หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ตอนที่ 1
#1
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 03:23 AM
เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาของพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ โดย Extra
ฆราวาสธรรม มี 4 ข้อ เป็นหลักธรรมสำคัญที่ในหลวงทรงเลือกจากคำสอนของพระพุทธเจ้า 84,000 พระธรรมขันธ์ มาเพื่อพระราชทานพระราชดำรัสเพื่อให้พสกนิกรปฏิบัติตาม เพื่อนำเอาความสุข ความเจริญมาสู่ตนเอง และสังคม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบ่งคนในโลกนี้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. อนาคาริยะ แปลว่า ผู้ไม่มีเรือน ได้แก่ นักบวช หรือ พระ
2. อาคาริยะ แปลว่า ผู้ครองเรือน คือ พวกฆราวาส ผู้ที่มีครอบครัว แบบที่ออกเรือนแล้ว หรือยังไม่ได้ออกเรือน ซึ่งมีใจผูกติดอยู่กับบ้าน
เป้าหมายชีวิตของชาวโลกปรารถนา มาจบตรงกันที่ ความสุขในชีวิต การจะไปถึงความสุข ต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง การมีความรู้ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เราจะมีความสุข คนเรียนจบดอกเตอร์อาจมีปัญหาจนถึงกับฆ่าตัวตาย มหาเศรษฐีระดับหมื่นล้านก็ไม่ได้มีความสุขทั้งวัน แต่กลับมีภาระมากมาย ปัจจัยหรือเงื่อนไขใดที่จะนำเราไปสู่ความสุข การเรียนหนังสือต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อหาวิธีการไปให้ถึงได้สำเร็จ เราศึกษากันมากมายในเรื่องปลีกย่อย แต่เราไม่ค่อยวิเคราะห์ถึงเป้าหมายใหญ่ในชีวิตของเรา นั่นคือ ทำอย่างไรเราจึงจะไปสู่จุดหมาย คือ ความสุข นี่คือเรื่องที่น่าคิด บางคนกล่าวว่า กะโหลกบังปัญญา ลืมมองถึงชีวิตที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร เป้าหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร วนเวียนแต่กิจเฉพาะหน้า จนกระทั่งลืมกิจหลัก ลืมเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการ คือ ความสุข กลายเป็นเข้าใจว่า เงินทำให้มีความสุข ก็ตั้งใจหาเงินอย่างเดียว จนกระทั่งลืมไปว่าความสุขอยู่ที่ไหน กลายเป็นเอาตัวไม่รอดได้ ถ้าเราเข้าใจจุดนี้ จะทำให้เราไปสู่จุดที่เราต้องการได้ ซึ่งถือว่าคุ้มค่า
ประการแรกของหลักฆราวาสธรรม คือ สัจจะ ฆราวาสที่ดี ที่จะประสบความสำเร็จ ต้องรักษาคำพูด
สัจจะ มี 2 ความหมาย คือ
1. ความจริง เป็นคนจริง ตรงกันข้ามกับเล่น คือ ทำจริง ไม่ทำเล่น เช่น การคบคน ถ้าคบกันเล่นๆ คงไม่มีใครต้องการ การทำงาน ถ้าทำงานเล่นๆ ก็คงไม่มีใครรับเข้าทำงาน ใครเป็นคนจริง จะเด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในตนเอง ไม่โลเล ไม่เป็นไม้หลักปักเลน จะทำอะไรก็ทุ่มลงไปเต็มที่ ให้ถึงที่สุดในสาขานั้น ในสายงานนั้น ถ้าจะเป็นนายธนาคาร วิศวกร แพทย์ ก็ขอให้เลิศ ให้เยี่ยมที่สุดในโลก ทุ่มสติปัญญาทุกอย่างลงไปเต็มที่ ไม่ทำเหยาะแหยะ ไม่โลเล ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ยกตัวอย่าง เช่น พระเจ้าตากสิน จะยกกองทัพจำนวน 500 คนไปยึดเมืองจันทบุรี หลังจากกินอิ่ม ก็ทุบหม้อข้าวทิ้ง ต้องไปหาเอาข้างหน้า อย่างที่เรียกว่า สู้ไม่ได้ ตายเถอะ แล้วก็รบชนะ ถ้าเรามีพลังในตัวอยู่ 100% ในการทำงานชิ้นหนึ่ง แล้วทุ่มลงไป 50% ผลที่ได้ไม่ใช่ 50% แต่อาจจะได้มาเพียง 2-3% แต่ถ้าทุ่ม 100% ได้ผล 100% การเรียนควรทุ่ม 50% ถึงจะผ่าน ถ้าทุ่ม 20% กลายเป็นสอบตก ถ้าเรียนถึงมหาวิทยาลัย ปี 4 แล้วถูกรีไทร์ หมายความว่า ได้วุฒิเท่ากับ ม.6 (หรือ มศ.5) ไม่ใช่วุฒิ ปี 3 ดังนั้นทำอะไรให้ทำจริง เป็นคนจริง
2. ความตรง เป็นคนตรง ตรงกันข้ามกับคด ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ ต้องตรง ไม้คดใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เพราะเกะกะ รับน้ำหนักได้ไม่ดี จุดศูนย์ถ่วงไม่ได้ระดับ ใช้ได้ไม่ถนัด ถ้าจะเป็นโต๊ะ เป็นเสา ก็ไม่เหมาะ จนเอาไปเผาเป็นถ่าน ก็เกะกะถ่านก้อนอื่น เลยเผาซ้ำกลายเป็นขี้เถ้าไป คนคด คนไม่ตรง ไปอยู่ที่ไหนก็เกะกะคนอื่น ใช้งานอะไรไม่ได้ ติดขัดไปหมด ไปอยู่ที่ไหน พออยู่ไปแล้วเหลี่ยมออก ลายออก ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ก็ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เมื่ออยู่ที่ใหม่ ก็ไม่มีใครเอา เร่ร่อนไปเรื่อยๆ หาที่ลงไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องเข้าเตาเผาเช่นเดียวกัน ไม้ที่ตรง เอามาจากที่ไหน ก็เข้าหมู่เข้าพวกได้อย่างสบาย ไม่ว่าจะมาจากภาคเหนือ ภาคใต้ หรือแม้แต่ต่างประเทศ ส่วนไม้คด ถึงมาจากต้นเดียวกัน ก็เอามาใช้งานร่วมกันไม่ได้ ถ้าเป็นคนตรง มาจากต่างที่กัน ก็ทำงานร่วมกันได้ ถ้าเป็นคนคด ถึงเป็นพี่น้องกัน คลานตามกันมา ก็ยังอยู่ด้วยกันไม่ได้ แทบจะตีกันตาย ถ้าจะครองเรือน ต้องเป็นคนตรง การดูว่าตรงหรือไม่ ถ้าเป็นไม้ ให้ดูที่ต้น ที่กลาง และที่ปลาย ถ้าเป็นคน ก็เช่นเดียวกัน คือ ดูที่ต้น คือ ความคิด ที่กลาง คือ คำพูด และปลาย คือ การกระทำ ใครมีความคิด คำพูด และการกระทำที่ตรงกัน เรียกว่า คนตรง ใครคิดอย่าง พูดอย่าง ทำไปอีกอย่าง แสดงว่า คด ไม่ตรงเสียแล้ว เช่น ยืมเงินเพื่อนแล้วบอกว่า เดือนหน้าใช้คืนให้ แต่ผ่านไป 6 เดือนแล้วยังไม่ได้ใช้คืน แสดงว่า ไม่ตรงเสียแล้ว เพราะสัญญาอย่าง แล้วทำอีกอย่าง นั่นคือ การดูคน ให้ดูที่ความคิด คำพูด และการกระทำ ว่าตรงกันหรือไม่
คนมีสัจจะ ทำให้ทำอะไรสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะใจมันทุ่มลงไป เช่น เรียนหนังสือ 12 ปี แต่ตั้งใจเรียนแล้วพาสชั้นปีเว้นปี จนจบได้ใน 6 ปี ทำอะไรได้รวดเร็วกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะทำงานราชการหรือเอกชน ตำแหน่งจะเพิ่มขึ้นอย่างพุ่งพรวด เรียกว่าเป็นคนจริง และหากมีความตรงเข้ามาเสริม คนอื่นก็ไว้ใจ ทำงานไปได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้มีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว จะศึกษาหรือทำงานเรื่องอะไร ก็ปรุโปร่งแตกฉาน
ประการที่สองของฆราวาสธรรม คือ ทมะ แปลว่า การพัฒนาตน จากเดิมที่อยู่จุดนี้ แล้วพัฒนาตนเองให้สูงขึ้น ซึ่งมี 2 ประเด็น คือ
1. การฝึกฝีมือ ฝึกความสามารถ คือ การพัฒนาฝีมือตัวเองอย่างรอบด้าน ความรู้ไม่เหมือนกับความสามารถ การจะบอกว่า คนจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่สอบได้เกียรตินิยมเหรียญทอง หากแต่อยู่ที่ศิลปะในการนำมาใช้ บางคนอ่านทฤษฎีแล้วนำมาใช้ไม่ได้ บางคนนำมาใช้ได้ เช่น คนที่อ่านตำราทำอาหารมาเหมือนกัน บางคนทำแล้วกินได้ บางคนทำแล้วกินไม่ได้ ถ้าคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น เอาหนังสือสอนว่ายน้ำมาอ่านแล้วก็กระโดดลงน้ำ ก็เตรียมเอาไม้มาเขี่ยได้เลย ดังนั้น ความรู้ไม่เท่ากับความสามารถ ต้องมีการฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ได้จริงด้วย ซึ่งคนที่จะฝึกได้ดีต้องมีความช่างสังเกต และมีความละเอียดอ่อน จึงจะมองจุดต่างๆ ออก รู้ว่าจุดแข็ง จุดอ่อนอยู่ที่ไหน เห็นคนแล้วก็รู้ว่า มีปมเด่นปมด้อยอย่างไร ทำงานได้ด้วยตัวเองหรือไม่ เลือกใช้คนได้ถูกกับงาน มีศิลปะในการครองใจคน ซึ่งทำให้ก้าวจากผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้นำ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจะมองอะไรได้ละเอียด มีความช่างสังเกตในข้อดี (จับถูก) ไม่จับผิดผู้อื่น ผู้หญิงมักมีนิสัยที่ชอบนำสิ่งไม่ดีของคนอื่นมาพูด ซึ่งต้องระวัง
ในสมัยก่อน มีชายคนหนึ่ง เป็นคนช่างติ เห็นใครมีอะไรดี ก็สามารถหาข้อติได้เสมอ จนชาวบ้านเอือมระอา วันหนึ่งชาวบ้านได้พระพุทธรูปที่สวยมากมาองค์หนึ่ง สวยไม่มีที่ติ นึกอยากลองดีกับชายช่างติ เมื่อเขามาถึง ก็พินิจพิเคราะห์พระพุทธรูปอยู่นานเป็นชั่วโมง โดยถึงกับเอาแว่นขยายมาส่องด้วย สุดท้ายเขาก็พูดว่า พระพุทธรูปองค์นี้ก็งามอยู่หรอก เสียอย่างเดียว พูดไม่ได้ ชาวบ้านก็ส่ายหัว แล้วบอกว่า ยกให้เขาคนหนึ่งก็แล้วกัน หลังจากนั้น เขาเดินไปพบต้นมะม่วงต้นหนึ่ง ด้วยความอ่อนเพลีย จึงนอนพักใต้ต้นมะม่วง มองไปเห็นผลมะม่วง แล้วก็นึกติเทวดาว่า ตอนจะสร้างโลก ก็ไม่มาปรึกษาเรา ดูสิ ต้นมะม่วงเบ้อเร่อ แต่ผลเล็กนิดเดียว ทีต้นฟักเล็ก ลูกเบ้อเร่อ ไม่สมส่วนกันเลย แล้วเขาก็ผล็อยหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย โชคไม่ดี มีลมพัดมาจนผลมะม่วงหล่นลงมาถูกดั้งจมูกของเขาพอดี เจ็บจนน้ำตาไหล เขาจึงได้คิดว่า ความจริง เทวดาก็ฉลาด รู้ว่า ต้นมะม่วงใหญ่ ต้องมีคนมาอาศัยร่มเงา เลยสร้างผลมะม่วงให้มีขนาดเล็ก นี่ถ้าขนาดเท่าลูกฟัก หน้าของเราคงจะเละไปหมดแน่ หลังจากถูกมะม่วงสอน เขาจึงเลิกเป็นคนช่างติ กลายเป็นคนจับถูกแทน เราไม่ควรจับผิดคนอื่น ควรจะจับผิดตัวเอง เดี๋ยวถูกทุเรียนสอน แล้วจะแย่เอา เราควรจับถูก เช่น คนนั้นเก่งอย่างนั้น คนนั้นดีอย่างนี้ ฝึกบ่อยๆ จนภาพติดอยู่ในใจของเรา ทำให้เป็นที่รวมของความดีต่างๆ เหมือนทะเลที่เป็นที่รวมของแม่น้ำ เรามีสติปัญญาและความคิดที่จำกัด ควรใช้สะสมในเรื่องดีๆ ไม่ควรสะสมเรื่องร้ายๆ
2. การหยุด หมายถึง สามารถหยุดยั้งตัวเองได้ ไม่ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย ไม่ทำในสิ่งที่พาตัวเองไปสู่ทางเสื่อม เอาชนะตัวเอง หยุดใจไว้ได้ เช่น เมื่อจะโดดเรียน รู้ว่าไม่ถูก ก็หยุดใจไว้ได้ เมื่อถูกเขารังแก จะแก้แค้นเขา ก็หยุดตัวเองไว้ได้ เมื่ออยากดื่มเหล้า ก็หยุดตัวเองไว้ได้ อะไรที่ล่อตาล่อใจ ก็หยุดไว้ได้ ไม่ทำ
พื้นฐานของการหยุดยั้งตัวเอง คือ สามารถรักษาศีล 5 ได้ และไม่เล่นการพนัน เพราะศีล 5 เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เราไปสู่ทางเสื่อม และพาเราไปสู่ทางที่ถูกต้อง ศีล แปลว่า ปกติ ไม่ได้แปลว่า ข้อห้าม ดังนั้น คนที่รักษาศีลคือคนปกติ คนที่ผิดศีลคือคนผิดปกติ ในปัจจุบัน คนผิดปกติมีมาก เราจึงเห็นคนปกติว่าเป็นคนผิดปกติ เช่น โตป่านนี้ โกหกไม่เป็น เชยจริงๆ จากความเห็นที่วิปริต สังคมจึงวิปริต เราควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า คนที่รักษาศีล 5 คือ คนเต็มคน วันใดผิดศีล แสดงว่า วันนั้นผิดปกติแล้ว ไปเข้าข่ายของสัตว์เสียแล้ว
