วิธีแก้กรรมชั่วให้เป็นอโหสิกรรม หรือให้อ่อนกำลัง
#1
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 09:13 AM
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงได้ประทานหนทางแก้อกุศลกรรมไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ ด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1.การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง คำว่า ไม่ทำ หมายถึง ไม่ทำอกุศลกรรมใหม่เพิ่ม ด้วย กาย วาจา และด้วยใจ ทางใจ คือ
ไม่นึกความชั่วใหม่ ความชั่วที่เคยพลาดพลั้งที่ทำไปแล้วก็ไม่ไปนึกถึงอีก หากเกิดผุดนึกขึ้นมาก็ให้รีบทำการอธิษฐานใจตนเอง
หรือ อาจเปล่งวาจา เพื่อให้มั่นคงยิ่งขึ้นต่อหน้าพระพุทธรูป ว่าจะไม่กระทำทุจริตกรรมเช่นนี้อีกต่อไป
2. ทำกุศลกรรมทุกอย่าง คือ พยายามสร้างกุศลให้เป็นอาจิณณกรรมให้เกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่เรารู้สึกทำได้ทุกวัน
ทำแล้วนึกถึงได้ง่าย นึกแล้วมีความปีติ ปราโมทย์อิ่มอกอิ่มใจ แม้จะเป็นกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ตักบาตรทุกวัน
หยอดเงินสะสมใส่ดวงมณีทวีบุญเป็นทำทานทุกวัน เมื่อเต็มแล้วก็นำไปทำบุญที่วัด สวดมนต์ทำวัตรเช้า เย็นทุกวัน แผ่เมตตา
รักษาศีล เจริญภาวนาอยู่เสมอๆ เมื่อมีโอกาสอำนวยควรหาโอกาสสร้างบุญที่ยิ่งใหญ่ เช่นเป็นประธานกฐิน หรือผ้าป่า
เพราะบุญใหญ่ๆ เช่นนี้ ต้องอาศัยกำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังพวกพ้อง กำลังอุตสาหะมาก แต่หากทำได้ครั้งหนึ่งย่อมนำความปลาบปลื้มใจมาได้มาก และบุญใหญ่นี้มีกำลังแห่งกุศลกรรมแรงเข้าไปเบียดเบียนห้ามกุศลกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลจนกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้
3. ทำจิตให้ผ่องใส คือ การเจริญสมาธิภาวนา จนเป็นมหัคคตกุศลหรือมหากุศล เป็นดวงกลมใสสว่าง ยิ่งสว่างมากเท่าใด
ดวงบุญนั้นก็จะไปดึงดูดกุศลกรรมเก่าให้มีกำลังมีโอกาสมาส่งผลในชาตินี้ได้เร็วขึ้น ทำให้เรามีสุขภาพกายสุขภาพใจดี
จะได้ประสบลาภยศ สรรเสริญสุข เจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติได้ง่าย ยิ่งหากเจริญภาวนาจนเข้าถึงกายในกายภายในตัว
จนถึงพระธรรมกายภายใน ย่อมห้ามและตัดอกุศลกรรมได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดีมีความสุข ผู้ทำกรรมชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่วมีความทุกข์ยาก
กรรมดีและกรรมชั่วที่สัตว์กระทำไปแล้ว ย่อมไม่อาจกระทำคืนหรือลบล้างได้
แต่อย่างไรก็ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงประทานหนทางแก้ไขอกุศลกรรมที่สัตว์ทำแล้วให้กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้
หรือทำให้อ่อนกำลังลง และยังทรงบอกหนทางการเพิ่มกุศลกรรมให้มั่นคงยิ่งขึ้นตามวิธีทั้งสามข้อเบื้องต้นไว้อีกด้วย
*กรรมวิทยา อภิธรรมศึกษา 3 เล่ม 4 สำนักเรียนพระอภิธรรม วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
#2
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 09:27 AM
พุทธแท้ๆต้องทำอย่างนี้ครับ
ทำแล้วนึกถึงได้ง่าย นึกแล้วมีความปีติ ปราโมทย์อิ่มอกอิ่มใจ แม้จะเป็นกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยก็ตาม
#3
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 12:48 PM
ครั้งหนึ่ง ท่านกำลังตรึกธรรมะอยู่ ประคองสติในกาย กายในสติได้ตลอด จนกระทั่งท่านได้เห็นเศษขยะตกอยู่ที่พื้นในวัด ท่านจึงตั้งใจก้มลงเก็บ ขณะนั้น ความสว่างในจิตใจท่านก็พลันสว่างไสวอย่างมากมายมหาศาล ท่านปีติใจกับใจที่สว่างนี้อย่างมาก แม้เป็นเพียงการทำความดีเล็กๆ น้อยๆ เช่น เก็บขยะก็ตาม แต่ทำขณะที่ใจผ่องใสในผ่องใส สัมผัสแห่งบุญมากมายมหาศาลทีเดียว
แล้วท่านหวนนึกถึงความหลัง เมื่อครั้งเคยเป็นประธานชมรมพุทธที่รามคำแหง ท่านได้ทำกิจกรรมยิ่งใหญ่ต่อสังคมอย่างมากมายหลายกิจกรรม แต่ท่านรู้สึกว่า คุณค่าของกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับจิตใจในเวลานั้น เทียบไม่ได้กับคุณค่าของกิจกรรม(แค่เก็บขยะ)ในเวลานี้เลย
ทั้งนี้เพราะตอนนั้น ท่านยังเป็นนักศึกษา ยังฝึกใจให้ผ่องใสไม่ได้ถึงขนาดนี้ นั่นเอง
#4
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 12:49 PM
ขออนุญาติเสริมอีกนิด อย่าว่ากันนะ เพราะผมเคยเป็นแบบนี้มาก่อน
รู้มาก....ยากนาน
ยาก?
ก่อนจบ ฝันในฝัน dmc ลองพิจารณา คำที่หลวงพ่อท่านกล่าวไว้
อยากเข้าถึงพระธรรมกายกันไหมจ๊ะ?ๆๆ อยากเข้าถึงกันจริงๆหรือเปล่าจ๊ะ?
จริงๆแค่ไหน?
สำหรับผมกำลังรอ อารมณ์นี้อยู่ เพราะที่บ้านมันวุ่นวายเหลือเกิน
....จริงแค่ชีวิตสิ....
#5
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 03:53 PM
ขออนุโมทนา สาธุ...กับ นรอ.SHUTTER_B และท่านอื่นๆด้วย
#6
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 10:31 PM
#7
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 11:57 PM
#8
โพสต์เมื่อ 10 October 2010 - 04:34 AM
กรรมชั่วอันใด ที่ข้าพเจ้าทำไว้ ด้วยกาย-วาจา-ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และเพื่อนมนุษย์
เพราะความไม่รู้ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และเพื่อนมนุษย์
จงยกโทษ โปรดให้ข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ความทุกข์ขออย่าได้ ความไข้ขออย่าให้มี
ขอให้มีความสุข สวัสดีมีชัย หายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย อันตรายทั้งหลายจงเสื่อมไป สิ้นไป สูญหายไป
...........นิพพานะ ปัจจโย โหนตุ
#9
โพสต์เมื่อ 10 October 2010 - 05:36 AM
#10
โพสต์เมื่อ 11 October 2010 - 01:43 AM
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป