ผิดไหม
#1
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 07:57 PM
#2
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 08:05 PM
#3
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 08:53 PM
แรกๆ ก็ไม่รู้ว่าจะตอบยังไง ถามว่าผิดศีลไหมไม่ผิดครับ(ศีล5นะครับ) แต่ผิดในทำนองที่ว่า ทำให้ใจหมองครับ ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรทำครับ
#4
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 09:53 PM
สมาธิ คือการระงับจิตระงับใจไม่ให้บาปอกุศลฟู หรือกดใจ เช่น ข่มความโกรธ ข่มความกำหนัด ข่มความวิตกกังวล ข่มความว้าวุ่นของจิตใจ ด้วยอำนาจของสมาธิ
ปัญญา คือ การรู้เท่าทันจิตและอารมณ์ของจิตที่เข้ามากระทบ เป็นการตัดกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ไปถึงขั้นละเอียดๆ ครับ
ดังนั้น ศีลก็มีหลายระดับครับ สรุปย่อๆ ก้คือ ศีลระดับต้น ระดับกลาง ระดับปลาย
1.ศีลระดับต้น ระงับความชั่วด้วยกายกรรม และวจีกรรม ยังไม่ถึงกับระงับที่ใจไม่ให้คิดชั่วได้ คือยังมีความคิดชั่วแฝงอยู่แต่ระงับไว้ด้วยอำนาจของศีล หรือขันติ เพียงแต่ไม่ไปก่อกรรมกับบุคคลอื่น
2.ศีลระดับกลาง ระงับความชั่วด้วยกายกรรม และวจีกรรม และมโนกรรม ในระดับกลาง คือ ไม่คิด ไม่พูด และไม่กระทำ ความผิดกับผู้อื่นเด็ดขาด แต่ยังมีความคิด การพูด และการกระทำที่ผิดกับตนเองอยู่บ้าง เช่น มีความคิดชั่วกับตนเอง มีการพูดด่าว่าตนเอง หรือมีการด่าตนเองในใจอยู่
3. ศีลระดับปลาย ระงับความชั่วด้วยกายกรรม และวจีกรรม และมโนกรรม ในระดับสูง คือ มีจิตคิดดี พูดดี ทำดี ทั้งกับตนเองและผู้อื่น จัดเป็นอธิศีลครับ
ตอบ ไม่ผิดศีลในระดับต้น แต่ผิดศีลในระดับกลางและระดับปลาย ในระดับกลางถ้ามีจิตคิดเสพกามด้วยการมโนภาพถึงอิสตรีเพศเพียงแค่นึก และทำให้ตนเองเสพสมไปด้วยก็จะเป็นการผิดศีลในระดับกลาง แต่ถ้าไม่มีจิตคิดเสพหรือไม่มีภาพหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาเข้ามาเพื่อให้เสพสมแล้วก็ยังไม่ถือว่าผิดศีลในระดับกลางครับ แต่ผิดศีลในระดับปลายครับ
บุคคลที่จะสามารถเข้าถึงอธิศีลโดยไม่ทำชั่ว ไม่พูดชั่ว ไม่คิดชั่ว เลยนั้นมีเพียงระดับพระอรหันต์เท่านั้นครับ เราๆ ท่านๆ ที่ยังเป็นปุถุชนก็อย่าเพิ่งท้อใจครับ เพราะพระอรหันต์เจ้าก็ล้วนแล้วมาจากคนที่เคยมีกิเลสเยี่ยงเราๆ ท่านๆ กันครับ ค่อยๆ ฝึกสะสมความเคยชินในการระงับความชั่วในกาย วาจา ใจ ไปทีละน้อยๆ
เหมือนหมั่นเติมน้ำใส่ตุ่มทีละหยดแหละครับ หยดเติมไปเรื่อยๆ ก็เต็มตุ่มได้ครับ ความดีนั้นหมั่นเติมบ่อยๆ และตักความไม่ดีออกบ่อยๆ ก็จะสามารถที่จะได้น้ำที่ใสสะอาดปราศจากฝุ่นตะกอนได้ฉันนั้นครับ
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#5
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 10:26 PM
#6
โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 11:22 PM
