ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ความเป็นพันปีของมหาธรรมกายเจดีย์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 15 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Kodomo_kung

Kodomo_kung
  • Members
  • 323 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 11:45 AM


ส่วนประกอบและโครงสร้างของมหาธรรมกายเจดีย์
ความเป็นพันปีของมหาธรรมกายเจดีย์
(อ.ฉัฐบุตร ชยอมร, ดร.ลาภ จิตนุยานนท์)
ภายในปี ๒๕๔๐ นี้ โครงสร้างมหาธรรมกายเจดีย์จะต้องเสร็จจนเห็นเป็นรูปร่าง เพื่อรองรับการติดตั้งองค์พระประจำตัวต่อไป ตัวเลขต่างๆ ที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลให้ทราบนี้ เป็นตัวเลขที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมอบหมายมาให้อย่างชัดเจน ไม่มีการตีความ ไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่ทุกอย่างที่เราทำก็คือ พัฒนารายละเอียดที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อมอบหมายมา เพื่อให้เป็นผลงานก่อสร้างที่ดีที่สุด
โครงสร้างของมหาธรรมกายเจดีย์
(อ.วิจิตร ชินาลัย, ดร.ลาภ จิตนุยานนท์)
การพัฒนาแบบมหาธรรมกายเจดีย์ ให้เป็นไปตามแนวคิด เป็นไปตามรูปแบบทางละเอียดที่หลวงพ่อมอบหมายให้ คือทีมงานของเราได้พัฒนาแนวคิดซึ่งเป็นอุดมการณ์ เป็นอุดมคติในทางละเอียดของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ให้ออกมาเป็นแบบบนแผ่นกระดาษ เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างตามหลักวิชาการ และให้เสร็จตามที่หลวงพ่อกำหนด
มหาธรรมกายเจดีย์ มีเนื้อที่ ๑ ตารางกิโลเมตร มีความกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร และความยาว ๑,๐๐๐ เมตร องค์ธรรมกายเจดีย์แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนที่ ๑ พุทธรัตนะ เป็นส่วนที่มีความสำคัญ เพราะเป็นศูนย์กลางองค์เจดีย์ เป็นส่วนที่อยู่ในบริเวณสีทอง ประกอบด้วยบริเวณโดม และเชิงลาดของโดม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๘ เมตร
ส่วนที่ ๒ ธรรมรัตนะ เป็นส่วนที่ถัดลงมา มีระยะห่างจากขอบปลายของพุทธรัตนะ ๑๐.๘๐ เมตร
ส่วนที่ ๓ สังฆรัตนะ มีเนื้อที่ห่างจากธรรมรัตนะจนถึงปลายสุดของธรรมกายเจดีย์ ๗๕.๖๐ เมตร เพราะฉะนั้นถ้ารวมทั้ง ๓ ส่วนแล้ว จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางรวมกันเท่ากับ ๑๙๔.๔๐ เมตร แม้เราจะแยกออกเป็น ๓ ส่วนก็จริง แต่ในวิธีการกำหนดโซน เพื่อความสะดวกในการทำแบบก่อสร้าง เราแบ่งออกเป็น ๑๒ โซน คือ
โซนที่ ๑ เป็นส่วนของโดม
โซนที่ ๒ เป็นเชิงลาดของโดม
โซนที่ ๓ ส่วนของธรรมรัตนะ
โซนที่ ๔ ส่วนของสังฆรัตนะ ถัดออกมาจากองค์ธรรมกายเจดีย์เป็น
