ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

พุทธวจนในธรรมบท หมวดความสุข - HAPPINESS


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 25 February 2007 - 02:51 AM

๑. สุสุขํ วต ชีวาม
เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อเวริโน ฯ ๑๙๗ ฯ
ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน
พวกเราไม่จองเวรใคร
ช่างอยู่สบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร
พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร


Happily indeed do we live
Unhating among those hating men.
Among many hate-filled men,
Thus we dwell unhating.


๒. สุสุขํ วต ชีวาม
อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนาตุรา ฯ ๑๙๘ ฯ



ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราหมดกิเลสแล้ว
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส



Happily indeed do we live
Not yearning among those who yearn.
Among many yearning men,
Thus we dwell unyearning.



๓. สุสุขํ วต ชีวาม
อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนุสฺสุกา ฯ ๑๙๙ ฯ



ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราไม่กระวนกระวาย
ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย



Happily indeed do we live
Not anxious among those anxious men.
Among many anxious men,
Thus we dwell unanxious.



๔. สุสุขํ วต ชีวาม
เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ
ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม
เทวา อาภสฺสรา ยถา ฯ ๒๐๐ ฯ




พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร
เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม



Happily indeed do we live-
We that call nothing our own.
Feeders on joy shall we be
Even as the Abhassara gods.



๕. ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต ชยปราชยํ ฯ ๒๐๑ ฯ



ผู้แพ้ย่อมก่อเวร
ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย
มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข




The victor begets hate,
While the defeated lives in distress.
Happily the peaceful lives,
Having given up victory and defeat.



๖. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ ๒๐๒ ฯ



ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ




No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.




๗. ชิฆจฺฉาปรมา โรคา
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ­ตฺวา ยถาภูตํ
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๓ ฯ



ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ความจริงข้อนี้แล้ว
(คนฉลาด จึงทำพระนิพพานให้แจ้ง)
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง



Of all diseases hunger is the greatest,
Of all pains the comp[ounded things,
Knowing this (the wise realize Nibbana)
Which is the bliss supreme.




๘. อาโรคฺยปรมา ลาภา
สนฺตุ&hibar;ฺปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ­าตี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๔ ฯ




ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง




Health is the highest gain,
Contentment is the greatest wealth,
Trustful are the best kinsmen,
Nibbana is the highest bliss.




๙. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา
รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป
ธมฺมปีติรสํ ปิวํ ฯ ๒๐๕ ฯ




เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก
และรสพระนิพพานอันสงบ
ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม
บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน




Having tasted the flavour of
Seclusion and Nibbana's peace,
Woeless and stainless becomes he,
Drinking the taste of the Dharma's joy.



๑๐. สาธุ ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ ๒๐๖ ฯ



การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี
การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ
เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้
คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์



Good is it to see the Noble Ones,
To dwell with them is happiness,
By not seeing foolish men,
One may ever be happy.



๑๑. พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
ธีโร จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว สมาคโม ฯ ๒๐๗ ฯ



เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน
การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์
เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข
เหมือนสมาคมของญาติ



Frequenting the company of fools
One surely grieves for long;
For association with fools is ever ill
Just as ever that of foes.
But to dwell with the wise is happiness
Just as relatives together met.



๑๒. ตสฺมา หิ
ธีรญฺจ ปญญญฺจ พหุสฺสุตญจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา ฯ ๒๐๘ ฯ



เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ;์
ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร
เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์



Therefore-
Him the intelligent, the wise, the learned,
The devout, the dutiful and the Noble One-
Such a wise and intelligent man
Should one ever follow
As the moon follows the track of stars.



โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#2 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 01 March 2007 - 03:43 AM

บทความน่าอ่านดีๆ จาก ท่านกัลยาณมิตร ThDk



เยี่ยมยอดไปเลยครับ ท่าน ThDk

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน ThDk สำหรับ ความเพียรอุสาหะ ความมานะพยายาม และความตั้งใจ ที่ได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้ว ด้วยนะครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



พุทธวจนในธรรมบท หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA
พุทธวจนในธรรมบท หมวดภิกษุ - THE MONK
พุทธวจนในธรรมบท หมวดตัณหา - CRAVING
พุทธวจนในธรรมบท หมวดช้าง - THE ELEPHANT
พุทธวจนในธรรมบท หมวดนรก - HELL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดทาง - THE PATH
พุทธวจนในธรรมบท หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST
พุทธวจนในธรรมบท หมวดมลทิน - IMPURITY
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความโกรธ - ANGER
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความรัก - AFFECTIONS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดความสุข - HAPPINESS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดโลก - THE WORLD
พุทธวจนในธรรมบท หมวดตน - THE SELF
พุทธวจนในธรรมบท หมวดชรา - OLD AGE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT
พุทธวจนในธรรมบท หมวดบาป - EVIL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพัน - THE THOUSANDS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY
พุทธวจนในธรรมบท หมวดบัณฑิต - THE WISE
พุทธวจนในธรรมบท หมวดคนพาล - THE FOOL
พุทธวจนในธรรมบท หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดจิต - THE MIND
พุทธวจนในธรรมบท หมวดไม่ประมาท - HEEDFULNESS
พุทธวจนในธรรมบท หมวดคู่ - THE PAIRS


พึงสร้างบารมี และเสพข้อธรรม ณ เว็บบอร์ดแห่งนี้ อย่างผู้มีสติและมีปัญญา
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา (สำหรับ อ่าน และ ฟัง)
The basic knowledge of Buddhism to become a better Buddhist Edition 2
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM