ทำอย่างไรจึงจะมีปัญญาอย่าง มโหสถ ได้น้า ?
#1
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 09:50 AM
#2
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 10:07 AM
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 10:26 AM
...ขอคัดลอกมาจากทศชาติชาดก...ดังนี้ค่ะ
มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความสุขุมรอบคอบ ไม่หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มีความรู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร...นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้ว ยังเป็นผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด
คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี"ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว"
อยากมีปัญญาอย่าง มโหสถ ... ด้วยเช่นกัน จริง ๆ
#4
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 11:09 AM
ดูตัวอย่างจากทศชาติชาดก เป็นต้นแบบ
ให้เราก้าวไปนะครับ
#5
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 12:40 PM
ลิงค์สำหรับอ่านประกอบ
=> http://www.dmc.tv/fo...st=0#entry23868
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#6
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 12:47 PM
อันนี้เคยมีคำถามใช่มั้ย ระหว่างตอนที่คุณยายท่านถอนหญ้า แล้วก็ตามไปดูว่า ทำไมพระสารีบุตร จึงเป็นผู้มีปัญญามาก
#7
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 01:30 PM
ผมจำได้เลาๆ ว่าเป็นบทสนทนาระหว่างคุณยายอาจารย์ฯ กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโวน่ะครับ รอให้ผู้รู้ท่านอื่นมาช่วยยืนยันอีกทีนะครับ
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#8
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 03:55 PM
ฝึกสมาธิเยอะ ๆปัญญาย่อมเกิดขึ้นเอง
สนธนาธรรม กับบัณฑิต นักปราชญ์ บ่อยๆจะทำให้แตกฉานในเรื่องนั้นๆ
ขนขวาย ขยัน อ่าน เล่าเรียนเพิ่มเติม
เมื่อเก่งแล้วต้องดี ด้วยนะครับถ้าไม่ดีก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
#9
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 04:39 PM
ซึ่งคุณสมบัติของพระสารีบุตรนั้น ท่านกตัญญูจริงๆ ครับ ไปโปรดโยมแม่ท่าน แม้วาระสุดท้ายของชีวิตทีเดียว
ส่วนพระโมคคัลลานะนั้น ทำไมจึงเป็นผู้มีฤทธิ์มาก คุณยายอาจารย์ตอบว่า เป็นเพราะเป็นคนขวนขวายต่อส่วนรวมน่ะครับ คุณสมบัติอย่างหนึ่งของท่านก็คือ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ท่านจะปลีกวิเวกพักหนึ่ง ท่านบอกออกไปท่ามกลางคณะสงฆ์ ปรากฏว่า พระสารีบุตรทูลขอปลีกวิเวกตาม แต่พระโมคคัลลานะกลับบอกว่า "ท่านจะช่วยดูแลคณะสงฆ์แทนพระพุทธองค์เอง"
แต่พระโมคคัลลานะ กลับมีเศษกรรมฆ่าบิดามารดามาในอดีต ในขณะที่พระสารีบุตรกตัญญูรู้คุณมากๆ น่าขบคิดพิจารณาจริงๆ
#10
โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 11:17 PM
ใจผู้นั้นก็จะเพียรหาวิธี หาสิ่งที่ดีที่สุด มาทดแทนคุณ การทดแทนคุณแบบธรรมดาที่ใครๆเขารู้กันแล้ว-ทำกันอยู่แล้วนั้นยังไม่พอ จะต้องดีกว่านั้นให้ได้
ก็จะไปศึกษา ไปค้นหา ไปค้นคว้า ขวนขวายหาสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อมาทดแทนคุณ ให้ได้
การขวนขวายเสาะหาความรู้ ลักษณะแบบนี้ จะเพิ่มพูนปัญญา
#11
โพสต์เมื่อ 05 July 2006 - 07:55 AM
#12
โพสต์เมื่อ 05 July 2006 - 10:06 AM
ก็ต้องอย่าลืม ปัญญาทางโลก ด้วยเพราะพระพุทธองค์ตอนเป็น
พระโพธิสัตว์นั้นได้ศึกษาปัญญาทางโลกมาอย่างแตกฉาน เชี่ยวชาญด้วย
นั่นคือ ศิลปศาตร์ ๑๘ ประการ
ในทศชาติชาดก ชาติที่เป็นพระมหาชนก และ มโหสถบัณฑิตนั้น ทรงเชี่ยวชาญมาก
๑.สูติ ความรู้ทั่วไป (สอนเรื่องความรู้รอบตัวเกี่ยวสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ธรรมชาติวิทยา)
๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม (มารยาททางสังคม ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติตามกาลเทศะต่างๆ)
๓.สังขยา คำนวณ (คณิตศาสตร์)
๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ (วิชางานช่างฝีมือทั่วไป)
๕.นีติ นิติศาสตร์ (กฎหมายบ้านเมือง)
๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล (เข้าใจว่าเป็นหลักปรัชญาทางศาสนา)
๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ (การขับร้องและนาฏศิลป์)
๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย (พละศึกษา)
๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู (วิชาทหาร ภาคปฏิบัติ)
๑๐.ปุราณา โบราณคดี (ประวัติศาสตร์ของประเทศ)
๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ (การปฐมพยาบาล)
๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ (ตำนานท้องถิ่น)
๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ (ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์?)
๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม (วิชาทหาร ภาคทฤษฎี)
๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ (การแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)
๑๖.เกตุ วิชาพูด (การพูดในที่ชุมชน )
๑๗.มันตา วิชามนต์ (ไสยศาสตร์)
๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์ (การพูดและเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการนี้ เมื่อมาถึงปลายกัลป์ถ้าเชี่ยวชาญแล้ว
ผมคิดว่าจะประยุกต์ใช้ทำให้เป็นคนฉลาดทางโลก ในสมัยนี้ได้เลย
#13
โพสต์เมื่อ 07 July 2006 - 03:50 PM
วิบากกรรมนั้น ไม่ละเว้นใครค่ะ
#14
โพสต์เมื่อ 18 August 2006 - 01:55 PM
#15
โพสต์เมื่อ 22 September 2006 - 12:37 AM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#16
โพสต์เมื่อ 22 September 2006 - 02:02 AM
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ
#17
โพสต์เมื่อ 06 October 2006 - 10:41 AM
1.ต้องมีความกตัญญู
2.ต้องมีความเคารพ
และก็ต้องสร้างบุญที่เนื่องด้วยปัญญาบารมี
เช่น ถวายอุปกรณ์การเรียน พระภิกษุ-สามเณร
ร่วมบุญทำหนังสือธรรมะ เป็นต้นครับ!
#18
โพสต์เมื่อ 10 December 2006 - 03:34 PM
เข้าใจตั้งกระทู้ เพื่อทำให้เราได้เห็นประโยชน์ของการบ่มบารมี คุณธรรมทั้งหลาย
และเป็นการสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ด้วยการเห็นความดีงาม ความประเสริฐของท่าน
ที่สะสมมาก่อนหน้านี้ ถือว่าพวกเราเป็นผู้ที่มีบุญมีปัญญากันทุกคนเลยค่ะ
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#19
โพสต์เมื่อ 11 May 2007 - 07:17 PM
ฉลาดถึงที่สุดแห่งธรรมแน่นอน