ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ

นั่งวันเว้นวันคือการพิจาระณามาปฎิบัติชึ่งธรรม


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 13 October 2013 - 10:43 PM

    การนั่งสามาธิเท่าที่ผมรู้มาให้นั่งสงบแล้วระลึกลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวถือว่าใช้ได้แล้ว

 

    ถ้ารู้ว่าตัวเอียงก็ให้ระลึกลมหายใจเข้าออกเพ่งจิตมาช่วงหน้าผากแล้วก็จะตรงเอง

 

    เวลานั่งสมาธิห้ามจิตคิดออกนอก  ถ้าเราคิดเขาเรียกว่าวิญญาเกิดดับเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็จะไม่เป็นสมาธิเข้าเรียกนั่งคิด

 

    การที่จะนั่งสมาธิต้องมีความรู้ก่อน  เช่น  วิญญานคืออะไร   คือความรู้สึกนึกคิด   และการพิจาระณาร่างกายคือกายคือลมลมคือร่างกาย

 

    เมื่อไม่มีลมหายใจกายก็ไม่มีความหมายอะไรกายดับวิญญานก็ดับไปตามรูป    

 

     การนั่งสามาธิปฏิบัติไปทุกวันจะดีสุดท้ายจะรู้เองว่ายิงปฏิบัติก็จะยิ่งอยากขึ้นไปเรื่อยๆแต่ผมได้ยินพระท่านบอกว่าถ้าอยากให้ใช้ปัญญา น้ะ

 

     เท่าที่ผมรู้มามีแค่นี้แหละ            อย่าลืมระลึกลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอไปไหนให้พุทธโทเข้าใว้แล้วจะดีเอง                                 

 

 

   

 



#2 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 13 October 2013 - 11:04 PM

แล้ว.....

 

...ทำไมต้องวันเว้นวันอ่ะ?  :glare:

 

...คือ ถ้านั่งแล้วดี ก็ควรนั่งทุกวันสิ  ^o) ถ้ากลัวว่าจะติดความอยากในการนั่งสมาธิ ก็เป็นการติดกังวลสิ กังวลว่าจะอยากนั่งมากไป กังวลว่านี่มากไปโน่นมากไป เกิดความลังเลสงสัย...

 

...แล้วนั่งติดต่อกันหลายๆวันโดยไม่ลุกไปไหนเลยแบบพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะปีติในสมาธิ แบบนี้จะเรียกว่าติดกิเลสในความอยากหรือ?  ^_^   (ตอบชี้แจงแลกเปลี่ยนกันจิ)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#3 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 13 October 2013 - 11:30 PM

   กรรมฐาน 40 วิธี

แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้                                                                          


หมวดกสิน ๑๐ 
เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

ปฐวีกสิน  เพ่งธาตุดิน
อาโปกสิณ  เพ่งธาตุน้ำ
เตโชกสิณ  เพ่งไฟ
วาโยกสิน  เพ่งลม
นีลกสิน เพ่งสีเขียว
ปีตกสิน  เพ่งสีเหลือง
โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง
โอฑาตกสิณ  เพ่งสีขาว
อาโลกกสิณ  เพ่งแสงสว่าง
๑๐อากาศกสิณ  เพ่งอากาศ

 

 หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐ 
  เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

๑๑อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๑๒วินีลกอสุภ  วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว  
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก 
๑๓วิปุพพกอสุภกรรมฐาน  เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๑๔วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย 
๑๕วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๑๖วิกขิตตกอสุภ  เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๑๗หตวิกขิตตกอสุภ  คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๑๘โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๑๙ปุฬุวกอสุภ  คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๒๐อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

 

อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ 
อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

๒๑พุทธานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒๒ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๒๓สังฆานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๒๔สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๒๕จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๒๖เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๒๗มรณานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒๘กายคตานุสสติกรรมฐาน  เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๒๙อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๓๐อุปสมานุสสติกรรมฐาน  ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

 

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

๓๑อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

image004.gifหมวดจตุธาตุววัฏฐาน

๓๒จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

 

หมวดพรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

 ๓๓เมตตา  คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน  ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕มุทิตา   มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน 
๓๖อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย


มวดอรูปฌาณ ๔
เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

๓๗อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๘วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๙อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔๐เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ 


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#4 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 14 October 2013 - 12:42 PM

การทำสมาธินั้น  เหตุขั้นต้น  คือ  ต้องการรวมใจให้เป็นหนึ่งเดียว  ไม่ฟุ้งซ่านซัดซ่าน  จะรวมไว้นอกตัว  หรือรวมไว้ในตัว  ไม่ใช่ข้อกำหนด  เพราะสุดท้ายแล้ว  เมื่อถูกที่  ถูกส่วน  ใจก็จะรวมกลับเข้ามาในตัวเสมอ

 

ในพุทธพจน์จึงได้กล่าวถึง  ตัวอย่างการทำสมาธิ  "อย่างน้อย"  เอาไว้ถึง 40 วิธีด้วยกัน  นั่นก็เพราะ  จริต คือ  ความชอบ  ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ไม่สามารถบังคับได้  ผู้ใดมีจริตโน้นไปในทางไหน  ก็ให้ยึดถือสิ่งนั้นเป็นเบื้องต้นก่อน  เมื่อใจหยุด  ใจนิ่ง  ใจรวมเป็นหนึ่งเดียวได้แล้ว  ก็สามารถน้อมนำมาพิจารณาภายในตัวได้ในขั้นต่อไป  

 

สรีระร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามวิบากกรรมปรุงแต่ง  ในเบื้องต้นยังไม่คุ้นชินกับการนั่งสมาธิ  เราสามารถขยับหาจุด "พอดี" ของเราได้ตลอดเวลาว่า  นั่งท่าไหนจะไม่เอียง  นั่งท่าไหนจะไม่ค้อมตัว  หรือเงยจนเกินไป  จนเกิดความปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อที่ผิดสัดส่วน  เมื่อเราหาจุดที่  "พอดี"  ได้แล้ว  ก็จะทำใก้เราสามารถนั่งสมาธิได้โดยไม่ต้องกังวลในร่างกายนี้อีก  สามารถรวมใจได้ง่ายๆ เมื่อปราศจากข้อกังวลยึดเหนี่ยว

 

ในการทำสมาธิเบื้องต้นนั้น  ไม่ต้องกังวลถึงข้อกำหนดใดๆ  ความรู้ใดๆ  เพียงอาศัย  นิ่ง  สบาย  ไม่ฟุ้งซ่าน  เป็นหลักเพียงเท่านั้นก่อน   เพราะเมื่อใจหยุด  ใจนิ่ง  ใจรวมจนมีพลังแล้ว  การเรียนรู้  ความรู้อื่นๆ  จะเข้าใจได้ชัดเจนกว่า   เห็นภาพได้ชัดเจนกว่า  และจะทำให้เราเลือกได้อย่างถูกต้องว่า  ความรู้ไหนควรรู้  ความรู้แบบไหนที่ความปล่อยวางไว้ก่อน  ทำให้ไม่เกิดความฟุ้งซานได้ง่ายๆ 

 

การทำสมาธิในเบื้องต้นนั้น  ไม่ได้ยากเย็นใดๆ เลย  เพียงอาศัย  ความเพียร  หล่อเลี้ยงไว้เท่านั้น  ก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จแล้ว  จากนั้นค่อยมาศึกษาในขั้นสูงอื่นๆ ต่อไปก็ยังไม่ถือว่าสายครับ

 

เมื่อนั่งสมาธิกันแล้ว  อย่าลืมมาบันทึกชั่วโมงปฏิบัติธรรม  และบันทึกผลการปฏิบัติธรรมกันนะครับ

http://www.dmc.tv/meditation/


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#5 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 14 October 2013 - 11:08 PM

แล้ว.....

 

...ทำไมต้องวันเว้นวันอ่ะ?  :glare:

 

...คือ ถ้านั่งแล้วดี ก็ควรนั่งทุกวันสิ  ^o) ถ้ากลัวว่าจะติดความอยากในการนั่งสมาธิ ก็เป็นการติดกังวลสิ กังวลว่าจะอยากนั่งมากไป กังวลว่านี่มากไปโน่นมากไป เกิดความลังเลสงสัย...

 

...แล้วนั่งติดต่อกันหลายๆวันโดยไม่ลุกไปไหนเลยแบบพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะปีติในสมาธิ แบบนี้จะเรียกว่าติดกิเลสในความอยากหรือ?  ^_^   (ตอบชี้แจงแลกเปลี่ยนกันจิ)

นั่งวันเว้นคือการใช้ปัญญาและพิจาระณาด้วยพูดง่ายก็ต้องเดินจงกลมกลับไปกลับมาให้ใช้ปัญญาหลายๆทางน้ะถ้ามีแต่นั่งเดี่ยวร่ายกายส่วนขาจะไม่แข็งแรงต้องให้ธาตุทั้ง4สม่ำเสมอกันคือ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟต้องเท่ากันถ้าธาตุไดธาตุหนึ่งเกินเดี่ยวไม่สบายเอา



#6 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 14 October 2013 - 11:24 PM

....ถ้าเช่นนั้น การเข้านิโรธสมาบัติ หรือการจำพรรษาแบบปลีกวิเวกของพระผู้ปฏิบัติในป่าลึก ท่านนั่งอย่างเดียวนะ แล้วก็ไม่ได้ฉันภัตตาหารใดๆด้วย อยู่ได้ด้วยสมาธิเพียงอย่างเดียว ... งั้นคุณคิดว่าท่านทำผิดวิธีหรือ? ปกติของสมาธิไม่ใช่ นั่ง นอน ยืน เดิน ทั้งหมดหรอก แล้วแต่อัธยาศัย หรือแล้วแต่การปฏิบัติต่างหากล่ะ จะบอกว่าทุกรูปต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เป็นบรรทัดฐานก็คงไม่ใช่หรอกนะ....

 

....ส่วนการนั่งอย่างเดียว นานๆ หลายๆ วัน ก็คงมิอาจโต้แย้งได้ว่า ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นั่งลงอย่างเดียว โดยอธิษฐานจิตว่า ถ้ายังไม่บรรลุพระสัพพัณญุตญาณ หรือ ญาณตรัสรู้ที่เกิดเฉพาะผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะไม่ทรงลุกจากบรรลังก์(ที่นั่ง) แห่งนี้...  ดังนั้น ท่านเลือกที่จะนั่งนะครับ นั่งแบบเอาชีวิตของท่านเดิมพันให้ได้พระสัพพัณญุตญาณนั่นเอง...    

 

...อ้อ...อย่างพระองค์ท่านนั้นนั่งติดต่อกันเจ็ดวันนะ  แต่พระบางรูปนั่งตลอดพรรษา หรือสามเดือนเลยก็มีนะ จริงๆ ในพระไตรปิฏกก็มีให้อ่านนะ หลายรูปทีเดียวที่นั่งตลอดแบบหลายๆวัน ก่อนที่จะได้อภิญญา... ลองดูในพระสุตันตปิฏก หรือพระอภิธรรมปิฏก ที่เอ่ยไว้ควบคู่กัน

 

...จิงๆ ถ้าตามหลักวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว การนั่งนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าเดินมากนะครับ ใช้น้อยลองมาจากการนอน แต่การใช้การนอนทำสมาธินั้นจะสบายเกินไปจนทำให้เผลอสติแล้วหลับไปได้ (เป็นการหย่อนหรือพักผ่อนเกินไป) ...ดังนั้น...จึงต้องไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป นั่นจึงเป็นการนั่งที่พระศาสดาเลือกนั่นเอง...

 

...ถ้ามีสิ่งใดชี้แจงต่อ ก็ต่อมาได้เลย... *-)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 15 October 2013 - 08:40 PM

ทำเถิด ดีทั้งนั้น
ธรรมะใดๆ ล้วนมีค่า ถ้าได้ทำ

 

ธรรมะใดๆ ก็ไร้ค่า

ถ้าไม่ทำ


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 15 October 2013 - 09:25 PM

....ถ้าเช่นนั้น การเข้านิโรธสมาบัติ หรือการจำพรรษาแบบปลีกวิเวกของพระผู้ปฏิบัติในป่าลึก ท่านนั่งอย่างเดียวนะ แล้วก็ไม่ได้ฉันภัตตาหารใดๆด้วย อยู่ได้ด้วยสมาธิเพียงอย่างเดียว ... งั้นคุณคิดว่าท่านทำผิดวิธีหรือ? ปกติของสมาธิไม่ใช่ นั่ง นอน ยืน เดิน ทั้งหมดหรอก แล้วแต่อัธยาศัย หรือแล้วแต่การปฏิบัติต่างหากล่ะ จะบอกว่าทุกรูปต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เป็นบรรทัดฐานก็คงไม่ใช่หรอกนะ....

 

....ส่วนการนั่งอย่างเดียว นานๆ หลายๆ วัน ก็คงมิอาจโต้แย้งได้ว่า ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นั่งลงอย่างเดียว โดยอธิษฐานจิตว่า ถ้ายังไม่บรรลุพระสัพพัณญุตญาณ หรือ ญาณตรัสรู้ที่เกิดเฉพาะผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะไม่ทรงลุกจากบรรลังก์(ที่นั่ง) แห่งนี้...  ดังนั้น ท่านเลือกที่จะนั่งนะครับ นั่งแบบเอาชีวิตของท่านเดิมพันให้ได้พระสัพพัณญุตญาณนั่นเอง...    

 

...อ้อ...อย่างพระองค์ท่านนั้นนั่งติดต่อกันเจ็ดวันนะ  แต่พระบางรูปนั่งตลอดพรรษา หรือสามเดือนเลยก็มีนะ จริงๆ ในพระไตรปิฏกก็มีให้อ่านนะ หลายรูปทีเดียวที่นั่งตลอดแบบหลายๆวัน ก่อนที่จะได้อภิญญา... ลองดูในพระสุตันตปิฏก หรือพระอภิธรรมปิฏก ที่เอ่ยไว้ควบคู่กัน

 

...จิงๆ ถ้าตามหลักวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว การนั่งนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าเดินมากนะครับ ใช้น้อยลองมาจากการนอน แต่การใช้การนอนทำสมาธินั้นจะสบายเกินไปจนทำให้เผลอสติแล้วหลับไปได้ (เป็นการหย่อนหรือพักผ่อนเกินไป) ...ดังนั้น...จึงต้องไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป นั่นจึงเป็นการนั่งที่พระศาสดาเลือกนั่นเอง...

 

...ถ้ามีสิ่งใดชี้แจงต่อ ก็ต่อมาได้เลย... *-)

เท่าที่ผมเคยปฎิบัติมาน้ะครับตอน4-5โมงเย็นเดินจงกลม6โมงเย็นทำวัตรสวดมนต์ตกกลางคืนนั่งสมาธิพอตี3เริ่มทำวัตรเช้า  วัดป่าแถวตจว.ปฎิบัติแบบนี้แหละปฎิบัติแบบปกติ(ตอนบวชเป็นเณร2ปีเองน้ะครับ)  ถ้าทำได้เหมือนที่พี่ว่ามาก็ดีสิครับส่วนมากพระเณรจะไปเรียนนักธรรมตรีธรรมโทธรรมเอกกันปฎิบัติเฉพาะกลางคืนน้ะครับคือปฎิบัติปกติครับถ้านั่งสมาธินาน7วันหลวงพ่อจะว่าเอาน้ะครับ :lol: 8-) :



#9 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 15 October 2013 - 09:38 PM

ผมว่านะ  ท่าทางจะยาว   เพราะคนนึงพูดถึงการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา   แต่อ้างอิงประสบการณ์ตัวเอง

 

แต่อีกกลุ่มพูดถึงการปฏิบัติธรรรมทางพระพุทธศาสนา  อย่างที่เป็นพระพุทธศาสนาแบบภาพรวม  กลางๆ  อ้างอิงจากพระไตรปิฎก

 

ถ้ายังพูดกันคนละแบบอย่างนี้ต่อไปก็คงไม่จบ  เพราะมองกันคนละแบบ  มองกันคนละมุมซะแล้ว  ผมว่าพอแค่นี้กันดีไหมครับ  ยาวเกินไปเดี๋ยวจะเขวออกทะเลไปกันใหญ่  

 

เอาเป็นว่า  ใครเข้ามาอ่านก็ค่อยๆ พิจารณา  ว่าอย่างไหน  เขียนถึงประสบการณ์เฉพาะตนเฉยๆ  อย่างไหนเป็นข้อเท็จจริงทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งก็ใช้ศึกษาได้ทั้งสองทาง  แล้วแต่ว่าใครจะชอบทางไหนเท่านั้น

 

++++ความเห็นส่วนตัว....ยังไงก็แล้วแต่  อย่าไปใส่ใจกับวิธีการก่อนที่จะใส่ใจในจุดประสงค์นะครับ  เพราะจุดหมายเดียวกัน  แต่การเดินทางคนละแบบก็สามารถไปบรรจบพบกันได้ในที่สุดครับ++++


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#10 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 15 October 2013 - 10:40 PM

:lol: ...จริงๆ ก็จบลงโดยสันติตั้งนานแล้วคุณทัพ.. 

 

....ผมแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณก้าน อยู่ต่างหาก... เขารู้มาแบบไหน  ผมรู้มาแบบใด เอาเหตุผลมาคุย  แม้เราจะรู้ในมุมของเรา ในครูบาอาจารย์ของเราดีอยู่แล้ว ก็ควรฟังความเห็น หรือเหตุผลจากครูบาอาจารย์ของท่านอื่นดูบ้าง  แต่สุดท้ายผู้เป็นบรมครูที่สุดก็ไม่พ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ เพราะเราก็เป็นชาวพุทธ... เหตุที่กล่าวถึงพระไตรปิฏกบ้าง ก็เพราะ มีพูดถึงสิ่งนี้ หรือสั้งนั้นไว้อยู่พอดี เลยยกขึ้นมาเหมือนเป็นคำกล่าวของพระศาสดาเหมือนเป็นคู่มือการสอนที่ค้นคว้าต่อเองได้นั่นเอง... (ยิ่งมีคนอ่านพระไตรปิฏกมากขึ้น ก็คงจะดีกับพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งนั่นเอง จะได้พูดคุยกันสนุกด้วย)

 

....หลายท่านเวลาตอบคำถาม  บางทีก็รีบจบประเด็นโดยยังค้างคาใจกันอยู่  ผมก็เลยถามคุณก้านมามีสิ่งใดอีก ก็ชี้แนะหรือแบ่งปันกันมา แต่จะชอบหรือถนัดในทางปฏิบัติใด ก็ไม่บังคับใจกัน หรือข่มกันอยู่แล้ว อีกอย่างผมก็ดูแล้วว่าคุณก้านไม่ได้มีเจตนามาข่มอะไร  เขามีเจตนาดีในแบบของเขา คือ อย่าตึง อย่าฝืนเกินไปจนเสียสุขภาพ  ^_^

 

....งั้นคุณก้าน ก็คงได้แลกเปลี่ยนกันไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อย  จริงๆ ปัญหามันก็แค่ไม่คิดตนเองถูกทั้งหมด  คนคิดไม่เหมือนเราเลยผิดหมด  หรือไปมองที่ตำราบ้าง คนปฏิบัติบ้าง ว่า ต้องเหมือนเราถึงจะถูก ไม่เหมือนเราคือไม่ถูก  ....ถ้าลองคิดแบบนี้ก็คุยกันไม่ได้เสียแล้ว เพราะจะมีแต่ความโกรธบดบังหมด...

 

...เวลาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในยุคของพระศาสดา ก็มีแค่พระองค์ท่านลำพังพระองค์เดียวที่เป็นศาสนาพุทธ กว่าท่านจะให้เหตุผลแก่ผู้ต่างศาสนา หรือไร้ศาสนาให้เลื่อมใสในพุทธศาสนาได้ ก็ต้องนำความจริงมาคุยกันอย่างเป็นเหตุผล  ก็จะคุยกันได้ยาวนานกว่า เพราะยังคงความรู้สึกที่ดีในการสนทนาไว้ได้บ้าง...

 