โซนที่ ๕ เป็น ทางเดินเวียนเทียนของพระสงฆ์ มีความกว้างของวงแหวน ทางเดิน ๑๘ เมตร ถัดออกมาคือ
โซนที่ ๖ จะเป็นวงแหวน ของสระน้ำ เป็นสระน้ำที่มีความกว้าง ๙ เมตร ถัดออกมาอีกวงหนึ่ง ซึ่งเป็นวงนอกคือ
โซนที่ ๗ จะเป็นวงแหวนเวียนเทียนของสาธุชน มีความกว้าง ๑๘ เมตร และถัดออกมาคือ
โซนที่ ๘ เป็นวงแหวนสนามหญ้า ลานนั่งของพุทธศาสนิกชน ๕๐๐,๐๐๐ คน ถัดจากวงแหวนสนามหญ้าคือ
โซนที่ ๙ จะเป็นวงแหวนวิหารคด ตามด้วย
โซนที่ ๑๐ เป็นวงแหวนสระน้ำ ๘๑ เมตร ต่อมาเป็น
โซนที่ ๑๑ เป็นบริเวณสนามหญ้า ถัดมาเป็น
โซนที่ ๑๒ เป็นบริเวณคูน้ำรอบพื้นที่ มีความกว้าง ๒๗ เมตร
ทั้งหมดนี้คือขอบเขตของโครงการมหาธรรมกายเจดีย์ ที่มีความกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร และความยาว ๑,๐๐๐ เมตร ส่วนความสูงของมหาธรรมกายเจดีย์ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนยอด เป็นส่วนโดมและเชิงลาดโดม ซึ่งเป็นส่วนพุทธรัตนะ
ส่วนกลาง เป็นส่วนของธรรมรัตนะ และ
ส่วนล่างสุด เป็นส่วนของสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ส่วนนี้มีความสูงแต่ละส่วน ๑๐.๘๐ เมตร เท่าๆ กันทั้ง ๓ ส่วน ซึ่งรวมแล้วมหาธรรมกายเจดีย์จะมีความสูงโดยรวม ๓๒.๔๐ เมตร น้ำหนักโดยรวมของมหาธรรมกายเจดีย์นั้น มีน้ำหนักประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ตัน รวมพระธรรมกายประจำตัวจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์ และฐานรองรับองค์พระซึ่งเป็น โลหะสัมฤทธิ์ ตัวเลขจากการคำนวณเสาเข็มมหาธรรมกายเจดีย์ สามารถรับน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า ๒๕๐,๐๐๐ ตัน
ส่วนผิวของพุทธรัตนะ จะประกอบด้วยพระธรรมกายประจำตัว ซึ่งมีขนาดความกว้างที่ฐาน ๑๘ ซม. และมีความสูงองค์พระ ๑๘ ซม. ประดิษฐานอยู่โดยรอบโดม และที่เชิงลาดของโดมในส่วนที่ ๑ พุทธรัตนะ
ส่วนโครงสร้างของโดมและเชิงลาดโดม จะเป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก ห่างจากผิวพอประมาณเพื่อระบาย อากาศภายใต้ผิวสัมฤทธิ์ สำหรับส่วนที่เป็นธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ โครงสร้างโดยทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ แต่จะมีผิวเป็นหินแกรนิต ต่อเนื่องตลอดลงมาจนถึงขอบล่างสุดขององค์ธรรมกายเจดีย์
องค์ประกอบต่างๆ ที่เรานำมาใช้ในการก่อสร้างธรรมกายเจดีย์นี้ เราเลือกสรรวัสดุอย่างยิ่งยวด เราได้ออกแบบส่วนผสมเป็นพิเศษ ถ้าคิดในเชิงการค้าแล้วคงไม่มีใครเขาทำกัน เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก และต้องใช้กรรมวิธีซับซ้อนมากมายในการผลิตเพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน ทำให้เรามั่นใจว่าเราทำดีที่สุดแล้ว
