[attachment=28981:1210865381.jpg]
-- อนาถปิณฑิกเศรษฐี --
- เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า “ สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดมาแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้ว่า “ สุทัตตะ ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากอนาถา
- ได้ชื่อใหม่เพราะให้ทาน เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทน ให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั้งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะนิสัยวว่า < “ อนาถบิณฑิกะ ” ซึ่งหมายถึง “ ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ” และได้เรียกกับต่อมมาจนบางคนก็ลืมชื่อดั่งเดิมของท่านไปเลย; ท่านอนาถปิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์นามว่า “ ราชคหกะ” และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกับและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถปิณฑิกะนำสินค้นมาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของ ราชคหกเศรษฐี ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและทั้งพี่เมียอยู่เป็นประจำ
- อนาถปิณฑิกเศรษฐีสำเร็จพระโสดาบัน อนาถปิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตในกรุงสาวัตถีโดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธ ศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายมาเสวย และฉันภัตตาการที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น; ราชคหกเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถารต้อนรับท่านอนาถปิณฑิกะเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้นก็สั่งงานต่อไป แม้ท่านอนาถปิณฑิกก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชายัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือน ของตนในวันพรุ้งนี้ ”
เมื่อการสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิเศรษฐี และท่านอนาถปิณฑกะก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสังสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่า ที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ้งนี้
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “ พระพุทธเจ้า ” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกประหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “ พระพุทธเจ้า ” นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ ขณะนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก ” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหก เศรษฐี ได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจสี่จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระ โสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอก ชีวิต
- อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดถวาย อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสร็จกิจแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนา ยังเมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายที่เมืองสาวัตถีนั้น พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูล
อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๕ โยชน์ ได้บริจากทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื่อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ * เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏิที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม ดังนั้น พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “ เชตวนาราม”
- เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธี ฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน ( บางแห่งว่า ๕ เดือน ) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันปราณีตแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล
อนาคบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งทรัยพ์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนในที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันปราณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวาย อาหารมีรสเลิศกว่า
- เศรษฐีขับไล่เทวดา ขณะนั้น เทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจจฉาทิฏฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศานา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออกทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตู ได้ เมื่อเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฏกายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า :
ท่านเป็นใคร ?”
ข้าพเจ้าเป็นเทวดา ผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน ”
“ ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจงออกไปจากซุ้มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด ”
เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุฐาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้ ”
เทวดาทำตามนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป
- ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปราาภเหตุเล็ก ๆ น้อย ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี้ วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลงแตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยนหลานว่า:
ไม่เป็นไร เราช่วยกับทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด ” ปรากฏว่าหลานหยุดร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลานช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตา
การทำบุญอุทิศไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ดังนั้น เมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือน อย่างท่านเศรษฐีกระทำนั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
- มอบภารกิจของตนให้ลูกหลาน ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในบ้านของอนาถ ปิณฑิกเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขาดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ก็ต้องมาขอโอกาสแก่ท่านทั้งสองนี้ ทั้งนี้ ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่าควรประกอบควรปลุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับ อัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มา ฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้มอบหมายภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาว
ส่วนอนาถบิณฑิกะ ได้มอบหมายให้แก่ลูกสาวคนโตชื่อว่า “ มหาสุภัททา” นางได้ทำหน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระคุณเจ้าแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานแล้วติดตามไปอยู่ในสกุลของสามี
จากนั้นอนาถบิณฑิกะก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า “ จุลสุภัททา ” นางก็ทำหน้าที่แทนบิดาด้วยดีโดยตลอด และก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวของสกุลสามี อนาถปิณฑิกะจึงได้มอบหน้ที่ให้ลูกสาวคนเล็กชื่อว่า “ สุมนาเทวี ” กระทำเเทนสืบมา
- ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย สุมนาเทวี ทำหน้ที่ด้วยความขยันเข้มเข็ง งานสำเร็จด้วยความเรียบร้อยทุกวัน ทั้ง ๆ ที่นางยังอายุน้อย จากการที่นางได้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์และได้ฟังธรรมเป็นประจำนาง ก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก ใคร่อยากจะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามา
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักรีบมาเยี่ยมโดยเร็ว พอมาถึงได้ถามลูกสาวว่า:
“ แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไร?”
“ อะไรเล่าน้องชาย ?” ลูกสาวตอบ
“ เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา? ” บิดาถาม
“ ไม่เพ้อหรอก น้องชาย ” ลูกสาวตอบ
“ แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ ? ” บิดาถาม
“ ไม่กลัวหรอกน้องชาย ”
นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม
- พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระศาสดา ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั้นความเศร้าโศกเสียใจเพราะการจากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพแล้วได้ร้องไห้น้ำตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่า:
“ อนาถบิณฑิกะ ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือ เหตุไฉนท่านจึงร้องไห้อย่างนี้? ”
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพองค์ทราบดี แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพองค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย นางบ่นเพ้อจนกระทั้งตาย ข้าพองค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้า ”
พร้อมทั้งได้กราบทูลถ้อยคำที่นางสุมนาเทวีเรียกตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคได้สดับแล้วตรัสว่า:
“ ดูก่อนมหาเศรษฐี ธิดาของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียกท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามี เป็นอริยบุคคลสูงกว่าท่าน และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความประมาท ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ก็ย่อมเสวยสุขเพลิดเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ”
อนาถ บิณฑิกเศรษฐีได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจ กลับได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน
เพราะความที่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ที่มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวฝักใฝ่ในการทำบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกททั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เป็นทายก.
- ในมโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกายว่า ค่าที่ดินและก่อสร้างอย่างละ ๑๘ โกฏ ใช้ในการฉลองวิหาร อีก ๑๘ โกฏ รวมทั้งหมด ๕๔ โกฏ.