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"
#7
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 12:37 AM
ห้ามทั้งฟังเพลงและ
ร้องเพลงนะครับ
( แต่ถ้าเป็นเพลงที่ทำให้
ใจเราใส อยากปฏิบัติธรรม
น่าจะได้นะครับ
เนื่องจากทางวัดก็ทำนะครับ )
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้
#8
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 01:09 AM
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"
#9
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 01:30 AM
การถือศีลแปดและบวชก็เพื่อขัดเกลาสิ่งเหล่านี้ให้เจือจางลงไป เวลาที่รักษามาเนิ่นนาน
น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีได้เพราะขัดเกลาได้เวลาหนึ่ง ไม่งั้นเสียดายวันเวลาที่ผ่านมาแย่ ต้องกลับไปดูที่เจตนาเบื้องต้นว่า จำใจรักษา หรือ ตั้งใจรักษา ไม่ได้ซีเรียสแฮ่ะแต่จริงจังอ่ะจ้ะ
ทหารยังมีระเบียบวินัยที่เข้มแข็งเพื่อไว้ต่อสู้กับข้าศึก เหลาะแหระไม่ได้นั้นคือกรอบ เพื่อป้องกันการย่อหย่อนของทหาร
ที่ผิดพลาดไป ก็เริ่มต้นใหม่และระลึกถึงสิ่งดี ๆ สม่ำเสมอ น้ะครับ ไม่งั้นเสียดายเวลาแย่
#10
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 10:47 AM
"เกสา โลมา นักขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นักขา โลมา เกสา"
#11
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 01:13 PM
การถือศีล 5 วัตถุประสงค์ คือ เป็นการกระทำที่เป็นปกติของมนุษย์ ซึ่งถ้าละเมิดลงไปก็ทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ลดลง แต่ไปใกล้เคียงกับสัตว์แทน เช่น
ศีลข้อ 1 สัตว์นั้นเบียดเบียนกันเป็นปกติ รุกรานกันเป็นปกติ ดังนั้น เป็นมนุษย์ต้องไม่เบียดเบียนกัน
ศีลข้อ 2 สัตว์นั้นมีการลักขโมยกันเป็นปกติ ดังนั้น เป็นมนุษย์ต้องลักขโมยของใครกัน
ศีลข้อ 3 สัตว์นั้นมีการมั่วสมสู่กันเป็นปกติ เปลี่ยนคู่ไปเรื่อยๆ เป็นปกติ ดังนั้น เป็นมนุษย์ต้องไม่สำรวมในกาม มีคู่กันแค่คู่เดียว
ศีลข้อ 4 สัตว์นั้นมีการโกหก หลอกลวงกันเป็นปกติ เช่น ลิง ดังนั้น เป็นมนุษย์ต้องพูดเรื่องจริง มีความจริงให้แก่กัน
ศีลข้อ 5 สัตว์นั้นไม่มีสติเป็นปกติ ในที่นี้หมายถึง สัตว์ทำอะไร ไม่ค่อยมีเหตุผล ดังนั้น เป็นมนุษย์ต้องครองสติมั่นตลอดเวลา จึงไม่ให้เสพสิ่งที่ทำให้ขาดสติ หรือ สติหย่อน บกพร่องลง
อย่างศีล 8 ก็เช่นกัน วัตถุประสงค์นั้น คือ คงความเป็นมนุษย์เอาไว้ คือ มีศีล 5 ครบทุกข้อและยังเพิ่มคุณธรรมเรื่องการประพฤติธรรมให้เข้มข้นขึ้นไป แล้วจะเพิ่มความเข้มข้นในการประพฤติธรรมได้อย่างไร ก็ต้องละกามสุขทางโลกให้ลดลง จึงจะทำให้จิตใจปลอดโปร่ง เหมาะสมแก่การประพฤติธรรม ด้วยเหตุนี้ ศีล 8 จึงเกิดขึ้นมา โดย
ศีลข้อ 1,2,4 และ 5 มีเหตุผลเดียวกับศีล 5
ศีลข้อ 3 สำหรับศีล 5 นั้นยังสามารถมีความสุขทางกามกับคู่ครองของตนได้ แต่ถ้าต้องการจะปฏิบัติธรรมให้ยิ่งขึ้น ก็ต้องลดความสุขและความหมกมุ่นเรื่องกามลง ดังนั้น ศีลข้อ 3 สำหรับศีล 8 จึงให้ละเรื่องกามโดยเด็ดขาดทุกกรณี
