ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปฏิจจสมุปบาท


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 17 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 02:42 PM

ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชา> สังขาร> วิญญาณ> นามรูป > สฬายตน> ผัสสะ> เวทนา> ตัณหา> อุปาทาน> ภพ> ชาติ> ชรามรณะ

1.อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาครับ
2.วงจรนี้มีอะไรเป็นเบื้องหลัง
3.เราเกิดได้ยังไงชาติแรก อะไรก่อตัวทำให้เกิดเป็นจิตใจของเราในชาติแรกขึ้นมา
-------
ขอบคุณครับ

#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 03:26 PM

เส้นวงกลม มันไม่มีที่เริ่ม และที่สิ้นสุดใช่มั้ย

แต่มันต้องมีคนที่เป็นคนเขียนเส้นวงกลมนั้นขึ้นมา.....




#3 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 03:36 PM

55555+ เยี่ยมจริง

งั้นสังสารวัฏก็คงจะเหมือนกัน

ไม่มีเริ่ม และ ไม่สิ้นสุด
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#4 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 03:45 PM

จุดเริมต้นของการเกิด

"สำหรับคำถามนี้ ตอบไม่ยาก แต่ที่คนฟังจะตามให้ทันนะมันยาก ก็อย่างทีพระสัมมาสัมพุทธเจ้สเคยตรัสเอาไว้ว่า ต้องไปรู้ไปเห็นเอง ของที่คุณยังไม่เห็นนี่ อธิบายอย่างไร ก็ไม่เข้าใจ ..... พอเข้าถึงธรรมกายแล้วจะได้คำตอบเองว่า เออ.... ก่อนเกิดนี่เรามาจากไหน ไม่ยาก แต่เชื่อเถอะ พอคุณไปเห็นแล้ว คนอื่นเขาก็จะมาถามคุณอีกว่าก่อนเกิดเป็นอย่างไร ในที่สุดก็ต้องตอบแบบหลวงพ่อตอบนี่แหละว่า ไปทำให้เข้าถึงพระธรรมกายก่อนเถอะ จะรู้จะเห็นเอง หลวงพ่อก็ตอบได้แค่นี้จริงๆไม่รู้จะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างไร"

จากหลวงพ่อตอบปัญหา
หมวดที่ 5 เล่มที่ 2
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#5 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 03:48 PM

QUOTE
เส้นวงกลม มันไม่มีที่เริ่ม และที่สิ้นสุดใช่มั้ย

แต่มันต้องมีคนที่เป็นคนเขียนเส้นวงกลมนั้นขึ้นมา.....


ถูกใจจังครับ
ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .


#6 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 04:09 PM

อวิชชาเป็นจุดดำๆ ในศูนย์กลางกาย โดยที่บุคคลนั้นไม่รู้ตัว เพราะเหตุที่ไม่รู้ จึงมีชื่อว่า "อวิชชา" ผู้อยู่เบื้องหลังคือ พญามาร
ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .


#7 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 06:25 PM

QUOTE(ธรรมจักร)
55555+ เยี่ยมจริง

งั้นสังสารวัฏก็คงจะเหมือนกัน

ไม่มีเริ่ม และ ไม่สิ้นสุด


พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า วัฏฏสงสารนี้ หาเบื้องต้น หาท่ามกลาง หาเบื้องปลายไม่ได้ เนื่องจากวัฏฏสงสาร วนเป็นวงกลมอย่างที่คุณสิริปโภกล่าวไว้ จึงได้ชื่อว่าวัฏฏะ ซึ่งแปลว่า วน วงจรแห่งวัฏฏะนี้มีมานานแล้ว จนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยเกิดเป็นญาติกัน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านไม่เคยตรัสว่า วัฏฏสงสารไม่มีจุดเริ่มและไม่มีจุดสิ้นสุด

หากพิจารณาตามหลัก อริยสัจสี่แล้ว จะพบว่าทุกอย่างย่อมมีเหตุเกิด ซึ่งนั้นหมายถึง มีจุดกำเนิดหรือมีจุดเริ่มต้น และทุกอย่างย่อมมีความดับ ซึ่งหมายถึง จุดสิ้นสุดหรือจุดจบ ดังพระคาถา เย ธัมมา เหตุ ปัพพวา ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระคถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น นี่เป็นสิ่งยืนยันว่า ทุกอย่างมีจุดเริ่มและมีจุดจบ

วัฏฏสงสารก็เช่นกัน วัฏฏสงสารก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ดังนั้น ย่อมมีจุดเริ่มและจุดจบเช่นกัน แต่จะเริ่มต้นอย่างไรและจบอย่างไร ผมคงบอกไม่ได้ในที่นี้ เนื่องจากความรู้ที่มี ก็ได้มาจากการรับฟังมาอีกต่อหนึ่ง เป็นการรู้จำ ไม่ได้ไปรู้เองเห็นเอง สุดปัญญาที่จะอธิบายได้

ทีนี้มาดูคำถามของคุณธรรมจักรมั่งดีกว่า

QUOTE(ธรรมจักร)
ปฏิจสมุบาท

อวิชชา> สังขาร> วิญญาณ> นามรูป > สฬายตน> ผัสสะ> เวทนา> ตัณหา> อุปาทาน> ภพ> ชาติ> ชรามรณะ

1.อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาครับ
2.วงจรนี้มีอะไรเป็นเบื้องหลัง
3.เราเกิดได้ยังไงชาติแรก อะไรก่อตัวทำให้เกิดเป็นจิตใจของเราในชาติแรกขึ้นมา
-------
ขอบคุณครับ


ผมคงขอตอบแต่ข้อแรก เพราะข้อสองและข้อสาม จะเหมือนกับคำถามเรื่องจุดเริ่มต้นและจุดจบของวัฏฏสงสาร ยังไม่สามารถตอบได้

คำตอบของคำถามข้อแรกว่า อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา ผมขอยก อวิชชาสูตร มาตอบคุณดังนี้

อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็
เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา
ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร
กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ
คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ
ไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้
บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้
บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้
บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม
ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่
ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี-
*อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ
สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑

ที่มา
http://84000.org/tip...781&pagebreak=0

จากพระสูตรข้างต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยืนยันชัดเจนว่า อวิชชาเมื่อก่อนไม่มี แต่ภายหลังมีขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย มีอาหารคือ นิวรณ์ ๕ ลองอ่านและพิจารณาดูนะครับ และหากอวิชชา เป็นสาเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด หากไม่มีอวิชชาแล้ว ก็ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด วัฏฏสงสารจะมีหรือไม่ ลองพิจารณาดูครับ

ปล. ที่ถูก ต้องสะกดว่า ปฏิจจสมุปบาท
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 March 2006 - 08:35 PM

ขอตอบตามความคิดของผมไม่อิงพระไตรปิฎก ไม่อิงวิชชาใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ
คำตอบนี้ไม่ถือเป็นข้อมูลอ้างอิงใดๆ ครับ
QUOTE
อวิชชา> สังขาร> วิญญาณ> นามรูป > สฬายตน> ผัสสะ> เวทนา> ตัณหา> อุปาทาน> ภพ> ชาติ> ชรามรณะ
1.อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาครับ

ตอบ วิชชา คือ ธาตุรู้ ธาตุเห็น เครื่องกั้นธาตุรู้ ธาตุเห็น คือ อวิชชา หรือ รู้น้อย อวิชชามาก, รู้มากอวิชชาน้อย


QUOTE
2.วงจรนี้มีอะไรเป็นเบื้องหลัง

ตอบ เบื้องหลังของการเกิดคือ อวิชชา เบื้องหลังของอวิชชาคือ วิชชา หรือ เบื้องหลังของการเกิดคืออวิชชา ความไม่รู้
เบื้องหลังของอวิชชาคือความรู้ ถ้าความรู้น้อยกว่าความไม่รู้วิชชาก็ไม่เกิด ถ้าความรู้มากกว่าความไม่รู้วิชชาก็เจริญอวิชชาก็จะลดน้อยลงไป

QUOTE
3.เราเกิดได้ยังไงชาติแรก อะไรก่อตัวทำให้เกิดเป็นจิตใจของเราในชาติแรกขึ้นมา

ตอบ ธาตุรู้ เป็นต้นของธาตุคิด ธาตุคิดเป็นต้นของธาตุจำ ธาตุจำเป็นต้นของธาตุเห็น จิตเกิดมาจากธาตุชนิดพิเศษนี้รวมตัวกัน ในทางวิทยาศาสตร์รู้จักแต่เพียงธาตุตาย แต่ในศาสตร์ของผู้รู้แจ้งแล้วจะกล่าวว่าจิตนี้คือธาตุเป็น มีความคิดอ่านเป็นธรรมเป็น มีชีวิต มีความคิดอ่านรู้ได้เห็นได้ เป็นต้น

หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 01:00 PM

ถามได้ไม่ธรรมดาเลย แต่ที่สุดยอดต้องคำตอบของคุณสิริโภ ที่ตอบได้ไม่ธรรมดาเลยเช่นกัน
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#10 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 04:26 PM

ส่วนคำตอบที่คิดวิเคราะห์จากตำราได้ดี และละเอียด ก็ต้องคุณ Neung ครับ และผมขอตอบข้อ 2 และ 3 ต่อจากคุณ Neung ตามตำรานะครับ

ในอดีตกาลมีผู้มาถามเช่นนี้กับพระพุทธเจ้าเหมือนกันครับว่า โลกเกิดมาได้อย่างไร มนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่าง และกิเลส (อวิชชา) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

พระพุทธองค์ทรงอุปมาว่า มีชายคนหนึ่ง ถูกธนูยิงใส่บาดเจ็บสาหัส หมอกำลังจะไปรักษาโดยถอนธนูออกจากตัวเขา แต่เขากลับบอกว่า หยุดอย่าเพิ่งถอนธนูออกจากตัวผม ตราบใดที่ผมยังไม่รู้ว่า คนที่ยิงธนูมาใส่ผมเป็นใคร ยิงมาด้วยจุดประสงค์ใด ทำไมมายิงผม ผมจะไม่ยอมรักษา เมื่อใดก็ตามที่ผมรู้แล้วว่า คนยิงธนูเป็นใคร ยิงมาด้วยจุดประสงค์ใด ทำไมมายิงผม ผมถึงจะยอมรักษา

หากชายคนนั้นคิดเช่นนี้ เขาย่อมตายเปล่า แต่ถ้าเขาถอนธนูออกมาก่อน และรักษาตัวให้หายดี เขาย่อมสามารถไปตามหาได้ว่า ใครยิงธนู ยิงมาทำไม และทุกคำถาม ฯลฯ

เช่นเดียวกัน ตอนนี้ เราทุกคนกำลังถูกธนูแห่งความแก่ เจ็บ ตายยิงเข้าใส่อยู่ทุกวินาที ดังนั้นหน้าที่ของเราควรที่จะถอนธนูแห่งความแก่ เจ็บ ตายออกมาก่อน หรือ ยังไม่ถอนธนู แต่กลับไปตามหาก่อนว่า ใครเป็นคนปล่อยความแก่ เจ็บ ตาย ปล่อยกิเลสทั้งหลายมาใส่เรา

คำตอบก็ย่อมชัดเจนว่า เราจะต้องปฏิบัติตามวิธีถอนธนู คือ ทาน ศีล ภาวนา ก่อน เมื่อถอนธนูได้แล้ว เมื่อนั้นแหละครับ ฉากหลังจะถูกเปิดเผย ใครเป็นคนปล่อยธนูมา เราก็จะรู้ตัวเราเอง

นี่คือ ตำราท่านว่าอย่างนี้ ส่วนถ้าอยากจะรู้มากกว่านี้ ก็ต้องตำรับ คือ ปฏิบัติธรรมไปน่ะครับ มันก็สอดคล้องกับตำราพอดีว่า ให้ทำ ทาน ศีล ภาวนาเรื่อยไป
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#11 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 March 2006 - 03:36 PM

QUOTE
เส้นวงกลม มันไม่มีที่เริ่ม และที่สิ้นสุดใช่มั้ย

แต่มันต้องมีคนที่เป็นคนเขียนเส้นวงกลมนั้นขึ้นมา.....


