สติและสมาธิ
#1
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 09:51 AM
สมาธิ(concentration)
ความหมาย สมาธิ" โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่เข้าใจกันได้ง่าย นั่นคือ
สมาธิจะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจจดจ่ออยู่กับจุดใดเพียงจุดเดียว
มุ่งมั่นอยู่กับเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม
สติ(mindfulness)
ความหมายเป็นคำที่ออกจะอธิบายยากอยู่สักหน่อย
หากแปลตามความหมายตรงตัว คำว่า สติ ในภาษาบาลีนั้น
มีรากศัพท์จากความคำที่มีความหมายว่า "จำได้" (remember)
ดังนั้น สติ จึงเป็นคำที่ใช้เพื่อบ่งบอกสภาวะโดยทั่วไป
ของการรับรู้แห่งสภาพปัจจุบันซึ่งเรารู้ตัวเองเห็นตัวเองอยู่ในขณะหนึ่ง ๆ
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ
การจำได้ว่าเราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร และในสภาพแวดล้อมแบบใดรอบตัวเรา
ตัวอย่าง คนนั่งสมาธิเมื่อมีสติและสมาธิพร้อมก็จะ ประคองอยู่ได้แต่เมื่อมีสมาธิมากเกินไป
สติอาจจะค่อย ๆ หายทีละนิด สุดท้ายก็หลับผลอย
คนเราในขณะที่มีใจจดจ่อสิ่งใดเกินไปก็มักจะเผลอสติง่าย ๆ เช่น ขณะเดินมองไปท้องฟ้าสวยงาม
และบรรยากาศดี ๆ แต่กลับเดินไปสะดุดก้อนหินเข้า
วัวกระทิงที่เห็นผ้าแดงก็มีสมาธิอยู่ที่ผ้าแดง พอวิ่งเข้าหาสติก็หล่นหาย นักสู้วัวกระทิงเอาผ้าหลบไป
วัวก็เลยถลำไป นั่นคือความระวังตัวหายไป
ขณะที่เราตั้งใจทำอะไร เช่นอ่านหนังสือ หรือดูทีวี อย่างสนใจ แต่อาจจะไม่ได้ยินเสียงคนเรียก เลย
ลักษณะนี้เหมือนคนใจลอยมากกว่า
คนที่มีสมาธิมากอาจจะเรียนได้รู้ได้ลึกซึ้งกว่าคนอื่นแก้ปัญหาได้ดีกว่า แต่ว่าเวลาทำงานอาจจะไม่ได้ดี
เพราะขาดสติหลงลืม หรือ พลั้งเผลอ ง่าย นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งมาก ๆ อาจจะสติเฟื่องเอาง่าย ๆ
คนที่มีสติดี มักจะทำงานได้เรียบร้อย ไม่ผลั้งเผลอหลงลืมง่าย ๆ ก็จะเรียนได้ไม่ลึกซึ้ง
ไม่ เมื่องานมีปัญหาก็มักจะแก้ไขไม่ได้ เพื่อน ๆ ที่ทำงานที่มีสติทำงานได้ดีพอมีปัญหายากหน่อย
งงเป็นไก่ตาแตก
สรุป คือการมีสมาธิมากเกินไป สติอาจจะน้อยลง ดังนั้นในการฝึกสมาธิทำอย่างไร สติจะไม่หายไปหรือมีมากขึ้น
สติกับสมาธิ ในทางพุทธศาสนามีความหมายเหมือนกับทางโลกหรือไม่
#2
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 10:09 AM
สติอาจจะค่อย ๆ หายทีละนิด สุดท้ายก็หลับผลอย
อันนี้ เค้าเรียก ขาดสติ แล้วครับ เอาง่ายๆ เวลาคนนอนหลับมีสติไหมครับ ดังนั้นคนที่นั่งสมาธิแล้วหลับ ก็คือ คนที่หลับในท่านั่งขัดสมาธิครับ ไม่ใช่ สมาธิมากเลยหลับ
อย่างไรก็ดี ผมว่า ข้อความของคุณทศพล อ่านแล้วแหม่งๆ หลายจุดนะครับ
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 10:28 AM
บทความนี้อ่านพอสรุปได้ว่า สติกับสมาธิต้องสมดุลย์กัน ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหย่อน
ลงไปอีกสิ่งหนึ่งก็จะตกลงไป เลยแทรกความคิดเห็นตัวอย่างเพิ่มไปนิดหน่อยทำให้
คุณมิราเคิลดรีม ดูแม่ง ๆ นั่นแหละ อาจจะเข้าใจไม่ถูก
คือเห็น ว่าการฝึกสติกับสมาธิเป็นคนละอย่างกัน
การฝึกสติเช่น
เช่นการเดินจงกรม การฝึกมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเช่น ยุบหนอ พองหนอ หิวหนอ อิ่มหนอ
อย่างนี้เรียกว่าฝึกสติปัฐาน ๔ ใช่หรือไม่
การฝึกสมาธิเช่น
สมถกรรมฐาน กสิน ๑๐ เป็นต้น
ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า