ศีลข้อ 6 คือช่วยให้มีกำลังน้อยลง จะได้ไม่มีความคิดฟุ้งซ่านหรือหนีไปเที่ยว ทำกิจกรรมยามค่ำคืนเพราะโดยปกติแล้วการเที่ยวกลางคืนมักจะเป็นที่อโคจรซะเป็นส่วนมาก ด้วยเหตุนี้จึงให้งดมื้อเย็น
ศีลข้อ 7 คือช่วยให้ลดเรื่องกามให้ยิ่งขึ้นโดยไม่ตกแต่งเครื่องหอมและลดการละเล่นฟ้อนรำ ขับกล่อมเพลงอันจะทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านเรื่องกามขึ้นมาได้ คือ ลด การกระตุ้นเรื่องของกามทางตา หู และจมูก อันเป็นอายตะภายนอก ซึ่งมีผลทำให้จิตปรุงแต่งเรื่องกามสุขได้
ศีลข้อ 8 คือก็ช่วยลดเรื่องกามในเรื่องการกระตุ้นทางกายสัมผัสเช่นกัน โดย เมื่อนอนที่นอนแข็งๆ จะทำให้ไม่นึกถึงเพศตรงข้าม ซึ่งช่วยลดการตรึกคำนึงเรื่องกาม และช่วยให้เรานอนอย่างมีสติ ไม่นอนมากจนเกินควรเพราะความนุ่มนิ่ม อบอุ่นของเตียงนอน
ที่อธิบายมานี้ ถ้าจับประเด็นและประโยชน์ วัตถุประสงค์ของการถือศีล5 และ ศีล 8 เราก็จะสามารถถือศีลแบบผู้มีปัญญา และรู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำครับ
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#12
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 07:31 PM
#13
โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 09:23 PM
เจ้าของเคสได้กราบเรียนถามเรื่องนี้กับคุณครูไม่ใหญ่ ซึ่งคุณครูไม่ใหญ่ ท่านก็เมตตาตอบเกี่ยวกับ "การช่วยตัวเอง" ตามหลักวิชา
นั่นก็คือท่านแนะนำให้เราทำใจให้ใส เช่นนึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล แทนอารมณ์ที่เกิดมาในช่วงนั้น
เมื่อใจของเราใส เป็นกุศล อกุศลก็จะออกไปจากใจเราเองครับ จึงถือเป็นการ "ช่วยตัวเอง"ที่ถูกวิธี ตามหลักวิชาครับ
ส่วนรายละเอียดนั้น คุณน้อง จขกท ลองไปตามเคสดูเอาเองนะครับ เพราะผมก็จำรายได้คร่าว ๆครับ
#14
โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 02:44 AM
เรื่องนี้ถ้าเจตนาเพื่อต้องการให้ผมดูไม่กระเซิงเกินไปก็ไม่มีปัญหาครับ
ส่วนสบู่และยาสระผมก็เหมือนกัน ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ หาสบู่แบบไม่มีกลิ่นไม่ได้จริงๆ
ก็เอาที่กลิ่นอ่อนๆก็ได้ครับ (เพราะถ้าไม่อาบน้ำสระผม อาจจะมีกลิ่นตุๆแทน )
ละครทีวี โฆษณาที่มีเพลง
ละครทีวีนั้นดูไม่ได้แน่นอนครับ
โฆษณาผมไม่ทราบว่าจะเข้าข่ายการละเล่นฟ้อนรำรึเปล่า แต่ผมก็ว่ายังไ่ม่ควรอยู่ดี
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#15
โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 02:54 AM
**** คัดมาบางส่วน
ก่อนจะต่อสู้กับกามราคะ ควรทราบเสียก่อนว่า
กามราคะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ที่จิตพึงพอใจในกาม
ได้แก่ความพึงพอใจ ติดตรึงใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย
เป็นคำที่กว้างกว่าความต้องการทางเพศ
แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่า
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของสตรีเป็นที่พึงใจของบุรุษ
และรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของบุรุษเป็นที่พึงใจของสตรี
ดังนั้น เรื่องของเพศตรงข้ามจึงจัดเป็นกามราคะที่ร้ายแรงมาก
มากกว่ารูปวาดสวยๆ เสียงเพลงเพราะๆ ดอกไม้หอมๆ อาหารรสอร่อยฯลฯ
กามราคะ เกิดขึ้นเพราะจิตไม่รู้เท่าทันความไม่มีสาระของกาย
จิตจึงเพลิดเพลินพึงใจที่จะหาความสุขทางกาย
ด้วยการมองหารูปสวย/หล่อ เสียงเพราะ กลิ่นหอม สัมผัสที่พอใจ ฯลฯ
หากเมื่อใดจิตเห็นจริงว่า กายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หรือเป็นอสุภะ
กิเลสกามก็จะอ่อนกำลังลงทันที
อุบายภาวนาในการสู้กับกาม ก็มีเป็นขั้นๆ ไป
อย่างอ่อนๆ ก็เช่นการหลีกเลี่ยงผัสสะ
เช่นครูบาอาจารย์บางองค์ ท่านแบกกลดหนีสาวที่ท่านไปหลงรักเข้า
เพราะถ้าสู้ไม่ไหว ก็ต้องหนีเอาไว้ก่อน
อุบายที่เข้มข้นขึ้นไปอีก ได้แก่การพิจารณาเพศตรงข้าม
เช่นการพิจารณาคนที่เราพอใจลงเป็นอสุภะ หรือไตรลักษณ์
ถ้าจิตเห็นจริงแล้ว จะลดความผูกพันกันทางกามลงได้
อุบายถัดมา เป็นการทรมานตนเอง
เช่นพระบางรูปไปหลงรักผู้หญิง ท่านยอมอดข้าวจนกว่าจะตัดรักได้
วันแรกยังตัดไม่ได้ พอหลายวันเข้าก็ตัดได้
เพราะจิตกลัวว่ากายจะตายจึงเลิกรักสาว
เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เรารักที่สุดก็คือตัวเราเอง
อุบายถัดมา เป็นการใช้ปัญญาพิจารณาตนเอง
ซึ่งพระส่วนมากท่านพิจารณาร่างกายของท่านลงเป็นอสุภะบ้าง
พิจารณาความตายบ้าง พิจารณาความเป็นทุกข์ของกายบ้าง
วิธีนี้เป็นวิธีที่ประณีตยิ่งขึ้น เพราะเป็นการพิจารณาตนเอง
ไม่ใช่วิธีพิจารณาเพศตรงข้าม หรือหนีเพศตรงข้าม
อุบายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงการเอาตัวรอดเป็นครั้งคราวเท่านั้น
ต่อเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากเข้า
จนจิตเกิดปัญญาวิปัสสนาอย่างแท้จริงแล้ว
นั่นแหละจึงจะเอาชนะกามได้อย่างเด็ดขาดพร้อมทั้งปฏิฆะด้วย
อันที่จริง เมื่อเรายังละกามไม่ได้
ก็ควรควบคุมให้มันอยู่ในขอบเขตที่พอเหมาะ คืออย่าทำผิดศีล 5
แล้วเจริญสติสัมปชัญญะเรียนรู้คุณและโทษของมันไป
ความทุกข์ทรมานเพราะกามก็จะค่อยลดน้อยลงเป็นลำดับ
กามนั้นไม่ใช่จะเป็นโทษอย่างเดียว คุณของมันก็มีเรียกว่ากามคุณ
ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์จากมันเสียบ้าง ก็จะดีไม่น้อย
แม้พระพุทธเจ้าท่านก็สอนให้คนทำทานและถือศีล เพื่อไปเสวยกามสุขในสวรรค์
ถัดจากนั้นจึงสอนให้เห็นโทษของกามเป็นลำดับต่อไป
ท่านไม่หักหาญ ห้ามเรื่องกามกับคนที่ยังไม่พร้อม
แต่ใช้กามเป็นเหยื่อล่อจิตที่อินทรีย์ยังอ่อนให้ยอมรับธรรม
แล้วค่อยแนะนำทางเจริญปัญญาในภายหลัง
ที่มา : ลานธรรมเสวนา
**** โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 1 ตุลาคม 2543 07:02:57