พระโสดาบันที่ท่านไม่ได้เรียนปริยัติไม่รูหัวข้อธรรมะต่างๆ แล้วจะรู้ตัวท่านไหมครับ? ว่าตัวบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน
เพราะแม้คำว่าโสดาบันท่านก็ยังไม่รู้จัก
ทราบมาว่า ในขณะที่สำเร็จโสดาบัน จะบังเกิด ปัจจเวกขณวิถี ขึ้น อยากทราบว่าคืออะไรหรอครับ?
ขอผู้รู้ ช่วยให้ความรู้เป็นธรรมทาน ต่อตัวผมและสมาชิกท่านอื่นด้วยครับ
ขอบพระคุณมากครับ
--------------------------------
พระโสดาบันที่ไม่ได้เรียนปริยัติ
เริ่มโดย เพียงพอ, Oct 22 2006 09:02 PM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 22 October 2006 - 09:02 PM
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
เพียงพอ
#2
โพสต์เมื่อ 22 October 2006 - 09:42 PM
QUOTE
พระโสดาบันที่ท่านไม่ได้เรียนปริยัติไม่รูหัวข้อธรรมะต่างๆ แล้วจะรู้ตัวท่านไหมครับ? ว่าตัวบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน
เพราะแม้คำว่าโสดาบันท่านก็ยังไม่รู้จัก
เพราะแม้คำว่าโสดาบันท่านก็ยังไม่รู้จัก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า วิญญูชน พึงรู้ได้เฉพาะตน
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 12:04 AM
เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณ(ตัวรู้)ว่าหลุดพ้นย่อมมี ฯ
นี้เป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้หลายที่ตามพระสูตรต่างๆ
พระโสดาบันละกิเลสสัญโยชน์ได้่ ๓ ประการคือ
ความยึดมั่นในตัวตน
ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
ความประพฤติผิดๆ
ปัจจเวกขณวิถี
ศัพย์นี้เคยได้ยินพระท่านคุยกันว่า
เป็นแนวทางการพิจารณาอะไรบางอย่างนี้แหละครับที่พอจำได้คือ
พิจารณากิเลสที่ละได้ พิจารณากิเลสที่เหลือ พิจารณามรรคผลที่ได้ และ พิจารณาพระนิพพาน แล้วปรารถมรรคผลที่ีสูงขึ้นไป
ก็พอได้ยินมา ถ้าผิดพลาด ก็ขอผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยแนะนำด้วยครับ ผมไม่ชำนาญเรื่องปริยัติ
นี้เป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้หลายที่ตามพระสูตรต่างๆ
พระโสดาบันละกิเลสสัญโยชน์ได้่ ๓ ประการคือ
ความยึดมั่นในตัวตน
ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
ความประพฤติผิดๆ
ปัจจเวกขณวิถี
ศัพย์นี้เคยได้ยินพระท่านคุยกันว่า
เป็นแนวทางการพิจารณาอะไรบางอย่างนี้แหละครับที่พอจำได้คือ
พิจารณากิเลสที่ละได้ พิจารณากิเลสที่เหลือ พิจารณามรรคผลที่ได้ และ พิจารณาพระนิพพาน แล้วปรารถมรรคผลที่ีสูงขึ้นไป
ก็พอได้ยินมา ถ้าผิดพลาด ก็ขอผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยแนะนำด้วยครับ ผมไม่ชำนาญเรื่องปริยัติ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก
#4
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 12:02 PM
พระโสดาบันท่านอยู่ในสาวกภูมิดังนั้น การบรรลุเป็นพระโสดาบัน
ท่านยังสามารถใช้ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ตรวจสอบได้
ปัจเวกขณะวิถีคืออะไร ยังไม่รู้จริง ๆ
ท่านยังสามารถใช้ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ตรวจสอบได้
ปัจเวกขณะวิถีคืออะไร ยังไม่รู้จริง ๆ
หยุดคือตัวสำเร็จ
#5
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 12:40 PM
ที่ว่า แตกฉานในอรรถและธรรม ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของภาษามากกว่าครับ เรื่องปริยัติเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาซะส่วนใหญ่ครับ
ถ้ายกภาคทฤษฏีออกไป เหลือแต่ปฏิบัติล้วนๆ ผู้สำเร็จโสดาบันก็ย่อมจะรู้ตัวเองของท่านดี เหมือนชิมรสแกง แล้วรู้สึกถึงรสชาตนั้นด้วยตนเอง
แต่ถ้ามี ปฏิสัมภิทาญาณ เรื่องภาษาก็คงไม่ใช่อุปสรรคครับ แม้กระทั่งภาษาของสัตว์เดรัจฉาน
ถ้ายกภาคทฤษฏีออกไป เหลือแต่ปฏิบัติล้วนๆ ผู้สำเร็จโสดาบันก็ย่อมจะรู้ตัวเองของท่านดี เหมือนชิมรสแกง แล้วรู้สึกถึงรสชาตนั้นด้วยตนเอง
แต่ถ้ามี ปฏิสัมภิทาญาณ เรื่องภาษาก็คงไม่ใช่อุปสรรคครับ แม้กระทั่งภาษาของสัตว์เดรัจฉาน
#6
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 06:09 PM
เข้าถึงพระอริยบุคคลระดับได ก็จะรู้ด้วยใจตัวเองทันที รู้ด้วยการเห็นแจ้ง ดังนั้นจึงไม่มีความลังเลสงสัย เพราะรู้ด้วยการเห็นแจ้ง (ไม่ใช่การนึก หรือการคิดด้นเดา)
#7
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 11:51 PM
QUOTE
เข้าถึงพระอริยบุคคลระดับได ก็จะรู้ด้วยใจตัวเองทันที รู้ด้วยการเห็นแจ้ง ดังนั้นจึงไม่มีความลังเลสงสัย เพราะรู้ด้วยการเห็นแจ้ง
เห็นด้วยค่ะ คุณpanu
The Strongest is The Gentlest!
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#8
โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 01:17 PM
ปัจจเวกขณวิถี
ปัจจเวกขณะ แปลว่า พิจารณา หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม สภาวะธรรมที่เป็นจริง ปัจจเวกขณวิถี ก็คือ วิถีจิต หรือ ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง สภาพแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เมื่อ มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน จะไม่มีปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถี ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พิจารณามัคค
๒. พิจารณาผล
๓. พิจารณานิพพาน
๔. พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว
๕. พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่
ในปัจจเวกขณะ ๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ
การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑ และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้
ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๑ และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๑ นั้น บางทีก็พิจารณา บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ จึงจะทราบเรื่องราวของกิเลส เมื่อทราบก็พิจารณาได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา ก็ไม่ทราบเรื่องจึงไม่พิจารณา
ปัจจเจกขณวิถี ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี สกทาคามีมัคควิถี และ อนาคามีมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ ส่วนปัจจเวก ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙ ประการ คือ
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔
ปัจจเวกขณวิถี เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น ก็มีได้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป แต่หลังจาก อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ วิถีไม่เกิด นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล หรือเป็น พระอริยบุคคล ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้ เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ คือ
๑. พิจารณาว่า เรามีความ แก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ ไปได้
๒. พิจารณาว่า เรามีความ เจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บ ไปได้
๓. พิจารณาว่า เรามีความ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ ตาย ไปได้
๔. พิจารณาว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
http://aphidham.mcu..../prariset4.html (ดูหน้า 39-41)
ปัจจเวกขณะ แปลว่า พิจารณา หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม สภาวะธรรมที่เป็นจริง ปัจจเวกขณวิถี ก็คือ วิถีจิต หรือ ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง สภาพแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เมื่อ มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน จะไม่มีปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถี ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พิจารณามัคค
๒. พิจารณาผล
๓. พิจารณานิพพาน
๔. พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว
๕. พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่
ในปัจจเวกขณะ ๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ
การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑ และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้
ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๑ และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๑ นั้น บางทีก็พิจารณา บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ จึงจะทราบเรื่องราวของกิเลส เมื่อทราบก็พิจารณาได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา ก็ไม่ทราบเรื่องจึงไม่พิจารณา
ปัจจเจกขณวิถี ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี สกทาคามีมัคควิถี และ อนาคามีมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ ส่วนปัจจเวก ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙ ประการ คือ
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔
ปัจจเวกขณวิถี เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น ก็มีได้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป แต่หลังจาก อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ วิถีไม่เกิด นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล หรือเป็น พระอริยบุคคล ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้ เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ คือ
๑. พิจารณาว่า เรามีความ แก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ ไปได้
๒. พิจารณาว่า เรามีความ เจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บ ไปได้
๓. พิจารณาว่า เรามีความ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ ตาย ไปได้
๔. พิจารณาว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
http://aphidham.mcu..../prariset4.html (ดูหน้า 39-41)
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#9
โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 06:13 PM
สาธุครับ
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
เพียงพอ
#10
โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 07:21 PM
อนุโมทนาครับ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี