบทวนยิ่งรู้แจ้ง ยิ่งเกิดบุญ ครั้นเมื่อกลับมาอ่านในตอนเช้า หรือวันต่อไปจะทำให้ธรรมะของเราต่อเนื่องและลุ่มลึก เป็นข้อดีอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดพัฒนาในการปฏิบัติธรรม ทำให้ปรับตนได้ จับอารมณ์ของตัวเองว่าอย่างไรจึงทำให้ธรรมะดี อย่างไรทำให้การปฏิบัติถดถอย หรือละเอียดได้ไม่เท่าเดิม
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ทำให้ผลการปฏิบัติธรรมก้าวหน้าทุกวัน
2. ทำให้เกิดการปรับตัว ปรับอารมณ์
3. ทำให้เข้าใจในการที่จะปรับตัวเอง พิจารณาตัวเอง
4. ทุกครั้งของการจดจะเกิดการทบทวน ทุกครั้งที่ทบทวนบุญจะเพิ่มพูนใสสว่าง ทำให้ภูมิปัญญามีความรู้รอบและรอบรู้ไปโดยปริยาย
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ผลของการพิจารณาตัวเอง ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการปรับตัวในเรื่องของงาน ของชีวิตประจำวัน และเรื่องทั่วไป ทำให้ผู้อื่นพลอยได้รับผลจากการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นของเรา
2. ทำให้เกิดความสามารถในการรับรู้และยอมรับการตักเตือน หรือข้อคิดเห็นของคนอื่นได้มากขึ้น
3. มีความประณีตมากขึ้นในเรื่องทั่วไป ทำให้ลดการกระทบกระทั่งลง
วิธีการ
วางสมุดบันทึกไว้ในที่ ๆ เห็นได้ง่าย บนโต๊ะที่ต้องใช้เป็นประจำ พร้อมด้วยเครื่องเขียนประจำตัว ควรอาบน้ำอาบท่า อยู่ในภาวะที่พร้อม สบายจึงค่อยทำ มิใช่กลับไปถึงไม่ทำอะไร ไม่สนใจใคร ทำแต่เรื่องของตนอย่างนี้ไม่ได้ จะทำให้มองดูเป็นคนเห็นแก่ตนและละเลยคนอื่น ๆ จนเกินไป ยิ่งจดบันทึกในภาวะที่พร้อมสบายกาย สบายใจ สบายอารมณ์ จะยิ่งทำให้ทบทวนได้ชัดเจน เกิดความแจ่มแจ้งกว่าตอนที่ปฏิบัติจริงใจจะสว่างไสวโดยอัตโนมัติ
3. ก่อนนอนนึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมด
หมายถึง ทุกคืนก่อนล้มตัวลงนอน หรือก่อนเข้านอน หรือเมื่ออยู่ในช่วงเวลาก่อนนอนให้นึกถึงความดีที่ทำมาตลอดวัน ตลอดสัปดาห์ ตลอดเดือน ตลอดปี โดยเริ่มต้นที่บุญหรือความดีที่ประทับใจที่สุดเพื่อให้เกิดปีติ จากนั้นความปีตินั้นก็จะทำหน้าที่ดึงดูดบุญหรือความดีอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ หรือทำให้นึกได้อย่างต่อเนื่องจนเกิดความรู้สึกภูมิใจ ปีติใจ ชื่นใจในตนเอง
การนึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมดก่อนนอน มีความสำคัญคือ เมื่อนึกบุญใดบุญหนึ่งที่เป็นบุญใหญ่ ๆ ไว้ในตัว บุญนั้นจะมีบุญญานุภาพดึงดูดบุญขนาดใหญ่เหมือน ๆ กันตลอดจนขนาดย่อมกว่าจนเล็กที่สุดเข้ามาไว้ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อน ผลคือใจของเรา ศูนย์กลางกายของเราจะกลายเป็นที่ประชุมรวมกันของบุญทั้งหมดที่ได้ทำมาแล้วไปในทันทีเพียงชั่วเวลาไม่กี่วินาที และครั้นเมื่อบุญมาประชุมรวมกันเช่นนี้ย่อมเกิดเป็นความสว่างไสวในกลางกายเรา (หากอยู่ในภาวะที่ไม่อาจเปิดเทปได้ ก็ให้นึกด้วยใจไปเพลิน ๆ เหมือนย้อนกลับนำตัวเองเข้าไปในบรรยากาศบุญที่ประทับใจ ย้อนความรู้สึกเข้าไป ย้อนเวลากลับไป ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถทำให้นึกได้กว้างใหญ่ขึ้น ละเอียดขึ้น มองเห็นภาพรวมได้ดีขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะยิ่งทำให้เข้าใจและเห็นในบุญมากขึ้น) การบ้านข้อนี้ปฏิบัติแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นคือ
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ตัดความกังวล ตัดเรื่องวุ่นวายออกไปจากใจ ทำให้ใจสงบ ไม่เครียดก่อนนอน ทำให้หลับง่ายไม่กระสับกระส่ายก่อนนอนเพราะบุญไหลผ่านตลอด
2. สำคัญคือ ทำให้รู้สึกมั่นใจในทั้งหมดชีวิตที่ผ่านมาว่าไม่สูญเปล่า ทำให้บุญที่ทำเพิ่มพูนทับทวีสามารถทำให้พรุ่งนี้มีโอกาสที่ดีกว่า และถ้าหากหลับเลยไปไม่ตื่นในวันรุ่งขึ้น ย่อมทำให้การหลับนั้นน้อมไปสู่ภพภูมิที่ดีงามตามบุญที่ได้สะสมมา
3. ทำให้ไม่เกิดอาการกระตุก ผวา ขณะเคลิ้มหรือตอนระยะต้นของการหลับ
4. ทำให้เกิดความปลอดภัย ไม่ว่าจะไปนอนค้างแรม ณ ที่แห่งใด
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ถ้าต้องนอนใกล้กับคนอื่น ย่อมจะทำให้ไม่เกิดภาวะกระสับกระส่าย ไม่กระทบกระเทือน
2. ไม่ทำให้เกิดภาวะกระตุก สะดุ้งแรง ๆ หรือเผลอส่งเสียงดังขณะใกล้หลับ ขณะเคลิ้ม ด้วยการผวาที่เกิดขึ้นจากความเครียด ความกังวล ความกลัว ที่ยังคั่งค้างหรือตกค้างอยู่ในใจ
วิธีการ
จะเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเริ่มจะนอนด้วยการหาที่นั่งสบาย ๆ พร้อมดื่มน้ำอุ่น ๆ แล้วค่อย ๆ ทบทวนให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งล้มตัวลงนอน หรือเริ่มนึกหลังจากกราบหมอนลงนอนราบแล้วก็ได้ ด้วยการเปิดเทปฟังเสียงสวดมนต์ทำนอนสรภัญญะบทใดบทหนึ่งก็ได้ เพื่อให้เสียงน้อมนำใจไปถึงคุณของพระรัตนตรัย และบุญต่างๆ ที่ได้กระทำไว้ในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มนึกถึงบุญที่ประทับใจ หรือ ที่ทำให้เกิดความปีติชุ่มชื่นใจก่อน เช่น มหากาลทานที่ได้ทำมา อาทิเช่น การเป็นประธานกองกฐิน การได้ถวายผ้าไตร การสร้าง พระพุทธปฏิมากร ถาวรวัตถุ มหาวิหาร หรือ มหาเจดีย์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย หรือเปิดบทสรรเสริญมหาปูชนียาจารย์ หลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งจะทำให้เรานึกถึงการเททองสร้างหลวงปู่ทองคำ การสร้างมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี จากนั้นความปีตินั้นก็จะทำให้นึกถึงบุญอื่นๆ ที่เราทำเป็นประจำได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการสวดมนต์ การรักษาศีล การเจริญภาวนา
นอกจากนี้ยังมีวิธีการพิเศษ หรือเทคนิคไปสู่ความสำเร็จ คือต้องมีการอธิษฐานถึงบุญ น้อมให้บุญไหลเข้ามาในศูนย์กลางกายในสถานีแห่งบุญ พร้อมทั้งขอบารมีมหาปูชนียาจารย์ ครูบาอาจารย์ให้ท่านช่วยกรุณารวมบุญ คุมบุญให้กับเรา ด้วยการน้อมท่านมาไว้ในศูนย์กลางกายของเรา หรือทำความรู้สึกว่าเราเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายของท่าน
4.หลับในอู่แห่งทะเลบุญ
หมายถึง การฝึกให้หลับอย่างมีสติ หลับไปในห้วงของความสว่าง ในห้วงของความสงบ หรือหลับไปในปีติหลังจากที่นึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมดแล้ว
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ทำให้หลับเร็ว หลับสนิท หลับลึก หลับแบบไม่กระสับกระส่าย ไม่ดิ้นรน ไม่ละเมอ และไม่ฝันร้าย
2. ทำให้ไม่ฝัน หรือหลับรวดเดียวสว่างเลย เป็นเหตุให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ เป็นการพักผ่อนที่เต็มเปี่ยมทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน
3. ทำให้ขณะหลับมีบุญไหลหล่อเลี้ยง ห่อหุ้ม คุ้มกันตลอดเวลา จึงหลับอย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะหลับอยู่ที่ไหน มุมไหนของโลก
4. ทำให้เวลาหลับอันเป็นเวลาที่เรามักไม่รู้ตัว ถือเป็นช่วงอันตรายที่สุดนั้น กลายเป็นช่วงเวลาที่ปลอดภัย เพราะมีบุญหล่อเลี้ยงห่อหุ้มอยู่ไม่ขาดสาย หรือหากทำสมาธิได้ ก็จะทำให้สามารถดำรงอยู่ในสภาวธรรมนั้นได้เป็นอย่างดี
5. ทำให้สุขภาพดี ไม่ตื่นบ่อย หรือแม้ตื่นก็หลับต่อได้เร็ว
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ไม่รบกวนคนใกล้เคียง
2. ทำให้อารมณ์ดีเมื่อตื่น หรือดีไปทั้งวัน
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะการนอนหลับเต็มที่ เต็มตื่นนั้นทำให้เกิดความสดชื่น สมองและกล้ามเนื้อทำงานได้ดี ใจมีพลัง
วิธีการ
เมื่อนึกถึงบุญจนเกิดความปีติให้น้อมใจจรดวางลง หรือแตะลงไปในกลางห้วงแห่งปีติ ห้วงแห่งความสว่างอย่างนุ่มนวล แผ่วเบา ด้วยความคุ้นเคย การแตะใจเบา ๆ นุ่ม ๆ อย่างนี้จะทำให้เกิดความละเอียดอ่อนของใจ ละเอียดอ่อนของอารมณ์ ที่จะน้อมทั้งหมดแห่งตัวตนเข้าไปในห่อหุ้มของความละเอียดอ่อนเบาสบาย สว่างไสวนั้นได้ พร้อมทั้งให้อธิษฐาน หรือตั้งใจแบบเบา ๆ กำหนดขอนอนหลับในอู่แห่งความสว่างเบาละเอียดอ่อนที่เกิดจากความปีติในบุญ เรียกว่าทะเลบุญ (ไม่ควรดูโทรทัศน์ด้วยเรื่องภาพยนต์ โชว์หรือสิ่งอื่น ๆ ก่อนนอน ยกเว้นรายการที่ว่าด้วยพิธีบุญ เพราะการดูโทรทัศน์ด้วยเรื่องเร้าอารมณ์ ร้าสาระจะทำให้ใจไปเกาะกับสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นเข้ามาแทรกในใจ ในความคิดได้เป็นระยะ ๆ )
5.ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญ
หมายความว่าให้ตื่นในความสว่างไสว ตื่นอย่างสดใส ตื่นอย่างอารมณ์ดี ตื่นอย่างมีสติเตือนตนถึงความดีที่ได้ทำมา
เพื่อเช้าวันใหม่ ชีวิตใหม่จะได้ดีกว่าชีวิตเดิมเมื่อวานนี้ เพื่อการทำงาน ทำความดีได้เต็มที่เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
ฝึกให้เป็นผู้มีสติ ตื่นอย่างมีสติ ตื่นด้วยหน้าตาแจ่มใส ทำให้ไม่งัวเงีย ไม่ชักช้า ไม่งุนงง ตื่นแล้วนึกถึงความดีก่อนสิ่งอื่นใด ใจเมื่อนึกถึงสิ่งใดก่อนก็จะดึงดูดสิ่งที่คล้าย ๆ กันให้ไหลมาสู่ ดังนั้นเมื่อตื่นในอู่แห่งทะเลบุญก็จะเป็นประกันได้ว่าจะต้องมีสิ่งดี ในวันใหม่ เรื่องร้ายจะถอยหลีกออกไปด้วยบุญที่เรานึกดักทางไว้แล้ว เมื่อบุญมา บาปย่อมเข้าไม่ได้ เมื่อบุญไหลบาปย่อมต้องถอยออกไปโดยปริยาย วันใหม่จึงจะดีกว่าเดิมด้วยประการทั้งปวง
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. เป็นที่สบายตา สบายใจของคนใกล้เคียง คนในบ้าน คนในครอบครัว
2. เป็นต้นกำเนิดความสดใสให้เกิดขึ้นในบ้าน
3. เป็นกำลังใจให้แก่กัน โดยเฉพาะหากมีผู้ต้องการกำลังใจในบ้าน ในครอบครัว ทำให้เกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นแก่คนในครอบครัว เพราะสิ่งใดที่เกิดขึ้นกับเราย่อมมีผลต่อครอบครัว และการทำให้ครอบครัวแจ่มใสแต่เช้า ย่อมทำให้คนอื่นพลอยได้สิ่งดี ๆ ในวันใหม่ไปด้วย
วิธีการ
โดยปกติหากก่อนนอนทำการบ้านครบทั้ง 4 ข้อเบื้องต้น หรือทำได้เพียง 2 ใน 4 หรือ 3 ใน 4 ก็จะทำให้สามารถตื่นในอู่แห่งทะเลบุญเป็นไปได้โดยอัตโนมัตินอกเสียจากว่ามีการตื่นมากลางดึกแล้วหงุดหงิดหรือไม่ได้ทำต่อ
เมื่อตื่นนอนคือ เมื่อทันทีที่ตื่นนอน ให้นึกถึงทะเลบุญที่นึกไว้เรียบร้อยแล้วตอนก่อนนอน สภาวะนั้นจะปรากฏขึ้นมาได้เองทันทีในสภาพของความนุ่มชุ่ม หรือการนึกได้ หรือความสว่างไสว นึกแล้วน้อมใจไปวางไว้ในห้วงแห่งความรู้สึกนั้น (หากตอนก่อนนอนไม่ได้หลับไปในอู่แห่งทะเลบุญ ตอนตื่นก็ให้รีบทำด้วยการนึกถึงบุญแบบเดียวกันกับก่อนนอน) แล้วค่อยปล่อยให้ความรู้สึกนุ่ม ชุ่ม สว่างหรือสงบแบบสดใสแผ่ซ่านเต็มกาย เต็มใจ จนทั้งเนื้อทั้งตัวรู้สึกสะอาด สดใส มีพลัง
6.เมื่อตื่นแล้วรวมใจเป็นหนึ่งกับองค์พระ 1 นาที
ใน 1 นาทีให้นึกว่าเราโชคดีที่รอดตายมาอีกหนึ่งวันขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้น ตายแน่ ตายแน่
หมายความว่า ทันทีที่เรารู้สึกตัวตื่นขึ้นในเช้าวันใหม่ สิ่งแรกที่เราต้องฝึกคิดถึงเป็นอันดับแรกคือ องค์พระ สัก 1 นาที และใน 1 นาทีนั้นให้เรานึกว่าเราโชคดีที่รอดตายมาได้อีก 1 วัน แล้วแผ่เมตตาขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้นตายแน่ ตายแน่
ทันทีที่ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญได้ย่อมปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดต่อไปในวันนั้น ซึงไม่มีของขวัญสิ่งใดจะมีค่าเท่ากับการให้ "องค์พระ" กับตัวเอง เพราะองค์พระธรรมกาย คือสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์พูนสุขและปลอดภัย สัญลักษณ์แห่งเป้าหมายในการเกิดมา รวมทั้งสัญลักษณ์ของวิธีต่อสู้ที่จะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง
และด้วยอำนาจแห่งองค์พระท่ามกลางอู่แห่งทะเลบุญของเรานั้น ย่อมมีอำนาจเป็นกระแสแห่งเมตตาธรรมที่เราจะแผ่ออกไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย กับเราในห้วงสังสารวัฏนี้ได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการขอบพระคุณบุญ ขอบพระคุณองค์พระธรรมกายผู้ดูแลรักษาหนทางสายกลางหนทางแห่งทะเลบุญที่ช่วยรักษาชีวิต รักษาลมหายใจไว้ให้เรา ในขณะที่เราหลับสนิทไปในยามค่ำคืน
อีกทั้งองค์พระธรรมกาย ยังเป็นเสมือนผู้คอยเตือนว่า ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังไม่ไปพระนิพพาน เราย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวิสัยแห่งวัฏสงสาร คือเมื่อเกิดแล้ว ย่อมต้องตายในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งมีผลทำให้เราไม่ประมาท มีความคิดที่จะทำดีในชีวิตวันนี้ ชีวิตเฉพาะหน้า เพราะวันข้างหน้านั้นเสี่ยงภัย เนื่องจากเรานี้ตายแน่ ๆ โดยไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้าว่าวันไหน
การรำลึกถึงองค์พระธรรมกาย นั้นคือการประกันว่าวันใหม่นี้พระจะคุ้มครอง พระจะนำทางและพระจำนำสิ่งที่ดีมาให้ ชีวิตวันใหม่นี้ย่อมปลอดภัยแน่นอน เพราะพระท่านมานำทางให้ ท่านย่อมทำให้สิ่งร้ายๆ ถอยไกลออกไปด้วยอำนาจแห่งธรรมบารมี
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ฝึกการมีสติมั่น มีกำลังใจและมีความเมตตา
2. ทำให้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวา มีวรรณะงดงาม
3. ได้ฝึกการเป็นผู้ให้
4. ที่แน่ ๆ คือได้ความไม่ประมาท ได้ใกล้ชิดกับพระ คือ องค์พระที่รำลึกขึ้นมาในศูนย์กลางกาย
5. ได้การวางแผนชีวิตในแต่ละวัน
6. ได้ความก้าวหน้าของสมาธิ
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. เป็นคนไม่มีภัยต่อครอบครัวและสังคม
2. มักพัฒนาเป็นคนอ่อนโยน มีความเมตตาเป็นนิจ ทำให้เกิดความสงบขึ้นในบ้านและเป็นตัวอย่างที่ดี
3. เป็นคนให้ความช่วยเหลือ ให้อภัยคนอื่นได้เสมอ และสังคมหรือครอบครัวที่มีเอื้ออาทรเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น
วิธีการ
เมื่อสติเต็มตื่นในอู่แห่งทะเลบุญแล้ว ให้ลุกขึ้นกราบหมอนขอบพระคุณที่ได้ตื่นอย่างสดใสในวันนี้แล้วจะนึกถึงองค์พระเลยก็ได้ หรือลุกขึ้นนั่งหลับตาเงียบ ๆ สักสองนาที โดยการจรดใจ วางใจลงไปในกลางเบา ๆ พลางนึกเบา ๆ หรือนึกทันทีเพราะเรามีท่านอยู่แล้วในกลาง นึกธรรมดา ไม่ต้องกังวลให้ชัดหรือให้ใส ในเบื้องแรกให้นึกได้ก่อน จากนั้นเมื่อนึกทุกวัน นึกบ่อย ๆ ท่านจะค่อย ๆ ชัด ค่อย ๆ ใสขึ้นมาเอง
แล้วค่อยๆ ทำให้องค์พระสว่าง สว่างข้างซ้าย สว่างข้างขวา สว่างข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง สว่างเป็นปริมณฑล คือ สว่างไปทั่วรอบทิศทาง พลางนึกให้ความสว่างนี้ไปกระทบใจ กระทบชีวิตสรรพสัตว์ สรรพวิญญาณทั้งปวง แล้วพวกเขาพากันมีความสุขโดยถ้วนหน้า ทั้งหมดนี้ได้กระทำด้วยอารมณ์สงบ นิ่ง เบา ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะตัวเรานั้นอาศัยอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับบุญไปด้วยกันกับเรา บุญที่เกิดจากการทำการบ้านทั้งสิบข้อ บุญที่เกิดจากการนึกองค์พระ การประกอบกิจการบุญและการทำสมาธิภาวนา
จากนั้นให้อธิษฐานขอให้การทำการบ้านข้อที่ 6 นี้ จงทำให้เรามีวันนี้ที่สดใส ได้สร้างบุญบารมีเต็มที่ สุขภาพดี และมีอายุขัยยืนยาว
7.ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ในองค์พระ องค์พระอยู่ในตัวเรา ตัวเราเป็นองค์พระ องค์พระเป็นตัวเรา