ถูกใจมากๆ

#12 โยโย้

โยโย้
  • Members
  • 16 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 March 2006 - 04:28 PM

ถามดีนะ.....

#13 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 March 2006 - 09:33 AM

QUOTE
อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็
เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา
ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร
กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ
คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ
ไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้
บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้
บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้
บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม
ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่
ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี-
*อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ
สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑


ประเด็นนี้หน้าคิดนะครับว่า พญามารที่แท้จริงแล้วทำได้แค่เพียงเติมอาหารให้แก่อวิชชาเท่านั้นหรือเปล่า? เพราะแม้แต่อวิชชาของตัวมันเองก็ไม่อาจกำจัดไปได้

#14 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 March 2006 - 09:42 AM

QUOTE
เส้นวงกลม มันไม่มีที่เริ่ม และที่สิ้นสุดใช่มั้ย

แต่มันต้องมีคนที่เป็นคนเขียนเส้นวงกลมนั้นขึ้นมา.....


ขอจุดประเด็นหน้าคิดซักนิดนะครับ
พญามารของพุทธเรานี้เป็นอันเดียวกับซาตานในคริสต์และซัยตอนในอิสลามด้วยใช่ไหมครับ
ผมชักรู้สึกติดใจซะแล้วว่าแท้จริงแล้วพระเจ้าที่กล่าวในคัมภีร์ของศาสนาต่างๆ หมายถึงพระพุทธเจ้าของพวกเราชาวธรรมกายหรือไม่

เพราะสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าและพระเจ้าคือความดีทั้งปวง แต่สัญลักษณ์ของพญามาร ซาตาน ซัยตอนคือสัญลักษณ์แห่งความชั่วทั้งปวง อะไรก็ตามที่เลวๆ ถูกสร้างจากฝีมือมารทั้งหมด และในคัมภีร์ของทุกศาสนายังบอกเลยว่าแม้แต่มารเองก็ยังกำจัดอวิชชา (บาปกำเนิด) ของมันออกไปไม่ได้ทำให้ท้ายที่สุดมันต้องตกในนรก (ผมเข้าใจว่าหมายถึง ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร)

#15 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 30 March 2006 - 04:16 PM


เชื่อตามหลวงพ่อว่า สังสารวัฎมีจุดที่สุดได้ ด้วยการไปถึงที่สุดแห่งธรรม


ท่านบอกว่าไม่มีอะไรที่ยุติธรรม ตราบที่ไม่ถึงที่สุดในเรื่องนั้นสิ่งนั้น
เวรกรรม หรือวิบากกรรม ทำให้พวกเราวน Loop เพราะว่าเมื่อเราสมหวังแล้วก็จริง
แต่ผู้อื่นไม่พอใจ ถือว่าไม่ยุติธรรม เค้าก็จะจองเวรเพราะไม่รู้ว่ามันมีผลต่อเนื่อง
ให้เค้ายังต้องเหนื่อยวนอยู่กับมันต่อไป แทนที่จะไปเรียนรู้สิ่งที่ดีเป็นกุศลกว่านี้

เมื่อมีสิ่งกระทบให้ใจไม่หยุดแล้วย้อนหาเหตุจากภายใน สาวไปหาสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา
กระทำวิธีแก้ไขด้วยการสาวหาเหตุไปเรื่อยๆ ซ้ำๆ จนถึงต้นตอของเหตุแล้วชำระออกจากใจเรา
สิ่งนั้นเรื่องราวนั้น ปัญหานั้นจะหยุดกึกไปเอง บุคคลที่เกี่ยวข้องจะรู้สึกไปเอง
ว่าไม่มีสิทธิ์พูด คิด ทำกับเรื่องนั้นอีกแล้ว เค้ารับรู้ยอมรับไปเองว่ามันแค่นี้ เค้าพอใจ