#4
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 10:40 AM
ผมเข้าใจว่า สติกับสมาธิเป็นของคู่กันอยู่แล้วนะครับ และ ผมเข้าใจว่าคนเรายิ่งสมาธิมาก สติก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ใช่ สติมาก คือ สมาธิหย่อน หรือ สติหย่อน คือ สมาธิมาก
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#5
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 10:48 AM
ความคิดเห็นเพิ่มเติมตามแนวคิดแบบพุทธศานา
(A Buddhist's Commentary)
"การทำสมาธิในเกือบทุกรูปแบบของพุทธศาสนานั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามรักษาสมดุลย์ระหว่าง
สติ (mindfulness) กับสมาธิ (concentration) ไว้ให้ได้
(ตรงนี้ผมไม่ได้หมายถึงวิธีที่แตกต่างของการปฏิบัติ-
สมถะ (calmness) และวิปัสสนา (insight) นะครับ
ด้วยว่าแนวทางการปฏิบัติทั้งสองอย่างข้างต้นนั้น
ก็จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องรักษาสมดุลย์ระหว่างสติและสมาธิเช่นกัน)
"สมาธิ" โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่เข้าใจกันได้ง่าย นั่นคือ
สมาธิจะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจจดจ่ออยู่กับจุดใดเพียงจุดเดียว
มุ่งมั่นอยู่กับเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม
สำหรับการนั่งสมาธิแล้ว สิ่งนั้น เรามักจะหมายถึงสายที่ต่อเนื่องของลมหายใจ
หรือสัมผัสของลมหายใจที่มากระทบกับจุดใดจุดหนึ่งของร่ายกาย เช่น ปลายจมูก
แต่ก็เป็นไปได้เหมือนกัน ที่สิ่งนั้นจะหมายถึงการมีใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์หน้ามืดเดือดดาล
ณ ขณะที่จิตไปมุ่งมั่นอยู่กับอารมณ์โทสะที่เกิดขึ้น
"สติ" เป็นคำที่ออกจะอธิบายยากอยู่สักหน่อย
หากแปลตามความหมายตรงตัว คำว่า สติ ในภาษาบาลีนั้น
มีรากศัพท์จากความคำที่มีความหมายว่า "จำได้" (remember)
ดังนั้น สติ จึงเป็นคำที่ใช้เพื่อบ่งบอกสภาวะโดยทั่วไป
ของการรับรู้แห่งสภาพปัจจุบันซึ่งเรารู้ตัวเองเห็นตัวเองอยู่ในขณะหนึ่ง ๆ
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ
การจำได้ว่าเราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร และในสภาพแวดล้อมแบบใดรอบตัวเรา
ในกรณีของการนั่งสมาธิก็เช่นกัน
เราก็จำเป็นต้องมีสติรู้อยู่ตลอดว่าเรากำลังนั่งสมาธิ
เพราะหลายครั้ง ถ้าจิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับวัตถุแห่งการตั้งสติมากเกินไป
ก็อาจทำให้ตัวสติเองหย่อนหายลงไปนอนก้นอยู่เบื้องลึกได้ง่าย
ซึ่งก็คือจุดที่หลายคนไผลเป็นหลับไปนั่นเอง
ตัวอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า
สติ กับ สมาธิ ได้ง่ายขึ้น ก็คือ
ขอให้ลองนึกถึงชายคนหนึ่ง
ยืนอยู่เบื้องหน้าต้นไม้ใหญ่กลางลานสนามหญ้ากว้าง ๆ
โบกสะบัดผืนผ้าสีแดงเพื่อล่อวัวกระทิง
วัวกระทิง เมื่อรู้สึกถึงสัญญาณอันตรายด้วยผืนผ้าสีแดง ก็เตรียมตั้งท่าจะเข้าจู่โจม
และในนาทีสุดท้ายนั้นเอง
ชายผู้นั้น ก็ขยับตัวเองออกมาด้านข้างของผืนผ้าอย่างชาญฉลาด
กลายเป็นว่าวัวกระทิงวิ่งไปขวิดชนกับต้นไม้แทน
นี่ก็เป็นเพราะว่า สมาธิ ของเจ้าวัวกระทิง
ซึ่งจดจ่ออยู่กับเป้าหมายคือผืนผ้าเพียงอย่างเดียว
ได้ปราศจากความสมดุลย์อันมีอยู่คู่กับ สติ แล้ว
หากมันมีสติรู้เพียงพอ
มันก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าชายผู้นั้นได้แอบขยับไปในทิศทางอื่นแล้ว
ความรู้สึกอันน่าตื่นเต้นอย่างหนึ่งที่เป็นที่กล่าวกันว่า
มักจะเกิดขึ้นเมื่อถึงระดับหนึ่ง ๆ ของสมาธิ ก็คือ
ความดื่มด่ำในใจ หรือความปิติ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ คือ
๑. ขุททกาปีติ (minor)
ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ (mementary)
ปีติชั่วขณะรู้สึก แปลบ ๆ ราวฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ (showering)
ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมา ๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔. อุพเพคาปีติ (uplifting)
ปีติโดดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
๕. ผรณาปีติ (prevading)
ปีติซาบซ่าน เอิบอาบเต็มอิ่มไปทั่วสรรพางค์กาย
(Vism 143f)
จากการ์ตูนชุดนี้ ก็เห็นได้ชัดว่าเณรโพธิ์ได้เข้าถึงระดับสามหรือสี่แล้ว
แต่กลับหลงลืมที่จะรักษาประคองระดับของสติเอาไว้
ซึ่งจริง ๆ แล้วจะสามารถช่วยดำรงความรู้สึกของปีติและสมาธินั้นไว้ให้คงที่ได้
แต่เณรโพธิ์กลับไปมีใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์ปีติที่เกิดขึ้น
จนทำให้สติที่มีอยู่ต่อสิ่งรอบตัว ซึ่งรวมถึงป้ายในสนามหญ้านั้นด้วย หลุดไป
เหมือนเช่นเดียวกันกับที่วัวกระทิงวิ่งชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่
หลังจากที่สติของมันที่ต่อสภาวะแวดล้อมได้หลุดไปเหมือนกัน
ดังนั้น สติ และ สมาธิ จึงเป็นเปรียบเหมือนไพ่สองใบที่ต้องเล่นคู่กัน
ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งตกไป อีกสิ่งหนึ่งก็จะหล่นราบคาบในทันที
ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นสำหรับการนั่งสมาธิด้วยนั่นเอง"
(แปลจาก ความเห็นของ Peter Masefield, Pali scholar
อ่านความคิดเห็นจากผู้เขียนและศานาอื่นเพิ่มเติมได้
#6
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 11:06 AM
แต่พอ คิดว่ามันก็แปลกอยู่ที่ตอนมีสมาธิ แล้วหลับเพราะมีสติน้อยลง
อันนี้ก็แปลก มันน่าจะคู่กันไปเหมือนกัน
อ่านแล้วบทความนี้อาจจะเกิดจากผู้ไม่เข้าใจธรรมะ
ทำให้เข้าใจผิดได้เหมือนกัน
#7
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 12:16 PM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#8
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 01:29 PM
แล้วสมาธิจะเกิดเป็นลำดับถัดมาน๊า
เพราะการเอาสมาธิ (concentration) มาก่อน หรือมาพร้อมกับสติ จะทำให้บางทีอาจจะเผลอตั้งใจทำสมาธิมากเกินไป (เลยลืมความสบาย) จนเกิดอาการที่เรียกว่า ลุ้น เร่ง เพ่งจ้อง ยิ่งตั้งสมาธิมาก ก็ยิ่งหยุดใจไม่ได้ค่ะ แต่ถ้ามีความสบายนำหน้า และตั้งสติไปด้วยพร้อมๆ กัน โดยที่รู้ว่าขณะนี้ตัวเองมีสติอยู่กับสิ่งใด (ไม่เผลอฟุ้ง หรือ หลับ) จะสามารถเข้าถึงสมาธิ (concentration) ได้อย่างง่ายๆ จะเกิดความรู้สึกชนิดหนึ่งคือ เหมือนไม่ได้ตั้งใจทำ มันก็ได้เอง นั่นมันเป็นยังงั้น
สติมีมากเท่าไร ก็ยิ่งนิ่ง ดิ่งลึก ไม่ใช่หลับค่ะ ที่หลับนั่นเพราะวางใจเบาไปตะหาก เพราะถ้าหนักไปจะตึง จะปวดศีรษะนะคะ
ไม่ฝึกไม่รู้ ยิ่งฝึกยิ่งรู้ค่ะ
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#9
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 01:41 PM
คำแปล Mindfulness และ Concentration
อาจจะไม่ใช่ สติ กับ สมาธิ แล้วกระมัง
ไม่เช่นนั้น คงอธิบายสำเร็จไปแล้ว
ไม่ทราบว่า ท่านใด เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับเนี่ย?
