ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิธีอุปสมบทในฝ่ายภิกษุณี 3 วิธีหลัก 1 วิธีพิเศษ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 05:45 PM

วิธีการบรรพชา อุปสมบทในฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์

๑) ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงทำการบวชให้ด้วยการให้กุลธิดาผู้ประสงค์บวชรับครุธรรม ๘ ประการไปปฏิบัติ เป็นวิธีบวชภิกษุณีวิธีแรก และมีเพียงพระภิกษุณี ๒ รูปเท่านั้น ที่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทรงประทานการบวชให้ด้วยวิธีนี้ คือ
๑. พระมหาปชาบดี
๒. พระยโสธรา (พระนางพิมพา)

วิธีบวชแบบนี้ มีวิธีปฏิบัติ คือ กุลธิดาผู้ประสงค์จะบวชได้ปลงผมและห่มผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อยแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอบวช พระพุทธเจ้าจะเสนอให้กุลธิดาผู้ประสงค์จะบวชรับครุธรรม ๘ ประการไปปฏิบัติ เมื่อกุลธิดาผู้ประสงค์จะบวชยอมรับว่าจะปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าเสนอ ก็เป็นอันว่าได้บวชเป็นพระภิกษุณีเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ดีการบวชด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการของพระมหาปชาบดีกับพระยโสธรามีจุดต่างกันตรงที่ พระมหาปชาบดีรับครุธรรมจากพระพุทธเจ้าผ่านทางพระอานนท์ ส่วนพระนางพิมพารับครุธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนี้ ก็ถือได้ว่าบวชโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์เหมือนกัน

๒) ติสรณคมนูปสัมปทา คือ วิธีบวชแบบให้กุลธิดาผู้จะบวชเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ต่อพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (วิธีนี้จะเหมือนกับการบรรพชาเป็นสามเณรของกุลบุตร)

วิธีบวชแบบนี้ มีวิธีปฏิบัติ คือ ผู้จะบวชได้ปลงผมและห่มผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อยแล้วเข้าไปหาพระภิกษุ กราบเท้าแล้วประนมมือเปล่งวาจาขอถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ๓ ครั้ง

วิธีบวชแบบนี้ สันนิษฐานว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุนำไปใช้บวชกับกุลธิดา ๒ กลุ่ม คือ
๑. บรรดาเจ้าหญิงศากยะผู้เป็นบริวารของพระมหาปชาบดี (อรรถกถาอธิบายว่า เจ้าหญิงศากยะเหล่านั้นมีจำนวน ๕๐๐ นาง)
๒. ผู้เป็นบริวารของพระยโสธรา (เจ้าหญิงศากยะ ผู้เป็นบริวารเหล่านั้นมีจำนวน ๒๕๐ นาง)

และสันนิษฐานว่า การบวชแบบนี้แม้จะเปล่งวาจาขอถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ๓ ครั้ง แต่ก็น่าจะจบลงด้วยการที่พระภิกษุนั้นได้สอนให้บรรดาเจ้าหญิงศากยะผู้เป็นบริวารของพระมหาปชาบดี และผู้เป็นบริวารของพระยโสธรารับครุธรรม ๘ ประการไปปฏิบัติด้วย
เชื่อว่า โดยการบวชด้วยวิธีบวชแบบนี้ จึงทำให้พระภิกษุณีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพระภิกษุณีสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวนทั้งสิ้น ๗๕๒ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระภิกษุณีจากชาวศากยะทั้งสิ้น คือ บวชด้วยการรับครุธรรม ๒ รูป และ บวชด้วยวิธีติสรณคมนูปสัมปทา ๗๕๐ รูป

๓) อฏฐวาจิกาอุปสัมปทา เมื่อเกิดมีพระภิกษุณีหมู่ใหญ่เกิดขึ้นด้วยวิธีการติสรณคมนูปสัมปทาแล้ว การบวชของภิกษุณีหลังจากนี้ทั้งหมดต้องบวชด้วยวิธีอฏฐวาจิกาอุปสัมปทา วิธีบวชแบบนี้มีวาจา ๘ คือ ทำญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา (การประกาศให้ทราบ ๔ ครั้ง) โดยให้ทำ ๒ ครั้ง คือ จากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๑ ครั้ง จากฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ครั้ง และการบวชวิธีนี้ก็ใช้บวชภิกษุณีสืบต่อกันมา

โดยถ้าเป็นการบวชของฝ่ายภิกษุสงฆ์ทำแค่ ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา (การประกาศให้ทราบ ๔ ครั้ง) โดยให้ทำเพียง ๑ ครั้ง คือ จากฝ่ายภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว การอุปสมบทเป็นอันสมบูรณ์ ซึ่งก็คือ วิธีอุปสมบทพระภิกษุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

แต่สำหรับการอุปสมบทกุลธิดาให้เป็นภิกษุณีนั้น เนื่องจากปัจจุบันไม่มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว ทำให้ไม่สามารถทำการบวชแบบอฏฐวาจิกาอุปสัมปทาให้สมบูรณ์ได้ ถึงแม้จะสามารถทำญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา (การประกาศให้ทราบ ๔ ครั้ง) จากทางฝ่ายภิกษุสงฆ์ได้ แต่ไม่สามารถทำญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา (การประกาศให้ทราบ ๔ ครั้ง) จากทางฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการบวชที่ไม่สมบูรณ์ตามพุทธบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุณีฝ่ายเถรวาทจึงขาดตอนลงด้วยเหตุผลข้างบนนั่นเอง

อย่างไรก็ดีวิธีการบวชแบบอฏฐวาจิกาอุปสัมปทามีขั้นตอนดังต่อไปนี้

(๑) สอบถามอันตรายิกธรรมแก่กุลธิดาที่ออกบวช เดิมทีพระภิกษุเป็นฝ่ายถาม แต่เนื่องจากกุลธิดามีการขวยอายไม่สามารถตอบได้ ต่อมาภายหลังพระพุทธเจ้าทราบถึงความยากลำบากจึงให้พระภิกษุณีทำการสอบถามอันตรายิกธรรมแทนพระภิกษุ และเมื่อฝ่ายภิกษุณีทำการสอบถามอันตรายิกธรรมแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ฝ่ายภิกษุสงฆ์จะต้องทำการสอบถามอันตรายิกธรรมแก่กุลธิดาที่ประสงค์จะออกบวชอีกครั้งหนึ่ง
(๒) การเปล่งคำขออุปสมบทแก่ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
(๓) ถามอันตรายิกธรรมในที่ประชุมพระภิกษุณีสงฆ์
(๔) ญัตติจตุตถกรรมวาจาในฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์
(๕) ขออุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์
(๖) ญัตติจตุตถกรรมวาจาในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์
(๗) บอกนิสัย ๓ และ อกรณียกิจ ๘

เมื่อครบ ๗ ขั้นตอนแล้ว การอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถทำขั้นตอนที่ ๑ ถึง ๔ ได้ จึงไม่สามารถทำการอุปสมบทภิกษุณีได้อีกต่อไป

สำหรับนิสัย คือ สิ่งอาศัยที่จำเป็นสำหรับนักบวช สำหรับพระภิกษุณี มี ๓ สิ่ง คือ อาหารที่บิณฑบาตได้มา ๑ ผ้าบังสุกุลจีวร ๑ และ ยาดองด้วยน้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) อีก ๑
การที่ต้องบอกนิสัย ๓ ก็โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พระภิกษุณีผู้บวชใหม่ได้ทราบว่านับตั้งแต่วันนี้ไป ความเป็นอยู่ของท่านจะเกี่ยวข้องกับสิ่งจำเป็น ๓ สิ่ง ดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับอกรณียกิจ คือ ข้อห้ามไม่ให้นักบวช คือ พระภิกษุณีทำ ถ้าทำแล้วเข้าข่ายอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุณีทันที มี ๘ ประการ คือ
๑. ห้ามมีเพศสัมพันธ์
๒. ห้ามถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. ห้ามฆ่าสัตว์
๔. ห้ามพูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
๕. ห้ามมีความกำหนัดยินดีในการลูบคลำจับต้อง
๖. ห้ามปกปิดอาบัติปาราชิกของพระภิกษุณีรูปอื่น
๗. ห้ามประพฤติตามพระภิกษุที่ถูกสงฆ์ขับออกจากพระธรรมมวินัย
๘. ห้ามแสดงความกำหนัดยินดีกับชายผู้มีความกำหนัดยินดีด้วยการจับมือ จับชายผ้า ยืนด้วยกัน สนทนาด้วยกัน อยู่ในที่มุงบัง และทอดกายแก่ชายนั้น

๔) ทูเตนอุปสัมปทา คือ วิธีบวชแบบผ่านทางทูต โดยให้พระภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งที่ฉลาดสามารถทำหน้าที่เป็นทูตรับเรื่องของผู้บวชจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปแจ้งขอบวชต่อฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ โดยกุลธิดาผู้ขอบวชไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง คือ ทำการบวชแบบอฏฐวาจิกาอุปสัมปทานั่นเอง แต่สำหรับขั้นตอนในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ให้ส่งพระภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งทำหน้าที่เป็นทูตไปแจ้งแก่ฝ่ายพระภิกษุแทนตัวผู้ขอบวชเอง

สำหรับวิธีนี้มีเพียงพระอัฑฒกาสี ชาวแคว้นกาสี เพียงรูปเดียวเท่านั้นที่ได้บวชด้วยวิธีบวชแบบนี้ เนื่องจากมีนักเลงคอยดักฉุดตัวพระอัฑฒกาสีผู้ซึ่งทำการบวชในฝ่ายภิกษุณีแล้วแต่เพียงฝ่ายเดียวแต่ไม่สามารถเดินทางไปทำการบวชในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ได้เนื่องจากเหตุผลดังกล่าว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ ท่านจึงอนุญาตให้พระพระอัฑฒกาสีทำการบวชด้วยวิธีการทูตได้ แต่มีข้อแม้ว่า ทูตนั้นต้องเป็นพระภิกษุณีเท่านั้น จะเป็นพระภิกษุ สิกขมานา สามเณร หรือ สามเณรี ไม่ได้เลย


#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 06:55 PM

QUOTE
ห้ามมีความกำหนัดยินดีในการลูบคลำจับต้อง

ผมขอเสริมต่อท้ายประโยคว่า "บุรุษอื่น" นะครับ


#3 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 11:51 AM

Again เก่ง & ดี Sathu kah = )
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#4 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 26 September 2006 - 02:44 PM

ผมก็เข้าไปร่วมงานบวชด้วยล่ะ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#5 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 03:38 PM

สาธุ

#6 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 01 December 2010 - 03:40 PM



สาธุ ๆ ๆ

พระนางพิมพาเท่านั้นที่ได้รับการบวชโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เพิ่งรู้

พุทธประวัติ น่าศึกษาจริง ๆ