หมายความถึง การทำใจให้ผูกพันอยู่กับองค์พระ ใจเรากับใจพระจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อชีวิตจะอยู่ในความปลอดภัย ร่างกายจะได้แข็งแรง เพราะการที่ใจอยู่กับพระ กระแสของพระก็จะเข้ามาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
การที่เราอยู่ในองค์พระนั้นแสดงว่าร่างกายของเราอยู่ในพิทักษ์ของท่าน อยู่ในกระแสของพระนิพพานย่อมสดใส ปลอดภัยและแข็งแรง เพราะพระนิพพานนั้นอยู่เหนือภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย การกระทำเช่นนี้อย่างน้อยก็มีผลให้เราสดใส แข็งแรง หรืออายุยืนขึ้นกว่าควร
การที่ใจเราผูกพันอยู่กับองค์พระย่อมทำให้เราไม่เผลอกระทำการอันไม่ควร หรือด้วยความรู้สึกว่าเราเป็นองค์พระนี่แหละที่จะป้องกันเราพ้นภัย พ้นการประพฤติในสิ่งที่เป็นภัยทั้งกับตนเองและคนอื่นรวมทั้งพระท่านจะดึงดูดกระแสที่เหมือน ๆ กันกับองค์ท่าน คือ "ความดีงาม" ให้ไหลมาสู่กายและใจของผู้ที่มีจิตผูกพันกับท่านอยู่เป็นนิตย์
ชีวิตของผู้ประพฤติเช่นนี้ จึงมีแต่จะปลอดภัย สดใส เจริญก้าวหน้า และอุดมสมบูรณ์
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. มีความปลอดภัย มีความสมบูรณ์ทุกประการในชีวิต บนพื้นฐานบุญที่ได้เราได้กระทำมา
2. ใจมีกำลัง มีพลัง มีสติเตือนตนได้ตลอดเวลา
3. สมาธิก้าวหน้าทุกขณะวินาที
4. ทำให้ธรรมะกับชีวิตดำเนินควบคู่กันไปได้ด้วยดี การทำสมาธิคล้องจองกันเป็นอันดีกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
5. ทำให้ทุกลมหายใจเป็นคุณธรรม เป็นความงาม เป็นการสร้างความดี สะสมบารมีของตน
6. ได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป
7. ปลอดภัยในทุกที่
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. เป็นต้นเหตุแห่งความสุขสงบในสังคม และครอบครัว
2. เป็นต้นทางแห่งทรัพย์ สรรเสริญ และความเจริญก้าวหน้าของหมู่คณะ
3. หากประพฤติธรรมดี ได้ผลดี ย่อมทำให้กลายเป็นแหล่งบุญของคนใกล้ชิด
วิธีการ
ให้นึกเหมือนท้องฟ้าทั้งครอบเป็นดวงธรรม หรือเป็นดวงใจอันยิ่งใหญ่ขององค์พระธรรมกายพระพุทธเจ้า เพราะกายท่านย่อมใหญ่มากเกินประมาณอยู่แล้ว แล้วตัวเราก็อยู่ครอบโค้ง อยู่ในดวงธรรมมหึมาสว่างไสวนั้น โดยใจของเรากับใจของท่านอยู่ ณ ที่เดียวกัน คือ ศูนย์กลางกายของเรา เท่านี้เราก็จะอยู่ในองค์พระได้โดยง่าย ทุกครั้งที่มองท้องฟ้าก็จะเตือนตนได้ว่าเราอยู่ในดวงธรรมขององค์พระ ตัวเราอยู่ในองค์พระ
เมื่อกายเราอยู่ในครอบฟ้าอันเปรียบเสมือนดวงธรรม ดวงใจของท่าน ใจของเราย่อมอยู่กับท่านกระทำได้ด้วยการนึกเบา ๆ เหมือนมีพระองค์น้อย ๆ เท่าปลายก้อย หรือเท่าใดก็ได้ อยู่ในกลางกายของเราเหมือนเรากลืนองค์พระลงไปไว้ตรงศูนย์กลางกายของเรา แล้วนึกถึงท่านบ่อย ๆ
สิ่งเหล่านี้ทำบ่อย ๆ แล้วจะติดเป็นนิสัย จะทำให้เรากับพระไม่ห่างกันทั้งวันทั้งคืน เราจึงปลอดภัยอยู่ในบุญได้ตลอดเวลา
8.ทุก 1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที เพื่อหยุดใจ นึกถึงดวง องค์พระ หรือทำใจนิ่งๆ ว่างๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
หมายความว่า วันทั้งวันที่ไม่ใช่เวลานอนเราจะได้ใกล้ชิดกับพระจริง ๆ ใกล้ชิดกับธรรมะเราเข้าถึงจริง ๆ เพราะในข้อที่ 7 นั้น เป็นการทำได้โดยโครงสร้าง เหมือนการวางตัวไว้ในกรอบเพื่อความไม่ประมาทแต่สำหรับข้อที่ 8 นี้ ถือเป็นการทำให้ละเอียดลงไปอีกขั้นตอนหนึ่ง
เพื่อเป็นการยืนยันว่าในแต่ละชั่วโมงเรามีบุญหล่อเลี้ยงแน่ๆ และในทุก ๆ ชั่วโมงใจของเรา ชีวิตของเรามีโอกาสเข้าไปต่อเนื่องกับพระนิพพาน ชีวิตในหนึ่งวันทำงานมีบุญของพระนิพพานมาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา การทำเช่นนี้ย่อมทำให้นอกจากบุญจะไหลอย่างต่อเนื่องแล้วยังเป็นการเพิ่มบุญในแต่ละชั่วโมงอีกด้วย
เพราะการมีชีวิต ทำงาน หรืออยู่กับสิ่งดี ๆไป 1 ชั่วโมงนั้น คือ "การใช้บุญ" ไปแล้ว ดังนั้นการนึกถึงองค์พระทุกหนึ่งชั่วโมงจึงเป็นการประกันว่าบุญที่ใช้ไปนั้น "เราได้หามาทดแทน" หรือหากหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านไปเป็นการสร้างความดี การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการทำให้บุญยิ่งทับทวีมากมาย
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. ใจเริ่มหยุดได้มากขึ้น เกี่ยวเนื่องกับศูนย์กลางกาย กับองค์พระได้มากขึ้น สภาวะการปฏิบัติธรรม ผลการปฏิบัติดีขึ้นเป็นลำดับ
2. เมื่อถึงคราวปฏิบัติธรรมจริงใจจะหยุดได้ง่าย นิ่งได้ง่าย เปิดโอกาสให้ใจเดินทางเข้าสู่หนทางสายกลาง
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
สังคมใดมีบุคคลเช่นนี้ สังคมนั้นย่อมสงบและปลอดภัย สังคมผู้เกี่ยวเนื่อง คนใกล้ชิด และครอบครัวพลอยได้รับความอบอุ่น ความสงบ และความสมบูรณ์พูนสุขไปด้วย
วิธีการ
นอกจากจะกำหนดจิตอธิษฐานไว้ สามารถทำได้ด้วยการตั้งนาฬิกาให้ดังทุก 1 ชั่วโมง แต่ควรให้ดังเพียงนิดเดียว หรือด้วยการให้โทรศัพท์ส่งสัญญาณไฟกระพริบ สัญญาณสั่น สัญญาณสั้น ๆ เพื่อเตือนให้เราไม่ลืม
เมื่อได้สัญญาณให้นึกองค์พระทันที ขนาดเท่าใดก็ได้ นึกแล้วหยุดใจลงไปในกลางท่าน
ตรงนี้หากทำจนเป็นความเคยชิน เมื่อได้สัญญาณองค์พระจะผุดขึ้นมาเองเป็นอัตโนมัติ แล้วใจของเราจะหยุดเข้าไปเองได้ทันทีเหมือนกัน และหากทำจนชินยิ่งขึ้น องค์พระจะมีอยู่แล้วในตัว เพียงแต่ทำใจนึกมองลงไป องค์เดิมที่มีอยู่อาจขยายใหญ่หลุดขอบออกไป องค์ใหม่ผุดขึ้นมาแทนทันที แล้วจึงหยุดใจลงไปในกลางพระองค์ใหม่ให้นิ่งแน่นกว่าเดิมเท่านั้น
9.ทุกกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ล้างจาน กวาดบ้าน ออกกำลังกาย ขับรถ ทำงาน ให้นึกถึงดวง หรือองค์พระไปด้วย
หมายถึงการทำใจให้จดจ่ออยู่กับธรรมะ อยู่กับศูนย์กลางกาย โดยไม่ต้องเลือกเวลา กิจกรรม หรือสถานที่ ซึ่งบางทีอาจนึกถึงดวง บางครั้งเป็นองค์พระ สลับไปมาก็ไม่เป็นไร จุดมุ่งหมายเพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับธรรมะ กับศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของตน
การทำการบ้านข้อนี้จะมีผลทำให้ไม่ไปวุ่นวายกับเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน ทำให้ลดการเกิดวิบาก ลดการกระทำที่อาจทำให้เกิดบาปขึ้นได้ ตรงกันข้ามกลับทำให้บุญไหลมาเทมา ธรรมะสุกใสไปกับวันเวลาและภารกิจการงาน
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. เป็นการลดบาปเพิ่มบุญ
2. จิตใจผ่องใสเป็นนิตย์ ชีวิตปลอดภัย
3. ป้องกันเภทภัย ปรับจากทุกข์ใหญ่ให้เป็นทุกข์น้อย หรือมลายหายไป เพราะใจเกาะเกี่ยวอยู่แต่ธรรมะ องค์พระ และศูนย์กลางกาย อันเป็นทางไปมาของพระธรรมกายนับจำนวนพระองค์ไม่ถ้วน
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ลดเรื่องทะเลาะวิวาท ลดความบาดหมางใจ
2. ได้งานเพิ่มเพราะ(ตัวเรา) ไม่ใฝ่ในเรื่องไร้สาระ
3. เกิดความสงบ ปลอดภัยในพื้นที่ ในบ้าน ในครอบครัว ในองค์กร เพราะมีบุคคลที่มีใจต่อเนื่องกับพระนิพพานผสานบุญมาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
วิธีการ
เพียงหมั่นนึกถึงดวง หรือองค์พระให้บ่อยที่สุดเท่านั้น นึกโดยไม่ต้องรอเวลา ไม่มีเงื่อนไข ให้นึกเสมอว่า ถ้าเราจะตายลงไปเดี๋ยวนี้แล้วจะไปไหน ใครก็ช่วยไม่ได้นอกจากธรรมะในตัว เพราะความตายเกิดขึ้นได้เสมอ การทำเช่นนี้นอกจากจะทำให้ชีวิตปลอดภัยแล้วยังทำให้หากเกิดอะไรขึ้นจะกลายเป็นการทำให้เกิดความสมัครสมานในหมู่คณะ
10.สร้างบรรยากาศให้ดี สดชื่น ด้วยรอยยิ้ม และปิยวาจา
หมายความถึงการสร้างสรรค์อารมณ์ที่ดี อารมณ์งดงาม ความสุนทรีให้เกิดในชีวิตและในบรรยากาศโดยรอบ
"รอยยิ้ม" เคยเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เรียกว่า ยิ้มสยาม แต่นับวันรอยยิ้มของคนไทยเริ่มจางหายไปทุกที ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งสภาวะมลพิษทำให้คนไทยเกิดความเครียดในชีวิต หน้าที่การงาน ครอบครัว ทำให้ไม่มีอารมณ์ยิ้มเหมือนแต่ก่อน เมื่อยิ้มยากขึ้น คำพูดที่ออกมาก็กระด้าง ไม่ไพเราะ หรืออาจจะหยาบคาย ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบยิ่งตึงเครียด และเกิดการกระทบกระทั่งกัน ดังนั้นจึงต้องฝึกสร้างบรรยากาศด้วยรอยยิ้มและปิยวาจาโดยเริ่มที่ตัวเรา เมื่อเราส่งรอยยิ้มและปิยวาจาออกไป คนอื่นก็จะรู้สึกดีและส่งตอบกลับมาผลก็คือเกิดบรรยากาศที่ดีทำให้ใจเราดียิ่งขึ้น นุ่มนวลยิ่งขึ้น
ประโยชน์ตน (ตัวเรา)
1. เป็นการฝึกให้เกิดความสงบนุ่มนวลในใจ
2. ฝึกให้เห็นอกเขา อกเรา คือเห็นใจซึ่งกันและกัน
3. ทำให้ใจของเราเป็นที่อยู่ของบุญ
4. รักษาธรรมะไว้ได้
5. เป็นที่รัก ที่น่าเข้าใกล้ของคนในครอบครัว สังคม
6. ลดความแตกร้าวที่จะเกิดจากเรา หรือที่จะพึงมีต่อเรา
ประโยชน์ท่าน (ตัวท่าน)
1. ทำให้ไม่เกิดความแตกร้าวขึ้นในกลุ่ม ในองค์กร สังคม และครอบครัว
2. ทำให้เกิดกระแสนุ่มนวลขึ้นในบรรยากาศ
3. ทำให้เกิดความสมัครสมานในหมู่คณะ
วิธีการ
ให้นึกถึงบุญเข้าไว้ ทำใจให้ได้อย่างข้อ 7 , 8 , 9 พร้อมนึกเสมอว่าไม่มีใครอยากเห็นหน้าตาขุ่นข้อง ไม่มีใครอยากได้ยิน อยากฟังถ้อยคำเชือดเฉือน เสียดแทง ยอกย้อน หยาบคาย รวมทั้งไม่มีใครสรรเสริญผู้ประพฤติตนเช่นนี้ด้วย
คอยเตือนตัวเองเสมอว่า การทำหน้างอ หน้าบึ้งตึง ปึ่งชา เฉยเมยเกินเหตุนั้น ทำให้บุญไม่มาหล่อเลี้ยง บุญหกตกหล่นเสียหาย เพราะหน้าตาเช่นนี้ย่อมแสดงถึงใจที่ไม่หยุด ไม่สงบ ไม่เป็นอัธยาศัยของบุญ การมีหน้าตาง้ำงอ ถ้อยคำหยาบคาย เสียดแทง ย่อมแสดงถึงใจที่ไม่สงบและหยาบกระด้าง ขาดความเมตตา ขาดจิตกรุณา ไม่มีมุทิตา และไม่วางใจอยู่ในอุเบกขาธรรม
รวมทั้งให้นึกเสมอว่า การยิ้มอย่างจริงใจ การใช้วาจาไพเราะ จริง นุ่มนวลนั้น ตัวผู้กระทำ คือ ตัวเราเป็นผู้ได้ประโยชน์ก่อนใคร..
.......................
ผมได้มาจากสมาชิกใน DMC.tv ท่านหนึ่งครับ ผมจำชื่อท่านไม่ได้ ถ้าไม่ผิดน่าจะเป็นท่าน มิราเคิลดรีมนะครับ
ก็ขออนุโมทนาบุญด้วยกันนะครับ หมั่นปฎิบัติให้ได้ ผมก็ทำมั่งไม่ทำมั่ง ยังไปไม่ถึงใหนเลยครับ ต้องแจวไปเรื่อยๆก่อน ครับ...
#4
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 02:56 PM
อิทธิบาท ๔ คือ คำตอบหลักครับ
สติ สบาย สม่ำเสมอ(ขยัน)
อื่น ๆ ที่สามารถทำได้อีกคือ
สร้างสิ่งแวดล้อม ให้สามารถนึกถึงพระรัตนตรัย / ศูนย์กลางกายฯ / บุญกุศล
เช่น
มีพระของขวัญ ภาพพระ , มหาูุปูชนียจารย์ ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน ,
wallpaper องค์พระ ดวงธรรม ไว้ที่ มือถือ และคอมพิวเตอร์
บางคนใช้นาฬิกาแบบทรงกลม , ตั้งนาฬิกาปลุกทุกชั่วโมง (ต้องระวังไม่ให้รบกวนผู้อื่น )
ใช้ปากกา วาดวงกลมไว้ที่นิ้ว / มือ , ทายาหม่องที่ท้อง ฯล
ส่วนข้อที่พี่ WISH นำมาแบ่งปัน
คล้าย ๆ ได้ทราบมาบ้างว่า คุห = คูหา = ถ้ำ
ถ้ำที่ใจ ใช้อาศัย อยู่ภายในกายมนุษย์ => บริเวณท้อง ( ตรงกับ ตถาคตะคัพพะสูตร / พระตถาคต ในครรภ์ , ท้อง )
เมื่อบุคคลฝึกใจ ฟอกใจ ให้ขาวใส ใจละเอียด ใจสะอาด บริสุทธิไปตามลำดับ ๆ แล้ว
ใจจะมีคุณลักษณะอีกอย่าง คือ
มหิทธานุภาวํ
มีฤิทธานุภาพมาก ตั้งแต่อภิญญา ๕ ไปถึง อภิญญา ๖ ไม่ตกกันดารในสังสารวัฎ ไปนิพพพานในที่สุด
#5
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 03:04 PM
สำหรับคำแนะนำค่า
ใครมีเทคนิคส่วนตัวอะไร ก็บอกได้เลยนะคะ เผื่อจะได้ปรับใช้ให้เหมาะกับอัธยาศัยได้ค่า
สาธุๆ
#6
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 03:06 PM
#7
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 03:19 PM
การฝึกใจ การทำสมาธิหรือแม้แต่การบ้านของคุณครูไม่ใหญ่ก็เช่นกัน เราจะทำได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับใจเราและสภาพแวดล้อมด้วย หากเราไม่โอนอ่อนไปตามใจและสภาพแวดล้อม ใจเราก็จะอยู่ในกายตลอดครับ ลองดูวิธีการแก้ไขของผมดูไหมครับ ซึ่งผมเคยใช้แล้วได้ผล วิธีการของผมคือการปลีกวิเวกครับ แต่ไม่ต้องถึงกลับแยกตัวไปอยู่คนเดียวหรอกนะครับ หุหุ การปลีกวิเวกของผมนั้นคือการปิดตา ปิดหู ปิดปาก และสำรวม กาย วาจา ใจ เวลาที่ผมไปปฏิบัติธรรม แม้จะมีผู้มีบุญไปกันเยอะ ผมก็จะ ปิดตา คือ ทำความรู้สึกของผมให้เหมือนกับว่าผมอยู่ตัวคนเดียว ปิดหู คือ รับฟังแต่เรื่องธรรมะอย่างเดียวหากผู้อื่นจับกลุ่มคุยกันในเรื่องทางโลกผมก็จะแกล้งทำเป็นไม่ได้ยิน ปิดปาก คือ ไม่พูดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระพูดในเวลาที่จำเป็นไม่พูดเรื่อยเปื่อยหรือพูดเรื่องที่ไม่ใช่เรื่อง สำรวมกาย คือ คิดว่าตัวเองเป็นพระ จะลุก ยืน เดิน นั่ง นอน ทาน จะปฏิบัติให้เหมือนพระมากที่สุด สำรวมวาจา คือ พูดแต่สิ่งที่ควรพูดเช่นพูดเรื่องธรรมะ พูดให้น้อยแต่เป็นประโยชน์ให้มาก สำรวมใจ คือพยายามประคองใจไว้ให้อยู่ในท้องตลอดเวลาทุกอริยาบท นี่คือวิธีการที่ผมใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ครับ
จะลองเอาไปทำดูก็ได้นะครับ ไม่มีลิขสิทธิ์ หุหุ ^ ^
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#8
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 03:52 PM
#9
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 09:08 PM
#10
โพสต์เมื่อ 29 February 2008 - 09:54 PM
ชอบๆ หันไปทางไหน ไม่ว่าจะหันหน้า หรือ หันหู ก็อยู่ในบุญ
รักษาใจใสๆ เตรียมตัวไป อาทิตย์ต้นเดือนกันนะค่า
ปล. เสียงปลุก หัวหน้าชั้นนี่ ใจสูงอยากได้บ้างค่า (พูดจริงๆ)
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
http://sasismile.wordpress.com
บล็อกใสๆ ของใจสูงเองค่า
#11
โพสต์เมื่อ 01 March 2008 - 10:26 AM
#12
โพสต์เมื่อ 01 March 2008 - 04:38 PM
ชอบวิธีคุณขวัญมณีเบิกบานสำราญใจ (ขอเติมชื่อให้หน่อยนะคะ)
คุณขวัญมณีนี้ดูอารมณ์ดีจังเลย
พอใจสูงอ่านกระทู้ หรือ คำตอบของคุณขวัญมณี ต้องเป็นอมยิ้มทุกที
สาธุๆ กับการที่ช่วยให้ใจสูงได้ทำการบ้าน ข้อที่ 10 (ยิ้ม และปิยวาจา) นะคะ
#13
โพสต์เมื่อ 01 March 2008 - 05:00 PM
#14
โพสต์เมื่อ 19 March 2008 - 04:18 PM
สวัสดีคับผม
ผมเป็นสมาชิกใหม่นะครับ ที่เคยได้ไปเป็นอาสาสมัครที่ วัดธรรมกาย
จึงขอแสดงความคิดเห็น ที่สุภาพ และ พร้อมที่จะ อ้างอิงแหล่งที่มาได้เสมอครับ
1. การทำสมาธิ (สมถะ) แบบแนววัดธรรมกายนี้ ไม่สามารถเข้าถึง พระนิพพาน ได้ครับ
เป็นเพียงการทำสมาธิ ที่ไม่มีการเห็นด้วยความจริงของ ไตรลักษณ์ ที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมถึง นิพพาน เป็น อนัตตา ไม่ใช่อัตตา
2. การเข้าถึงกระแส พระนิพพาน ที่ต้องเห็นพระพุทธรูป ก็เป็นเพียงความคิดหรือสร้างนิมิต ขึ้นมาเอง
ซึ่งหากคนที่ฝึก สมถสมาธิ อย่างชำนาญ ก็สามารถที่จะสร้าง โดราเอม่อน หรือว่า ใบหน้าของพระเยซู หรือจะเป็นรูปลักษณ์อะไรก็แล้วแต่ ขึ้นมาได้อย่างง่ายดายครับ
3. หลวงพ่อสด สุดท้ายก็ยังต้องไปเรียน สติปัฏฐาน กับ เจ้าคุณโชดก ที่วัดบวรฯ (มจร. เขตพระนคร) เลยครับ ยังมีหลักฐานอ้างอิงเป็นลายเซน ของ พลวงพ่อสด ใส่กรอบไว้อยู่เลย (วงในว่า ท่านละทิ้ง วิชาธรรมกาย แต่ลูกศิษย์ไม่ทิ้ง)
4. การจัดการของ ธรรมกาย ดีมากๆ ครับ ขอชม
ปัญญาชนควรจะแสดงเหตุและผล ของการแลกเปลี่ยนกัน
ดังนี้แล้ว การแสดงเจตนาของผม คงไม่ถูกลบจาก webmaster นะครับ