ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิธีการบวชพระภิกษุ 3 วิธีหลัก 2 วิธีพิเศษ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 01:35 PM

วิธีการบรรพชา อุปสมบทในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์
๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีบวชนี้พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์เอง สมันตปาสาทิกากล่าวถึงวิธีการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงเห็นว่าบุคคลที่จะบวชนั้นมีอุปนิสัยพร้อมที่จะบวชด้วยเอหิภิกขุได้ ก็จะทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาซึ่งมีพระฉวีวรรณดั่งทองคำออกจากภายในผ้าบังสุกุลสีแดง แล้วเปล่งพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหมว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” หากผู้นั้นยังไม่บรรลุอรหัตผล พระองค์ก็จะตรัสต่อไปว่า “จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปด้วยดี” พร้อมกับพระดำรัสนั้น เพศคฤหัสถ์ของผู้นั้นก็อันตรธานไป เป็นอันว่าบรรพชาอุปสมบทของเขาสำเร็จ ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทนั้นก็กลายเป็นผู้มีศีรษะโล้นโดยไม่ต้องโกน ครองผ้ากาสาวพัสตร์ นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง พาดบ่าผืนหนึ่ง บนไหล่ซ้ายสะพายบาตรดินสีดอกอุบลเขียว ที่ร่างกายคล้องบริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดเล็ก เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำ มีอิริยาบถเรียบร้อยเหมือนพระเถระบวชได้ ๑๐๐ พรรษา มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์ ยืนถวายบังคมพระองค์อยู่

วิธีนี้ใช้ในการบรรพชาอุปสมบทช่วงต้นของพุทธกาล

๒) ติสรณคมนูปสัมปทา ครั้นต่อมาเมื่อมีพระศาสนาแผ่ขยายออกไป จึงเกิดความไม่สะดวกต่อกุลบุตรผู้ใคร่ที่จะออกบวชเพราะจะต้องมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงประทานการบวชให้ พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติให้มีการบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทาขึ้น คือเป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสาวกต่างรูปต่างเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวช พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนะนำการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ดังนี้

อันดับแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาอุปสมบท ปลงผมและโกนหนวดก่อนแล้วให้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ให้พาดผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้วให้นั่งกระโหย่งประนมมือพร้อมทั้งสั่งให้ว่าสรณคมน์ตามดังนี้
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


เมื่อกล่าวเสร็จแล้ว เป็นอันเสร็จสิ้นการบรรพชาอุปสมบท กุลบุตรนั้นก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แต่ต่อมาภายหลังการบรรพชาอุปสมบทแบบนี้ ได้นำไปใช้ในการบรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบรรพชาอุปสมบทให้ใช้วิธีการที่ ๓ แทน

๓) ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา พระภิกษุผู้ที่ได้ใช้การบวชวิธีนี้เป็นรูปแรกคือ พระราธะ โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระสารีบุตร และถือเป็นวิธีการบรรพชาอุปสมบทที่ใช้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน วิธีนี้เป็นวิธีบวชที่ทรงมอบอำนาจให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปร่วมกันทำ พระไตรปิฎกกล่าวถึงการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ดังนี้

พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์บวชให้โดยให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถรูปหนึ่งประกาศให้สงฆ์ทราบ ๔ ครั้งดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้เป็นผู้มุ่งอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ได้อุปสมบทให้ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้โดยท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ การให้อุปสมบทผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้โดยมีท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒...
ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓...
ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทให้แล้ว มีท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายนี้ด้วยอาการอย่างนี้


๔) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบพระโอวาทให้แก่พระมหากัสสปะรับไปปฏิบัติ คือพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทโดยการมอบพระโอวาทแก่ท่าน และให้ท่านนำไปปฏิบัติ พระภิกษุที่ได้รับการบวชด้วยวิธีนี้มีเพียงพระมหากัสสปะรูปเดียวเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงพระโอวาทที่พระองค์ตรัสประทานแก่พระมหากัสสปะไว้ดังนี้

ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตัปปะ อย่างแรงกล้าไว้ในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นผู้ใหม่และทั้งที่มีพรรษาปานกลาง
ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมทั้งหมดที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้นทั้งหมดแล้วประมวลมาไว้ด้วยใจ
ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีจักไม่พรากจากเรา
ดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างว่ามานี้แล


๕) ทายัชชูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงใช้บวชสามเณรที่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี แต่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นพระได้ โดยทรงเปล่งวาจาว่า “เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป” สามเณรที่พระพุทธเจ้าทรงบวชยกขึ้นเป็นพระมีอยู่ ๓ รูป คือ
๑. สามเณรสุมนะ
๒. สามเณรโสปากะ
๓. สามเณรทัพพะ
พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เองโดยตรัสว่า “อชชโต ปฎฐาย ภิกฺขุ โหหิ” (เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป) คำว่า ทายัชชูปสัมปทา แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นพระอรหันต์และรับภาระหนักเทียบเท่าพระ


ดังนั้น ในยุคปัจจุบัน กุลบุตรผู้ใดมีความประสงค์จะบวชในบวรพระพุทธศาสนาจึงมีแค่ ๒ วิธี คือ
๑. ถ้าจะบรรพชาเป็นสามเณรให้ใช้วิธี ติสรณคมนูปสัมปทา
๒. ถ้าจะบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ใช้วิธี ติสรณคมนูปสัมปทา เพื่อยกฐานะเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงค่อยทำการอุปสมบทด้วยวิธี ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา เพื่อทำการยกฐานะจากสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุอีกทีหนึ่ง

#2 รัศมีกำลังฤทธิ์

รัศมีกำลังฤทธิ์
  • Validating
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 03:57 PM

[color=#33FF33]ขออนุโมทนาบุญนะครับ ที่เอาความรู้มาฝาก อย่างนี้ได้ปัญญาบารมีไปเต็มๆ แต่ยังเหลือภิกษุณีครับ ที่ผมอยากรู้[color=#33FF33]

#3 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 11:49 AM

เก่ง & ดี Sathu kah smile.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#4 gioia

gioia
  • Members
  • 593 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 05:12 PM

สาธุ สาธุ สาธุ
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โอกาสนั้นด้วยเทอญ



#5 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 03:31 PM

สาธุ

#6 Shutter_B

Shutter_B
  • Admin
  • 49 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 31 August 2013 - 07:44 AM

คำขอบวชแบบอุกาสะ และแบบเอสาหังค่ะ

พิธีอุปสมบท ลำดับขั้นตอนการอุปสมบท

ordi-1.png  ordi-2.png


"หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง"