ก็อย่างที่เห็นกันจนชินตา การนั่งสมาธิในบางครั้ง พอบอกว่า จะนั่งสมาธิปุ๊ป ก็หลับตาปั๊ป เอ...เคยคิดกันบ้างไหมหนอ ว่า เราอาจจะมีบางสิ่งที่ควรจะทำก่อนที่จะทำการปิดเปลือกตา และทำการหยุดใจ เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เช่น
2) พอสักแต่ว่ามองซัก 1 นาทีแล้ว ลองปิดตาเบาๆ แล้วลองเงี่ยหูฟังเสียงรอบตัวอย่างเบาๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแอร์ เสียงรถ เสียงนกร้อง เสียงลม หรือเสียงอะไรก็ได้รอบตัวเรา แบบสักแต่ว่าฟัง เพลินๆ ซัก 1 นาที
3) ทีนี้ เราลองมาหลับตากันดู โดยค่อยๆ หลับตาเบาๆ มองหน้าตรง ยิ้มมุมปากนิดๆ พอให้ใบหน้าผ่อนคลาย อย่าก้มหน้าเพราะเราจะเผลอเอาตาเราไปจ้องท้อง อย่าเงยหน้าเพราะจะทำให้ต้นคอเกร็ง ไม่สบายตัวได้
4) เมื่อเราปิดเปลือกตาแล้ว เพื่อป้องกันการเพ่งการจ้อง ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้เราปวดนัยน์ตา ปวดขมับ เมื่อปิดเปลือกตาแล้ว ทำเป็นเหมือนเหลือบมองสูงทั้งๆ ที่ปิดเปลือกตาแล้วนิดนึง ย้ำนิดเดียวนะครับ ก็จะช่วยลดอาการกดลูกนัยน์ตาได้
5) เมื่อเราปรับอวัยวะบนใบหน้าจนสบายแล้ว ทีนี้ ก็มาสังเกตบ่า ไหล่ ลำตัว ฝ่ามือ เอว ขา น่อง ฝ่าเท้าว่าเรา มีส่วนไหนเกร็งไหม ถ้าเกร็ง ก็ผ่อนคลายซะ
6) เมื่อหลับตาแล้ว ถ้ายังกำหนดนิมิตดวงแก้ว องค์พระ หรือวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไม่ได้ ก็อย่าพึงทำอะไร ให้ปล่อยใจหลวมๆ สบายๆ ปล่อยให้ร่างกายเราหลวมรวมไปกับธรรมชาติและสิ่งรอบตัวก่อนดีกว่าไหม เช่น ลองฟังเสียงรอบตัวแบบเพลินๆ
7) เมื่อเรา ลองทำแบบนี้แล้ว เชื่อว่า ใจเราก็คงค่อยๆ ผ่อนคลายจนพร้อมที่จะเริ่มเข้าสู่การทำสมาธิ โดยไม่รู้สึกว่า เป็นการกดใจแล้ว เมื่อนั้น เราค่อยเริ่มกำหนดองค์พระ ดวงแก้ว หรือวางใจที่ศูนย์กลางกาย แบบสบายๆ
อยากจะบอกว่า หลายๆ คน ดูเบาสภาพร่างกาย และ ความพร้อมของร่างกายและจิตใจมากเกินไปไหม ทำให้เรานั่งธรรมะไม่ก้าวหน้าไปไหนเสียที ลองทำดูนะครับ แล้วได้ผลอย่างไรก็เล่าสู่กันฟังนะครับ