...จริงๆ ถ้าเราคุยกับใคร แล้วเขาไม่ได้เอนเอียงมาทางมุ่งตำหนิ ละเมิด หรือว่าร้ายตัวเรา สถาบัน ครูบาอาจารย์ ประสบการณ์ การศึกษา  ฯลฯ อันเป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือบุคคลที่เราเคารพอยู่แล้ว  สำหรับผม ผมก็คุยนะ แต่ถ้าเริ่มเอนเอียงมาทางนั้นดังกล่าว ผมก็เลิกคุยเลย ถือว่า เขาไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล หรือถ้าใช้คำหยาบก็แปลว่า ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้  ถ้าหยิบสิ่งที่เคารพไปพูดคุยในทางตลกหรือเสื่อมเสีย ผมก็จะเลิกคุยเลยเพราะคิดว่า  เขาดูหมิ่นสิ่งที่เราเคารพ ก็เหมือนดูหมิ่นทุกอย่างที่เป็นสิทธิของเรา ทุกอย่างที่เป็นตัวเรา เพราะการที่เราจะเคารพนับถือใคร เรามีเหตุผล พยาน หลักฐาน ความรู้ สติปัญญา วุฒิการศึกษา ฯลฯ ที่ได้กลั่นกรอง วิเคราะห์ไว้อย่างดีแร้ว ถึงได้เกิดเป็นความเคารพ .. ...ถ้าเจอคนแบบนั้น ผมไม่เสียเวลาคุยด้วยให้ใจตก... ( อธิบายไว้ในมุมมองเฉพาะตัวผมเท่านั้น)... *-)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#11 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 16 October 2013 - 11:06 PM

:lol: ...จริงๆ ก็จบลงโดยสันติตั้งนานแล้วคุณทัพ.. 

 

....ผมแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณก้าน อยู่ต่างหาก... เขารู้มาแบบไหน  ผมรู้มาแบบใด เอาเหตุผลมาคุย  แม้เราจะรู้ในมุมของเรา ในครูบาอาจารย์ของเราดีอยู่แล้ว ก็ควรฟังความเห็น หรือเหตุผลจากครูบาอาจารย์ของท่านอื่นดูบ้าง  แต่สุดท้ายผู้เป็นบรมครูที่สุดก็ไม่พ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ เพราะเราก็เป็นชาวพุทธ... เหตุที่กล่าวถึงพระไตรปิฏกบ้าง ก็เพราะ มีพูดถึงสิ่งนี้ หรือสั้งนั้นไว้อยู่พอดี เลยยกขึ้นมาเหมือนเป็นคำกล่าวของพระศาสดาเหมือนเป็นคู่มือการสอนที่ค้นคว้าต่อเองได้นั่นเอง... (ยิ่งมีคนอ่านพระไตรปิฏกมากขึ้น ก็คงจะดีกับพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งนั่นเอง จะได้พูดคุยกันสนุกด้วย)

 

....หลายท่านเวลาตอบคำถาม  บางทีก็รีบจบประเด็นโดยยังค้างคาใจกันอยู่  ผมก็เลยถามคุณก้านมามีสิ่งใดอีก ก็ชี้แนะหรือแบ่งปันกันมา แต่จะชอบหรือถนัดในทางปฏิบัติใด ก็ไม่บังคับใจกัน หรือข่มกันอยู่แล้ว อีกอย่างผมก็ดูแล้วว่าคุณก้านไม่ได้มีเจตนามาข่มอะไร  เขามีเจตนาดีในแบบของเขา คือ อย่าตึง อย่าฝืนเกินไปจนเสียสุขภาพ  ^_^

 

....งั้นคุณก้าน ก็คงได้แลกเปลี่ยนกันไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อย  จริงๆ ปัญหามันก็แค่ไม่คิดตนเองถูกทั้งหมด  คนคิดไม่เหมือนเราเลยผิดหมด  หรือไปมองที่ตำราบ้าง คนปฏิบัติบ้าง ว่า ต้องเหมือนเราถึงจะถูก ไม่เหมือนเราคือไม่ถูก  ....ถ้าลองคิดแบบนี้ก็คุยกันไม่ได้เสียแล้ว เพราะจะมีแต่ความโกรธบดบังหมด...

 

...เวลาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในยุคของพระศาสดา ก็มีแค่พระองค์ท่านลำพังพระองค์เดียวที่เป็นศาสนาพุทธ กว่าท่านจะให้เหตุผลแก่ผู้ต่างศาสนา หรือไร้ศาสนาให้เลื่อมใสในพุทธศาสนาได้ ก็ต้องนำความจริงมาคุยกันอย่างเป็นเหตุผล  ก็จะคุยกันได้ยาวนานกว่า เพราะยังคงความรู้สึกที่ดีในการสนทนาไว้ได้บ้าง...

 

...จริงๆ ถ้าเราคุยกับใคร แล้วเขาไม่ได้เอนเอียงมาทางมุ่งตำหนิ ละเมิด หรือว่าร้ายตัวเรา สถาบัน ครูบาอาจารย์ ประสบการณ์ การศึกษา  ฯลฯ อันเป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือบุคคลที่เราเคารพอยู่แล้ว  สำหรับผม ผมก็คุยนะ แต่ถ้าเริ่มเอนเอียงมาทางนั้นดังกล่าว ผมก็เลิกคุยเลย ถือว่า เขาไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล หรือถ้าใช้คำหยาบก็แปลว่า ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้  ถ้าหยิบสิ่งที่เคารพไปพูดคุยในทางตลกหรือเสื่อมเสีย ผมก็จะเลิกคุยเลยเพราะคิดว่า  เขาดูหมิ่นสิ่งที่เราเคารพ ก็เหมือนดูหมิ่นทุกอย่างที่เป็นสิทธิของเรา ทุกอย่างที่เป็นตัวเรา เพราะการที่เราจะเคารพนับถือใคร เรามีเหตุผล พยาน หลักฐาน ความรู้ สติปัญญา วุฒิการศึกษา ฯลฯ ที่ได้กลั่นกรอง วิเคราะห์ไว้อย่างดีแร้ว ถึงได้เกิดเป็นความเคารพ .. ...ถ้าเจอคนแบบนั้น ผมไม่เสียเวลาคุยด้วยให้ใจตก... ( อธิบายไว้ในมุมมองเฉพาะตัวผมเท่านั้น)... *-)

สรุปแล้วน้ะครับ*เท่าที่ผมรู้มาว่าการปฎิบัติมายังไงก็ดีขอแต่ให้ถูกต้องและเป็นคุณงามความดีดีทุกอย่างเกี่ยวกับธรรมมะทุกแขนงเหมื่อนกับแม่น่ำหลายสายทุกสายที่ไหลมาบัดจบกันที่ทะเลสุดท้ายก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางเดี่ยวกันหมดอย่างแน่นอนค่ะรับ : ขอบคุณที่สั่งสอนแนะนำน้ะค่ะรับ :$ :lol: 8-)



#12 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 29 December 2013 - 11:53 PM

....ถ้าเช่นนั้น การเข้านิโรธสมาบัติ หรือการจำพรรษาแบบปลีกวิเวกของพระผู้ปฏิบัติในป่าลึก ท่านนั่งอย่างเดียวนะ แล้วก็ไม่ได้ฉันภัตตาหารใดๆด้วย อยู่ได้ด้วยสมาธิเพียงอย่างเดียว ... งั้นคุณคิดว่าท่านทำผิดวิธีหรือ? ปกติของสมาธิไม่ใช่ นั่ง นอน ยืน เดิน ทั้งหมดหรอก แล้วแต่อัธยาศัย หรือแล้วแต่การปฏิบัติต่างหากล่ะ จะบอกว่าทุกรูปต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เป็นบรรทัดฐานก็คงไม่ใช่หรอกนะ....

 

....ส่วนการนั่งอย่างเดียว นานๆ หลายๆ วัน ก็คงมิอาจโต้แย้งได้ว่า ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นั่งลงอย่างเดียว โดยอธิษฐานจิตว่า ถ้ายังไม่บรรลุพระสัพพัณญุตญาณ หรือ ญาณตรัสรู้ที่เกิดเฉพาะผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะไม่ทรงลุกจากบรรลังก์(ที่นั่ง) แห่งนี้...  ดังนั้น ท่านเลือกที่จะนั่งนะครับ นั่งแบบเอาชีวิตของท่านเดิมพันให้ได้พระสัพพัณญุตญาณนั่นเอง...    

 

...อ้อ...อย่างพระองค์ท่านนั้นนั่งติดต่อกันเจ็ดวันนะ  แต่พระบางรูปนั่งตลอดพรรษา หรือสามเดือนเลยก็มีนะ จริงๆ ในพระไตรปิฏกก็มีให้อ่านนะ หลายรูปทีเดียวที่นั่งตลอดแบบหลายๆวัน ก่อนที่จะได้อภิญญา... ลองดูในพระสุตันตปิฏก หรือพระอภิธรรมปิฏก ที่เอ่ยไว้ควบคู่กัน

 

...จิงๆ ถ้าตามหลักวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว การนั่งนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าเดินมากนะครับ ใช้น้อยลองมาจากการนอน แต่การใช้การนอนทำสมาธินั้นจะสบายเกินไปจนทำให้เผลอสติแล้วหลับไปได้ (เป็นการหย่อนหรือพักผ่อนเกินไป) ...ดังนั้น...จึงต้องไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป นั่นจึงเป็นการนั่งที่พระศาสดาเลือกนั่นเอง...