ศีลเป็นเครื่องจำแนกคนออกจากสัตว์ ศีลข้อ 1 คือ ไม่ฆ่า ปกติของคนจะต้องไม่ฆ่า แต่สัตว์ต่างๆ รังแกกัน ฆ่ากัน คนต้องไม่แก้ปัญหาด้วยการฆ่า แม้ว่าฆ่าแล้วจะไม่มีความผิดก็ตาม ปกติของคน จะมีความเมตตาสงสารต่อผู้อื่น การฆ่าทั้งคนและสัตว์ ถือว่าผิดทั้งนั้น คนทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครที่ไม่เคยเกิดเป็นสัตว์ สัตว์ทุกชีวิตในโลกนี้ ไม่มีชีวิตใดเลยที่ไม่เคยเกิดเป็นคน ทุกชีวิตได้วนเวียนเกิดตายกันมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน เมื่อทำบุญมาก ก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ เป็นพรหม หรือเข้าพระนิพพาน เมื่อทำบาปก็ตกนรก เป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าบุญกับบาปพอๆ กัน ก็กลับมาเกิดเป็นคน วนเวียนไปมา จนกระทั่งถึงพระนิพพาน จึงจะไม่กลับมาเกิดอีก ชีวิตทุกชีวิตมีความหมาย ทุกคนต่างก็รักตัวกลัวตายกันทั้งนั้น เช่น เราถูกยุงกัด คิดว่า ยุงมากวนเราผู้ยิ่งใหญ่ก็ตบยุง หรือเราไปกวนผู้มีอำนาจในแผ่นดิน เขารำคาญเรา แล้วยิงเราตาย ถ้าญาติพี่น้องของเราตาย เรารู้สึกไม่สบายใจ สัตว์ก็มีญาติพี่น้องของเขา ถ้าเราไปทำเขาตาย ญาติพี่น้องของเขาก็คงไม่สบายใจเช่นกัน บางคนชอบล่าสัตว์ เช่น ยิงนก เราเคยคิดหรือไม่ว่า อาจมีลูกนกรออาหารอยู่ที่รัง เราต้องไม่ลืมนึกถึงใจเขาใจเรา
การฆ่าสัตว์มีองค์ประกอบ 5 ข้อ คือ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. เรารู้ว่า สัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่า (มีเจตนา)
4. ลงมือฆ่า
5. สัตว์นั้นตายจากการฆ่า
#2
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 05:33 AM
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7
.
รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า: คลิ๊กที่นี้คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>> CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
#3
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 07:44 AM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#4
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 09:29 AM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#5
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 09:34 AM
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต้ อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดยกโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
#6
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 09:38 AM
ขอบคุณค่ะ
#7
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 09:58 AM
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#8
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 10:26 AM
#9
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 10:50 AM
สาธุ
#10
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 12:25 PM
และมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องด้วยครับ
#11
โพสต์เมื่อ 28 September 2006 - 08:39 PM
#12
โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 11:30 PM
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ
#13
โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 12:35 PM
สำหรับหลักธรรมที่ท่านได้นำมาให้ได้ศึกษาดีมากๆค่ะ
#14
โพสต์เมื่อ 27 March 2007 - 12:13 PM