เสาร์ที่6 พ.ย. 53 นี้มีพิธีปล่อยสัตว์ปล่อยปลานับหมื่นชีวิต ณ. วัดปทุมทอง อ. สามโคก จ. ปทุม เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมงานบุญด้วยกันนะครับ
มีคำคมมาฝากกันนะครับ ตึกยังรู้พัง สตางค์ยังรู้หมด แต่ไม้ตรีอันสวยสด ไม่มีหมดเหมือนสตางค์ ใครมีคำคมแบบว่าเข้าบรรยากาศปล่อยปลาช่วยหน่อยนะผมหมดแล้ว
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: Chonchai007
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Admin_Article_Only
- โพสต์ 30
- ดูโปรไฟล์ 16043
- อายุ 43 ปี
- วันเกิด พฤศจิกายน 8, 1981
-
Gender
ไม่เปิดเผย
0
Neutral
เครื่องมือผู้ใช้งาน
ผู้เยี่ยมชมล่าสุด
กระทู้ที่ฉันเริ่ม
ไปปล่อยปลากันเถอะครับ
05 November 2010 - 03:12 PM
ขอคำแนะนำครับ
11 October 2010 - 03:01 PM
นั่งสมาธิไม่เหมือนเดิมครับ มีอาการปวดเหมือยตามตัว แล้วก็มีอาการขี้เกียจที่จะนั่งตามมาครับ ประสบการณ์ที่เคยดีก็หายไปหมด ซึ่งแต่ก่อนเวลานั่ง พอเริ่มนั่งก็นิ่งเบาเลย แต่เดี๋ยวนี้นั่งเป็นชั่วโมงยังฟุ้งอยู่เลย มีพี่ๆท่านไดช่วยด้วยนะครับ
มีปัญหาสงสัยมานานอยากถามท่านผู้รู้ครับ
02 October 2010 - 02:52 PM
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูกรูปนะครับและเพื่อนๆร่วมเว็บด้วยความเคารพนะครับ
เข้าเรื่องเลยนะครับ ตัวผมเข้าวัดมาตั้งแต่เด็กนะครับ ก็ได้เรียนรู้และได้รับการอบรมจากโครงการของวัดต่างๆ แต่ผมไม่เข้าใจอยู่ปัญหาเดียวคือว่า ทำไหมเราต้องปราบมาร แล้วเราไปทะเลาะกับเขาตั้งแต่เมื่อไร คือแบบว่าเราทะเลาะกันทำไหมครับ มันมีการเจรจากันไหม คือเรื่องนี้ผมอยากทราบมาก ที่สังสัยเรื่องนี้ผมไม่ได้ตั้งใจจะมาตั้งปัญหากวนๆๆนะครับแต่สงสัยจริงครับ
ขอความเมตาด้วยนะครับ (รึถ้าอยากตอบมาเป็นการส่วนตัวส่งข้อความมาได้นะครัที่([email protected])
เข้าเรื่องเลยนะครับ ตัวผมเข้าวัดมาตั้งแต่เด็กนะครับ ก็ได้เรียนรู้และได้รับการอบรมจากโครงการของวัดต่างๆ แต่ผมไม่เข้าใจอยู่ปัญหาเดียวคือว่า ทำไหมเราต้องปราบมาร แล้วเราไปทะเลาะกับเขาตั้งแต่เมื่อไร คือแบบว่าเราทะเลาะกันทำไหมครับ มันมีการเจรจากันไหม คือเรื่องนี้ผมอยากทราบมาก ที่สังสัยเรื่องนี้ผมไม่ได้ตั้งใจจะมาตั้งปัญหากวนๆๆนะครับแต่สงสัยจริงครับ
ขอความเมตาด้วยนะครับ (รึถ้าอยากตอบมาเป็นการส่วนตัวส่งข้อความมาได้นะครัที่([email protected])
บัณฑิตย่อมฝึกใจ
26 August 2010 - 03:14 PM
บัณฑิตย่อมฝึกใจ
(พ.ศ. ๒๕๓๙)
หลายคนอยากฝึกสมาธิ แต่มักจะบอกว่า มีธุระมากบ้าง กลัวฝึกไม่ได้บ้าง ลองศึกษาชีวประวัติ ของ “สามเณรบัณฑิต”ดู