ส่วนเรื่องขององค์ประกอบ ที่ประดับองค์ธรรมกายเจดีย์ภายนอก ซึ่งจะต้องให้อยู่ยืนยาวมีอายุเกิน ๑,๐๐๐ ปี ให้ได้นั้น เราเลือกวัสดุที่มีการพิสูจน์มาแล้วว่า สามารถทนแดดทนฝน ทนบรรยากาศ ได้นับเป็นพันๆ ปีทีเดียว ครั้งแรกที่ได้รับโจทย์นี้มาจาก พระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า ให้สร้างมหาธรรมกายเจดีย์มีอายุถึง ๑,๐๐๐ ปี พอได้ฟังคำนี้ผม (ดร.ลาภ จิตนุยานนท์) ตกใจมากทีเดียว เพราะว่า ผู้ออกแบบทั่วโลก ไม่เคยมีใครคิดโจทย์อย่างนี้มาก่อน ทุกวันนี้บางคืนผมนอนไม่หลับ เพราะต้องคิดต้องคำนวณไปถึงเรื่อง ๑,๐๐๐ ปี แต่สิ่งแรกที่ผมต้องพิจารณาก่อนมี ๒ ประเด็น คือ
๑. เนื้อวัสดุอะไร ที่จะใช้ในการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
๒. การประกอบโครงสร้างของมหาธรรมกายเจดีย์ จะประกอบอย่างไรให้ทนทานที่สุด
คอนกรีต
(ดร.ลาภ จิตนุยานนท์)
ประเด็นแรกในเรื่องของวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์สรุปแล้วมี ๒ ประเภท ที่จะนำมาใช้ได้
ประเภทที่ ๑ เหล็ก ซึ่งคนใช้เหล็กในการก่อสร้างมาตั้งแต่โบราณเมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีที่ผ่านมา และเหล็กนี้ สามารถอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี
ประเภทที่ ๒ ซีเมนต์ สามารถอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี แน่ๆ เพราะสมัยที่อียิปต์สร้างปิรามิดนั้น เขาใช้ปูนขาวปนกับน้ำแล้วนำมาเทระหว่างก้อนหินของปิรามิด และปิรามิดก็อยู่มาถึง ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีแล้ว ส่วนชาวโรมันเขาก็เอาปูนขาวไปผสมกับดินเหนียว แล้วนำมาสร้างอาคารในประเทศกรีซ ต่อมาประเทศต่างๆ ก็ค่อยๆ พัฒนาใช้ปูนขาวมาผสมกับดินเหนียวแล้วเอาไปเผา เผาแล้วเอามาบด ที่เราเรียกว่า Portland cement มาทุกวันนี้
จากวัสดุทั้ง ๒ ประเภทนี้ เหล็กก็น่าจะใช้ได้ แต่ เหล็กจะต้องมีการดูแลรักษาสูงกว่าซีเมนต์ เราจึงเลือกซีเมนต์ และแน่ใจว่าถ้าเราเอาซีเมนต์มาใช้ คงใช้ได้ดี แต่จะต้องทำให้ซีเมนต์เป็นคอนกรีตเสียก่อน โดยการนำมาผสมกับทรายและหินเพื่อให้มีคุณภาพสูง จึงได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญชาวเดนมาร์กว่า ทำอย่างไร จะทำให้คอนกรีตของเราดีที่สุด ผลสุดท้ายก็ได้คำตอบว่า
วิธีที่ ๑ ให้ใช้น้ำน้อยที่สุดในส่วนผสม
วิธีที่ ๒ ให้เลือกหินที่มีเหลี่ยมค่อนข้างกลมที่สุด จะทำให้คอนกรีตเนื้อแน่นขึ้น หลังจากที่ทำการทดสอบมานานถึง ๖ เดือนเต็ม ทดลองใช้มา ๑๐ กว่าสูตร แล้วเราก็ทำสำเร็จ เราได้สูตรที่ดีมาก เราส่งตัวอย่างไปที่ประเทศเดนมาร์ก ให้เขาตัด Specimen ออกเป็นชิ้นๆ แล้วเอา Microscope ดูความแน่นของเนื้อคอนกรีต ดูการกระจายของหินในคอนกรีต ปรากฏผลออกมาดีมากทีเดียว บริษัทซีแพคเขาพอใจคอนกรีตสูตรนี้มาก ถึงกับขอสูตรตัวนี้ไปลง Journal วารสารของบริษัทซีแพค พวกเราภูมิใจมากที่บริษัทซีแพคยังยอมรับสูตรของเรา ส่วนวัสดุประเภท พลาสติค หรือวัสดุประเภทที่ทำด้วยสารเคมีจากโรงงานปิโตรเลียม เราพยายามจะไม่ใช้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ เราจะนำมาใช้ในจุดที่เราสามารถกลับมาซ่อมแซมได้อีกใน ๔๐-๕๐ ปีข้างหน้า ในกรณีที่จะเป็นวัสดุที่ฝังอยู่ในคอนกรีต เราจะไม่ใช้ประเภทนี้
หินแกรนิต
(พระภูเบศ ฌานาภิญโญ-อ.วิจิตร ชินาลัย)
ส่วนในเรื่องผิว ถ้าไปดูโบราณสถานทั่วๆ ไปเขาจะใช้หินเป็นวัสดุหลัก แต่ในโครงการของเราใช้คอนกรีต เราก็มั่นใจเพียงพอแล้ว การจะนำอิฐ หินหนาๆ แบบโบราณสถานอาจไม่มีความจำเป็นแล้วก็สิ้นเปลืองเวลามาก เพราะ มีเทคโนโลยีของเราอยู่ จึงไม่จำเป็นต้องใช้หินแบบนั้น
แต่การใช้ผิววัสดุที่คลุมข้างนอก คงจะต้องรักษาระเบียบและวัฒนธรรม ตามหลักการของพุทธสถาน และศาสนสถานทั่วๆ ไป จึงตัดสินใจใช้หิน แล้วเราก็พบว่าหินแกรนิตมีคุณสมบัติในความแกร่ง และดูดซึมซับน้ำน้อย มีความคงทนในเรื่องของผิวสูงกว่าหินอ่อนมาก อายุของหินแกรนิตก็สูงกว่า เม็ดสีของหินแกรนิตมีความสม่ำเสมอ มองดูแล้วจะมีความงามและความสง่าอยู่ในตัว
เราได้ไปสำรวจดูหินมามากมายหลายแห่ง จนพบว่า แหล่งหินในอเมริกาเป็นแหล่งหินที่ดีมาก มีจำนวนหิน แกรนิตที่เราต้องการอย่างเพียงพอ ซึ่งหากในอนาคตมีการซ่อมบ้างก็ยังสามารถใช้จากแหล่งนี้ได้ แต่สำหรับแกรนิตในประเทศจะแตกต่างด้านเม็ดสี ความหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีคุณภาพตามที่เรากำหนด และมีราคาใกล้เคียงกับหินในประเทศด้วย เราจึงระบุให้เขาตัดส่งมาเป็น Block, ๑ Block มีขนาดประมาณ ๖-๘ ลูกบาศก์เมตร และเขาจะต้องส่งตัวอย่างของหินแกรนิตนี้ ทำการทดสอบ (Test) ทุกๆ ๓๐ Block ตอนแรกเขาไม่อยาก Test เพราะเขามั่นใจในหินของเขา และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่เรายืนยันว่าถ้าหากเขาเชื่อในคุณสมบัติของหินว่าดีจริง เขากลัวด้วยหรือที่จะ Test เขาเจอคำถามนี้เลยยอม Test ให้เรา
เพราะฉะนั้น เรามั่นใจได้เลยว่า หินแกรนิตทุก Block ที่ส่งมาถึงเรา จะมีคุณภาพตามที่เราต้องการ ถ้าหากมีตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่ง ไม่ได้สเปคตามที่เราต้องการ เขาจะ Cancel ทิ้งทั้ง Lot เลย Lot หนึ่งจะมีประมาณ ๓๐ Block
เรื่องการขนส่งหินแกรนิต เขาจะส่งมาทางเรือ ซึ่งต้องทำความสะอาดเรือทุกครั้งก่อนที่จะบรรทุกหินแกรนิต มาให้เรา เพราะถ้าเรือเขาบรรทุกเหล็กหรือสารเคมีมาก่อน ของพวกนี้จะมีผลทำให้สีซึมเข้าในเนื้อหินได้ ดังนั้นเขาจึงต้องทำความสะอาดเรือในการขนส่ง นี่คือความละเอียดลออ ความพิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมหาธรรมกายเจดีย์ของเรา
ส่วนปัญหาที่ว่า หินแกรนิตเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดดจะร้อนมากไหมในขณะที่เดิน โดยธรรมชาติของวัสดุทั่วไปเมื่อถูกแสงแดดก็จะร้อน แต่เนื่องจากหินแกรนิต ที่เราเลือกมา เป็นหินแกรนิตสีขาวที่ไม่อมความร้อน มีความหนาแน่น (Density) สูงมาก และการติดหินแกรนิตของเราติดตั้งแบบอิสระ ไม่ติดยึดกับคอนกรีต แต่ขอบโดยรอบเราเว้นไว้ ๑ ซม. และส่วนใต้แผ่นหินมีช่องว่างอากาศกว้างประมาณ ๑๐ ซม. จึงเป็นการระบายอากาศภายใน ระบายได้ทั้งด้านข้างของหินทั้ง ๔ ด้าน เพราะฉะนั้น ด้วยวิธีนี้น่าจะช่วยลดความร้อนที่พื้นผิวได้มาก
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลหลักในการเลือกใช้หินมาจากโจทย์ ๑,๐๐๐ ปี สำคัญมากกว่าเลือกวัสดุที่ไม่อมความร้อน เหมือนอย่างเจดีย์อนุราชปุระ ในศรีลังกา ลานทั้งหมดของเขาเป็นหินแกรนิตและหินทราย แต่เขาติดตั้งแผ่นหินติดกับปูนบ้าง บนทรายบ้าง ไม่มีช่องระบายความร้อน เขาก็ยังนั่งกันได้อย่างสบายๆ ทั้งวัน เพราะฉะนั้นมหาธรรมกายเจดีย์ของเรามีลักษณะการใช้งานประมาณบ่าย ๓ โมง เป็นต้นไป คงอยู่ในวิสัยที่จะสามารถนั่งได้อย่างสบายๆ
บรอนซ์ : วัสดุองค์พระฯ และโดมเจดีย์
(พระภูเบศ, อ.วิจิตร, อ.ฉัฐบุตร)
พระเดชพระคุณหลวงพ่อมีดำริว่า วัสดุที่จะนำมาใช้สร้างองค์พระธรรมกายประจำตัว และนำมาใช้เป็นผิวนอกของมหาธรรมกายเจดีย์ ต้องเป็นวัสดุเดียวกัน
เราก็พยายามวิเคราะห์วิจารณ์กันหลายทาง ว่าจะนำวัสดุอะไรที่สามารถสร้างองค์พระและ Cladding (คือส่วนที่เป็นผิวนอกองค์มหาธรรมกายเจดีย์ต่อจากคอนกรีต รองรับพระธรรมกายประจำตัว)
ทำไมเราไม่ใช้แก้วมาทำเป็นองค์พระและCladding ถ้าเราใช้แก้ว โอกาสที่จะถูกทำลาย โอกาสที่จะเสียหายมีสูงมาก แค่ ๑๐ ปี เราก็คงรักษาไม่ได้แล้ว โดยลำพังตัวแก้วเองสามารถอยู่ได้เป็นพันปี แต่แก้วไม่สามารถทนแรงจากมือมนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นแก้วก็เลยตกรอบ
หากเราใช้ทองคำ เราจะประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องใช้งบประมาณมาก และที่สำคัญคือเรากลัวความโลภของมนุษย์
หากเราใช้หินทั้งหมด เราคงไม่สามารถสร้างองค์พระทุกองค์ ให้มีพุทธลักษณะทุกสัดส่วนเหมือนกันหมด และต้องใช้เวลาในการก่อสร้างนานมาก อาจจะใช้เวลาทั้งชีวิตอย่างเช่น บรมพุทโธ ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง ๗๐ ปี
ถ้าเราใช้ไทเทเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กับยานอวกาศที่มีคุณสมบัติ ในตัวแกร่ง แต่ไทเทเนียมไม่เคยมีผลงานให้เห็นว่าอยู่ยืนนานถึงพันปี
