เดินออกจากภาวะหมดไฟ
ตอน เรากำลังเสี่ยงเป็นโรค Burn-out Sgndrome หรือไม่
ทุกคนที่อยู่ในสังคมเมือง คนในช่วงวัยนักศึกษา โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องทำงานบางอย่างแบบใช้ทั้งแรงกายแรงใจ หรือใช้ศักยภาพค่อนข้างมาก ได้แก่ สายวิชาชีพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ นักกฎหมาย ต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดมีโอกาสที่จะเกิดโรคนี้ได้ เรียกได้ว่า ทุกคนมีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ “โดยเฉพาะคนที่ทำใจไม่เป็น” แต่ก็ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคนที่เกิดภาวะหมดไฟขึ้นแล้ว คือ ต้องสร้างแรงใจให้ตนเอง แรงใจดีๆ มาจากหลายอย่าง เช่น คำพูด คำคมที่มาจากตนเอง หรือมาจากคนอื่นรอบข้างที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นต้น
ในสมัยนี้ มักจะมีการจับกลุ่มกันระหว่างคนที่มีความสนใจร่วมกัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ถามตอบข้อสงสัยต่างๆ ร่วมกัน พอเราเข้าไปในกลุ่มลักษณะนี้แล้ว เราควรรู้จักถาม รู้จักตอบเวลามีคนอื่นเห็นต่างก็ให้รู้จักรับฟัง แล้วเปิดกว้างยอมรับมุมมองต่างๆ ทางความคิดเห็นด้วย
ปัจจุบันเราอยู่ในสังคมที่ต้องใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างมาก สิ่งต่างๆ เหล่านั้นดึงคลื่นรังสีมาสู่ตัวเรา เพราะฉะนั้น เราจะต้องลงไปสัมผัสกับพื้นดินบ้าง ถ้าเรามีอาการ “Burn-out Sgndrome” มีคำแนะนำง่ายๆ คือ ให้เราถอดรองเท้าแล้วไปเดินบนสนามหญ้าในสวนทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง
ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ตลอดเวลา ปิดโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บ้าง เช่น ช่วงเวลานอนตอนกลางคืนให้ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปเลย หรือวางอุปกรณ์เหล่านี้ให้ห่างจากตัว คือ ถ้าเราอยู่ชั้นบน ก็วางมันไว้ชั้นล่างของบ้าน รัศมีของคลื่นรังสีต่างๆ จะได้ถูกดึงไปไม่ถึงตัวเรานั่นเอง
ถ้าเราอยู่ในห้องนอน เราควรถอดปลั๊กโทรทัศน์ออก ไม่ต้องเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่ชาร์จแบตเตอรี่ทิ้งไว้ ไม่ควรไว้ในห้องงนอนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว
เพราะฉะนั้น หาเวลาที่เป็นธรรมชาติให้ตนเองบ้าง ออกไปสัมผัสต้นไม้ เหยียบพื้นดินพื้นหญ้า สูดอากาศบริสุทธิ์บ้าง แล้วพอถึงเวลานอน ก็ควรนอนแม้จะไม่ง่วง หรือว่ายังมีงานค้างอยู่มากก็ตามทุกอย่างต้องปิดรับให้หมด คือ “ต้องปิดสวิตช์ตนเองให้เป็น”
มาจากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)