ณ กรุงสาวัตถี ธิดาคนโตในครอบครัวอุปัฏฐากของพระสารีบุตรได้คลอดบุตรชายมาคนหนึ่ง เมื่อเด็กคนนี้ถือปฏิสนธิในท้องได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นในบ้านคือมีบริวารบางคนที่เซ่อๆซ่าๆ บางคนก็เป็นประเภทเข้าใจอะไรก็แสนยาก พูดอะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่พอเด็กคนนี้มาปฏิสนธิ คนเหล่านี้กลับกลายเป็นผู้ฉลาด เข้าใจอะไรได้ง่าย มีปัญญาหลักแหลม เด็กน้อยคนนี้จึงได้ชื่อว่า “เด็กชายบัณฑิต”ตั้งแต่นั้นมา
ครั้นเด็กชายบัณฑิต อายุได้เพียง ๗ ขวบ มีความคิดอยากจะบวชจึงได้ขอมารดา มารดาก็อนุญาต และอาราธนาพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาแล้วสามเณรบัณฑิต ได้ช่วยเหลืองานในวัด ๗ วัน วันที่๘พระสารีบุตรจึงให้สามเณรไปบิณฑบาตกับตน เมื่อเดินไปในระหว่างทาง เห็นชาวนาคนหนึ่งกำลังก้มหน้าทำอะไรอยู่
สามเณรจึงถามพระอุปัชฌาย์ว่า “ท่านอาจารย์ คนนั้นเขาทำอะไรอยู่ครับ”
“เขาไขน้ำเข้านา”พระสารีบุตรตอบ
สามเณรน้อยได้ถามต่อไปว่า “ก็น้ำมีจิตไหมครับ”
จึงได้คำตอบว่า “ไม่มี”
สามเณรเดินไปพลางครุ่นคิดไปพลาง “น้ำไม่มีจิตใจ คนทั้งหลายยังทำให้น้ำไหลไปในที่ที่ตนต้องการได้ คนเรามีจิตใจ ก็จิตใจของเราแท้ๆทำไมจะควบคุมไม่ได้ เราต้องควบคุมใจเราได้ ด้วยการฝึกสมาธิสิน่ะ”
สามเณรน้อยเดินบิณฑบาตตามหลังพระสารีบุตรไปเรื่อยๆ เห็นชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังเอาลูกศรลนไฟแล้วเล็งลูกศรด้วยหางตา
“ท่านอาจารย์ครับ คนเหล่านี้เป็นใครครับ” สามเณรถามด้วยความสงสัย
“เขาเรียกว่าช่างศร” พระสารีบุตรตอบ
สามเณรถามต่อไปว่า “พวกเขาทำอะไรอยู่ครับ”
พระสารีบุตรผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาได้อธิบายว่า “ช่างศรเขากำลังเอาลูกศรมาลนไฟ จากนั้นก็จะนำมาดัดให้ตรง”
สามเณรไม่ลดละคำถามได้ถามคำถามตามประสาเด็ก ๗ ขวบว่า “ก็ลูกศรมีจิตไหมครับ”
จึงได้คำตอบว่า “ไม่มี”
สามเณรน้อยเดินต่อไปด้วยอาการสงบสมเป็นสมณะน้อย แต่ในใจยังครุ่นคิดถึงเหตุการณ์เมื่อสักครู่อยู่
ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังถากไม้อยู่ด้วยความขมีขมัน
“ท่านอาจารย์ครับ คนเหล่านี้เป็นใครกันครับ” สามเณรน้อยถาม
“เขาเรียกว่า ช่างถากไม้จ้ะ” พระสารีบุตรตอบ
สามเณรถามต่อไปว่า “พวกเขากำลังทำอะไรอยู่ครับ”
พระสารีบุตรผู้ไม่เบื่อในการซักถามของศิษย์ได้ตอบว่า “พวกช่างถากไม้กำลังถากไม้เป็นกำกงบ้าง เป็นดุมบ้างแล้วมาประกอบกันเป็นล้อเกวียน แบบนั้นไง เห็นไหม” พระเถระอธิบายพร้อมกับชี้ให้ดู
“ก็ไม้เหล่านั้นมีจิตใจไหมครับ” สามเณรน้อยถามต่อ
จึงได้คำตอบว่า “ไม่มี” เหมือนเดิม
สามเณรครุ่นคิดในใจต่อไปว่า “ไม้ ไม่มีจิตใจ คนทั้งหลายยังถากไม้ แล้วทำเป็นล้อเกวียนได้ คนเรามีจิตใจ ก็จิตใจของเราแท้ๆ ทำไมจะถากสิ่งไม่ดีออกจากใจเราไม่ได้ เราต้องถากใจของเราได้ ด้วยการฝึกสมาธิน่ะ”
เมื่อสามเณรบัณฑิตได้มีความดำริเช่นนี้แล้ว จึงขออนุญาตพระสารีบุตรไม่เดินบิณฑบาทต่อไปและจะกลับไปที่กุฏิเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม เจริญสมาธิภาวนา พระเถระได้อนุญาต สามเณรบัณฑิตดีใจมาก เพราะความเปี่ยมล้นในความต้องการฝึกสมาธิมีมากมาย จนไม่ห่วงใยเรื่องอาหารคบฉัน สามเณรรีบกลับไปที่กุฏินั่งสมาธิจนจิตของสามเณรเป็นหนึ่ง เข้าถึงกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหัตในบัดนั้นนั่นเอง
ชาวนาทั้งหลายย่อมไขน้ำเข้านา ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากไม้ทั้งหลายย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายยอมฝึกใจตน
ทุกๆคนในโลกสามารถฝึกใจ ด้วยการฝึกสมาธิให้ใจหยุดเป็นหนึ่งได้ ผลแห่งใจหยุดนิ่งจะทำให้ “เลนส์ใจ” สะอาด เมื่อเลนส์ใจสะอาดทำให้ “เห็นถูก เห็นตรง” ซึ่งจะทำให้การดำเนินชีวิตนั้นมีความสุขเพิ่มขึ้นมีความทุกข์ลดลง
อบรมใครไม่เกินอบรมตน
อบรมตนไม่เกินอบรมใจ
ฝึกฝนใครไม่เกินฝึกฝนตน
ฝึกฝนตนไม่เกินฝึกฝนใจ
มาอบรมฝึกฝนใจด้วยการ “หยุดใจ” ที่ศูนย์กลางกายกันเถอะ-------------------------------------
จากหนังสือ : จากยอดดอย หนึ่งในหลากหลายคอลัมน์ในวารสารกัลยาณมิตร
ทันต์จิตต์ (ผู้เขียน)
This post has been promoted to an article
ขยะใจ
20 August 2010 - 04:49 PM
ขยะใจ
บ้านเรือนที่ใช้งานย่อมมีขยะ
ใจที่ถูกใช้ก็ย่อมมี “ขยะใจ”
หลายคนโหยหากับเรื่องต่างๆ ในอดีต หลายคนปล่อยใจล่องลอย จินตนาการไปกับอนาคตอันไกลโพ้น ใครเล่าจะรู้บ้างว่าสิ่งเหล่านี้เป็นขยะของใจ เพราะเหตุใดจึงเป็นขยะใจ และควรให้ใจคิดหรือทำอะไร?
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง “ภัทเทกรัตตสูตร” แก่พระภิกษุสงฆ์ ความว่า “ผู้มีปัญญา ไม่ควรคิดสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้มาถึง ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้นๆ ในกาลนั้นๆ ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนืองๆ ความเพียรเผากิเลส ควรกระทำเสียในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ไม่มีเลย ผู้รู้ผู้มีใจสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาณ อย่างนี้ว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
อดีต – อนาคต
มีคนจำนวนมากที่เสียเวลาจมปลักอยู่กับอดีต บ้างก็เป็นเรื่องขื่นขมยิ่งนึกถึงยิ่งตรอมตรม...จะให้อดีตทำร้ายปัจจุบันทำไห! เศร้าอยู่คนเดียวจะมีประโยชน์อะไร! ลืมๆ มันไปแล้วอยู่กับปัจจุบันไม่ดีหรือ! บ้างก็เพลิดเพลินกับอดีตอันหวานชื่น บันเทิงใจเมื่อคิดถึง ...อย่าตื่นกับความสำเร็จในอดีตเลย เพราปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว อดีตที่หอมหวานไม่ได้หมายถึงปัจจุบันจะหอมหวาน สร้างความสำเร็จให้เพิ่มขึ้นในปัจจุบันไม่ดีหรือ!
มีคนจำนวนมากอีกเช่นกันที่สูญเสียโอกาส สูญเสียเวลาเพราะมัวปล่อยใจล่องลอยไปในฝันแห่งอนาคต ไม่ประกอบธุรกิจการงานให้เต็มที่ฝันแต่โชคหวังแต่ลาภ ไม่ทำอะไรเป็นหลักเป็นฐานลงไป นึกอยู่แต่สิ่งนั้นที่ยังมาไม่ถึง
พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ให้ข้อคิดว่า
“อย่างนี้เขาเรียกว่ามั่งมีในใจ แล่นใบบนบก เอาจริงเอาแท้แน่นอนไม่ได้ มีคนคิดเกลื่อนกล่นไม่คิดเป็นหลักฐาน คนที่หวังอย่างนี้เป็นคนที่ปราศจากปัญญา...”
ปัจจุบันธรรม
ในพุทธพจน์เบื้องต้นตอนหนึ่งกล่าวถึง “ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้นๆ ในกาลนั้นๆ ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน...” หมายถึง เมื่อไม่หวนไห้ถึงอดีต ไม่ฝันเฟื่องไปในอนาคตแล้วก็ให้เราอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรก็ให้ทำเสีย เป็นเด็กก็มีหน้าที่เรียน อย่ารักเที่ยวเตร่ เป็นผู้ใหญ่ก็ขยันหมั่นเพียร จัดแจงการงาน จัดการครอบครัวให้เรียบร้อย ไม่เหลาะแหละเหลวไหล จึงได้ชื่อว่า อยู่กับปัจจุบันธรรม
ปัจจุบันธรรมแง่ปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ปัจจุบันธรรม หมายถึง ณ ปัจจุบันนั้นใจได้หยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงธรรมภายใน ดังพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่แสดงไว้เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๔๙๗ ตอนหนึ่งว่า
“....ท่านยืนยันที่เดียวว่า ปุคฺคโล อันว่าบุคคลใด เห็นแจ้งชัดซึ่งธรรมอันประกอบเฉพาะหน้า ธรรมอะไรซึ่งปรากฏเฉพาะหน้านั่นแหละเป็นปัจจุบันธรรม เช่น คันถธุระ กำลังท่องกำลังบ่นอยู่ทีเดียว คาปากคาใจทีเดียว นั้นเป็นปัจจุบันธรรม
ถ้าว่าผู้ปฏิบัติในสมถวิปัสสนาแปลกประหลาดเป็นนิจบังเกิดขึ้นปรากฏเห็นทีเดียว เห็นแจ่มอยู่กลางตัวเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่นแหละ ใสบริสุทธิ์เหมือนยังกับกระจกคันฉ่องส่องหน้า กลมรอบตัว เห็นขนาดนั้นแหละเป็นปัจจุบันธรรมแท้ๆ ดวงนั้นแหละเรียกว่าดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นปรากฏอยู่กลางกายมนุษย์นั่น
เมื่อเห็นเข้ารูปนั้นแล้วละก็ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนละ ธรรมดวงนั้นเห็นแจ่มแจ้งชัดทีเดียว ผู้ที่เห็นนั้นก็มั่นคงต่อธรรมนั้นทีเดียว
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ เมื่อเห็นดวงธรรมนั้นแล้ว ความเพียรเผากิเลสควรทำเสียในวันนี้ ไม่ถอนใจออกจากธรรมดวงนั้น ไมให้หลุดจากธรรมดวงนั้น ติดอยู่กับธรรมดวงนั้นเรื่อย นี้เรียกว่า อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ
โก ชญฺญา มรณํ สุเว ใครเล่าจะพึงรู้ ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้เดี๋ยวนี้ยังไม่ตายล่ะ พรุ่งนี้ข้าถึงจะตาย วันนี้ยังไม่ตายแน่ รู้จริงอย่างนี้หรือ ก้ารู้จริงอย่างนี้ก็ปล่อยใจให้หลุดจากดวงธรรมนั้นได้ แต่นี้ไม่รู้จริงเช่นนั้นคาดคะเนเอาใจหลุดจากดวงธรรมนั้นไม่ได้ ต้องจดจำไว้ จะตายไปเสียเดียวนี้ก็ไม่รู้ อย่างนี้ต้องจรดกับดวงธรรมนั้นอย่าให้หาย รักษาธรรมดวงนั้นหนักเข้า หนักเข้า ๆๆ ไม่ปล่อยกันละ ไม่วางกันละ ก็รู้ทีเดียว
พอเกียจคร้านจะเลิกเสียบ้าง ก็เอาเรื่องขู่เข้ามาอีก น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา ว่าความต่อสู้ด้วยพญามัจจุราช เราจะปล่อยธรรมไม่ได้ จะต้องยึดธรรมทีเดียว ถ้าปล่อย พญามัจจุราชมันจะสังหารเสียไม่วางธุระ เมื่อไม่วางธุระละก็ นักปราชญ์ท่านยืนยันว่า ผู้มีใจสงบระงับย่อมสรรเสริญบุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่
ใจติดอยู่กับดวงธรรมนั้นเรื่อยไม่ให้หลุดไป ไม่ให้หายไป ติดอยู่เรื่อยทีเดียว อยู่กับธรรมนั้น ผู้มีใจอยู่ติดกับดวงธรรมนั้น ก็เพียรเผากิเลสอยู่ร่ำไปไม่ปล่อยทั้งกลางวันกลางคืนไม่เกียจคร้านเลยอย่างนี้แหละเรียกว่าเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญ เป็นอยู่สักวินาทีเดียวก็ช่างเถอะ เป็นอยู่สัก ๒ ชั่วโมงก็ช่างเถอะ นี่แหละประเสริฐนัก ประเสริฐกว่าคนเป็นอยู่หลายร้อยปีแต่ไม่มีใจติดอยู่กับดวงธรรม
ให้ฉลาดอย่างนี้ ให้มีธรรมปัจจุบันอยู่ร่ำไป จะไปไหนก็ไปเถอะ เดินก็ได้ นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ ทำการงานก็ได้ แต่ว่าให้ใจไปติดกับธรรม....”
ขยะใจ
ความฟุ้งไปในอดีตและอนาคตเป็นขยะใจที่ต้องกำจัด ขยะบ้านเป็นมลภาวะไม่เจริญหูเจริญตาฉันใด ขยะใจก็รกใจ เป็นมลภาวะทางใจฉันนั้น เราจึงต้องกำจัดออกไปโดยด่วน โดยการนั่งสมาธิทุกวัน ให้เข้าถึงดวงธรรม ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ แม้ขณะที่ยังเข้าไม่ถึงแต่สามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้ เพียงช่วงสั้นๆ เท่าชั่วฟ้าแลบ ยังส่งผลให้มี ความสุขกว่าการได้สมบัติอันยิ่งใหญ่เสียอีก ดังโคลงบทหนึ่งของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ว่า
หยุดในหยุดหยุดให้ สนิทเทียว
หยุดอย่างนี้จะเชี่ยว ชาญได้
หยุดแม้นิ่งเดี๋ยวเดียว ชั่วฟ้า แลบนา
หยุดแค่นี้สุขไซร้ กว่าได้ มไหศวรรย์
ใจอยู่ที่กลาง คือใจที่ไม่ว่างจากความดี
-------------------------------------
จากหนังสือ : จากยอดดอย หนึ่งในหลากหลายคอลัมน์ในวารสารกัลยาณมิตร
ทันต์จิตต์ (ผู้เขียน)
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: Chonchai007
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·