ในที่สุดก็ตัดสินใจเอาบรอนซ์ มาใช้งาน เพราะเราพบว่า บรอนซ์หรือทองสัมฤทธิ์ เป็นวัตถุที่อยู่นานกว่าพันปีมาแล้ว เช่น พระพุทธรูป เทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุถึง ๔,๕๐๐ ปี เป็นทองสัมฤทธิ์ พบที่บ้านเชียง วัฒนธรรมบ้านเชียง ถือว่าเป็นแหล่งวัฒนธรรมสัมฤทธิ์เก่าแก่ที่สุดในโลก เทวรูป พระพุทธรูป เครื่องใช้ กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า ที่ขุดพบได้ที่บ้านเชียงเป็นทองสัมฤทธิ์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราจึงตัดสินใจใช้บรอนซ์หรือทองสัมฤทธิ์สร้างองค์พระประจำตัว และสร้าง Cladding คลุมโดมธรรมกายเจดีย์
การผลิตบรอนซ์นั้น เราสั่งซื้อบรอนซ์จากอเมริกา นำเข้ามาสำเร็จรูป (Ingot) ตามส่วนผสมที่เรากำหนด เพื่อสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัว เพราะเขาผลิตจากทองแดงจริงๆ และในประเทศไทยเราไม่ถนัดในการหล่อบรอนซ์ เราชำนาญในการหล่อทองเหลืองมากกว่า
ส่วนบรอนซ์ที่ใช้ทำ Cladding เราสั่งจากญี่ปุ่น เพราะเขาหล่อบรอนซ์ด้วยระบบสูญญากาศ ไม่ใช้ระบบทราย ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมมาแต่สมัยโบราณ การหล่อแบบทรายโลหะที่หล่อออกมาจะขาดความสมบูรณ์ในเนื้อโลหะ อาจมีรูพรุนเกิดขึ้นมาก เพราะฉะนั้นการที่เนื้อวัสดุแน่นโอกาส ที่จะอยู่นานนับพันปีก็สูงกว่าการหล่อวัสดุที่มีเนื้อพรุน เมือง ไทยยังไม่สามารถผลิตระบบนี้ได้ จึงต้องจ้างญี่ปุ่นผลิตระบบนี้แทน ด้วยสาเหตุที่ต้องการวัสดุที่มีเนื้อแน่นและเนียน เรียกว่า Vacuum Process คือการหล่อโลหะบรอนซ์ โดยการดึงอากาศออกมาจากแบบทราย ให้เป็นสูญญากาศ แล้วฉีดน้ำโลหะเข้าไป วิธีนี้จะทำให้ผิวของโลหะที่หล่อออกมาเนียนมาก และเนื้อโลหะจะแน่นมากกว่าหล่อด้วยระบบทรายดั้งเดิม
นอกจากนี้ บรอนซ์ยังมีคุณสมบัติในการปกป้องเนื้อบรอนซ์ อีกประการหนึ่ง คือหากสนิมเกิดขึ้นในเนื้อโลหะของบรอนซ์แล้ว จะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมฟ้า สนิมนี้มีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน แต่ในช่วงระยะเวลา ๕-๑๐ ปี แรก สนิมอาจยังเกิดขึ้นไม่มาก ต้องใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ ความชื้น และแสงแดดด้วย การเปลี่ยนสีนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนไป แต่ก็ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี
และถ้าหากว่าบรอนซ์เกิดสนิมขึ้นมาแล้ว สนิมนั้นจะเป็นตัวป้องกันเนื้อโลหะ ไม่ให้สารเคมีภายนอกเข้ามาทำลายได้ ออกไซด์ของโลหะจะปกคลุมผิว ป้องกันสารเคมีโดยธรรมชาติ สนิมนี้จะเนียนมาก สนิมจะค่อยๆ เกิดขึ้นด้วยระยะเวลาอันยาวนาน และจะเป็นคล้ายแผ่น Flim ที่จะป้องกันผิวของบรอนซ์ ไม่ให้ออกไซด์กินลึกเข้าไปในเนื้อโลหะ ไม่เหมือนเหล็ก เมื่อเป็นสนิมแล้ว สนิมเหล็กจะกินลึกเข้าไปในเนื้อเหล็กเลย แต่สนิมบรอนซ์จะกินแค่ผิว แล้วแผ่ตัวไปป้องกันออกซิเจนไม่ให้ไปเจอกับเนื้อโลหะ นับว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งของบรอนซ์ ที่จะทำให้เกิดความสึกกร่อนยากมาก

ไฟล์แนบ



#2 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 01:26 PM

สาธุขอนุโมทนาบุญ

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 01:51 PM

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ

#4 น้ำใส

น้ำใส
  • Members
  • 778 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 02:25 PM

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับรายละเอียดต่าง ๆ

ที่สามารถนำไปเป็นข้อมูลอธิบายให้ผู้อยากรู้

เกี่ยวกับมหาธรรมกายเจดีย์ได้ทราบได้อย่างชัดเจน

ขอบคุณมาก ค่ะ คุณKodomo_kung

เหมือนดอกบัวทะยานตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เปิดกลีบรับแสงตะวันธรรม

น้อมนำสู่วิถีอันดีงาม


#5 เดือนฉายงามแสง

เดือนฉายงามแสง
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 03:01 PM

ต้องบอกว่า
ในรอบ 100 ปีนี้
การก่อสร้างมหาวิหารธรรมกายเจดีย์
น่าจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์และศักดิ์สิทธิ์
อันทรงคุณค่าอย่างแท้จริง
ดีใจที่อยู่ร่วมในยุค "สถาปนา" ค่ะ


#6 Regenbogen

Regenbogen
  • Members
  • 441 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 03:32 PM

อนุโมทนาบุญด้วยนะ สาธุ

#7 Suk072

Suk072
  • Members
  • 430 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 04:57 PM

อนุโมทนาบุญ ค่ะ ได้รับความรู้มากมาย ทำให้ยิ่งรู้สึกปลื้มในบุญ สร้างองค์พระปิดเจดีย์ มากยิ่งขึ้นค่ะ

#8 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 09:06 PM

สมกับเป็นเนื้อนาบุญของโลกหล้า
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#9 หมอป๊อง

หมอป๊อง
  • Members
  • 761 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กทม.

โพสต์เมื่อ 18 February 2009 - 09:08 PM

happy.gif สาธุ สาธุ

ไฟล์แนบ



#10 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 February 2009 - 12:26 AM

สาธุ ครับ

#11 Ozeria

Ozeria
  • Members
  • 879 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 February 2009 - 02:27 PM

สาธุ

สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ

ลูกพระธัมฯ หลานหลวงปู่ หลานคุณยาย

#12 ใสสว่าง

ใสสว่าง
  • Members
  • 52 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 February 2009 - 11:24 AM

ขออนุโมทนาบุญ อย่างยิ่งเลยค่ะ ทั้งข้อมูล ทั้งขั้นตอนในการเล่า ดีมากๆ จนไม่ต้องขยาย ตีความอีกเลย ทำให้มีกำลังใจ และดีใจเหลือเกิน ทีได้ร่วมบุญในทุกๆ บุญ ที่ผ่านมา ตั้งสร้างพระบนโดม จนบัดนี้ก็จะเป็นพระรุ่นปิดเจดีย์ อีก สาธุ สาธู สาธุ ค่ะ

#13 ครูผู้นำแสงสว่าง

ครูผู้นำแสงสว่าง
  • Members
  • 88 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 February 2009 - 11:44 AM

ยิ่งได้ทราบเรื่องราว ในรายละเอียด ยิ่งทวีความปลื้มในบุญทุกบุญที่ได้สั่งสมมา

สาธุ สาธุ สาธุ


#14 ขันติธรรม

ขันติธรรม
  • Members
  • 132 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 February 2009 - 11:16 PM

ละเอียดและปราณีตมากเลยค่ะ รู้สึกได้ถึงความมุ่งมั่นที่จะสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
ให้คงอยู่ได้นานเท่านาน ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ

#15 nidnoi

nidnoi
  • Members
  • 135 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 February 2009 - 06:51 AM

สาธุค่ะ

#16 จันทร์ยิ้ม

จันทร์ยิ้ม
  • Members
  • 205 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 February 2009 - 12:47 PM

สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