นั่งสมาธิฟุ้ง
#1
โพสต์เมื่อ 23 June 2010 - 06:34 PM
#2
โพสต์เมื่อ 24 June 2010 - 03:51 PM
ได้คือ ได้มี สติ ระลึกรู้ว่าตนเองกำลังฟุ้งซ่านครับ
เพราะคนเราโดยทั่วไปไม่รู้แม้แต่ใจตนเอง ใจ คืออะไรบางคนยังไม่รู้ กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็ตอนที่กระทำพลาดผิดไปแล้วด้วยกำลังอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั่นเอง
แนะนำว่า ให้นั่งธรรมะบ่อยๆครับ และมีสติระลึกดวงแก้วสว่างๆบ่อยครับ แล้วก็จะค่อยๆสงบๆไปเอง จะให้นั่งปุ๊บ สงบปั๊บคงจะไม่ได้นะครับ แต่บางคนก็ทำได้ครับ ก็สาธุด้วย
ที่สำคัญคือการปล่อยวางอารมณ์ครับ
ลองทำตามการบ้านสิบข้อของคุณครูไม่ใหญ่ดูนะครับ และ5ห้องมหาสิริมงคลด้วย จะได้คุมจิตใจให้อยู่กับธรรมะครับ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#3 *sky noi*
โพสต์เมื่อ 25 June 2010 - 06:42 AM
เราจะแก้ไขความฟุ้งด้วยวิธีใดได้บ้าง
หมวด ฟุ้ง
๑) อย่าไปคิดต่อว่าคืออะไร ประกอบด้วยอะไร เกิดอย่างไร อยู่ที่ไหน
ให้ดูไปเรื่อยๆ โดยไม่ปฏิเสธภาพที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องคิดอะไรเลย ให้ภาพเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันไม่ให้ เราดูนานหรอก ใจก็จะเริ่มคุ้นกับภาพภายใน ซึ่งชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ให้ดูไป เรื่อยๆ จากชัดน้อยไปชัดมาก ก็ดูไปเรื่อยๆ
๒) นึกนิมิต ดวงแก้ว องค์พระ และบริกรรมภาวนา
ให้กำหนดบริกรรมนิมิตคือ นึกถึงดวงแก้วใสๆ หรือพระแก้วใสๆ องค์ใดองค์หนึ่งมาเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา มันก็จะช่วยให้ใจเราไม่ฟุ้งซ่าน คือ แทนที่จะไปคิดเรื่องคน เรื่องสัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ต่างๆ กลับมาคิดเรื่องดวงแก้ว หรือว่าองค์พระแทน
การกำหนดนิมิต นั่นเหมาะสมกับคนช่างฟุ้ง มีความสามารถในการคิดได้เยอะแยะ คิดได้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ทีเดียว จะได้มีภาพให้ยึด ให้นึกเกาะอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสำหรับคนที่จินตนาการเป็น เข้าใจคำว่านึกเบา ๆ ได้นึกแล้วก็สบายใจ ไม่ปวดหัว ภาพก็จะค่อยๆ ชัดขึ้นมา หรือเหมาะสำหรับผู้ที่กราบไหว้บูชาพระทุกๆ วัน จึงจำองค์ พระบนโต๊ะหมู่ได้ง่ายเพราะว่าคุ้นเคยเห็นอยู่ทุกวัน
ถ้ายังอดที่จะแวบไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้ ก็ให้ประกอบบริกรรมภาวนาในใจเบาๆ ค่อยๆ ประคองใจไป คำภาวนานี้ ไม่ได้หมายถึง การท่องโดยใช้กำลังแต่ให้เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน ที่ดังออกมาจากกลางดวงใสๆ คล้ายๆ เสียงสวดมนต์ในใจ ในบทที่เราคล่อง หรือเสียงเพลงที่เราชอบ แล้วก็มาดังในใจโดยไม่ได้ตั้งใจร้องเพลงเลย ตรึกนึกถึงดวงใสๆ ใจหยุดอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของดวงใส ๆ ภาวนาอย่างนี้ เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งๆ เวลาใจหยุดนิ่งมันจะทิ้งคำภาวนาไป เราจะมีอาการคล้าย กับเราลืมภาวนา สัมมาอะระหัง แต่ใจไม่ฟุ้งไปคิดเรื่องอื่นๆ หรือมีความรู้สึกว่า อยากเอาใจหยุดนิ่งเฉยๆ อยู่กลางดวงโดยไม่อยากจะภาวนา สัมมาอะระหัง ถ้าเกิดอาการหรือความรู้สึกอย่างนี้ ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนา สัมมาอะระหังอีก ให้ตรึกนึกถึงดวงใสใจ หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ ให้รักษาใจให้หยุด ให้นิ่งอย่างเดิม อย่างนี้อย่างเดียว เรื่อยไปเลย ไม่ช้าใจจะถูกส่วนเอง
๓) ดำเนินจิตไปตามฐานทั้ง 7 ฐาน
มีบางท่านขนาดภาวนาแล้ว ใจก็ยังฟุ้งอยู่ ยังคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ เพราะเราคุ้นกับการนึกคิดในสิ่งเหล่านั้นมายาวนาน ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นจู่ๆ จะให้มาคิดอย่างนี้ มันนึกไม่ออก ดังนั้นท่านให้สำรวจตรวจทางเดินของจิตทั้ง ๗ ฐานจากฐานที่ ๑ มาที่ฐานที่ ๗ จากฐานที่ ๗ มาฐานที่ ๑ ฝึกให้รู้จักทางเดินของใจ เดินบ่อยๆ ในเส้นทางนี้ ให้คล่องทีเดียวนะ ถ้าทำอย่างนี้ ใจจะไม่ค่อยฟุ้ง ไม่กำหนดว่าจำนวนสักกี่ครั้ง ถ้าสมมติว่าเราทำ ๓ รอบ แล้วใจ ไม่ฟุ้งเลย เราก็ไม่ต้องทำรอบที่ ๔ ถ้า ๓ รอบไม่พอ จะ ๔ รอบ ๕ รอบ ๖ รอบ หรือกี่รอบก็แล้วแต่ ก็ทำไป ใจจะได้ วนเวียนอยู่ในเส้นทางเดินของจิต ภายในตัวของเรา ไม่ออกนอกตัว
๔) ลืมตาดู
“ จะฟุ้งน้อยฟุ้งมากไม่ยากดอก
แล้วจะบอกเคล็ดลับไว้ใช้แก้
เพียงค่อยๆ ลืมตาเท่านั้นแล
ฟุ้งว่าแน่ก็ยังแพ้แค่ลืมตา “
ฟุ้งก็ลืมตา ค่อยๆ ลืมตาทีละน้อย มาดูภาพที่ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ ให้ใจเราสูงขึ้น จะลืมตา มาดูภาพคุณยาย ภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาพดวงแก้ว ภาพองค์พระ ดูให้มันสบายใจ พอหายฟุ้งก็ค่อยๆ หรี่ตาลงไป จนถึงในระดับที่สบาย เราก็รักษาระดับนั้นเอาไว้ เพราะฉะนั้น จำง่ายๆ คือ ง่วงก็ปล่อยให้หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่ พร้อมเสมอสำหรับการเริ่มต้นในเส้นทางที่ถูกต้อง ไม่ช้าเราก็จะเอาชนะความฟุ้งได้ อย่าไปนั่งด้วยความกดดัน หรือวิตกกังวล ให้ทำเฉยๆ นิ่งๆ เดี๋ยวสิ่งที่ดีก็จะมาเอง
อย่าไปรังเกียจความคิดใดๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เราปฏิบัติธรรม ถ้าฟุ้งก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ภาวนาไม่อยู่ ก็ลืมตา ลืมตามาดูคุณยาย ดูภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ดูดวงแก้ว หรือองค์พระที่ตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาของเรา ถ้าไม่มีอะไรให้ดู ก็ดูต้นหมากรากไม้ ถ้ากลางคืนก็ดูความมืด ดูไป พอมันหายฟุ้งก็ค่อยๆ หรี่ตาลงมา แล้วทำใจนิ่งๆ แล้วก็ค่อยๆ หลับลงไปทีละน้อย ให้ได้สักค่อนลูก แล้วก็นิ่งเฉยต่อไป เดี๋ยวจะสมหวังดังใจ
#4
โพสต์เมื่อ 25 June 2010 - 07:06 AM
#5
โพสต์เมื่อ 27 June 2010 - 12:09 AM
เรื่มนั่งสมาธิแรกๆ การฟุ้งเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกคนต้องเจอ
พอนั่งนานๆ ไป ก็จะเลิกฟุ้งไปเองค่ะ แต่ถ้าหยุดนั่งก็จะกลับมาเริ่มฟุ้งอีก(แต่ไม่มาก ขึ้นอยู่กับว่าหยุดนั่งนานแค่ไหน)
ลองแบบนี้ดู...
- ต้องหัดปล่อยวางกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตค่ะ
- เวลาจะนั่งสมาธิ ก็ให้มีสติและตั้งใจว่า เวลานี้คือเวลาแห่งการนั่งสมาธิ ให้ตัดใจจากเรื่องราวต่างๆ และให้ลองคิดประมาณว่า อะไรจะเกิดขึ้นก็ปล่อยไปก่อน นั่งสมาธิเสร็จแล้วค่อยว่ากัน เพราะตอนนี้เราจะไปคิดถึงมันเราก็ไม่สามารถจะไปทำอะไรได้
ให้ลองทำใจเหมือนเป็นนักเรียน ที่พอหมดชั่วโมงก็ต้องเปลี่ยนวิชาเรียน เลิกคิดถึงวิชาที่ผ่านมา แล้วตั้งใจเรียนวิชาใหม่
- หากทำใจให้ปล่อยวางไม่ได้ ก็ปล่อยให้ฟุ้งไป พอหมดเรื่องที่จะฟุ้งแล้ว เดี๋ยวก็เลิกฟุ้งไปเอง
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#6
โพสต์เมื่อ 27 June 2010 - 12:32 AM
แต่พอนานไปก็จะนิ่งได้เอง ปล่อยไปเป็นธรรมดาค่ะ
แหม..ตอนแรกๆเป็นฟุ้งหยาบๆ หลังๆ จะมีฟุ้งละเอียดได้นะคะ
ฟุ้งเพลงธรรมะ ฟุ้งเสียงสวดมนต์ไปเรื่อย..
ก็ขอให้ตั้งใจปฏิบัติสม่ำเสมอแล้วจะดีเองค่ะ
คุณยายบอกว่านั่งธรรมะก็เหมือนเหมือนกำปั้นทุบดิน ทุบยังไงก็โดน
คุณยายกล่าวประมาณนี้นะคะ
เป็นกำลังใจให้ทุกๆ คนที่เริ่มนั่งค่ะ
#7
โพสต์เมื่อ 28 June 2010 - 11:18 PM
#8
โพสต์เมื่อ 14 July 2010 - 07:31 PM
จะแก้ได้อย่างไรหรอคะ
#9
โพสต์เมื่อ 05 August 2010 - 05:07 PM
สาธุจ้า..
#10
โพสต์เมื่อ 21 August 2010 - 09:29 AM
#11 *ฝึกบิน*
โพสต์เมื่อ 09 October 2010 - 10:38 AM
ถ้าหากเราคิดเสียว่าพรุ่งนี้เรากำลังจะตาย และวันนี้คือวันสุดท้ายของชีวิต และัเวลานี้เราจะยังห่วงกังวลกับสิ่งต่าง ๆ
เหล่านั้นกันทำไมเปล่าประโยชน์ เพราะเวลาไปเราไปคนเดียว จงปลดปล่อยมันซะ แล้วทำใจนิ่ง ๆ ว่างๆ เฉย ๆ
___________________________________________________________________
เพราะยึิดติด จึงทำให้ฟุ้ง
ต้องปล่อย ถึงจะหยุด
#12
โพสต์เมื่อ 17 October 2010 - 12:32 AM
จะแก้ได้อย่างไรหรอคะ
ให้สวดมนต์ และนั่งสมาธิก่อนจะนั่งสมาธิค่ะ
ถ้ายังไม่หายก็ลองสวดให้มากขึ้น
ลองถือศีล ๘ ในวันพระบ่อยๆ หรือวันโกน วันเกิดด้วย
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#13
โพสต์เมื่อ 16 November 2010 - 02:53 AM
ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ได้ระยะทาง พอเหนื่อยมากก็ปลง พอปลงก็เริ่มดีขึ้น กำลังใจก็มา
พออยากก็หายอีก เอ้าฝึกฝน ๆ ๆเข้าไป
#14
โพสต์เมื่อ 16 November 2010 - 08:40 AM
ู
#15
โพสต์เมื่อ 30 August 2011 - 02:19 PM
#16
โพสต์เมื่อ 23 October 2013 - 12:47 AM
ฟุ้งก็มองดูมันเฉยๆ อย่าไปยุ่งกับมัน แยกออกจากมันซะ เหมือนเห็นเด็กเล่นกัน เราอย่าไปเล่นกับเด็ก มันวุ่นวาย
หากต้องการทำสมาธิจริงๆ ยิ่งอยู่สภาพแวดล้อมไม่สงบยิ่งดี จะได้รู้ว่าจิตคุณแข็งแกร่งแค่ใหน มันเป็นตัวทดสอบสมาธิของคุณ ว่าก้าวหน้าหรือเปล่า
#17
โพสต์เมื่อ 23 October 2013 - 08:22 AM
พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ความสงัด วิเวก เพราะสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้นน้อย ทำให้ลดสาเหตุของการฟุ้งซ่านไปได้มาก อย่างที่เราเรียกว่า สัปปายะ นั่นแหละครับ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[286] สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)
Vism.127;
Vin.A.II.429;
MA.II.911 วิสุทฺธิ. 1/161;
วินย.อ. 1/524;
ม.อ. 3/570
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.84000.org..._item.php?i=286
#18
โพสต์เมื่อ 23 October 2013 - 09:32 AM
ได้สติว่าฟุ้ง หลวงพ่อให้ลืมตา แล้วเริ่มใหม่
ทำใจเฉยๆไว้ ถ้ามัวไปสั่งตัวเอง อย่าฟุ้งสิ มันจะไม่ใช่สัมมาอะระหังแล้วนะคับ
ใจจะไม่หยุดสักที