ทางแห่งความเสื่อม ๖ ประการ
#1
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 01:38 PM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#2
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 02:35 PM
๒. เที่ยวกลางคืน
๓. เที่ยวดูการละเล่น
๔. เล่นการพนัน
๕. คบคนชั่วเป็นเพื่อน
๖. เกียจคร้านการทำงาน
ตามที่ได้ศึกษามานะครับ การดื่มน้ำเมาเป็นเหตุที่ทำให้คนเราไปประกอบกรรมชั่วช้าหลายๆอย่างตามมาไม่สิ้นสุด ทำได้แม้กระทั่งฆ่าแม่ตัวเอง
แต่คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะ ท่านกล่าวว่า ในมงคลชีวิต ๓๘ ประการ ถ้าหยุดคบคนชั่วเป็นมิตรไม่ได้ อีก๓๗ ข้อที่เหลืออย่าได้หวังรักษา
(ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอบายมุข ๖ โดยยกข้อ การดื่มน้ำเมา มาเป็นข้อแรก นั่นแสดงว่าเป็นความสำคัญอับดับ ๑ หรือป่าวครับ
ส่วน อเสวนา จะพลานัง การไม่คบคนพาล ก็เป็นข้อแรกของ มงคลชีวิต ๓๘ ประการด้วย)
ถ้าจะให้ฟันธงไปว่าข้อในเลวสุด ด้วยความรู้อันน้อยนิด ผมไม่กล้าตอบครับ
#3
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 07:59 PM
ลองพิจารณาดูนะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 10:06 PM
ถือเป็น Quiz ของนักเรียนอนุบาลพันธุ์แท้นะ สนุกสนาน ทบทวน บันเทิง
ขอตอบข้อ ๕. คบคนชั่วเป็นเพื่อน
เพราะเป็นชนวนนำพาไปสู่ข้อที่เหลือได้หมด
#5
โพสต์เมื่อ 25 June 2006 - 10:12 PM
- ทำให้เสียทรัพย์
- ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันและบางครั้งถึงกับฆ่ากัน
- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เพราะทำให้เสียสุขภาพ บั่นทอนกำลังกาย
- ทำให้เสียเกียรติยศและชื่อเสียง
- ทำให้เป็นหน้าด้านไม่รู้จักอาย
- บั่นทอนกำลังสติปัญญา
2) ชอบเที่ยวกลางคืน มีโทษดังนี้
- เป็นการไม่รักตัว เพราะทำให้ร่างกายและจิตใจไม่ปกติไม่อาจประกอบอาชีพการงานได้ตามปกติ และต้องเสียเงินรักษาตัวโดยไม่จำเป็น
- เป็นการไม่รักลูกเมียหรือครอบครัว เพราะทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น
- เป็นการไม่รักษาทรัพย์สมบัติ เพราะเป็นการจ่ายเงินโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร มีแต่หมดไป
- เป็นที่ระแวงสงสัยของผู้อื่น ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจในการทำงาน เช่น หัวหน้าจะไม่ไว้ใจว่าจะทำงานได้ดี หรือลูกน้องไม่เลื่อมใส
- เป็นเป้าหมายให้เขาใส่ความได้ เพราะทำอะไรผิดเล็กน้อย คนก็จะหาว่าเพราะเที่ยวมาก จึงเป็นอย่างนี้ ทั้งๆที่อาจมิใช่ก็ได้
- เป็นที่มาของความเดือดร้อนนานาชนิด เพราะเมื่อเที่ยวจนหมดเงิน อาจคิดการทุจริต หรืออารมณ์เสียบ่อยๆ ทำให้ครอบครัวแตกแยก
3) ชอบเที่ยวดูการละเล่น มีโทษ คือ ทำให้ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่จะเล่น ไม่เป็นอันทำมาหากิจ เสียทั้งเวลา เสียงทั้งเงิน ทำให้คนเชื่อถือน้อยลง ถูกมองว่าเป็นคนไม่เอาการเอางาน
4) ติดการพนัน มีโทษดังนี้
- เมื่อชนะย่อมก่อเวร คือ เมื่อเล่นได้ก็ย่อมมีคนอยากแก้มือเรียกร้องให้เล่นอีก
- เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ เพราะเมื่อเล่นเสีย จิตใจก็บังเกิดความเสียดายทรัพย์
- ทรัพย์สินย่อมเสียหาย เพราะเงินที่ได้มานั้นมักเก็บไว้ได้ไม่นาน เรียกเงินร้อน ต้องใช้จ่ายจนหมด
- ไม่ใครเชื่อถือ เพราะผู้อื่นย่อมขาดความเชื่อถือในถ้อยคำ มักถูกมองว่าเป็นคนหลอกลวง
- เพื่อนฝูงดูหมิ่น ไม่อยากคบค้าสมาคม เพราะกลัวจะเสียชื่อเสียงตามไปด้วย
- ไม่มีใครอยากได้เป็นคู่ครอง เพราะกลัวครอบครัวไม่ราบรื่น และอาจละทิ้งครอบครัวได้
5) คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ คือทำให้เป็นคนชั่วตามไปด้วย ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนตามไปด้วย
6) เกียจคร้านการงาน มีโทษ คือ ทำให้ชีวิตตกต่ำไม่เจริญก้าวหน้า มีแต่ความอยากลำบาก ขัดสนในชีวิต
ประโยชน์ของการละเว้นอบายมุข
- ไม่เสียทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์
- ไม่หมกมุ่นในสิ่งที่หาสาระมิได้
- ประกอบหน้าที่การงานได้เต็มที่
- ชีวิตไม่ตกต่ำ
- เป็นที่รักและไว้วางใจของผู้อื่น
- สามารถประกอบอาชีพหน้าที่การงานได้ด้วยความสุจริต
......กริชคิดว่านะคนที่ดืมสุรานอกจากจะทำให้ผิดศีลข้อที่ 5 แล้วยังทำให้ผิดศีลข้ออื่นตามมาด้วยโดยอัตโนมัติ
ดั่งนั้นกริชว่าพระพุทธองค์คงจะตรัสว่าการดื่มน้ำเมานั้นเลวที่สุดค่ะ
แต่จะถูกมากน้อยแค่ไหนนั้นก็ไม่ทราบนะคะ รอแต่ผู้รู้มากๆมาช่วยชี้แนะคะ
อนุโมทนาบุญคะคุณครู
#6
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 01:05 AM
๑. อบายมุข ๖ (ทางแห่งความเสื่อม ๖ ประการ) ที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับนักปฏิบัติธรรมคืออะไร?
๒. อบายมุขที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเลวที่สุดคืออะไร?
ให้อธิบายมาพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ ขอขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#7
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 11:00 AM
ข้อ ๑. ตอบว่าคบคนชั่ว(คนพาล) เพราะเป็นชนวนของอบายมุขอื่นทั้งหมด
ข้อ ๒. ค้นหาไม่พบจริง ๆ เพราะสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสนั้นต้องหาในพระไตรปิฏก
ลองช่วย เฉลยให้หน่อย ว่าเป็นพระสูตร หรือ พระวินัย
ลองหาดูแล้วไม่พบขอตอบแค่นี้ก่อนแล้วกัน
#8
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 11:34 AM
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
[๑๗๙] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการนี้ คือ ความเสื่อมทรัพย์
อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑ เป็นเหตุ
เสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ๑ มีบทที่ ๖ คือ เป็นเหตุทอนกำลัง
ปัญญา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๐] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปใน
ตรอกต่างๆ ในกลางคืน ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ตัว ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑
เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑
อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๑] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการเหล่านี้คือ
รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๑ ประโคมที่ไหนไปที่นั่น ๑ เสภาที่ไหน
ไปที่นั่น ๑ เพลงที่ไหนไปที่นั่น ๑ เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร
โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๒] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อม
เสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคนเล่นการ
พนัน ซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตรอมาตย์หมิ่นประมาท ๑ ไม่มีใคร
ประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่า ชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยง
ภรรยา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๓] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่ว
เป็นมิตร ๖ ประการเหล่านี้ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน ๑ นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๑ นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้เป็นคน
โกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๔] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
๖ ประการเหล่านี้ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อน
นัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้
อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผลัด
เพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความสิ้น
ไป ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
เหล่านี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๘๕] เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปากว่าเพื่อนๆ ก็มี
ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่า
เป็นเพื่อนแท้ เหตุ ๖ ประการ คือ การนอนสาย ๑ การเสพ
ภรรยาผู้อื่น ๑ ความประสงค์ผูกเวร ๑ ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งหา
ประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นนัก
๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้พึงถึง
คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว มีมรรยาทและการเที่ยวชั่ว ย่อม
เสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ จากโลกนี้และจากโลกหน้า เหตุ ๖
ประการ คือ การพนันและหญิง ๑ สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑
นอนหลับในกลางวันบำเรอตนในสมัยมิใช่การ ๑ มิตรชั่ว ๑
ความตระหนี่เหนียวแน่นนัก ๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจาก
ประโยชน์สุข ที่จะพึงได้พึงถึง ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่ม
สุรา เสพหญิงภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คน
ต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อมเสื่อมเพียงดัง
ดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำ
เลี้ยงชีวิตมิได้ เป็นคนขี้เมา ปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขา
จักจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ ฉะนั้น จักทำความอากูล
แก่ตนทันที คนมักมีการนอนหลับในกลางวัน เกลียดชังการ
ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาเป็นนิจ ไม่อาจครอบครอง
เหย้าเรือนให้ดีได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยชายหนุ่มที่
ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างเลศว่า หนาวนัก ร้อนนัก เวลานี้เย็น
เสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวและความ
ร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุขเลย ฯ
[๑๘๖] ดูกรคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คนนำสิ่งของๆ
เพื่อนไปถ่ายเดียว [คนปอกลอก] ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนใน
ทางฉิบหาย ๑ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ฯ
[๑๘๗] ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ เสียให้น้อยคิด
เอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบเพื่อนเพราะเห็นแก่
ประโยชน์ของตัว ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๘] ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ อ้างเอาของที่ยัง
ไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดง
ความขัดข้อง [ออกปากพึ่งมิได้] ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่า
ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๙] ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว [จะทำชั่วก็คล้อย
ตาม] ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี [จะทำดีก็คล้อยตาม] ๑ ต่อหน้าสรรเสริญ ๑
ลับหลังนินทา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่
คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๐] ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่
มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน
๑ ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ ๑ ชักชวนให้เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๑] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรปอกลอก ๑
มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคน
เดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ
[๑๙๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ
[๑๙๓] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้
ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้
สองเท่า [เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก] ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร
มีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๔] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตร
แท้โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑
ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑ ดูกร
คฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔
เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๕] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตร
แท้โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยัง
ไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึง
ทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๖] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดีด้วยความเจริญของ
เพื่อน ๑ ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ ดูกรคฤหบดี
บุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรัก
ใคร่ ๑ ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
รุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่
เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจ
จอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูลผู้
สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว พึงแบ่งโภค
สมบัติออกเป็นสี่ส่วน เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอย
โภคสมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน
พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๒๓๒] เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอน
(ตาย) ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ร่วมทางอันลามก.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓
ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ งูที่เปื้อนคูถ ถึงจะไม่กัดคน ก็จริง ถึงอย่างนั้น ย่อม
เปื้อนบุคคลนั้น ชื่อแม้ฉันใด ถึงบุคคลผู้คบนั้น จะไม่เอาอย่างบุคคลเช่นนี้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น กิตติศัพท์อันลามก ย่อมฟุ้งไปแก่บุคคลนั้นว่า บุคคลผู้เป็นบุรุษ
มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควร
เกลียด ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บุคคลที่ควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้า
ใกล้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกเขา
ว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ
ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ
ให้ปรากฏ เหมือนแผลเรื้อรัง ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีน้ำเลือด
น้ำหนองไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ
มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ
ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษ-
*ร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น ใบมะพลับแห้งถูกไม้หรือ
กระเบื้องกระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะเกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้
เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง
ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉัน
นั้น หลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีกลิ่นเหม็นเกินประมาณ ชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขา
ว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง
ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏก็ฉัน
นั้น บุคคลเห็นปานนี้ควรวางเฉยเสียไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาจะพึงด่าเราบ้าง พึงบริภาษเราบ้าง พึงกระทำ
ความฉิบหายแก่เราบ้าง เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉยเสีย ไม่ควร
สมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
ก็เห็นว่ามีแต่เรื่องการคบคนชั่วเท่านั้นล่ะค่ะ ที่พระพุทธองค์ท่านเปรียบเทียบขยายความมากที่สุด
(ขออภัยนะคะถ้ายาวไปหน่อย)
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#9
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 11:41 AM
ขอขยายความว่า ร้ายแรงที่สุดสำหรับนักปฏิบัติธรรมในที่นี้คือ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติกิจภาวนาน่ะครับ เน้นที่ผู้ปฏิบัติกิจภาวนานะครับ
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#10
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 11:56 AM
ข้อ ๑ ดื่มสุรา ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจภาวนาได้ ไม่น่าใช่เพราะถ้าปฏิบัติกิจภาวนาแล้วไม่น่าดื่มสุรา
ข้อ ๖ เกียจคร้าน น่าจะเป็นอบายมุขข้อที่ร้ายแรงที่สุดเพราะถ้าหากเกียจคร้านไม่ปฏิบัติกิจภาวนา
ก็ไม่ก้าวหน้า น่าจะใช่ข้อนี้หรือเปล่า เป็นการเตือนนักปฏิบัติธรรมด้วย
#11
โพสต์เมื่อ 26 June 2006 - 12:57 PM
ถ้าเช่นนั้นขอฟันธงว่า การดื่มน้ำเมาครับ น้ำเมาทำให้ขาดสติ เมื่อขาดสติก็เกิดสมาธิไม่ได้เมื่อไม่มีสมาธิก็ปฏิบัติภาวนาในเบื้องต่อไปไม่ได้
แต่สุราย่อมเป็นพิษภัยให้โทษแก่คนทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆาราวาส ยาจกวนิพก บรรลัยเพราะสุราได้ทั้งนั้นครับ
#12
โพสต์เมื่อ 27 June 2006 - 05:09 AM
[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตรายของธรรม วัยสิ้นไป
ตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมข้องอยู่
ในหญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่อง
ชำระล้าง ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือความเกียจ
คร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑
ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้น
เสียโดยประการทั้งปวงเถิด ฯ
#13
โพสต์เมื่อ 28 June 2006 - 06:05 PM
๑. ดื่มน้ำเมา
เพราะทำให้ขาดสติ สติเป็นบ่อเกิดสมาธิ เมื่อไม่มีสติก็เข้าถึงสามธิไม่ได้
จึงเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรม
๒. คบคนพาล
เพราะการคบคนพาล เป็นสิ่งที่ชักนำไปสู่อบายมุขข้ออื่นๆทั้งหมด
แต่ก็ไม่ทราบจะอ้างอิงพระไตรเล่มใด
#14
โพสต์เมื่อ 07 March 2007 - 03:12 PM