ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อธิบายเรื่อง...ปฏิจจสมุปบาท...ตามคำขอครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 July 2006 - 09:33 PM

อ้างอิงลิงค์
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=5419
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=4724

แนะนำว่า ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ทำความเข้าใจนะครับ ไม่ยากจนเกินที่จะเข้าใจหรอกครับ แต่ห้ามอ่านข้าม มิฉะนั้นจะงงทันที

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดการดำเนินไปและการดับไปของชีวิต รวมถึงการเกิด การดับแห่งทุกข์ด้วย ในกระบวนการนี้สิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้น เป็นอยู่ และดับลงไปในลักษณะแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปของวงจร กล่าวคือ เป็นกระบวนแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ ในกระบวนแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีส่วนไหนเป็นปฐมกรหรือปฐมเหตุ เพราะกระบวนการของชีวิตเป็นวัฏฏะแห่งกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งกลายเป็นวัฏสงสาร

แต่อย่างไรก็ตามในการพยายามอธิบายกระบวนการแห่งชีวิตตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้จำเป็นจะต้องหาจุดเริ่มต้นอธิบายให้เห็นว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอย่างไรก่อน ดังนั้นท่านจึงสมมติเริ่มจากอวิชชา โดยอธิบายอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสิ่งอื่น ๆ ตามมาเป็นวัฏจักรนำไปสู่ทุกข์ ในทำนองเดียวกัน ถ้าอวิชชาดับไปไม่เหลือ ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด เพราะความเป็นไปของชีวิตมีสภาวะเป็นวงจรที่เรียกว่าสงสารวัฏ ดังนั้นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของสังสารวัฏจึงไม่ปรากฏ

ความหมายของคำว่า "ปฏิจจสมุปบาท"

คำว่า ปฏิจจสมุปบาท มาจากศัพท์ว่า ปฏิจจ + สํ + อุปปาท
1) ปฏิจจ หมายถึง เกี่ยวเนื่องกัน สัมพันธ์กัน
2) สํ หมายถึง พร้อมกัน หรือด้วยกัน
3) อุปปาท หมายถึง การเกิดขึ้น

ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ ได้แปลไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า สภาวธรรมที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน

อวิชชา => สังขาร => วิญญาณ => นามรูป => สฬายตนะ => ผัสสะ => เวทนา => ตัณหา => อุปาทาน => ภพ => ชาติ => ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

คำจำกัดความองค์ประกอบแห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ข้อ

การศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทให้เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องศึกษาคำจำกัดความและความหมายขององค์ประกอบแต่ละหัวข้อให้รู้ชัดเจนเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่เข้าใจผิดในเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นและดับไปของสรรพสิ่ง จนทำให้หลักพุทธธรรมถูกทำลายและไร้ค่า องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หัวข้อ มีโดยย่อดังต่อไปนี้

๑.) อวิชชา ( Ignorance , Lack of Knowledge ) คือ ความไม่รู้ ไม่เห็น ตามความเป็นจริง ความไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ เช่น ความไม่รู้แจ้งในเรื่องชีวิต คือไม่รู้ว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์ และอะไรคือทางที่จะดำเนินไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น

๒.) สังขาร ( Volitional Activities ) คือ ความคิดปรุงแต่ง ตัวอย่างเช่น ความคิดปรุงแต่งให้วิญญาณดีหรือชั่ว ให้เป็นกลาง ๆ ปรุงแต่งให้คิดไปทางดี เรียกว่า "กุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดไปในทางชั่ว เรียกว่า "อกุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า "อัพยากฤต" กล่าวให้สั้น ก็คือ สังขาร ได้แก่ กิเลสและคุณธรรม ทั้งสองอย่างนี้จะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปรุงแต่งจิตใจของคนไปทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางดังกล่าว คนเราจะคิดไปทางไหน อย่างไรนั้นก็อยู่ที่ตัวสังขารนี้เอง

๓.) วิญญาณ (Consciousness) คือ การรับรู้ต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง ๖ (อายตนะ) ได้แก่
- จักขุวิญญาณ คือการรับรู้ทางตา ได้แก่การรับรู้ รูป
- โสตวิญญาณ คือการรับรู้ทางหู ได้แก่การรับรู้ เสียง
- ฆานวิญญาณ คือการรับรู้ทางจมูก ได้แก่การรับรู้ กลิ่น
- ชิวหาวิญญาณ คือการรับรู้ทางลิ้น ได้แก่การรับรู้ รส
- กายวิญญาณ คือการรับรู้ทางกาย ได้แก่การรับรู้สัมผัส
- มโนวิญญาณ คือการรับรู้ทางใจ ได้แก่การรับรู้ธัมมารมณ์
(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ คือ อายตนะภายนอก ๖)

๔.) นามรูป (Animated Organism) คือ ช่องทางในการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ อวัยวะบนร่างกายที่ใช้รับอารมณ์ทั้ง ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือเรียกว่า อายตนะภายใน ๖ นั่นเอง

๕.) สฬายตนะ (The six sense - bases) หมายถึง การทำงานหรือหน้าที่ของเหล่าอายตนะภายในทั้งหลาย "อายตนะภายใน ๖" ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ อายตนะภายใน ๖ นี้จับคู่กับอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) และธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดที่ใจ) เป็นคู่ๆ ดังนี้
- ตา (อายตนะภายใน) คู่กับ รูป (อายตนะภายนอก)
- หู (อายตนะภายใน) คู่กับ เสียง (อายตนะภายนอก)
- จมูก (อายตนะภายใน) คู่กับ กลิ่น (อายตนะภายนอก)
- ลิ้น (อายตนะภายใน) คู่กับ รส (อายตนะภายนอก)
- กาย (อายตนะภายใน) คู่กับ โผฏฐัพพะ หรือ สัมผัส (อายตนะภายนอก)
- ใจ (อายตนะภายใน) คู่กับ ธัมมารมณ์ (อายตนะภายนอก)

๖.) ผัสสะ (Contact) คือ การกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน ๖ กับอายตนะภายนอก ๖ ซึ่งจับคู่กัน คือ ตา - รูป หู - เสียง จมูก - กลิ่น ลิ้น - รส กาย - โผฏฐัพพะ ใจ - ธัมมารมณ์

๗.) เวทนา (Feeling) คือความรู้สึก หรือ การเสวยอารมณ์ เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เรียกว่า "เวทนา ๖" เวทนาหากแบ่งตามลักษณะจะแบ่งได้ ๓ คือ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข (ไม่สุข ไม่ทุกข์)

๘.) ตัณหา (Craving) คือความอยาก ความต้องการ ความยินดี ความพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ

๙.) อุปาทาน (Attachment, Clinging) คืออาการที่จิตเข้าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ความยึดติดหรือเกาะติดในเวทนาที่ชอบและเกลียดชัง หรือ ก็คือ การยึดมั่น ถือมั่น นั่นเอง

๑๐.) ภพ (Process of becoming) คือ ความมี ความเป็น (รูปศัพท์เดิม คือ ภวะ เมื่อมาเป็นภาษาไทย แปลง วะ เป็น พะ จึงสำเร็จรูปเป็นภพ) ภพแบ่งได้ ๓ หรือ ก็คือ ภพ ๓ คือ
กามภพ สัตว์ที่ยินดียึดถืออยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) ก็มีกามภพ
รูปภพ เมื่อสัตว์ยึดถือรูปเป็นนิมิต ก็เป็นรูปภพอยู่ในจิตใจ
อรูปภาพ เมื่อสัตว์ยึดถืออรูป (อรูปฌาน) ก็เป็นอรูปภพอยู่ในจิตใจ

๑๑.) ชาติ (Birth) คือ การเกิด การปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย

๑๒.) ชรา มรณะ (Decay and Death) คำว่า "ชรา" คือความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์ และคำว่า "มรณะ" คือ ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์ เมื่อนำคำทั้งสองมาต่อกันเป็น "ชรามรณะ" คือความเสื่อมกับความสลายแห่งธรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ๆ

- สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ
- ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส ประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง ก็เป็นทุกข์

และเมื่อสัตว์นั้นตายไปพร้อมกับความไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะทำให้วนกลับไปที่ข้อ ๑. อีกครั้ง ซึ่ง สรรพสัตว์ทั้งหลายก็เวียนเกิดเวียนตายอย่างนี้ไม่รู้จบสิ้น แต่ถ้ากำจัด อวิชชา ไปได้ เท่ากับว่า สังขารดับ (เพราะผลต่อเนื่องจากการมี อวิชชา คือ มีสังขาร) เมื่อ สังขารดับ วิญญาณก็จะดับ เป็นทอดๆ อย่างนี้ไป จนดับไป ถึง ชาติ ชรา มรณะ ก็เท่ากับ เลิกเกิด นั่นเอง คือ หลุดพันจากสังสารวัฏ บรรลุพระนิพพานอันเกษมนั่นเอง

ถ้าผิดถูกประการใด ขั้นตอนไหน รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ...สาธุ ครับ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  cycle.JPG   37.12K   14 ดาวน์โหลด

สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#2 aph

aph
  • Members
  • 53 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 July 2006 - 10:24 PM

สาธุ...สาธุ...สาธุ

#3 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 07:15 AM

ธรรมะข้อนี้ อธิบายได้หลาย ๆ อย่างมีเรื่องของความทุกข์ (กำลังสงสัยพอดี )
ถ้าจะพิจารณาความทุกข์ให้เข้าใจ ต้องพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ด้วยว่า การเกิด
การแก่ การเจ็บ การตายนั้น มาจากไหนเหตุใดจึงเป็นทุกข์ นั่นคือเป็นทุกข์จากความเป็นจริง
จิตจึงค่อย ๆ คลายกำหนัดลงไปได้

แต่การทำลายภพชาตินั้น เป้าหมายคือ อวิชชา

คำว่า "อวิชชา" นั้นใช่คำที่มีความหมายตรงข้ามกับ "วิชชา" หรือไม่ ?

เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ เป็นต้น

การจะทำลาย อวิชชานั้น ต้องใช้ วิชชา ทำลาย เข้าใจถูกหรือเปล่า



หยุดคือตัวสำเร็จ

#4 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 11:19 AM

QUOTE
คำว่า "อวิชชา" นั้นใช่คำที่มีความหมายตรงข้ามกับ "วิชชา" หรือไม่ ?

อ แปลว่า ไม่ครับ วิชชา แปลว่า ความรู้ ดังนั้น อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้
เท่ากับว่า เราเกิดมา เพื่อหาทางเอา อ.อ่าง ออกไงครับ

สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#5 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 01:38 PM

สาธุ

DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#6 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 16 July 2006 - 07:52 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ

" สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ
- ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส ประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง ก็เป็นทุกข์ "
Indeed!!!

คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 15 March 2007 - 11:56 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ

#8 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 15 September 2009 - 10:17 AM

สาธุครับ
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#9 ดงบัง...โดรายากิ

ดงบัง...โดรายากิ
  • Members
  • 170 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 July 2010 - 08:03 PM

สาธุครับ

...............................

เศียรเกล้านี้ขอมอบแด่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย

#10 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 13 July 2010 - 10:23 PM

สาธุค่ะ