เ พี ย ง พ บ พ า น . . . _ เ พื่ อ ผ่ า น ภ พ
Passing by to meet you.
#10
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 01:58 PM
Mindfulness
แปลว่า สัมมาสติ
[N] right mindfulness, See also: right recollection, Example: เมื่อมีสัมมาสติก็จะเกิดสมาธิสร้างปัญญาให้เกิดแจ้ง, Thai definition: ความระลึกชอบ
แปลว่า การเฝ้าดู
[N] care, See also: attention; mindfulness; taking care of; responsibility; solicitude, Syn. การดูแล, การเอาใจใส่
Concentration
แปลว่า [N] การมุ่งไปยังศูนย์กลาง
แปลว่า [N] การให้ความสนใจ, Syn. attention, attentiveness
แปลว่า [N] สารที่มีความเข้มข้น
แปลว่า (คอนเซินเทร'เชิน) n. ความเข้มข้น,ระดับความเข้มข้น,ความตั้งอกตั้งใจ,ภาวะที่เข้มข้น,สิ่งที่เข้มข้น,การรวมพล,ความใส่ใจในสาขาวิชาหนึ่ง, S. convergence,mass ###A. scattering
แปลว่า สมาธิ [N] concentration, See also: meditation; contemplation, Example: ในที่สุดเขาก็พยายามรวบรวมสมาธิและความกล้าหาญให้อยู่กับร่องกับรอย, Thai definition: ภาวะที่จิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์อย่างเดียว, Notes: (บาลี/สันสกฤต)
แปลว่า การทำสมาธิ [N] meditation, See also: concentration; contemplation, Syn. การเข้าฌาน, Example: การทำสมาธิเป็นการฝึกจิตใจของเราให้มั่นคง ไม่วอกแวก
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#11
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 02:44 PM
แล้วสมาธิจะเกิดเป็นลำดับถัดมาน๊า
การมีสมาธิมากเกินไปของคุณทศพล คงหมายถึงการ ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง ละมั้งคะ
เพราะปกติแล้ว เมื่อสมาธิเกิด สติก็จะต้องเกิดควบคู่ไปด้วย"อย่างแน่นอน"ค่ะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#12
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 05:24 PM
ถ้าจะให้ตัวอย่างชัดกว่านั้น ก็เช่น ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรกำลังทำสมาธิแบบเข้านิโรธอยู่ ใจท่านดิ่งเข้ากลางไปเรื่อยๆ ไม่ได้สนใจสิ่งรอบตัวเลย ในขณะที่พระโมคคัลนานะซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ก็กำลังเข้าสมาธิจิตนิ่งจนเกิดตาทิพย์ ท่านก็ใช้ตาทิพย์มองสิ่งต่างๆ ไปรอบบริเวณอยู่
ต่อมา มียักษ์ 2 ตนผ่านมา เห็นพระสารีบุตรนั่งสมาธิ อยู่ๆ ยักษ์ตนหนึ่งก็มีอาการ อยากจะตีหัวพระสารีบุตร ยักษ์อีกตนห้ามก็ไม่ฟัง ว่าแล้วก็ตรงเข้าไป ใช้กระบองยักษ์ตีลงไปที่หัวพระสารีบุตรสุดแรงเกิด แล้วนรกก็สูบยักษ์นั้นลงไปทันที พระโมคคัลลานะเห็นเหตุการณ์โดยตลอดด้วยตาทิพย์ จึงใช้ฤทธิ์มาปรากฏตรงหน้าพระสารีบุตร พร้อมกับถามว่า
ท่านเป็นอะไรหรือเปล่า พระสารีบุตรบอกว่าเจ็บหัวนิดหน่อย
พระโมคคัลลานะจึงพูดว่า "อัศจรรย์จริงหนอ ยักษ์ตีลงไปสุดแรงเกิด แต่ท่านสารีบุตรกลับบอกว่า เจ็บนิดหน่อย"
พระสารีบุตรจึงพูดว่า "อัศจรรย์จริงหนอ ยักษ์มาอยู่ใกล้ๆ เราแท้ๆ เรากลับไม่เห็น แต่พระโมคคัลลานะกลับมองเห็นด้วยตาทิพย์ได้" (เพราะท่านเข้านิโรธ จึงไม่ได้มองนั่นเอง)
จากเรื่องนี้ จะเห็นว่าในตอนนั้น สมาธิที่พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ ใช้นั้นต่างกัน สมาธิที่พระสารีบุตรใช้ในตอนนั้น ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ก็หมายถึง สมาธิเพื่อการพักผ่อน ส่วนสมาธิที่พระโมคคัลลานะใช้ในตอนนั้น ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ก็หมายถึง สมาธิเพื่อการใช้งาน
แต่ทั้ง 2 ท่านก็สามารถใช้สมาธิได้ทั้งสองแบบ ดังนั้น ที่ใครไปเข้าใจว่า วัวขวิดผิด เพราะมีแต่สมาธิแต่ไม่มีสตินั้น ผมว่า เป็นความคิดเห็นของเขาน่ะครับ ยังไม่ใช่ความเข้าใจที่สมบูรณ์แท้
#13
โพสต์เมื่อ 15 June 2006 - 06:59 PM
ดวงศีล เป็นรากฐานของใจความสำนึกผิดชอบชั่วดี ใจของมนุษย์ ที่รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ มันอยู่ในดวงนี้
ดวงสมาธิ ก็เป็นรากฐาน ของใจ ในการที่จะทำอะไรๆให้สำเร็จ ด้วยความมุ่งมั่น
ดวงปัญญาก็เป็น รากฐานของปัญญาของคนเรานั่นเอง
จิตที่แบ่งออกเป็นดวงๆนั้น มีอยู่ทุกคน คอยสั่งการให้เราดำเนินชีวตไป โดยที่เราไม่รู้ตัว
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติสมาธิแบบใดก็ตาม ที่มาของสมาธิย่อมมาจากที่เดียวกัน
สติแปลว่าความรู้ตัว เป็นเครื่องทำให้เกิดสมาธิแปลว่าความตั้งมั่น
การที่จะมีสมาธิใด้ต้องย่อมคู่ไปกับการมีสตินั่นเอง
#14
โพสต์เมื่อ 16 June 2006 - 09:30 AM
ขอบคุณพี่หัดฝันที่มาอธิบายสมาธิทั้งสองแบบให้เข้าใจ เพราะเวลาคนมีสมาธิมาก ๆ
จนแทบไม่ได้ยินเสียงรอบข้างนั้น เป็นสมาธิอีกแบบคือแบบพักผ่อน เข้านิโรธ
ส่วนสมาธิใช้งานนั้นจะมีสติรอบตัวพร้อมรับรู้ และฌาณสมาธิแบบอภิญญา
มันเป็นแบบนี้เอง ผมจำได้เวลาคนตั้งใจทำอะไรเช่นอ่านหนังสือให้เข้าใจเข้าต้องใช้
สมาธิมากจริง ๆ หรือคิดแก้ไขปัญหา เขาแทบไม่ได้ยินเสียงคนรอบข้างหรือไม่สังเกตุ
เห็นเวลามีใครผ่านไปผ่านมา
ส่วนเรื่องวัวกระทิงขวิดผ้านั้น วัวกระทิงเป็นสัตว์จึงเรียกว่าสมาธิไม่ได้เพราะไม่มีสติ
ข้อนี้ ....การยกมาอธิบายจึงทำให้สับสน
ส่วนการฝึกเข้ากลางของกลางนั้นต้องดำรงสติพร้อมจึงสามารถเข้าสู่ศูนย์กลางกาย
ได้และสามารถเดินวิชชาต่อ อธิบายจากสมาธิแบบใช้งานของพี่หัดฝันนั่นเอง
การฝึกสมาธินั้นจะได้ผลเหมือนกันมีที่มาคล้ายกัน ( แต่ต้องให้สตินำหน้า ) อันนี้น่า
จะถูกคือคู่กันแต่สติต้องนำหน้าเสมอ เหมือนคุณฟ้าร้างอธิบาย เพราะทำให้ เราสามารถ
ประคองสติและสมาธิต่อไปได้ถูกทาง เหมือนตอนหลวงพ่อสอนสมาธิ ให้หลับตาเบา ๆ
ไม่เครียด ไม่เกร็ง ทำตัวให้ เหมือนนั่งในที่โล่ง ทำใจให้สบายนึกนิมิตก็เหมือนกับนึก
อะไร ธรรมดา สามารถประคองสติอย่างนี้ไปได้เรื่อย ๆ สมาธิจะเริ่มเกิดตามมา ถ้าหาก
ว่าเราง่วงแสดงว่าเขาขาดสติสมาธิก็จะหายไปด้วย เหมือนหลงทางไปไม่ถูกทาง สุดท้าย
ก็หลับไป ( ไม่ใช่สมาธิ ) เพราะว่าสมาธิหายไปแล้ว
ผมพยายามหาบทความเกี่ยวกับสติและสมาธิจาก อินเตอร์เนทเพื่อหาความหมายของมัน
และความเกี่ยวข้อง เพราะความหมายของสตินั้นถ้าหากขาดเพียงชั่วขณะเรามักเรียกว่า.....
จากบทความนี้ ผู้เขียนเป็นชาวต่างชาติ ความเข้าใจจึงไม่สมบูรณ์
สาธุ สาธุ ทุกคำตอบครับ
#15
โพสต์เมื่อ 16 June 2006 - 02:21 PM
#16
โพสต์เมื่อ 16 June 2006 - 05:49 PM
เขาได้ให้ข้อมูล Concentration นั้น ไม่ใช่ Meditation น่ะครับ Concentration หมายถึง ใจจดจ่อ ซึ่งสามารถมีได้ในสัตว์เดรัจฉาน เช่น วัวกระทิง ที่ยกตัวอย่างมา แต่ไม่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น Meditation ได้ เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีสติน่ะครับ และยิ่งไม่สามารถพัฒนามาเป็น Meditation ที่ถูกต้องได้ เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีศูนย์กลางกาย
ส่วนมนุษย์ทั่วๆไป สามารถมี Concentration ได้ และพัฒนาขึ้นเป็น Meditation แบบนอกตัวได้ และสมบูรณ์ที่สุด ก็จะต้องเป็น Meditation แบบในตัวน่ะครับ
ผู้รู้ท่านว่าไว้อย่างนั้น
#17
โพสต์เมื่อ 17 June 2006 - 08:49 AM
Concentration และ Meditation ความหมายของมันคนละอย่างนี่เอง
การฝึกสมาธิ ตอนเช้าจะใช้คำว่า Meditation เพราะเหตุนี้เอง
สมาธิที่มีสติพร้อมคือ Meditation คือสมาธิแบบอภิญญาสมาบัติ นั่นเองเช่น
เวลาเข้า ฌาณแล้วแสดงฤทธิ (แสดงว่ามีสติพร้อม)
ส่วน Concentation สมาธิแบบใจจดใจจ่อ คือสมาธิที่เวลาคิดหรือแก้ไขปัญหา
เรามีใจจดจ่อ ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง นั่นคือสมาธิแบบวัวกระทิง คือไม่มีสติควบคุม
มนุษย์สามารถพัฒนาสมาธิ Concentation นี้ให้เป็น Meditation แบบนอกตัว
เช่น กสิณ ๑๐ ได้ และถ้าจะให้สมบูรณ์ต้องเป็น Meditation แบบในตัวคือศูนย์
กลางกายฐานที่ ๗
สาธุ สาธุ ถ้าตั้งกระทู้ที่อื่นคงไม่ได้คำตอบได้ขนาดนี้แน่ ๆ เลย
มันมีความหมายคนละอย่าง ดังนั้นการอธิบายจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะ คนต่างชาติ
ที่ไม่เคยปฏิบัติย่อมไม่สามารถ แยกความแต่ต่างของ Concentation กับ Meditation
ได้
#18
โพสต์เมื่อ 05 April 2007 - 07:36 AM
#19
โพสต์เมื่อ 08 April 2007 - 08:42 PM
แต่ก็ขอบคุณ และอนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน ด้วยที่ให้ความรู้
แก่ผู้สนใจ เปิดเข้ามาอ่าน อย่างเช่นตัวดิชั้นเอง สาธุ สาธุ
#21
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 11:15 AM