ฉะนั้นการสิ้นสุดของปัญหา คือสาวหาต้นเหตุ เอาตนเองเข้าไปรับรู้แล้วชำระล้างซ้ำๆจนหมด
ถ้าเป็นเรื่องปัญหาส่วนตัว ครอบครัวตัวเองก็ไม่ยากเกินไป แค่พยายามเข้าถึงองค์พระให้ได้
รักษาศีลให้แน่น หยุดในองค์พระให้ได้ทั้งวัน เรื่องราวต่างๆ จะหยุดไปเอง
(ผู้คนหยุดไปเองจริงๆ ทั้งทึ่เคยเดือดร้อน ทะเลาะกันมากมาย ก็ยอมรับได้ไปเอง)

แต่ที่สุดแห่งธรรม เป็นการล้าง/ชำระปัญหา ระดับภพ 3 โลกันต์ ที่มันไม่ยุติธรรมกันอยู่
บุคคลที่จะเข้าไปสาวและชำระความได้ ต้องมีบารมีสูงส่งมาก เข้มแข็งมาก (ธาตุธรรมพิเศษ)
ตามที่หลวงพ่อบอก คือหลวงปู่ท่านสาวเข้าไปลึกถึงต้นแขน ยังไม่ถึงหัวใจ ซึ่งเป็นรังของมัน
อันนี้นี่เป็นเรื่องที่ล้ำลึก ละเอียดมากๆ ขอออกความเห็นเพียงนี้ค่ะ


#16 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 30 March 2006 - 05:41 PM

คนเราเห็นดวงอาทิตย์เหมือนๆ กัน เรียกชื่อดวงอาทิตย์ ก็เหมือนๆ กัน แต่ยังเข้าใจอะไรต่างๆ เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ไม่เหมือนกันเลยใช่มั้ยครับ
นับประสาอะไรกับเรื่องมาร ที่แต่ละความเชื่อ เรียกมาร เหมือนกัน คือ ผู้ขัดขวางการทำความดี แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมารเหมือนกันหรือเปล่า ผู้ที่ศึกษแต่ละความเชื่อมาแล้วย่อมตอบได้ดีว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าจะให้รู้ความจริงว่าความรู้ของใครสมบูรณ์ที่สุด นั่นต้องเห็นด้วยใจที่ใสสว่างแล้วล่ะครับ ไม่ใช่แค่รู้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่ถึงธรรมนั้น จะต้องถึงด้วย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง คือ ทั้งรู้ทั้งเห็น ไม่ใช่รู้อย่างเดียว จึงจะเข้าใจถูกต้อง
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#17 นักรบทิศตะวันตก

นักรบทิศตะวันตก
  • Members
  • 354 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok Thailand
  • Interests:...หยุด...

โพสต์เมื่อ 02 April 2006 - 03:35 PM

ชีวิตในสังสารวัฏนั้นอันตรายเหลือเกิน
คุณพี่Merry Maตอบน่าอ่านมากคับแต่ไม่เข้าที่ว่า "หลวงปู่ท่านสาวเข้าไปลึกถึงต้นแขน ยังไม่ถึงหัวใจ ซึ่งเป็นรังของมัน" เล่าต่อนะพี่...........
ผู้มีความกล้า....ย่อมมีความหวัง...

.
ฟังเรื่องราวดีๆได้ที่นี่ครับ

#18 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 02 April 2006 - 07:28 PM

QUOTE
คุณพี่Merry Maตอบน่าอ่านมากคับแต่ไม่เข้าที่ว่า "หลวงปู่ท่านสาวเข้าไปลึกถึงต้นแขน ยังไม่ถึงหัวใจ ซึ่งเป็นรังของมัน" เล่าต่อนะพี่...........

เรื่องแบบนี้เราขอแนะนำให้นายคุยกับพี่เขาหลังไมค์โดยตรง (ทาง PM/MSN) จะดีกว่านะ