 

...ถ้ามีสิ่งใดชี้แจงต่อ ก็ต่อมาได้เลย... *-)

คงลืมไปสิว่าว่าพระพุทธเจ้าสำเร็จเพราะเดินทางสายกลางต้อนที่ปฎิบัติเคร่งเกินไปก็ยังไม่สำเร็จเลย



#13 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 30 December 2013 - 08:20 AM

ผมว่านะ  คงต้องให้พระอาจารย์ท่านมาอธิบายคำว่า  เคร่ง  -  ย่อหย่อน - ความเพียร   กันแล้วหล่ะมั้งครับ  จะได้เข้าใจตรงกัน

 

หลังภาระกิจเดินธุดงค์  กราบนิมนต์พระอาจารย์ท่าน  ช่วยเข้ามาให้ความรู้ด้วยนะครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#14 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 December 2013 - 09:17 AM

ท่าน จขกท เป็นผู้ขวนขวาย ปฏิบัติกัมมัฏฐานอานาปานสติ และ มีความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยการนำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาเล่าสู่กันฟัง

 

แต่สัทธาจริตนำมาซึ่งปริศนาของเพื่อนสมาชิก เพราะคำตอบจะอ้างอิงถึง เท่าที่ผมรู้มา ได้ยินพระท่านบอกว่า... ทำให้เพื่อนสมาชิกเกิดคำถาม ในคำตอบที่ยังไม่สมบูรณ์ชัดเจน

 

ดังนั้น ในการตอบคำถามให้ชัดเจน ควรนำความรู้ภายนอก(ปริยัติ)มาผสานประสบการณ์ความรู้ความเห็นภายใน(ปฏิบัติ) เพื่ออ้างอิงและอธิบายให้ผู้ถามเคลียร์ คัต ชัด เจน เป็นการคลายปมปริศนา ไม่ควรกล่าวอ้างอิงลอยๆ หากท่าน จขกท.โพสต์ครบด้วยหลักการตามที่พิมพ์ไว้ล่างต่อบรรทัดนี้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติขวนขวายยังประโยชน์ให้ตนเองและคนหมู่มาก สมควรแก่การยกย่อง สรรเสริญ

 

เพราะหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระศาสดาทรงประกาศไว้ชัดเจนว่า

๑. มิใช่เพื่อหลอกลวงคน...............................โคตมสูตร, อง.ติก. ๓๔/๕๖๕/๕๔๙ (มมร.)

๒. มิใช่เพื่อเรียกร้องให้คนมานับถือ

๓. มิใช่เพื่อลาภสักการะหรือคำสรรเสริญ........มหาสาโรปมสูตร, ม.มู. ๑๘/๓๔๗-๓๕๒/๕๔๖-๕๕๕ (มมร.)

๔. มิใช่เพื่อความเป็นเจ้าลัทธิ.........................จูฬสาโรปมสูตร, ม.มู. ๑๘/๓๕๓๑๕๕๘ (มมร.)

๕. มิใช่เพื่อหักล้างลัทธิอื่น

๖. มิใช่เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเป็นอย่างงั้นอย่างนี้.....โทณสูตร, อง.จตุกก. ๓๕/๓๖/๑๓๗ (มมร.)

๗. เพื่อความสำรวม.......................................ภิกขุวรรค, ขุ.ธ.อ. ๔๓/๓๕/๓๓๗-๓๔๐ (มมร.)

๘. เพื่อการละกิเลส.........................................ปาปนิวาริยเถราปทานที่๑๐. ขุ.อป. ๗๑/๒๒๒/๖๓๗ (มมร.)

๙. เพื่อคลายกำหนัดยินดี...............................พระอุทายี, วิ.มหา. ๓/๓๗๕/๑๒๔-๑๒๕ (มมร.)

๑๐. เพื่อความดับทุกข์....................................มหาสาโรปมทสูตร, ม.มู ๑๘/๓๕๒/๕๕๕ (มมร.)


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC